บาดเจ็บบริเวณคอ ปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร?

   อาการบาดเจ็บที่บริเวณคอมักเกิดจากการถูกแรงกระแทกโดยตรง หรือเกิดจากแรงเหวี่ยงสะบัดบริเวณคอ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เอ็นเนื้อเยื่อหรือกล้ามเนื้อฉีกขาดได้ และร้ายแรงจนเป็นเหตุทำให้กระดูกคอหักหรือข้อต่อเคลื่อนได้


อาการบาดเจ็บบริเวณคอ แบ่งระดับความรุนแรงได้ 2 แบบ ดังนี้

1. อาการบาดเจ็บที่ไม่มีอาการชา หรือมีอาการกล้ามเนื้อที่แขนอ่อนแรง 
  ซึ่งเป็นเพียงแค่เคล็ด แพลง หรือกล้ามเนื้อฉีกขาดจะมีอาการปวดเมื่อยเมื่อขยับคอ ไม่ว่าจะเป็นท่าหมุนคอ ก้มหน้า หรือเงยหน้า ทั้งนี้ ผู้ป่วยต้องได้รับการเอ็กซเรย์ว่าไม่มีกระดูกหักหรือข้อเคลื่อน

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
   เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บให้หยุดเล่นกีฬาทันที ประคบเย็น หลังจากนั้นให้ประคองคอไว้โดยใช้ผ้าพัน หรือถ้ามีปลอกคออยู่แล้วก็ให้ใส่ปลอกคอแล้วรีบนำส่งแพทย์เพื่อตรวจเอ็กซเรย์ อาการจะดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์หลังการรักษา แต่ต้องพักผ่อนอย่างน้อย 3 สัปดาห์ และมีการบริหารกล้ามเนื้อต้นคอโดยเกร็งต้านมือ 5 วินาทีบ่อยๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงก่อนที่จะกลับมาเล่นกีฬาอีกครั้ง

2. อาการบาดเจ็บที่มีอาการชา หรือมีอาการกล้ามเนื้อที่แขนอ่อนแรง
  แสดงว่าเส้นประสาทที่ออกจากกระดูกต้นคอมาเลี้ยงที่แขนถูกรบกวนหรือถูกกดทับ ซึ่งอาจพบในกระดูกคอที่เสื่อมในผู้สูงอายุที่มีกระดูกงอกไปกดทับเส้นประสาท หรือการบาดเจ็บที่เกิดจากการกระแทกเส้นประสาท โดยหมอนรองกระดูกไปกดทับหรือกระดูกเคลื่อนไปกดทับ  

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 
   เมื่อเกิดการบาดเจ็บหรือเกิดอาการดังกล่าวให้หยุดพักทันที ประคบเย็น และต้องประคองคอให้อยู่นิ่ง โดยใส่ปลอกคอ หรือพันผ้าทบหนาๆ เพื่อไม่ให้คอเคลื่อนไหว หลังจากนั้นให้รีบนำส่งแพทย์ทันทีเพื่อตรวจเอ็กซเรย์ ถ้ามีกระดูกต้นคอหักหรือเคลื่อน อาจต้องผ่าตัดหรือใส่เฝือกเพื่อยึดศีรษะ คอ และลำตัวเข้าด้วยกัน ถ้าไม่มีกระดูกหักหรือข้อต่อเคลื่อนก็ให้ใส่ปลอกคอ และให้การรักษาโดยใช้ยาร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการรักษาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นบริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรงแล้วจึงกลับไปเล่นกีฬาได้อีกครั้ง 

ท่าบริหาร ยืดกล้ามเนื้อคอหลังการรักษา

1. ใช้มือขวาดึงศีรษะเอียงมาทางด้านขวา

2. ใช้มือซ้ายดึงศีรษะเอียงมาทางด้านซ้าย

3. ใช้มือขวาจับคางด้านซ้ายดึงหน้าหันมาทางด้านขวา

4.ใช้มือซ้ายจับคางด้านขวาดึงหน้าหันมาทางด้านซ้าย

5. ใช้มือประสานท้ายทอยแล้วดึงศีรษะลงในท่าก้ม

 

Trick: ทำแต่ละท่าค้างไว้ 10 วินาที จำนวน 10 ครั้ง วันละ 3 รอบ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

   อาการบาดเจ็บที่บริเวณคอมักเกิดจากการถูกแรงกระแทกโดยตรง หรือเกิดจากแรงเหวี่ยงสะบัดบริเวณคอ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เอ็นเนื้อเยื่อหรือกล้ามเนื้อฉีกขาดได้ และร้ายแรงจนเป็นเหตุทำให้กระดูกคอหักหรือข้อต่อเคลื่อนได้


อาการบาดเจ็บบริเวณคอ แบ่งระดับความรุนแรงได้ 2 แบบ ดังนี้

1. อาการบาดเจ็บที่ไม่มีอาการชา หรือมีอาการกล้ามเนื้อที่แขนอ่อนแรง 
ซึ่งเป็นเพียงแค่เคล็ด แพลง หรือกล้ามเนื้อฉีกขาดจะมีอาการปวดเมื่อยเมื่อขยับคอ ไม่ว่าจะเป็นท่าหมุนคอ ก้มหน้า หรือเงยหน้า ทั้งนี้ ผู้ป่วยต้องได้รับการเอ็กซเรย์ว่าไม่มีกระดูกหักหรือข้อเคลื่อน

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บให้หยุดเล่นกีฬาทันที ประคบเย็น หลังจากนั้นให้ประคองคอไว้โดยใช้ผ้าพัน หรือถ้ามีปลอกคออยู่แล้วก็ให้ใส่ปลอกคอแล้วรีบนำส่งแพทย์เพื่อตรวจเอ็กซเรย์ อาการจะดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์หลังการรักษา แต่ต้องพักผ่อนอย่างน้อย 3 สัปดาห์ และมีการบริหารกล้ามเนื้อต้นคอโดยเกร็งต้านมือ 5 วินาทีบ่อยๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงก่อนที่จะกลับมาเล่นกีฬาอีกครั้ง

 

2. อาการบาดเจ็บที่มีอาการชา หรือมีอาการกล้ามเนื้อที่แขนอ่อนแรง
แสดงว่าเส้นประสาทที่ออกจากกระดูกต้นคอมาเลี้ยงที่แขนถูกรบกวนหรือถูกกดทับ ซึ่งอาจพบในกระดูกคอที่เสื่อมในผู้สูงอายุที่มีกระดูกงอกไปกดทับเส้นประสาท หรือการบาดเจ็บที่เกิดจากการกระแทกเส้นประสาท โดยหมอนรองกระดูกไปกดทับหรือกระดูกเคลื่อนไปกดทับ  

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 
เมื่อเกิดการบาดเจ็บหรือเกิดอาการดังกล่าวให้หยุดพักทันที ประคบเย็น และต้องประคองคอให้อยู่นิ่ง โดยใส่ปลอกคอ หรือพันผ้าทบหนาๆ เพื่อไม่ให้คอเคลื่อนไหว หลังจากนั้นให้รีบนำส่งแพทย์ทันทีเพื่อตรวจเอ็กซเรย์ ถ้ามีกระดูกต้นคอหักหรือเคลื่อน อาจต้องผ่าตัดหรือใส่เฝือกเพื่อยึดศีรษะ คอ และลำตัวเข้าด้วยกัน ถ้าไม่มีกระดูกหักหรือข้อต่อเคลื่อนก็ให้ใส่ปลอกคอ และให้การรักษาโดยใช้ยาร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการรักษาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นบริหารกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรงแล้วจึงกลับไปเล่นกีฬาได้อีกครั้ง 

5 ท่าบริหาร ยืดกล้ามเนื้อคอหลังการรักษา

1. ใช้มือขวาดึงศีรษะเอียงมาทางด้านขวา

2. ใช้มือซ้ายดึงศีรษะเอียงมาทางด้านซ้าย

3. ใช้มือขวาจับคางด้านซ้ายดึงหน้าหันมาทางด้านขวา

4.ใช้มือซ้ายจับคางด้านขวาดึงหน้าหันมาทางด้านซ้าย

5. ใช้มือประสานท้ายทอยแล้วดึงศีรษะลงในท่าก้ม

 

Trick: ทำแต่ละท่าค้างไว้ 10 วินาที จำนวน 10 ครั้ง วันละ 3 รอบ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง