นิ้วหัวแม่เท้านูนจากส้นสูง..ความสวยที่แลกด้วยความเสี่ยง

ภาวะนิ้วหัวแม่เท้านูน

     ความสวยของการใส่ส้นสูงที่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าอาจเสื่ยงภาวะนิ้วหัวแม่เท้านูนหรือเก เมื่อมีภาวะข้อนิ้วหัวแม่เท้าด้านในนูนออกร่วมกับปลายนิ้วหัวแม่เท้าเริ่มเกออกไปด้านนอก ทางการแพทย์จะเรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะปลายนิ้วหัวแม่เท้าเกออก ( hallux valgus หรือ bunion )” ตำแหน่งที่มีข้อนูนออกมานี้จะมีความไว (ปวด) ต่อแรงกดและแรงเสียดสีจากรองเท้าที่สวมใส่ ซึ่งมีสาเหตุเกิดได้จากหลายประการ เช่น ภาวะเท้าแบน การสวมรองเท้าส้นสูง หรือรองเท้าหัวแคบเป็นเวลานาน สาเหตุเหล่านี้จะทำให้ปลายนิ้วหัวแม่เท้าเกหรือบิดเข้าสู่นิ้วเท้าที่สอง

     อาการปวดจากภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเกเป็นได้หลายตำแหน่ง ส่วนใหญ่มักจะเป็นบริเวณข้อนิ้วหัวแม่เท้าที่นูนออกเสียดสีกับรองเท้า ทำให้เกิดหนังด้านและมีการอักเสบของถุงน้ำที่บริเวณนี้ได้ ตำแหน่งอื่นที่ทำให้อาการปวดอาจจะเป็นบริเวณที่นิ้วหัวแม่เท้าเบียดนิ้วเท้าอื่น ๆ ทำให้นิ้วเสียดสีกัน รวมทั้งถ้านิ้วหัวแม่เท้าเกมาก ๆ จะทำให้นิ้วเท้าที่สองถูกเบียดลอยขึ้นอยู่บนนิ้วหัวแม่เท้า หรือที่เรียกว่าภาวะนิ้วค้อน (hammer toe) ถ้าถูกเบียดมาก ๆ จะทำให้เกิดภาวะนิ้วไขว้ (cross over toe) ทำให้ผิวด้านบนของนิ้วเท้าที่เกยกันอาจเสียดสีกับรองเท้าทำให้เกิดหนังด้านและเกิดอาการปวดได้ หรือบางรายอาจมีอาการปวดจากเยื่อหุ้มข้อทางด้านในถูกดึงยืดและจากเส้นประสาททางด้านในถูกกดและดึงรั้ง ทำให้มีอาการชาตรงปลายนิ้วหัวแม่เท้าได้ นอกจากนี้การมีนิ้วหัวแม่เท้าเกจะทำให้นิ้วหัวแม่เท้าไม่สามารถรับน้ำหนักได้ น้ำหนักตัวจะถูกรับน้ำหนักไปที่ฝ่าเท้าบริเวณนิ้วเท้าที่สองถึงนิ้วที่ห้าแทน  ทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณฝ่าเท้าและมีหนังด้านเกิดขึ้นได้

 

สาเหตุของภาวะปลายนิ้วหัวแม่เท้าเก

  1. เกิดจากกรรมพันธุ์ หรือความผิดปกติของเท้าตั้งแต่เกิด เช่น เท้าแบน นิ้วเท้ายาวมาก นิ้วหัวแม่เท้าเกออกเอง เป็นต้น
  2. เกิดจากการใส่รองเท้าบีบรัดปลายเท้า หรือใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ แม้ว่ารองเท้าส้นสูงจะทำให้ผู้ใส่ดูสูง มีขาเรียวสวยขึ้น แต่การใส่ส้นสูงนาน ๆ จะทำให้กระดูกและข้อต่อของนิ้วหัวแม่เท้าต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ ทำให้ข้อต่อบริเวณนี้หลวมและเกิดความไม่มั่นคง เกิดการเอียงเข้าด้านในของกระดูกโคนนิ้วหัวแม่เท้าและปลายนิ้วหัวแม่เท้าเกตามมา นอกจากนี้ผิวฝ่าเท้าส่วนหน้าอาจด้านและแข็งเป็นไตเพราะต้องรับน้ำหนักมาก   ทำให้มีปัญหาปวดฝ่าเท้า นิ้วเท้า รวมทั้งการใส่ส้นสูงเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้มีอาการปวดน่อง และปวดหลังตามมา  ดังนั้นควรใส่ส้นสูงเมื่อจำเป็น
  3. เกิดจากการผิดปกติของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น เช่น ภาวะความยืดหยุ่นของข้อสูง (hypermobility) หรือจากการอักเสบของข้อโดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์
  4. เกิดจากการบาดเจ็บที่ข้อต่อนิ้วหัวแม่เท้า เช่นได้รับอุบัติเหตุ ทำให้เอ็นข้อต่อได้รับบาดเจ็บหรือฉีกขาด

 

 

ทำอย่างไรดี เมื่อเกิดภาวะปลายนิ้วหัวแม่เท้าเก

  1. การรักษาเบี้องต้นในกรณีผู้ป่วยมีอาการปวดไม่มาก หรือมีภาวะเท้าผิดรูปเพียงเล็กน้อย สามารถทำการรักษาได้ดังนี้
  • หลีกเลี่ยงรองเท้าส้นสูง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้กระดูกและข้อต่อของนิ้วหัวแม่เท้ารับน้ำหนักมากเกินไป
  • เลือกใส่รองเท้าที่มีความกว้างของส่วนเท้าด้านหน้ามากเป็นพิเศษ (wide toe box) ความยาวของรองเท้าควรจะชิดส้นรองเท้าพอดี และส่วนหัวรองเท้า ให้เหลือพื้นที่เท่ากับความกว้างของนิ้วหัวแม่มือเมื่อวัดจากนิ้วเท้าที่ยาวที่สุด ไม่จำเป็นต้องเป็นนิ้วหัวแม่เท้าเสมอไป หัวรองเท้ากว้างและลึกพอจนไม่กดและเสียดสีกับนิ้วเท้า และส่วนที่กว้างที่สุดของรองเท้าควรตรงและพอดีกับตำแหน่งที่กว้างที่สุดของเท้า
  • การใส่อุปกรณ์ประคองนิ้วเท้า เช่น bunion splint, toe spacer สามารถช่วยลดอาการปวดบริเวณข้อต่อ หรือลดการเสียดสีของนิ้วได้ อย่างไรก็ตามอุปกรณ์เหล่านี้ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอว่าช่วยแก้ไขความผิดรูป หรือป้องกันไม่ให้เป็นรุนแรงขึ้นได้
  1. การรักษาด้วยการผ่าตัด กรณีผู้ป่วยที่เป็นมานาน จะมีอาการเจ็บตลอดเวลาหรือใส่รองเท้าลำบาก แพทย์อาจพิจารณาแก้ไขภาวะนิ้วเท้าผิดรูปด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่นตัดกระดูกที่นูนออก ปรับแต่งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบ ๆ และจัดกระดูกให้เข้าที่ รวมทั้งยึดตรึงกระดูกด้วยโลหะ การผ่าตัดเหล่านี้จะทำให้หายเจ็บเท้า เท้าแคบลง ทำให้เลือกใส่รองเท้าได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้ป่วยสามารถสอบถามการปฏิบัติตนหลังรับการผ่าตัดอย่างเหมาะสมได้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมกับการดูแลใส่ใจตนเองของผู้ป่วย อาทิ งดใส่รองเท้าหัวแคบ รองเท้าส้นสูง จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะผิดรูปของนิ้วหัวแม่เท้า และสุขภาพเท้าที่จะก้าวต่อไปได้อย่างราบรื่น

 

     จะเห็นได้ว่า สิ่งที่ช่วยปกป้องเท้าของเราก็คือ การสวมใส่รองเท้าที่คุณภาพดีและเหมาะสมกับเท้าของผู้ใส่ ซึ่งควรสวมรองเท้าตลอดเวลาแม้อยู่ในบ้าน เพื่อช่วยรับน้ำหนักและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเท้า หากรองเท้าที่สวมใส่ไม่เหมาะสมกับเท้า รองเท้าอาจเป็นตัวก่อปัญหาให้กับผู้ใส่แทน นั่นเอง

 

 ข้อมุลจาก ผศ.นพ. ธีรวุฒิ ธรรมวิบูลย์ศรี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

ภาวะนิ้วหัวแม่เท้านูน

     ความสวยของการใส่ส้นสูงที่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าอาจเสื่ยงภาวะนิ้วหัวแม่เท้านูนหรือเก เมื่อมีภาวะข้อนิ้วหัวแม่เท้าด้านในนูนออกร่วมกับปลายนิ้วหัวแม่เท้าเริ่มเกออกไปด้านนอก ทางการแพทย์จะเรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะปลายนิ้วหัวแม่เท้าเกออก ( hallux valgus หรือ bunion )” ตำแหน่งที่มีข้อนูนออกมานี้จะมีความไว (ปวด) ต่อแรงกดและแรงเสียดสีจากรองเท้าที่สวมใส่ ซึ่งมีสาเหตุเกิดได้จากหลายประการ เช่น ภาวะเท้าแบน การสวมรองเท้าส้นสูง หรือรองเท้าหัวแคบเป็นเวลานาน สาเหตุเหล่านี้จะทำให้ปลายนิ้วหัวแม่เท้าเกหรือบิดเข้าสู่นิ้วเท้าที่สอง

     อาการปวดจากภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเกเป็นได้หลายตำแหน่ง ส่วนใหญ่มักจะเป็นบริเวณข้อนิ้วหัวแม่เท้าที่นูนออกเสียดสีกับรองเท้า ทำให้เกิดหนังด้านและมีการอักเสบของถุงน้ำที่บริเวณนี้ได้ ตำแหน่งอื่นที่ทำให้อาการปวดอาจจะเป็นบริเวณที่นิ้วหัวแม่เท้าเบียดนิ้วเท้าอื่น ๆ ทำให้นิ้วเสียดสีกัน รวมทั้งถ้านิ้วหัวแม่เท้าเกมาก ๆ จะทำให้นิ้วเท้าที่สองถูกเบียดลอยขึ้นอยู่บนนิ้วหัวแม่เท้า หรือที่เรียกว่าภาวะนิ้วค้อน (hammer toe) ถ้าถูกเบียดมาก ๆ จะทำให้เกิดภาวะนิ้วไขว้ (cross over toe) ทำให้ผิวด้านบนของนิ้วเท้าที่เกยกันอาจเสียดสีกับรองเท้าทำให้เกิดหนังด้านและเกิดอาการปวดได้ หรือบางรายอาจมีอาการปวดจากเยื่อหุ้มข้อทางด้านในถูกดึงยืดและจากเส้นประสาททางด้านในถูกกดและดึงรั้ง ทำให้มีอาการชาตรงปลายนิ้วหัวแม่เท้าได้ นอกจากนี้การมีนิ้วหัวแม่เท้าเกจะทำให้นิ้วหัวแม่เท้าไม่สามารถรับน้ำหนักได้ น้ำหนักตัวจะถูกรับน้ำหนักไปที่ฝ่าเท้าบริเวณนิ้วเท้าที่สองถึงนิ้วที่ห้าแทน  ทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณฝ่าเท้าและมีหนังด้านเกิดขึ้นได้

 

สาเหตุของภาวะปลายนิ้วหัวแม่เท้าเก

  1. เกิดจากกรรมพันธุ์ หรือความผิดปกติของเท้าตั้งแต่เกิด เช่น เท้าแบน นิ้วเท้ายาวมาก นิ้วหัวแม่เท้าเกออกเอง เป็นต้น
  2. เกิดจากการใส่รองเท้าบีบรัดปลายเท้า หรือใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ แม้ว่ารองเท้าส้นสูงจะทำให้ผู้ใส่ดูสูง มีขาเรียวสวยขึ้น แต่การใส่ส้นสูงนาน ๆ จะทำให้กระดูกและข้อต่อของนิ้วหัวแม่เท้าต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ ทำให้ข้อต่อบริเวณนี้หลวมและเกิดความไม่มั่นคง เกิดการเอียงเข้าด้านในของกระดูกโคนนิ้วหัวแม่เท้าและปลายนิ้วหัวแม่เท้าเกตามมา นอกจากนี้ผิวฝ่าเท้าส่วนหน้าอาจด้านและแข็งเป็นไตเพราะต้องรับน้ำหนักมาก   ทำให้มีปัญหาปวดฝ่าเท้า นิ้วเท้า รวมทั้งการใส่ส้นสูงเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้มีอาการปวดน่อง และปวดหลังตามมา  ดังนั้นควรใส่ส้นสูงเมื่อจำเป็น
  3. เกิดจากการผิดปกติของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น เช่น ภาวะความยืดหยุ่นของข้อสูง (hypermobility) หรือจากการอักเสบของข้อโดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์
  4. เกิดจากการบาดเจ็บที่ข้อต่อนิ้วหัวแม่เท้า เช่นได้รับอุบัติเหตุ ทำให้เอ็นข้อต่อได้รับบาดเจ็บหรือฉีกขาด

 

 

ทำอย่างไรดี เมื่อเกิดภาวะปลายนิ้วหัวแม่เท้าเก

  1. การรักษาเบี้องต้นในกรณีผู้ป่วยมีอาการปวดไม่มาก หรือมีภาวะเท้าผิดรูปเพียงเล็กน้อย สามารถทำการรักษาได้ดังนี้
  • หลีกเลี่ยงรองเท้าส้นสูง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้กระดูกและข้อต่อของนิ้วหัวแม่เท้ารับน้ำหนักมากเกินไป
  • เลือกใส่รองเท้าที่มีความกว้างของส่วนเท้าด้านหน้ามากเป็นพิเศษ (wide toe box) ความยาวของรองเท้าควรจะชิดส้นรองเท้าพอดี และส่วนหัวรองเท้า ให้เหลือพื้นที่เท่ากับความกว้างของนิ้วหัวแม่มือเมื่อวัดจากนิ้วเท้าที่ยาวที่สุด ไม่จำเป็นต้องเป็นนิ้วหัวแม่เท้าเสมอไป หัวรองเท้ากว้างและลึกพอจนไม่กดและเสียดสีกับนิ้วเท้า และส่วนที่กว้างที่สุดของรองเท้าควรตรงและพอดีกับตำแหน่งที่กว้างที่สุดของเท้า
  • การใส่อุปกรณ์ประคองนิ้วเท้า เช่น bunion splint, toe spacer สามารถช่วยลดอาการปวดบริเวณข้อต่อ หรือลดการเสียดสีของนิ้วได้ อย่างไรก็ตามอุปกรณ์เหล่านี้ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอว่าช่วยแก้ไขความผิดรูป หรือป้องกันไม่ให้เป็นรุนแรงขึ้นได้
  1. การรักษาด้วยการผ่าตัด กรณีผู้ป่วยที่เป็นมานาน จะมีอาการเจ็บตลอดเวลาหรือใส่รองเท้าลำบาก แพทย์อาจพิจารณาแก้ไขภาวะนิ้วเท้าผิดรูปด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่นตัดกระดูกที่นูนออก ปรับแต่งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบ ๆ และจัดกระดูกให้เข้าที่ รวมทั้งยึดตรึงกระดูกด้วยโลหะ การผ่าตัดเหล่านี้จะทำให้หายเจ็บเท้า เท้าแคบลง ทำให้เลือกใส่รองเท้าได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้ป่วยสามารถสอบถามการปฏิบัติตนหลังรับการผ่าตัดอย่างเหมาะสมได้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมกับการดูแลใส่ใจตนเองของผู้ป่วย อาทิ งดใส่รองเท้าหัวแคบ รองเท้าส้นสูง จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะผิดรูปของนิ้วหัวแม่เท้า และสุขภาพเท้าที่จะก้าวต่อไปได้อย่างราบรื่น

 

จะเห็นได้ว่า สิ่งที่ช่วยปกป้องเท้าของเราก็คือ การสวมใส่รองเท้าที่คุณภาพดีและเหมาะสมกับเท้าของผู้ใส่ ซึ่งควรสวมรองเท้าตลอดเวลาแม้อยู่ในบ้าน เพื่อช่วยรับน้ำหนักและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเท้า หากรองเท้าที่สวมใส่ไม่เหมาะสมกับเท้า รองเท้าอาจเป็นตัวก่อปัญหาให้กับผู้ใส่แทน นั่นเอง

 

 ข้อมุลจาก ผศ.นพ. ธีรวุฒิ ธรรมวิบูลย์ศรี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง