โรคไต ภัยที่ซ่อนในความเค็ม

การบริโภคโซเดียมในปริมาณมาก และปรุงรสชาติอาหารให้มีรสเค็ม เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ โดยปัจจุบันคนไทยมีพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมสูง 2-3 เท่าของปริมาณที่ร่างกายต้องการซึ่งการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงมีผลเสียทำให้ความดันโลหิตสูง มีผลเสียต่อไตโดยตรง นอกจากนี้ยังทำให้หัวใจทำงานหนักก่อให้เกิดโรคหัวใจวาย และมีโอกาสเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้อีกด้วย

จากผลงานวิจัยล่าสุดในปี พุทธศักราช 2564 ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Clinical Hypertension โดยความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ตีแผ่พฤติกรรมของคนไทยบริโภคโซเดียม (เกลือ) ว่าโดยค่าปริมาณการบริโภคโซเดียมเฉลี่ยประชาชนไทยเท่ากับ 3,636 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับเกลือถึง 1.8 ช้อนชา ซึ่งองค์การอนามัยโลกร่วมรณรงค์ให้ประชากรบริโภคเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัมต่อคนต่อวัน หรือโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่จะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย

จะเห็นได้ว่าการกินเค็ม (โซเดียม) มากเกินไปจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังมากขึ้นในอนาคต และการกินเค็มมากในคนที่เป็นโรคไตอยู่แล้วยิ่งจะทำให้เกิดอาการมากขึ้น และไตเสื่อมเร็วขึ้นไปอีก ปัจจุบันจึงได้มีการรณรงค์ให้ลดการบริโภคเค็มกันอย่างแพร่หลาย เพื่อให้มีสุขภาพดีห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคไตเรื้อรัง นั่นเอง

โรคไต

ไตวายเรื้อรัง เป็นภาวะที่ไตค่อย ๆ สูญเสียความสามารถในการทำงานลงจนกระทั่งเสื่อมสภาพและไม่สามารถกลับมาทำงานได้เป็นปกติอีก โดยแบ่งโรคไตวายเรื้อรังออกเป็น 5 ระยะ ตามค่าการทำงานของไตหรือ eGFR (Glomerular Filtration Rate) เมื่อเนื้อไตถูกทำลาย การทำงานก็เสื่อมหน้าที่ลง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้

#ศูนย์โรคไต #โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์  #ศูนย์ไต #โรคไต #ไตวาย #ไตเรื้อรัง #ไต #ความเค็ม #กินเค็ม #ติดอาหารรสจัด #การติดเค็ม #ความเค็มที่แฝงอยู่ #โรคไตเรื้อรัง #อาการของโรคไตเรื้อรัง #อาหารที่มีโซเดียมสูง #Kidney Disease

อาการของโรคไต

เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่ไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองให้กลับมาสมบูรณ์ได้ การเกิดความผิดปกติกับไตจึงเป็นเรื่องอันตราย โดยในช่วงแรกผู้ป่วยโรคไตแจะไม่มีสัญญาณของโรค แต่อาการจะปรากฏออกมาในระยะท้าย ๆ ที่ไตได้รับความเสียหายไปมากแล้ว จนในระดับสูงสุดอาจเกิดอาการไตวาย และเสียชีวิตได้ อาการของผู้ป่วยโรคไตที่ปรากฏมีดังนี้

  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 
  • ปัสสาวะผิดปกติ เช่น มีกลิ่นผิดปกติ มีสีผิดปกติ เป็นต้น
  • ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการเบื่ออาหาร
  • ตัวบวมเนื่องจากมีน้ำและเกลือในร่างกายปริมาณมาก
  • ปวดหลัง ปวดบั้นเอว

อาหารที่มีโซเดียมสูง

ตัวอย่างเมนูอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น

  • น้ำปลาหวาน 1 ถ้วยใส่กุ้งแห้ง มีโซเดียม 5,900 มิลลิกรัม
  • ปลาเค็ม 100 กรัม มีโซเดียม 5,327 มิลลิกรัม
  • กุ้งแห้งแบบมีเปลือก 100 กรัม มีโซเดียม 3,240 มิลลิกรัม
  • ข้าวผัดกระเพราไข่ดาว 1 จาน มีโซเดียม 1,200  มิลลิกรัม
  • ส้มตำปูไทย 1 จาน มีโซเดียม 1,200 มิลลิกรัม
  • ข้าวมันไก่ 1 จาน มีโซเดียม 1,150 มิลลิกรัม
  • ผัดไทย 1 จาน มีโซเดียม 1,100 มิลลิกรัม
  • ผักกาดดอง 1 กระป๋อง มีโซเดียม 1,720 มิลลิกรัม
  • บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มีโซเดียม 1,100-1,800 มิลลิกรัม/ซอง
  • ไข่เค็ม มีโซเดียม 480 มิลลิกรัม/ฟอง
  • ไส้กรอกหมู 1 ไม้ มีโซเดียม 350 มิลลิกรัม

เครื่องปรุงรส เทียบปริมาณ 1 ช้อนชา

  • เกลือ 2,000 มิลลิกรัม
  • ผงปรุงรส 500 มิลลิกรัม
  • ผงชูรส 490 มิลลิกรัม
  • ซีอิ๊วขาว 460 มิลลิกรัม
  • น้ำมันหอย 450 มิลลิกรัม
  • น้ำปลา 400 มิลลิกรัม
  • ซอสปรุงรส 400  มิลลิกรัม
  • ซอสพริก 220 มิลลิกรัม
  • ซอสมะเขือเทศ 140 มิลลิกรัม

คำแนะนำ

วิธีการปรับพฤติกรรมสำหรับการรับประทานเพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมในแต่ละวันเกินดังนี้

  1. รับประทานอาหารสด ปรุงอาหารโดยเติมเกลือ นํ้าปลา หรือซอสปรุงรสต่าง ๆ เท่าที่ปริมาณกำหนดต่อวัน เพื่อให้คุ้นเคยกับรสชาติของอาหาร
  2. อาหารที่ขาดรสเค็ม จืดชืด อาจทำ ให้ไม่น่าชวนรับประทาน ปรับรสชาติโดยการปรุงให้มีรสเปรี้ยวหรือเผ็ด ใส่เครื่องเทศสมุนไพรต่าง ๆ ช่วยให้ มีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากขึ้น หรือปรุงให้มีสีสันสวยงาม
  3. ลด เลิกการใส่ผงชูรสในอาหาร
  4. หลีกเลี่ยงการใช้อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป และกึ่งสำเร็จรูปต่าง ๆ อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารอบแห้ง หรือแช่อิ่มในกระบวนการเตรียม/ปรุงอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารหมักดองเค็ม เช่น กะปิ เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ไตปลา ไข่เค็ม ผักดอง ผลไม้ดอง แหนม ไส้กรอกอีสาน  หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม เช่น หมูเค็ม เบคอน ไส้กรอก ผักดอง มัสตาร์ด และเนยแข็ง หลีกเลี่ยงอาหารตากแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หอยเค็ม กุ้งแห้ง ปลาแห้ง หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ปรุงรส ได้แก่ หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง หลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กซอง ซุปซอง หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปบรรจุถุง เช่น ข้าวเกรียบ ข้าวตังปรุงรส
  5. ลดความถี่ของการบริโภคอาหารที่ต้องมีนํ้าจิ้ม เช่น สุกี้ หมูกระทะ รวมทั้งลดปริมาณของนํ้าจิ้มที่บริโภคด้วย
  6. เพิ่มการรับประทานผัก ผลไม้ มากขึ้นให้ได้รวมวันละ 400 กรัมต่อวัน
  7. ปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหารให้กินจืดลง ไม่เติม เพิ่มบนโต๊ะอาหาร เช่น ไม่ใส่นํ้าปลาพริก หรือจิ้มพริกเกลือ เครื่องจิ้ม เมื่อรับประทานผลไม้ ที่สำคัญควรชิมอาหารก่อนเติมเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ไม่ควรมีเกลือ นํ้าปลา หรือ ซอสปรุงรสต่าง ๆ บนโต๊ะอาหาร
  8. การซื้ออาหารสำเร็จรูปควรอ่านฉลากโภชนาการ และเลือกชนิดที่มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุดกรณีที่ไม่มีฉลากโภชนาการ ควรดูที่ส่วนประกอบที่อยู่ในฉลากอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียม มากกว่า 0.5 กรัม หรือเกลือ 1.25 กรัม ต่อนํ้าหนักอาหาร 100 กรัม ถือว่ามีเกลือ/โซเดียมอยู่มาก ขณะที่โซเดียมน้อยกว่า 0.1 กรัม (เกลือ 0.25 กรัม) ถือว่ามีเกลือ/โซเดียมอยู่น้อย และข้อมูลฉลากโภชนาการจะแนะนำว่าควรแบ่งกินกี่ครั้ง

นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

การบริโภคโซเดียมในปริมาณมาก และปรุงรสชาติอาหารให้มีรสเค็ม เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ โดยปัจจุบันคนไทยมีพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมสูง 2-3 เท่าของปริมาณที่ร่างกายต้องการซึ่งการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงมีผลเสียทำให้ความดันโลหิตสูง มีผลเสียต่อไตโดยตรง นอกจากนี้ยังทำให้หัวใจทำงานหนักก่อให้เกิดโรคหัวใจวาย และมีโอกาสเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้อีกด้วย

จากผลงานวิจัยล่าสุดในปี พุทธศักราช 2564 ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Clinical Hypertension โดยความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ตีแผ่พฤติกรรมของคนไทยบริโภคโซเดียม (เกลือ) ว่าโดยค่าปริมาณการบริโภคโซเดียมเฉลี่ยประชาชนไทยเท่ากับ 3,636 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับเกลือถึง 1.8 ช้อนชา ซึ่งองค์การอนามัยโลกร่วมรณรงค์ให้ประชากรบริโภคเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัมต่อคนต่อวัน หรือโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่จะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย

จะเห็นได้ว่าการกินเค็ม (โซเดียม) มากเกินไปจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังมากขึ้นในอนาคต และการกินเค็มมากในคนที่เป็นโรคไตอยู่แล้วยิ่งจะทำให้เกิดอาการมากขึ้น และไตเสื่อมเร็วขึ้นไปอีก ปัจจุบันจึงได้มีการรณรงค์ให้ลดการบริโภคเค็มกันอย่างแพร่หลาย เพื่อให้มีสุขภาพดีห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคไตเรื้อรัง นั่นเอง

โรคไต

ไตวายเรื้อรัง เป็นภาวะที่ไตค่อย ๆ สูญเสียความสามารถในการทำงานลงจนกระทั่งเสื่อมสภาพและไม่สามารถกลับมาทำงานได้เป็นปกติอีก โดยแบ่งโรคไตวายเรื้อรังออกเป็น 5 ระยะ ตามค่าการทำงานของไตหรือ eGFR (Glomerular Filtration Rate) เมื่อเนื้อไตถูกทำลาย การทำงานก็เสื่อมหน้าที่ลง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้

#ศูนย์โรคไต #โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์  #ศูนย์ไต #โรคไต #ไตวาย #ไตเรื้อรัง #ไต #ความเค็ม #กินเค็ม #ติดอาหารรสจัด #การติดเค็ม #ความเค็มที่แฝงอยู่ #โรคไตเรื้อรัง #อาการของโรคไตเรื้อรัง #อาหารที่มีโซเดียมสูง #Kidney Disease

อาการของโรคไต

เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่ไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองให้กลับมาสมบูรณ์ได้ การเกิดความผิดปกติกับไตจึงเป็นเรื่องอันตราย โดยในช่วงแรกผู้ป่วยโรคไตแจะไม่มีสัญญาณของโรค แต่อาการจะปรากฏออกมาในระยะท้าย ๆ ที่ไตได้รับความเสียหายไปมากแล้ว จนในระดับสูงสุดอาจเกิดอาการไตวาย และเสียชีวิตได้ อาการของผู้ป่วยโรคไตที่ปรากฏมีดังนี้

  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 
  • ปัสสาวะผิดปกติ เช่น มีกลิ่นผิดปกติ มีสีผิดปกติ เป็นต้น
  • ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการเบื่ออาหาร
  • ตัวบวมเนื่องจากมีน้ำและเกลือในร่างกายปริมาณมาก
  • ปวดหลัง ปวดบั้นเอว

อาหารที่มีโซเดียมสูง

ตัวอย่างเมนูอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น

  • น้ำปลาหวาน 1 ถ้วยใส่กุ้งแห้ง มีโซเดียม 5,900 มิลลิกรัม
  • ปลาเค็ม 100 กรัม มีโซเดียม 5,327 มิลลิกรัม
  • กุ้งแห้งแบบมีเปลือก 100 กรัม มีโซเดียม 3,240 มิลลิกรัม
  • ข้าวผัดกระเพราไข่ดาว 1 จาน มีโซเดียม 1,200  มิลลิกรัม
  • ส้มตำปูไทย 1 จาน มีโซเดียม 1,200 มิลลิกรัม
  • ข้าวมันไก่ 1 จาน มีโซเดียม 1,150 มิลลิกรัม
  • ผัดไทย 1 จาน มีโซเดียม 1,100 มิลลิกรัม
  • ผักกาดดอง 1 กระป๋อง มีโซเดียม 1,720 มิลลิกรัม
  • บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มีโซเดียม 1,100-1,800 มิลลิกรัม/ซอง
  • ไข่เค็ม มีโซเดียม 480 มิลลิกรัม/ฟอง
  • ไส้กรอกหมู 1 ไม้ มีโซเดียม 350 มิลลิกรัม

เครื่องปรุงรส เทียบปริมาณ 1 ช้อนชา

  • เกลือ 2,000 มิลลิกรัม
  • ผงปรุงรส 500 มิลลิกรัม
  • ผงชูรส 490 มิลลิกรัม
  • ซีอิ๊วขาว 460 มิลลิกรัม
  • น้ำมันหอย 450 มิลลิกรัม
  • น้ำปลา 400 มิลลิกรัม
  • ซอสปรุงรส 400  มิลลิกรัม
  • ซอสพริก 220 มิลลิกรัม
  • ซอสมะเขือเทศ 140 มิลลิกรัม

คำแนะนำ

วิธีการปรับพฤติกรรมสำหรับการรับประทานเพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมในแต่ละวันเกินดังนี้

  1. รับประทานอาหารสด ปรุงอาหารโดยเติมเกลือ นํ้าปลา หรือซอสปรุงรสต่าง ๆ เท่าที่ปริมาณกำหนดต่อวัน เพื่อให้คุ้นเคยกับรสชาติของอาหาร
  2. อาหารที่ขาดรสเค็ม จืดชืด อาจทำ ให้ไม่น่าชวนรับประทาน ปรับรสชาติโดยการปรุงให้มีรสเปรี้ยวหรือเผ็ด ใส่เครื่องเทศสมุนไพรต่าง ๆ ช่วยให้ มีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากขึ้น หรือปรุงให้มีสีสันสวยงาม
  3. ลด เลิกการใส่ผงชูรสในอาหาร
  4. หลีกเลี่ยงการใช้อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป และกึ่งสำเร็จรูปต่าง ๆ อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารอบแห้ง หรือแช่อิ่มในกระบวนการเตรียม/ปรุงอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารหมักดองเค็ม เช่น กะปิ เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ไตปลา ไข่เค็ม ผักดอง ผลไม้ดอง แหนม ไส้กรอกอีสาน  หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม เช่น หมูเค็ม เบคอน ไส้กรอก ผักดอง มัสตาร์ด และเนยแข็ง หลีกเลี่ยงอาหารตากแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หอยเค็ม กุ้งแห้ง ปลาแห้ง หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ปรุงรส ได้แก่ หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง หลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กซอง ซุปซอง หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปบรรจุถุง เช่น ข้าวเกรียบ ข้าวตังปรุงรส
  5. ลดความถี่ของการบริโภคอาหารที่ต้องมีนํ้าจิ้ม เช่น สุกี้ หมูกระทะ รวมทั้งลดปริมาณของนํ้าจิ้มที่บริโภคด้วย
  6. เพิ่มการรับประทานผัก ผลไม้ มากขึ้นให้ได้รวมวันละ 400 กรัมต่อวัน
  7. ปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหารให้กินจืดลง ไม่เติม เพิ่มบนโต๊ะอาหาร เช่น ไม่ใส่นํ้าปลาพริก หรือจิ้มพริกเกลือ เครื่องจิ้ม เมื่อรับประทานผลไม้ ที่สำคัญควรชิมอาหารก่อนเติมเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ไม่ควรมีเกลือ นํ้าปลา หรือ ซอสปรุงรสต่าง ๆ บนโต๊ะอาหาร
  8. การซื้ออาหารสำเร็จรูปควรอ่านฉลากโภชนาการ และเลือกชนิดที่มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุดกรณีที่ไม่มีฉลากโภชนาการ ควรดูที่ส่วนประกอบที่อยู่ในฉลากอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียม มากกว่า 0.5 กรัม หรือเกลือ 1.25 กรัม ต่อนํ้าหนักอาหาร 100 กรัม ถือว่ามีเกลือ/โซเดียมอยู่มาก ขณะที่โซเดียมน้อยกว่า 0.1 กรัม (เกลือ 0.25 กรัม) ถือว่ามีเกลือ/โซเดียมอยู่น้อย และข้อมูลฉลากโภชนาการจะแนะนำว่าควรแบ่งกินกี่ครั้ง

นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง