ระดูไม่สม่ำเสมอ อ้วน ฮอร์โมนเพศชายเกิน เสี่ยงกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ

กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) คือ กลุ่มอาการที่มีความผิดปกติของหลายๆ ระบบ ทำให้เกิดการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตกไข่ เกิดเป็นถุงน้ำเล็กๆ ในรังไข่ ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ โดยพบความชุกประมาณร้อยละ 5-10 ของสตรีวัยเจริญพันธุ์

สาเหตุ

กลไกการเกิด PCOS ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่โดยหลักๆ คือ มีกลไกที่ทำให้เกิดการตกไข่ไม่สม่ำเสมอ ฮอร์โมนเพศชายเกิน และมีภาวะดื้ออินซูลินซึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานในอนาคต ซึ่งเป็นกลไกที่ซับซ้อนไปมา ไม่ทราบสาเหตุหรือจุดตั้งต้นของกลไกการเกิดโรคที่แน่ชัด

อาการ

  1. มีระดูผิดปกติ โดยมักจะมีรอบระดูห่าง มากกว่า 35 วัน หรือมีการขาดหายของระดูต่อเนื่องมากกว่า 3 รอบเดือน หรือมีระดูน้อยกว่า 8 รอบใน 1 ปี หรืออาจมีระดูกะปริบกะปรอยหลังจากที่มีการขาดหายของรอบระดูเป็นระยะเวลานาน
  2. มีภาวะน้ำหนักเกิน หรืออ้วน คือมีค่าดัชนีมวลกาย หรือ body mass index (BMI) มากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (เกณฑ์สำหรับในคนเอเชีย) และภาวะอ้วนใน PCOS นี้ มักสัมพันธ์กับภาวะอ้วนแบบ อ้วนลงพุง คือมีขนาดเส้นรอบเอวมากกว่า 80 เซนติเมตร (เกณฑ์สำหรับสตรีเอเซีย)
  3. มีอาการแสดงของภาวะฮอร์โมนเพศชายเกิน เช่น หน้ามัน สิว ขนดก ผมร่วง ศรีษะล้าน เป็นต้น
  4. มีภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากมีภาวการณ์ตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ตกไข่

การวินิจฉัย

  1. การซักประวัติรอบระดู เช่น มีรอบระดูห่างมากกว่า 35 วัน มีการขาดหายของรอบระดูต่อเนื่องนานเกิน 3 รอบเดือน หรือใน 1 ปี มีระดูน้อยกว่า 8 ครั้งต่อปี โดยไม่ได้ใช้ยาอื่น หรือใช้ฮอร์โมนอื่นที่จะทำให้มีระดูผิดปกติดังกล่าว
  2. การตรวจร่างกาย การประเมินอาการแสดงออกของฮอร์โมนเพศชายเกิน เช่น หน้ามัน สิว ขนดก ศรีษะล้าน ประเมินภาวะอ้วน อ้วนลงพุง ตรวจหาลักษณะที่บ่งชี้ความเสี่ยงในการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งจะเป็นรอยดำของผิวหนังตามข้อพับ เช่น ที่ด้านหลังต้นคอ รักแร้ หรือใต้ราวนม โดยลักษณะดังกล่าวเรียกว่า Acanthosis nigricans ซึ่งถ้าตรวจพบจะบ่งชี้ว่าสตรีรายนั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะมีภาวะดื้ออินซูลินและนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานในอนาคต
  3. การตรวจภายใน หรือการตรวจอัลตร้าซาวนด์ในอุ้งเชิงกราน เพื่อดูลักษณะรังไข่ว่ามีลักษณะเข้าได้กับถุงน้ำรังไข่หลายใบหรือไม่ หรือตรวจหาความผิดปกติอื่นของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานร่วมด้วยหรือไม่
  4. การเจาะเลือด เพื่อประเมินฮอร์โมนเพศ หรือตัดสาเหตุของโรคอื่นที่จะทำให้มีอาการคล้าย PCOS เช่น โรคไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ฮอร์โมนต่อมใต้สมองผิดปกติ โรคของต่อมหมวกไต หรือโรคอื่น นอกจากนี้การเจาะเลือดยังเพื่อประเมินภาวะดื้ออินซูลิน โรคเบาหวาน รวมทั้งระดับไขมันในเลือดด้วยว่ามีความผิดปกติร่วมด้วยหรือไม่

ความเสี่ยงของ PCOS

สตรีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น PCOS แล้ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเยื่อบุมดลูกหนาตัว และ/หรือมะเร็งเยื่อบุมดลูกในอนาคต เนื่องจากภาวะตกไข่ไม่สม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน ระดับไขมันสูงผิดปกติ เกิดกลุ่มอาการอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) และนำมาสู่ความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจในอนาคต

แนวทางการรักษา

  1. ในรายที่ยังไม่ต้องการมีบุตร แพทย์จะให้ยาฮฮร์โมนเพื่อให้ผู้ป่วยมีระดูที่สม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดเยื่อบุมดลูกหนาตัว และ/หรือมะเร็งเยื่อบุมดลูก โดยยาฮอร์โมนที่ใช้อาจเป็นยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ที่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย เพื่อให้มีระดูตามรอบยาและลดอาการแสดงออกของฮอร์โมนเพศชายเกิน เช่น สิว หน้ามัน ผมร่วง ขนดก และคุมกำเนิดได้ด้วย หรือใช้ยาฮอร์โมนชนิดเดี่ยว รับประทานเป็นรอบๆ ตามที่แพทย์กำหนดเพื่อให้มีระดูตามรอบยาที่สม่ำเสมอ หรือใช้ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมนใส่ในโพรงมดลูกเพื่อให้ฮอร์โมนออกฤทธิ์กดเยื่อบุมดลูกไม่ให้หนาตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะใช้ฮอร์โมนชนิดใดแพทย์จะพิจารณาความเหมาะสมของผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป
  2. ในรายที่ต้องการมีบุตร อาจต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมีบุตรยาก เพื่อร่วมประเมินและให้การรักษา โดยมีวิธีรักษา ได้แก่
    1. ใช้ยากระตุ้นไข่ชักนำให้เกิดการตกไข่ แล้วทำการฉีดเชื้อ หรือการทำเด็กหลอดแก้ว ขึ้นกับความรุนแรงหรือความผิดปกติของโรคในสตรีแต่ละราย
    2. การรักษาด้วยการผ่าตัด ใช้วิธีการรักษานี้ในกลุ่มสตรีที่มีบุตรยาก กรณีที่ไม่สามารถชักนำให้เกิดการตกไข่ได้ด้วยยา โดยจะทำการผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้อง แล้วใช้เครื่องจี้ไฟฟ้าหรือเลเซอร์ที่ผิวรังไข่ให้เป็นรูเล็กๆ หรือเรียกว่า ovarian drilling เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตกไข่
  3. ในสตรี PCOS ที่ตรวจพบว่ามีภาวะดื้ออินซูลิน หรือเป็นโรคเบาหวานไปแล้ว ต้องได้รับยาเพื่อลดภาวะดื้ออินซูลินหรือยารักษาเบาหวาน และถ้าตรวจพบว่ามีระดับไขมันที่สูงมากอาจต้องได้รับยาลดไขมันร่วมด้วย
  4. แนะนำให้ควบคุมหรือลดน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย

การดูแลตัวเองเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น PCOS

เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนควรปฏิบัติ ดังนี้

  1. ควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. ใช้ยาฮอร์โมนตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยา หรือลดยาเอง หรือปรับเปลี่ยนยาเอง ซึ่งการใช้ยาฮอร์โมนในสตรีแต่ละรายอาจมีความเหมาะสมของการใช้ฮอร์โมนแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน
  3. ตรวจติดตามตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E

กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) คือ กลุ่มอาการที่มีความผิดปกติของหลายๆ ระบบ ทำให้เกิดการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตกไข่ เกิดเป็นถุงน้ำเล็กๆ ในรังไข่ ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ โดยพบความชุกประมาณร้อยละ 5-10 ของสตรีวัยเจริญพันธุ์

สาเหตุ

กลไกการเกิด PCOS ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่โดยหลักๆ คือ มีกลไกที่ทำให้เกิดการตกไข่ไม่สม่ำเสมอ ฮอร์โมนเพศชายเกิน และมีภาวะดื้ออินซูลินซึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานในอนาคต ซึ่งเป็นกลไกที่ซับซ้อนไปมา ไม่ทราบสาเหตุหรือจุดตั้งต้นของกลไกการเกิดโรคที่แน่ชัด

อาการ

  1. มีระดูผิดปกติ โดยมักจะมีรอบระดูห่าง มากกว่า 35 วัน หรือมีการขาดหายของระดูต่อเนื่องมากกว่า 3 รอบเดือน หรือมีระดูน้อยกว่า 8 รอบใน 1 ปี หรืออาจมีระดูกะปริบกะปรอยหลังจากที่มีการขาดหายของรอบระดูเป็นระยะเวลานาน
  2. มีภาวะน้ำหนักเกิน หรืออ้วน คือมีค่าดัชนีมวลกาย หรือ body mass index (BMI) มากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (เกณฑ์สำหรับในคนเอเชีย) และภาวะอ้วนใน PCOS นี้ มักสัมพันธ์กับภาวะอ้วนแบบ อ้วนลงพุง คือมีขนาดเส้นรอบเอวมากกว่า 80 เซนติเมตร (เกณฑ์สำหรับสตรีเอเซีย)
  3. มีอาการแสดงของภาวะฮอร์โมนเพศชายเกิน เช่น หน้ามัน สิว ขนดก ผมร่วง ศรีษะล้าน เป็นต้น
  4. มีภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากมีภาวการณ์ตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ตกไข่

การวินิจฉัย

  1. การซักประวัติรอบระดู เช่น มีรอบระดูห่างมากกว่า 35 วัน มีการขาดหายของรอบระดูต่อเนื่องนานเกิน 3 รอบเดือน หรือใน 1 ปี มีระดูน้อยกว่า 8 ครั้งต่อปี โดยไม่ได้ใช้ยาอื่น หรือใช้ฮอร์โมนอื่นที่จะทำให้มีระดูผิดปกติดังกล่าว
  2. การตรวจร่างกาย การประเมินอาการแสดงออกของฮอร์โมนเพศชายเกิน เช่น หน้ามัน สิว ขนดก ศรีษะล้าน ประเมินภาวะอ้วน อ้วนลงพุง ตรวจหาลักษณะที่บ่งชี้ความเสี่ยงในการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งจะเป็นรอยดำของผิวหนังตามข้อพับ เช่น ที่ด้านหลังต้นคอ รักแร้ หรือใต้ราวนม โดยลักษณะดังกล่าวเรียกว่า Acanthosis nigricans ซึ่งถ้าตรวจพบจะบ่งชี้ว่าสตรีรายนั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะมีภาวะดื้ออินซูลินและนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานในอนาคต
  3. การตรวจภายใน หรือการตรวจอัลตร้าซาวนด์ในอุ้งเชิงกราน เพื่อดูลักษณะรังไข่ว่ามีลักษณะเข้าได้กับถุงน้ำรังไข่หลายใบหรือไม่ หรือตรวจหาความผิดปกติอื่นของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานร่วมด้วยหรือไม่
  4. การเจาะเลือด เพื่อประเมินฮอร์โมนเพศ หรือตัดสาเหตุของโรคอื่นที่จะทำให้มีอาการคล้าย PCOS เช่น โรคไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ฮอร์โมนต่อมใต้สมองผิดปกติ โรคของต่อมหมวกไต หรือโรคอื่น นอกจากนี้การเจาะเลือดยังเพื่อประเมินภาวะดื้ออินซูลิน โรคเบาหวาน รวมทั้งระดับไขมันในเลือดด้วยว่ามีความผิดปกติร่วมด้วยหรือไม่

ความเสี่ยงของ PCOS

สตรีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น PCOS แล้ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเยื่อบุมดลูกหนาตัว และ/หรือมะเร็งเยื่อบุมดลูกในอนาคต เนื่องจากภาวะตกไข่ไม่สม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน ระดับไขมันสูงผิดปกติ เกิดกลุ่มอาการอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) และนำมาสู่ความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจในอนาคต

แนวทางการรักษา

  1. ในรายที่ยังไม่ต้องการมีบุตร แพทย์จะให้ยาฮฮร์โมนเพื่อให้ผู้ป่วยมีระดูที่สม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดเยื่อบุมดลูกหนาตัว และ/หรือมะเร็งเยื่อบุมดลูก โดยยาฮอร์โมนที่ใช้อาจเป็นยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ที่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย เพื่อให้มีระดูตามรอบยาและลดอาการแสดงออกของฮอร์โมนเพศชายเกิน เช่น สิว หน้ามัน ผมร่วง ขนดก และคุมกำเนิดได้ด้วย หรือใช้ยาฮอร์โมนชนิดเดี่ยว รับประทานเป็นรอบๆ ตามที่แพทย์กำหนดเพื่อให้มีระดูตามรอบยาที่สม่ำเสมอ หรือใช้ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมนใส่ในโพรงมดลูกเพื่อให้ฮอร์โมนออกฤทธิ์กดเยื่อบุมดลูกไม่ให้หนาตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะใช้ฮอร์โมนชนิดใดแพทย์จะพิจารณาความเหมาะสมของผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป
  2. ในรายที่ต้องการมีบุตร อาจต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมีบุตรยาก เพื่อร่วมประเมินและให้การรักษา โดยมีวิธีรักษา ได้แก่
    1. ใช้ยากระตุ้นไข่ชักนำให้เกิดการตกไข่ แล้วทำการฉีดเชื้อ หรือการทำเด็กหลอดแก้ว ขึ้นกับความรุนแรงหรือความผิดปกติของโรคในสตรีแต่ละราย
    2. การรักษาด้วยการผ่าตัด ใช้วิธีการรักษานี้ในกลุ่มสตรีที่มีบุตรยาก กรณีที่ไม่สามารถชักนำให้เกิดการตกไข่ได้ด้วยยา โดยจะทำการผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้อง แล้วใช้เครื่องจี้ไฟฟ้าหรือเลเซอร์ที่ผิวรังไข่ให้เป็นรูเล็กๆ หรือเรียกว่า ovarian drilling เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตกไข่
  3. ในสตรี PCOS ที่ตรวจพบว่ามีภาวะดื้ออินซูลิน หรือเป็นโรคเบาหวานไปแล้ว ต้องได้รับยาเพื่อลดภาวะดื้ออินซูลินหรือยารักษาเบาหวาน และถ้าตรวจพบว่ามีระดับไขมันที่สูงมากอาจต้องได้รับยาลดไขมันร่วมด้วย
  4. แนะนำให้ควบคุมหรือลดน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย

การดูแลตัวเองเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น PCOS

เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนควรปฏิบัติ ดังนี้

  1. ควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. ใช้ยาฮอร์โมนตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยา หรือลดยาเอง หรือปรับเปลี่ยนยาเอง ซึ่งการใช้ยาฮอร์โมนในสตรีแต่ละรายอาจมีความเหมาะสมของการใช้ฮอร์โมนแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน
  3. ตรวจติดตามตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง