กระดูกสะโพกขาดเลือด รักษาได้

กระดูกสะโพกขาดเลือด เกิดขึ้นได้อย่างไร?

การเกิดสภาวะดังกล่าว อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งจำแนกได้ ดังนี้

  1. สาเหตุอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่กระดูกสะโพกที่พบบ่อยคือ กระดูกหัก หรือเคลื่อนหลุด
  2. สาเหตุอันเกิดจากภาวะที่กระดูกตายอันเนื่องมาจากโรคประจำตัวหรือได้รับสารพิษบางประเภท เช่น แอลกอฮอล์ในปริมาณมากรวมถึงการได้รับยาบางประเภท

ซึ่งแต่ละสาเหตุเหล่านี้ล้วนนำไปสู่ภาวะ ปวดสะโพกจากหัวกระดูกสะโพกขาดเลือดได้ โดยจะทำให้ผู้ป่วยเดินได้ลำบาก ไม่สามารถนั่งยองๆ หรือนั่งขัดสมาธิได้ หรือเดินแล้วลำตัวเอียงไปข้างหนึ่ง เป็นต้น

การวินิจฉัยภาวะปวดข้อกระดูกสะโพกขาดเลือด

การวินิจฉัยภาวะหัวกระดูกตายจะใช้ภาพรังสีในการร่วมวินิจฉัยหรือ ในบางครั้งจำเป็นต้องใช้ภาพรังสีชนิดพิเศษ MRI (Magnetic Reso - nance Image) ในการร่วมวินิจฉัย

การรักษาภาวะปวดข้อกระดูกสะโพกขาดเลือด

  • การรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยม

อันเป็นการชะลอการดำเนินของโรค หรือหยุดการดำเนินของโรคโดยหลีกเลี่ยงวิธีการผ่าตัด เพื่อให้สะโพกเสียหายน้อยที่สุด เช่น การทำกายภาพบำบัด การรับประทานยา เป็นต้น

  • การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

ซึ่งมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับภาวะของโรค การรักษาผ่าตัดบางประเภทเพื่อชะลอการดำเนินโรค ลดภาวะความบาดเจ็บและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยยังใช้ข้อสะโพกของตนเองอยู่ แต่หากในบางรายที่ดำเนินโรคถึงขั้นสุดท้ายจะให้การรักษาด้วยการเปลี่ยนข้อเทียม ซึ่งเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ และช่วยให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บปวดได้อีกด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!!  ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

กระดูกสะโพกขาดเลือด เกิดขึ้นได้อย่างไร?

การเกิดสภาวะดังกล่าว อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งจำแนกได้ ดังนี้

  1. สาเหตุอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่กระดูกสะโพกที่พบบ่อยคือ กระดูกหัก หรือเคลื่อนหลุด
  2. สาเหตุอันเกิดจากภาวะที่กระดูกตายอันเนื่องมาจากโรคประจำตัวหรือได้รับสารพิษบางประเภท เช่น แอลกอฮอล์ในปริมาณมากรวมถึงการได้รับยาบางประเภท

ซึ่งแต่ละสาเหตุเหล่านี้ล้วนนำไปสู่ภาวะ ปวดสะโพกจากหัวกระดูกสะโพกขาดเลือดได้ โดยจะทำให้ผู้ป่วยเดินได้ลำบาก ไม่สามารถนั่งยองๆ หรือนั่งขัดสมาธิได้ หรือเดินแล้วลำตัวเอียงไปข้างหนึ่ง เป็นต้น

การวินิจฉัยภาวะปวดข้อกระดูกสะโพกขาดเลือด

การวินิจฉัยภาวะหัวกระดูกตายจะใช้ภาพรังสีในการร่วมวินิจฉัยหรือ ในบางครั้งจำเป็นต้องใช้ภาพรังสีชนิดพิเศษ MRI (Magnetic Reso - nance Image) ในการร่วมวินิจฉัย

การรักษาภาวะปวดข้อกระดูกสะโพกขาดเลือด

  • การรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยม

อันเป็นการชะลอการดำเนินของโรค หรือหยุดการดำเนินของโรคโดยหลีกเลี่ยงวิธีการผ่าตัด เพื่อให้สะโพกเสียหายน้อยที่สุด เช่น การทำกายภาพบำบัด การรับประทานยา เป็นต้น

  • การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

ซึ่งมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับภาวะของโรค การรักษาผ่าตัดบางประเภทเพื่อชะลอการดำเนินโรค ลดภาวะความบาดเจ็บและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยยังใช้ข้อสะโพกของตนเองอยู่ แต่หากในบางรายที่ดำเนินโรคถึงขั้นสุดท้ายจะให้การรักษาด้วยการเปลี่ยนข้อเทียม ซึ่งเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ และช่วยให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บปวดได้อีกด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!!  ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง