ช็อกโกแลตซีสต์ หรือเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ มีสัญญาณเตือนอย่างไร?

ช็อกโกแลตซีสต์ หรือเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หมายถึง การที่เยื่อบุมดลูกไปเจริญอยู่ที่ตำแหน่งอื่นนอกเหนือไปจากภายในโพรงมดลูก ซึ่งถือว่าเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องในระยะยาว

สาเหตุ

สาเหตุการเกิดโรคยังไม่แน่ชัด พบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ เนื่องจากในช่วงที่มีประจำเดือนจะมีการสร้างเยื่อบุมดลูกให้หนาเพื่อรอรับการฝังตัวของไข่ที่ปฎิสนธิแล้ว แต่เมื่อไม่มีการฝังตัวของตัวอ่อนเกิดขึ้นเยื่อบุมดลูกก็จะหลุดลอกออกมาทางช่องคลอดกลายเป็นประจำเดือน เลือดส่วนหนึ่งจะไหลย้อนกลับและลงไปในอุ้งเชิงกรานด้านหลังมดลูก ซึ่งต่อมาจะฝังตัวผิดปกติอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ในช่องท้อง เช่น ผนังลำไส้ ผนังกระเพาะปัสสาวะ หรืออวัยวะอื่นๆ ได้ และในกรณีที่ฝังตัวลึกอยู่ที่รังไข่จะทำให้เกิดถุงน้ำซึ่งภายในเป็นเลือดสีข้นเหมือนช็อกโกแลตสะสมอยู่จึงเรียกว่า “ช็อกโกแลตซีสต์”

อาการ

1. อาการปวด เช่น ปวดประจำเดือนมากผิดปกติ ปวดท้องน้อยเรื้อรัง เจ็บลึกในช่องคลอดเวลามีเพศสัมพันธ์ หรือปวดปัสสาวะตลอดเวลา ซึ่งอาจจะมีปวดร้าวไปที่หลัง ต้นขา หรือปวดร้าวลงก้น โดยอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกันก็ได้

2. ตรวจภายในอาจพบก้อนที่ปีกมดลูก มีอาการกดเจ็บบริเวณด้านหลังมดลูก คลำพบก้อนตะปุ่มตะป่ำด้านหลังมดลูก

3. ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอเป็นระยะเวลานานหรือกระปริดกระปรอย

4. ภาวะมีบุตรยาก ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดพังผืดบริเวณท่อนำไข่ ส่งผลให้ท่อนำไข่บิดผิดรูปหรือมีการอุดตันจึงทำให้ไข่ตกออกมาจากรังไข่ไม่ได้ และบางครั้งอาการเจ็บจากการมีเพศสัมพันธ์ทำให้หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ โอกาสตั้งครรภ์จึงลดน้อยลง
 

การวินิจฉัย

1.ซักประวัติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและประวัติการมีประจำเดือน

2. การตรวจภายใน และ/หรือการตรวจทางทวารหนักเพื่อหาตำแหน่งและช่วยในการประเมินความรุนแรงของโรค

3. การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางช่องคลอดหรือทางทวารหนัก หรือแม้แต่การส่องกล้องผ่านทางหน้าท้องเพื่อตรวจดูภายในช่องท้องก็จะช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำขึ้น

4. การตรวจโดยการส่องกล้องตรวจในช่องท้องถือเป็นมาตรฐานในการวินิจฉัยโรค ซึ่งสามารถวินิจฉัยความรุนแรงของโรคได้ดี แต่ไม่สามารถทำในผู้ป่วยทุกรายได้ เนื่องจากเป็นหัตถการที่ต้องทำในห้องผ่าตัดและอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้จึงต้องทำโดยแพทย์ที่เชี่ยวชาญเท่านั้น

การรักษา
  1. การรักษาด้วยยา ได้แก่

    1. ยาแก้ปวดกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เพื่อช่วยลดอาการปวดประจำเดือนและปวดท้องน้อย
    2. ยาฮอร์โมน ปัจจุบันมีทั้งยากิน ยาฉีด หรือห่วงฮอร์โมนสำหรับใส่ในโพรงมดลูก ซึ่งมีฤทธิ์กดการตกไข่หรือควบคุมประจำเดือน
  2. การผ่าตัด ได้แก่
    1. การผ่าตัดผ่านกล้อง แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้เร็วขึ้น แต่ต้องทำโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ
    2. การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง จะใช้ในกรณีที่รอยโรคเป็นรุนแรงมีการยึดของพังผืดในอวัยวะสืบพันธุ์มาก ทำให้ไม่สามารถมีบุตรต่อไปได้และผู้ป่วยไม่ต้องการมีบุตรแล้ว แพทย์จะตัดเอามดลูกออกหรือตัดรังไข่ออกด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E

ช็อกโกแลตซีสต์ หรือเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หมายถึง การที่เยื่อบุมดลูกไปเจริญอยู่ที่ตำแหน่งอื่นนอกเหนือไปจากภายในโพรงมดลูก ซึ่งถือว่าเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องในระยะยาว

สาเหตุ

สาเหตุการเกิดโรคยังไม่แน่ชัด พบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ เนื่องจากในช่วงที่มีประจำเดือนจะมีการสร้างเยื่อบุมดลูกให้หนาเพื่อรอรับการฝังตัวของไข่ที่ปฎิสนธิแล้ว แต่เมื่อไม่มีการฝังตัวของตัวอ่อนเกิดขึ้นเยื่อบุมดลูกก็จะหลุดลอกออกมาทางช่องคลอดกลายเป็นประจำเดือน เลือดส่วนหนึ่งจะไหลย้อนกลับและลงไปในอุ้งเชิงกรานด้านหลังมดลูก ซึ่งต่อมาจะฝังตัวผิดปกติอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ในช่องท้อง เช่น ผนังลำไส้ ผนังกระเพาะปัสสาวะ หรืออวัยวะอื่นๆ ได้ และในกรณีที่ฝังตัวลึกอยู่ที่รังไข่จะทำให้เกิดถุงน้ำซึ่งภายในเป็นเลือดสีข้นเหมือนช็อกโกแลตสะสมอยู่จึงเรียกว่า “ช็อกโกแลตซีสต์”

อาการ

1. อาการปวด เช่น ปวดประจำเดือนมากผิดปกติ ปวดท้องน้อยเรื้อรัง เจ็บลึกในช่องคลอดเวลามีเพศสัมพันธ์ หรือปวดปัสสาวะตลอดเวลา ซึ่งอาจจะมีปวดร้าวไปที่หลัง ต้นขา หรือปวดร้าวลงก้น โดยอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกันก็ได้

2. ตรวจภายในอาจพบก้อนที่ปีกมดลูก มีอาการกดเจ็บบริเวณด้านหลังมดลูก คลำพบก้อนตะปุ่มตะป่ำด้านหลังมดลูก

3. ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอเป็นระยะเวลานานหรือกระปริดกระปรอย

4. ภาวะมีบุตรยาก ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดพังผืดบริเวณท่อนำไข่ ส่งผลให้ท่อนำไข่บิดผิดรูปหรือมีการอุดตันจึงทำให้ไข่ตกออกมาจากรังไข่ไม่ได้ และบางครั้งอาการเจ็บจากการมีเพศสัมพันธ์ทำให้หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ โอกาสตั้งครรภ์จึงลดน้อยลง
 

การวินิจฉัย

1.ซักประวัติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและประวัติการมีประจำเดือน

2. การตรวจภายใน และ/หรือการตรวจทางทวารหนักเพื่อหาตำแหน่งและช่วยในการประเมินความรุนแรงของโรค

3. การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางช่องคลอดหรือทางทวารหนัก หรือแม้แต่การส่องกล้องผ่านทางหน้าท้องเพื่อตรวจดูภายในช่องท้องก็จะช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำขึ้น

4. การตรวจโดยการส่องกล้องตรวจในช่องท้องถือเป็นมาตรฐานในการวินิจฉัยโรค ซึ่งสามารถวินิจฉัยความรุนแรงของโรคได้ดี แต่ไม่สามารถทำในผู้ป่วยทุกรายได้ เนื่องจากเป็นหัตถการที่ต้องทำในห้องผ่าตัดและอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้จึงต้องทำโดยแพทย์ที่เชี่ยวชาญเท่านั้น

การรักษา
  1. การรักษาด้วยยา ได้แก่

    1. ยาแก้ปวดกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เพื่อช่วยลดอาการปวดประจำเดือนและปวดท้องน้อย
    2. ยาฮอร์โมน ปัจจุบันมีทั้งยากิน ยาฉีด หรือห่วงฮอร์โมนสำหรับใส่ในโพรงมดลูก ซึ่งมีฤทธิ์กดการตกไข่หรือควบคุมประจำเดือน
  2. การผ่าตัด ได้แก่
    1. การผ่าตัดผ่านกล้อง แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้เร็วขึ้น แต่ต้องทำโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ
    2. การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง จะใช้ในกรณีที่รอยโรคเป็นรุนแรงมีการยึดของพังผืดในอวัยวะสืบพันธุ์มาก ทำให้ไม่สามารถมีบุตรต่อไปได้และผู้ป่วยไม่ต้องการมีบุตรแล้ว แพทย์จะตัดเอามดลูกออกหรือตัดรังไข่ออกด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง