เมื่อลูกไม่ยอมกินข้าว ทำอย่างไรดี?

   ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว เป็นเรื่องที่พบได้บ่อย มีทั้งที่ปฏิเสธอาหาร เลือกรับประทานอาหาร หรือมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม หากมีความเข้าใจและการดูแลที่ถูกต้อง รวมทั้งมีความคาดหวังที่เหมาะสมก็จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวลงได้

1. ผู้เลี้ยงดูควรกำหนดสถานที่ เวลาและอาหารที่เด็กรับประทาน เมื่อลูกไม่ยอมกินข้้าว

สถานที่ ควรใช้เก้าอี้สำหรับเด็ก (High chair) เพื่อช่วยให้เด็กสามารถรับประทานอาหารอยู่กับที่ได้

เวลา ระยะเวลามื้ออาหารประมาณ 30 นาที เนื่องจากเด็กจะรับประทานอาหารช่วงต้นได้ดี และได้อีกไม่มากนักหลัง 30 นาทีไปแล้ว

     - เว้นช่วงระหว่างมื้ออาหารประมาณ 3-4 ชั่วโมง

     - เมื่ออายุหลัง 1 ปี ควรให้อาหารหลัก 3 มื้อ และอาหารว่างช่วงบ่าย 1 มื้อ โดยมื้อหลักให้ตรงกับมื้ออาหารของครอบครัว

 

#ศูนย์เด็ก #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #ลูกน้อยไม่ยอมกินข้าว #ลูกไม่กินข้าวทําอย่างไร #ลูกไม่กินข้าวทําไงดี #ลูกไม่กินข้าว #ลูกน้อยไม่กินข้าว #ทําอย่างไรเมื่อลูกไม่กินข้าว #วิธี ลูกไม่กินข้าว #ลูกไม่ยอมกินข้าว #แก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว

 

 

อาหารที่เด็กควรรับประทาน ช่วงระยะเวลาที่ไวต่อการเรียนรู้ของพัฒนาการในการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะการกระตุ้นการเคี้ยวอาหารคือ อายุ 6-7 เดือน องค์การอนามัยโลก จึงมีคำแนะนำให้เริ่มอาหารแข็งก่อนอายุ 10 เดือน

  •  ให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับอายุ (ประมาณกำปั้นเด็ก)
  • เริ่มให้อาหารแข็งหรืออาหารหลักช่วงต้นมื้อ และอาหารเหลวในช่วงท้ายมื้อ
  • ระหว่างมื้ออาหารไม่ควรให้รับประทานอย่างอื่นนอกจากน้ำเปล่า เนื่องจากการรับประทานน้ำหวาน ผลไม้ ขนม แม้จำนวนไม่มากก็ทำให้ความอยากอาหารมื้อหลักลดลง
  • เมื่อเริ่มมื้ออาหารชนิดใหม่ หากเด็กปฏิเสธอาหารนั้นในช่วงแรก ควรพยายาม 10-15 ครั้ง ก่อนจะตัดสินว่าเด็กปฏิเสธอาหารชนิดนั้น

2. ปรับพฤติกรรมและบรรยากาศการรับประทานอาหารแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว

     - ชื่นชมหรือให้รางวัลทันทีเมื่อมีพฤติกรรมที่เหมาะสม

     - ไม่ควรแสดงความโกรธเมื่อเด็กไม่รับประทานอาหาร หยุดป้อนเมื่อเด็กอาละวาดระหว่างรับประทานอาหาร

     - ไม่บังคับเด็กรับประทานอาหาร โดยมื้ออาหารควรเป็นเวลาผ่อนคลาย มีบรรยากาศที่ดีในระหว่างรับประทานอาหาร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คลิก!! ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E

   ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว เป็นเรื่องที่พบได้บ่อย มีทั้งที่ปฏิเสธอาหาร เลือกรับประทานอาหาร หรือมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม หากมีความเข้าใจและการดูแลที่ถูกต้อง รวมทั้งมีความคาดหวังที่เหมาะสมก็จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวลงได้

1. ผู้เลี้ยงดูควรกำหนดสถานที่ เวลาและอาหารที่เด็กรับประทาน เมื่อลูกไม่ยอมกินข้าว

สถานที่ ควรใช้เก้าอี้สำหรับเด็ก (High chair) เพื่อช่วยให้เด็กสามารถรับประทานอาหารอยู่กับที่ได้
เวลา ระยะเวลามื้ออาหารประมาณ 30 นาที เนื่องจากเด็กจะรับประทานอาหารช่วงต้นได้ดี และได้อีกไม่มากนักหลัง 30 นาทีไปแล้ว

     - เว้นช่วงระหว่างมื้ออาหารประมาณ 3-4 ชั่วโมง

     - เมื่ออายุหลัง 1 ปี ควรให้อาหารหลัก 3 มื้อ และอาหารว่างช่วงบ่าย 1 มื้อ โดยมื้อหลักให้ตรงกับมื้ออาหารของครอบครัว

#ศูนย์เด็ก #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #ลูกน้อยไม่ยอมกินข้าว #ลูกไม่กินข้าวทําอย่างไร #ลูกไม่กินข้าวทําไงดี #ลูกไม่กินข้าว #ลูกน้อยไม่กินข้าว #ทําอย่างไรเมื่อลูกไม่กินข้าว #วิธี ลูกไม่กินข้าว #ลูกไม่ยอมกินข้าว #แก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว

 

อาหารที่เด็กควรรับประทาน ช่วงระยะเวลาที่ไวต่อการเรียนรู้ของพัฒนาการในการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะการกระตุ้นการเคี้ยวอาหารคือ อายุ 6-7 เดือน องค์การอนามัยโลก จึงมีคำแนะนำให้เริ่มอาหารแข็งก่อนอายุ 10 เดือน

  •  ให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับอายุ (ประมาณกำปั้นเด็ก)
  • เริ่มให้อาหารแข็งหรืออาหารหลักช่วงต้นมื้อ และอาหารเหลวในช่วงท้ายมื้อ
  • ระหว่างมื้ออาหารไม่ควรให้รับประทานอย่างอื่นนอกจากน้ำเปล่า เนื่องจากการรับประทานน้ำหวาน ผลไม้ ขนม แม้จำนวนไม่มากก็ทำให้ความอยากอาหารมื้อหลักลดลง
  • เมื่อเริ่มมื้ออาหารชนิดใหม่ หากเด็กปฏิเสธอาหารนั้นในช่วงแรก ควรพยายาม 10-15 ครั้ง ก่อนจะตัดสินว่าเด็กปฏิเสธอาหารชนิดนั้น

2. ปรับพฤติกรรมและบรรยากาศการรับประทานอาหารแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว

     - ชื่นชมหรือให้รางวัลทันทีเมื่อมีพฤติกรรมที่เหมาะสม

     - ไม่ควรแสดงความโกรธเมื่อเด็กไม่รับประทานอาหาร หยุดป้อนเมื่อเด็กอาละวาดระหว่างรับประทานอาหาร

     - ไม่บังคับเด็กรับประทานอาหาร โดยมื้ออาหารควรเป็นเวลาผ่อนคลาย มีบรรยากาศที่ดีในระหว่างรับประทานอาหาร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คลิก!! ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง