เช็กลิสต์ คุณเสี่ยง "โรคข้อเข่าเสื่อม" หรือไม่?

สัญญาณของข้อเข่าเสื่อม

     โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบบ่อยในคนสูงอายุ และเนื่องจากปัจจุบันคนเรามีอายุยืนยาวขึ้นทำให้พบโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าคนในประเทศแถบตะวันตก สาเหตุหลักมาจากคนไทยจะใช้เข่าในชีวิตประจำวันมากกว่า เช่น นั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่าไหว้พระ โดยอาการของโรคจะค่อยๆ เริ่มเป็นทีละน้อย โดยจะมีอาการปวดเมื่อยเวลาใช้งานข้อ บางครั้งมีเสียงกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหว อาจจะมีอาการข้อตึง หรือติดเวลาใช้ข้อนานๆ เมื่อเป็นมากขึ้น ผิวกระดูกข้อสึกหรอมากขึ้นจะทำให้ปวดมากเวลาใช้งานข้อ และอาจจะพบว่ามีความผิดปกติของรูปข้อนั้น

ข้อเข่าเสื่อมเป็นอย่างไร? 

     เกิดจากข้อเข่าที่มีการเสื่อมสลายของผิวกระดูกอ่อนที่คลุมปลายกระดูกต้นขาส่วนต้นของกระดูกหน้าแข้งและกระดูกสะบ้า บางครั้งมีการอักเสบของเยื่อบุข้อ ทำให้น้ำในเยื่อบุข้อถูกสร้างมากขึ้น ทำให้มีอาการปวด ไม่สามารถงอเข่าได้เต็มที่ และมีลักษณะบวมกว่าข้างปกติ หากปล่อยทิ้งไว้นานกระดูกอ่อนจะถูกทำลายมากขึ้น และส่งผลให้มีอาการปวดมาก ในขณะยืนหรือเดิน น้ำหนักจะถูกส่งมาที่กล้ามเนื้อต้นขาและส่งต่อมายังข้อเข่า หากกล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรงก็จะสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า ทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักได้น้อยลง แต่หากกล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรง รับน้ำหนักได้น้อย ก็จะทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมากขึ้น

สาเหตุของข้อเข่าเสื่อมคืออะไร?

     เป็นโรคที่เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนในข้อต่างๆ โดยสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนที่คลุมผิวข้อไว้นิ่มกว่าปกติ แตกเป็นร่อง ทำให้ความสามารถในการยืดหยุ่นและการควบคุมปลายประสาทเสียไป หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งปัจจัยที่นำไปสู่การเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม คือ

  • อายุและเพศ ผู้ที่สูงอายุจะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าคนวัยหนุ่มสาว ในขณะเดียวกันมักจะเกิดขึ้นกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพราะเพศหญิงมีความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อน้อยกว่าเพศชาย
  • การใช้ข้อผิดวิธี การเดินขึ้น – ลงบันไดบ่อยๆ หรือการนั่งยองๆ นั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ หรือนั่งขัดสมาธิเป็นเวลานาน เหล่านี้ล้วนแต่นำไปสู่โรคข้อเข่าเสื่อม
  • การได้รับบาดเจ็บ ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุบริเวณข้อต่อ กระดูกหัก ข้อเคลื่อนหลุด หรือการบาดเจ็บที่มีผลต่อผิวกระดูกอ่อนซ้ำๆ
  • การอักเสบของข้อที่นานและรุนแรง เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ ทำให้เกิดการอักเสบในข้อ และทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อ

#ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ #โรงพยาบาลศิริราช  ปิยมหาราชการุณย์ #ผ่าตัดเข่าเสื่อม #การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม #ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมที่ไหนดี #ผ่าตัดข้อสะโพกเสื่อม #รักษาข้อเสื่อม #รักษาข้อเข่าเสื่อมที่ไหนดี #รักษาข้อ เข่าเสื่อม วิธี ใหม่ #วิธีรักษาข้อสะโพกเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อมจะรักษาได้อย่างไร?

     สำหรับวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม สามารถทำได้ด้วยการใช้ยาต้านการอักเสบ ยาเสริมกระดูกอ่อน การฉีดน้ำไขข้อเทียม การทำกายภาพบำบัด และการรักษาด้วยการผ่าตัด อันได้แก่ การส่องกล้องล้างผิวข้อ การผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกอ่อน การผ่าตัดแก้ไขแนวรับน้ำหนักข้อ และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ซึ่งการรักษาจะขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย และความรุนแรงของโรค

ถ้าป่วยเป็นข้อเข่าเสื่อมต้องผ่าตัดแบบไหน?

  1. การส่องกล้อง (Arthroscopic debridement) วิธีนี้จะใช้ในรายที่การเสื่อมของข้อเข่ายังไม่มาก ขาของผู้ป่วยยังไม่โก่ง หรือมีอาการขาล็อก งอเข่าขาติดขัดมาก และสงสัยว่าหมอนรองกระดูกแตก
  2. การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก (Osteotomy) วิธีนี้จะใข้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการขาโก่งนิดๆ ซึ่งแพทย์จะทำการผ่าตัดและปรับกระดูกเพื่อผ่อนแรงข้อ และใส่เหล็กดาม วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยอายุน้อยและเข่ายังไม่เสื่อมมาก และต้องเสื่อมเพียงข้อเดียว
  3. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อกระดูกเสี้ยวเดียว (Unicompartmental knee replacement) วิธีนี้ใช้สำหรับการเปลี่ยนด้านในของข้อเข่า เหมาะกับผู้ป่วยที่เข่ายังไม่โก่งมากและเข่ายังดี ลูกสะบ้ายังไม่เสื่อมมาก
  4. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด (Total knee replace) วิธีนี้ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องเปลี่ยนข้อกระดูกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกระดูกต้นขา กระดูกขา และลูกสะบ้า โดยการนำข้อเทียมเข้าไปครอบกระดูกที่เสื่อมไว้ คล้ายๆกับการครอบฟัน

กิจกรรมที่เริ่มทำได้ภายหลังการผ่าตัด

  1. การทำงาน ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน หากเป็นงานเบาๆ สามารถกลับไปทำภายใน 6 สัปดาห์ หากเป็นงานหนักควรรอ 3 เดือนหลังการผ่าตัด
  2. การเล่นกีฬา หากเป็นกีฬาเบาๆ เช่น กอล์ฟ สามารถเริ่มเล่นได้หลังการผ่าตัด 3 เดือน แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่มีการปะทะ
  3. ภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการบิดเข่าหรืองอเข่าเกินกว่า 90 องศา
  4. ขับรถ ควรเริ่มหลังการผ่าตัดเข่า 3 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถงอเข่าได้ดี
  5. การใช้ไม้ค้ำยัน ควรใช้ 1-2 สัปดาห์ภายหลังการผ่าตัด หรือหลังจากนั้นอีกระยะหากยังไม่มั่นใจ
  6. รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดประมาณ 2-6 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์
  7. หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม สามารถนอนทับด้านที่ผ่าตัดได้
  8. หลังจากผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เมื่อแผลแห้งสนิทแล้วสามารถว่ายน้ำได้
  9. การขึ้นลงบันไดสามารถทำได้ หากใช้ไม้เท้าต้องระวังการล้ม โดยการเดินขึ้นบันไดให้เอาขาข้างดีขึ้นก่อน แต่ในการลงบันไดให้เอาขาข้างที่เจ็บลงก่อน
  10. หากหิ้วของหนักมากกว่า 5 กิโลกรัม ควรรอประมาณ 6 สัปดาห์ หรือหลังจากสามารถเดินได้โดยไม่ต้องใช้ไม้เท้า (ไม่ควรหิ้วของหนักเกิน 10 กิโลกรัม)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

สัญญาณของข้อเข่าเสื่อม

     โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบบ่อยในคนสูงอายุ และเนื่องจากปัจจุบันคนเรามีอายุยืนยาวขึ้นทำให้พบโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าคนในประเทศแถบตะวันตก สาเหตุหลักมาจากคนไทยจะใช้เข่าในชีวิตประจำวันมากกว่า เช่น นั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่าไหว้พระ โดยอาการของโรคจะค่อยๆ เริ่มเป็นทีละน้อย โดยจะมีอาการปวดเมื่อยเวลาใช้งานข้อ บางครั้งมีเสียงกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหว อาจจะมีอาการข้อตึง หรือติดเวลาใช้ข้อนานๆ เมื่อเป็นมากขึ้น ผิวกระดูกข้อสึกหรอมากขึ้นจะทำให้ปวดมากเวลาใช้งานข้อ และอาจจะพบว่ามีความผิดปกติของรูปข้อนั้น

ข้อเข่าเสื่อมเป็นอย่างไร? 

     เกิดจากข้อเข่าที่มีการเสื่อมสลายของผิวกระดูกอ่อนที่คลุมปลายกระดูกต้นขาส่วนต้นของกระดูกหน้าแข้งและกระดูกสะบ้า บางครั้งมีการอักเสบของเยื่อบุข้อ ทำให้น้ำในเยื่อบุข้อถูกสร้างมากขึ้น ทำให้มีอาการปวด ไม่สามารถงอเข่าได้เต็มที่ และมีลักษณะบวมกว่าข้างปกติ หากปล่อยทิ้งไว้นานกระดูกอ่อนจะถูกทำลายมากขึ้น และส่งผลให้มีอาการปวดมาก ในขณะยืนหรือเดิน น้ำหนักจะถูกส่งมาที่กล้ามเนื้อต้นขาและส่งต่อมายังข้อเข่า หากกล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรงก็จะสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า ทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักได้น้อยลง แต่หากกล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรง รับน้ำหนักได้น้อย ก็จะทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมากขึ้น

สาเหตุของข้อเข่าเสื่อมคืออะไร?

     เป็นโรคที่เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนในข้อต่างๆ โดยสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนที่คลุมผิวข้อไว้นิ่มกว่าปกติ แตกเป็นร่อง ทำให้ความสามารถในการยืดหยุ่นและการควบคุมปลายประสาทเสียไป หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งปัจจัยที่นำไปสู่การเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม คือ

  • อายุและเพศ ผู้ที่สูงอายุจะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าคนวัยหนุ่มสาว ในขณะเดียวกันมักจะเกิดขึ้นกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพราะเพศหญิงมีความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อน้อยกว่าเพศชาย
  • การใช้ข้อผิดวิธี การเดินขึ้น – ลงบันไดบ่อยๆ หรือการนั่งยองๆ นั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ หรือนั่งขัดสมาธิเป็นเวลานาน เหล่านี้ล้วนแต่นำไปสู่โรคข้อเข่าเสื่อม
  • การได้รับบาดเจ็บ ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุบริเวณข้อต่อ กระดูกหัก ข้อเคลื่อนหลุด หรือการบาดเจ็บที่มีผลต่อผิวกระดูกอ่อนซ้ำๆ
  • การอักเสบของข้อที่นานและรุนแรง เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ ทำให้เกิดการอักเสบในข้อ และทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อ

#ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ #โรงพยาบาลศิริราช  ปิยมหาราชการุณย์ #ผ่าตัดเข่าเสื่อม #การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม #ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมที่ไหนดี #ผ่าตัดข้อสะโพกเสื่อม #รักษาข้อเสื่อม #รักษาข้อเข่าเสื่อมที่ไหนดี #รักษาข้อ เข่าเสื่อม วิธี ใหม่ #วิธีรักษาข้อสะโพกเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อมจะรักษาได้อย่างไร?

     สำหรับวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม สามารถทำได้ด้วยการใช้ยาต้านการอักเสบ ยาเสริมกระดูกอ่อน การฉีดน้ำไขข้อเทียม การทำกายภาพบำบัด และการรักษาด้วยการผ่าตัด อันได้แก่ การส่องกล้องล้างผิวข้อ การผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกอ่อน การผ่าตัดแก้ไขแนวรับน้ำหนักข้อ และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ซึ่งการรักษาจะขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย และความรุนแรงของโรค

ถ้าป่วยเป็นข้อเข่าเสื่อมต้องผ่าตัดแบบไหน?

  1. การส่องกล้อง (Arthroscopic debridement) วิธีนี้จะใช้ในรายที่การเสื่อมของข้อเข่ายังไม่มาก ขาของผู้ป่วยยังไม่โก่ง หรือมีอาการขาล็อก งอเข่าขาติดขัดมาก และสงสัยว่าหมอนรองกระดูกแตก
  2. การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก (Osteotomy) วิธีนี้จะใข้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการขาโก่งนิดๆ ซึ่งแพทย์จะทำการผ่าตัดและปรับกระดูกเพื่อผ่อนแรงข้อ และใส่เหล็กดาม วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยอายุน้อยและเข่ายังไม่เสื่อมมาก และต้องเสื่อมเพียงข้อเดียว
  3. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อกระดูกเสี้ยวเดียว (Unicompartmental knee replacement) วิธีนี้ใช้สำหรับการเปลี่ยนด้านในของข้อเข่า เหมาะกับผู้ป่วยที่เข่ายังไม่โก่งมากและเข่ายังดี ลูกสะบ้ายังไม่เสื่อมมาก
  4. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด (Total knee replace) วิธีนี้ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องเปลี่ยนข้อกระดูกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกระดูกต้นขา กระดูกขา และลูกสะบ้า โดยการนำข้อเทียมเข้าไปครอบกระดูกที่เสื่อมไว้ คล้ายๆกับการครอบฟัน

กิจกรรมที่เริ่มทำได้ภายหลังการผ่าตัด

  1. การทำงาน ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน หากเป็นงานเบาๆ สามารถกลับไปทำภายใน 6 สัปดาห์ หากเป็นงานหนักควรรอ 3 เดือนหลังการผ่าตัด
  2. การเล่นกีฬา หากเป็นกีฬาเบาๆ เช่น กอล์ฟ สามารถเริ่มเล่นได้หลังการผ่าตัด 3 เดือน แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่มีการปะทะ
  3. ภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการบิดเข่าหรืองอเข่าเกินกว่า 90 องศา
  4. ขับรถ ควรเริ่มหลังการผ่าตัดเข่า 3 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถงอเข่าได้ดี
  5. การใช้ไม้ค้ำยัน ควรใช้ 1-2 สัปดาห์ภายหลังการผ่าตัด หรือหลังจากนั้นอีกระยะหากยังไม่มั่นใจ
  6. รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดประมาณ 2-6 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์
  7. หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม สามารถนอนทับด้านที่ผ่าตัดได้
  8. หลังจากผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เมื่อแผลแห้งสนิทแล้วสามารถว่ายน้ำได้
  9. การขึ้นลงบันไดสามารถทำได้ หากใช้ไม้เท้าต้องระวังการล้ม โดยการเดินขึ้นบันไดให้เอาขาข้างดีขึ้นก่อน แต่ในการลงบันไดให้เอาขาข้างที่เจ็บลงก่อน
  10. หากหิ้วของหนักมากกว่า 5 กิโลกรัม ควรรอประมาณ 6 สัปดาห์ หรือหลังจากสามารถเดินได้โดยไม่ต้องใช้ไม้เท้า (ไม่ควรหิ้วของหนักเกิน 10 กิโลกรัม)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง