ปวดหลังลงขา หนึ่งในภาวะช่องสันหลังตีบ

ภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบเกิดขึ้นได้อย่างไร

ภาวะกระดูกสันหลังตีบ จะพบในผู้ป่วยวัยกลางคนขึ้นไป ภาวะนี้เริ่มต้นจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดตามอายุที่มากขึ้น หมอนรองกระดูกสันหลังจะมีความสูงลดลง และการทำงานของหมอนรองกระดูกสันหลังแย่ลงในการรับน้ำหนักทำให้มีการนูนของหมอนรองกระดูกสันหลังเข้าไปในโพรงกระดูกสันหลังที่เส้นประสาทอยู่ด้านใน

ร่างกายมีกลไกในการซ่อมแซมกระดูกสันหลังส่วนที่มีความเสื่อมเพื่อให้การรับน้ำหนักได้ดีขึ้น กระบวนการที่เกิดขึ้นได้แก่ การขยายขนาดของกระดูกสันหลังให้ใหญ่ขึ้น ข้อกระดูกสันหลังปรับตัวให้ขนาดของข้อโตมากขึ้น และเนื้อเยื่อที่อยู่โดยรอบมีการหนาตัวมากขึ้น จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดเพื่อช่วยพยุงข้อกระดูกสันหลังที่มีความเสื่อมให้พอใช้งานได้ แต่กลไกการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทั้งหมดที่กล่าวมามีผลต่อโพรงกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (spinal stenosis) เส้นประสาทที่อยู่ภายในโพรงกระดูกสันหลังจึงถูกกดทับทำให้ผู้ที่มีภาวะนี้เกิดอาการทางระบบประสาท

ใครที่มีความเสี่ยงต่อภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบบ้าง

โดยทั่วไปเวลาที่เราอายุมากขึ้นย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงของโครวสร้างกระดูกสันหลังตามความเสื่อมที่เพิ่มตามอายุ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการ โดยทั่วไปโอกาสเกิดภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่มีโพรงกระดูกสันหลังแคบผิดปกติ ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อนไม่มั่นคง ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมาก และผู้ป่วยที่มีการใช้งานกระดูกสันหลังมาก เช่น ทำงานที่ต้องยกของหนัก

อาการภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบเป็นอย่างไร

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเด่นที่เกิดขึ้น คือ อาการปวดร้าวลงขาทั้งสองข้างเวลาเดิน(neurogenic claudication) ผู้ป่วยอาจจะรู้สึกถึงอาการชาที่ขาสองข้าง หรือขาอ่อนแรงทำให้ก้าวขาไม่ออก ต้องหาที่นั่งพักเพื่อให้อาการปวดหรือชาที่ขาดีขึ้น หากภาวะนี้เป็นมากขึ้นจะทำให้ระยะทางที่เดินได้สั้นลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการมากๆอาจเดินได้เพียง 10-20 ก้าว โรคนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามอายุ ดังนั้นระยะการดำเนินโรคมักจะค่อยเป็นค่อยไป อาการเกิดขึ้นช้าๆ และค่อยๆเพิ่มขึ้นใช้ระยะเวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี ตามภาวะที่การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

วิธีการรักษาภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบ

การรักษาโพรงกระดูกสันหลังตีบขึ้นอยู่กับผู้ป่วยว่ามีอาการหรือไม่ ผู้ป่วยบางรายได้รับการทำการตรวจภาพรังสี หรือ MRI แล้วพบว่ามีภาพรังสีที่มีความผิดปกติแต่ไม่มีอาการ การรักษาก็เน้นเพียงการดูแลป้องกันไม่ให้ความเสื่อมของกระดูกสันหลังเพิ่มมากขึ้น โดยลดการลกน้ำหนัก และลดใช้งานที่ทำให้กระดูกสันหลังมีความเสื่อมมากขึ้น เช่น การยกของหนัก

  • มีอาการเป็นครั้งคราวไม่รุนแรง นอกจากการป้องกันการใช้งานที่ทำให้กระดูกสันหลังมีความเสื่อมมากขึ้นแล้ว จะเน้นรักษาที่หลีกเลี่ยงการผ่าตัด ได้แก่ การรักษาด้วยยา การทำกายภาพบำบัดและออกกำลังกาย
  • มีอาการรุนแรง มีอาการปวดร้าวลงขามากๆ ระยะทางการเดินน้อยมาก ขามีอาการชาและอ่อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คุณภาพชีวิตแย่ลงมาก ในปัจจุบันมีการรักษาด้วยการผ่าตัดที่ให้ผลการรักษาที่ดีมาก ทำให้อาการปวดร้าวลงขาลดลง สามารถเดินได้ระยะทางไกลขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตหลังการผ่าตัดดีขึ้น

เทคนิคที่ใช้ในการผ่าตัดภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบมีพัฒนาการทางด้านเทคนิคการผ่าตัดอย่างมาก ในปัจจุบันการแก้ไขภาวะนี้ทำได้โดยการเจาะหรือเปิดแผลเล็กๆผ่านผิวหนังเข้าไปกรอเอากระดูกและพังผืดที่กดทับเส้นประสาทออกโดยการใช้กล้องช่วยในการผ่าตัด ทำให้การบาดเจ็บเนื้อเยื่อรอบบริเวณที่ผ่าตัดไม่มากเหมือนการผ่าตัดแบบดั้งเดิม การฟื้นตัวจากการผ่าตัดเร็ว ระยะเวลานอนโรงพยาบาลสั้นลง

ส่วนการใส่โลหะดามกระดูก ทำเฉพาะผู้ป่วยที่มีความจำเป็นจริงๆ ต้องมีข้อบ่งชี้ที่ต้องการการเชื่อมกระดูกสันหลัง เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบร่วมกับกระดูกสันหลังเสื่อมเคลื่อนไม่มั่นคง

โดยสรุปภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบ เป็นภาวะที่เจอได้บ่อยเมื่ออายุมากขึ้น การวินิจฉัยที่ถูกต้องมีความสำคัญ เพื่อให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม การรักษาสามารถทำได้ทั้งการปรับพฤติกรรม การกินยา การทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย โดยจุดประสงค์การรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ข้อมูลจาก : ผศ.นพ.มนต์ชัย เรืองชัยนิคม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

 

ภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบเกิดขึ้นได้อย่างไร

ภาวะกระดูกสันหลังตีบ จะพบในผู้ป่วยวัยกลางคนขึ้นไป ภาวะนี้เริ่มต้นจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดตามอายุที่มากขึ้น หมอนรองกระดูกสันหลังจะมีความสูงลดลง และการทำงานของหมอนรองกระดูกสันหลังแย่ลงในการรับน้ำหนักทำให้มีการนูนของหมอนรองกระดูกสันหลังเข้าไปในโพรงกระดูกสันหลังที่เส้นประสาทอยู่ด้านใน

ร่างกายมีกลไกในการซ่อมแซมกระดูกสันหลังส่วนที่มีความเสื่อมเพื่อให้การรับน้ำหนักได้ดีขึ้น กระบวนการที่เกิดขึ้นได้แก่ การขยายขนาดของกระดูกสันหลังให้ใหญ่ขึ้น ข้อกระดูกสันหลังปรับตัวให้ขนาดของข้อโตมากขึ้น และเนื้อเยื่อที่อยู่โดยรอบมีการหนาตัวมากขึ้น จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดเพื่อช่วยพยุงข้อกระดูกสันหลังที่มีความเสื่อมให้พอใช้งานได้ แต่กลไกการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทั้งหมดที่กล่าวมามีผลต่อโพรงกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (spinal stenosis) เส้นประสาทที่อยู่ภายในโพรงกระดูกสันหลังจึงถูกกดทับทำให้ผู้ที่มีภาวะนี้เกิดอาการทางระบบประสาท

ใครที่มีความเสี่ยงต่อภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบบ้าง

โดยทั่วไปเวลาที่เราอายุมากขึ้นย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงของโครวสร้างกระดูกสันหลังตามความเสื่อมที่เพิ่มตามอายุ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการ โดยทั่วไปโอกาสเกิดภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่มีโพรงกระดูกสันหลังแคบผิดปกติ ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อนไม่มั่นคง ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมาก และผู้ป่วยที่มีการใช้งานกระดูกสันหลังมาก เช่น ทำงานที่ต้องยกของหนัก

อาการภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบเป็นอย่างไร

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเด่นที่เกิดขึ้น คือ อาการปวดร้าวลงขาทั้งสองข้างเวลาเดิน(neurogenic claudication) ผู้ป่วยอาจจะรู้สึกถึงอาการชาที่ขาสองข้าง หรือขาอ่อนแรงทำให้ก้าวขาไม่ออก ต้องหาที่นั่งพักเพื่อให้อาการปวดหรือชาที่ขาดีขึ้น หากภาวะนี้เป็นมากขึ้นจะทำให้ระยะทางที่เดินได้สั้นลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการมากๆอาจเดินได้เพียง 10-20 ก้าว โรคนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามอายุ ดังนั้นระยะการดำเนินโรคมักจะค่อยเป็นค่อยไป อาการเกิดขึ้นช้าๆ และค่อยๆเพิ่มขึ้นใช้ระยะเวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี ตามภาวะที่การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

วิธีการรักษาภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบ

การรักษาโพรงกระดูกสันหลังตีบขึ้นอยู่กับผู้ป่วยว่ามีอาการหรือไม่ ผู้ป่วยบางรายได้รับการทำการตรวจภาพรังสี หรือ MRI แล้วพบว่ามีภาพรังสีที่มีความผิดปกติแต่ไม่มีอาการ การรักษาก็เน้นเพียงการดูแลป้องกันไม่ให้ความเสื่อมของกระดูกสันหลังเพิ่มมากขึ้น โดยลดการลกน้ำหนัก และลดใช้งานที่ทำให้กระดูกสันหลังมีความเสื่อมมากขึ้น เช่น การยกของหนัก

  • มีอาการเป็นครั้งคราวไม่รุนแรง นอกจากการป้องกันการใช้งานที่ทำให้กระดูกสันหลังมีความเสื่อมมากขึ้นแล้ว จะเน้นรักษาที่หลีกเลี่ยงการผ่าตัด ได้แก่ การรักษาด้วยยา การทำกายภาพบำบัดและออกกำลังกาย
  • มีอาการรุนแรง มีอาการปวดร้าวลงขามากๆ ระยะทางการเดินน้อยมาก ขามีอาการชาและอ่อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คุณภาพชีวิตแย่ลงมาก ในปัจจุบันมีการรักษาด้วยการผ่าตัดที่ให้ผลการรักษาที่ดีมาก ทำให้อาการปวดร้าวลงขาลดลง สามารถเดินได้ระยะทางไกลขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตหลังการผ่าตัดดีขึ้น

เทคนิคที่ใช้ในการผ่าตัดภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบมีพัฒนาการทางด้านเทคนิคการผ่าตัดอย่างมาก ในปัจจุบันการแก้ไขภาวะนี้ทำได้โดยการเจาะหรือเปิดแผลเล็กๆผ่านผิวหนังเข้าไปกรอเอากระดูกและพังผืดที่กดทับเส้นประสาทออกโดยการใช้กล้องช่วยในการผ่าตัด ทำให้การบาดเจ็บเนื้อเยื่อรอบบริเวณที่ผ่าตัดไม่มากเหมือนการผ่าตัดแบบดั้งเดิม การฟื้นตัวจากการผ่าตัดเร็ว ระยะเวลานอนโรงพยาบาลสั้นลง

ส่วนการใส่โลหะดามกระดูก ทำเฉพาะผู้ป่วยที่มีความจำเป็นจริงๆ ต้องมีข้อบ่งชี้ที่ต้องการการเชื่อมกระดูกสันหลัง เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบร่วมกับกระดูกสันหลังเสื่อมเคลื่อนไม่มั่นคง

โดยสรุปภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบ เป็นภาวะที่เจอได้บ่อยเมื่ออายุมากขึ้น การวินิจฉัยที่ถูกต้องมีความสำคัญ เพื่อให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม การรักษาสามารถทำได้ทั้งการปรับพฤติกรรม การกินยา การทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย โดยจุดประสงค์การรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ข้อมูลจาก : ผศ.นพ.มนต์ชัย เรืองชัยนิคม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง