หน้าร้อนระวัง ฮีทสโตรค

โรคลมร้อน หรือ Heatstroke มักพบในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ทันที โดยโรคนี้เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาทันทีเนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก

บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ที่จะเป็นโรคลมร้อน ได้แก่ ทหารที่ไม่ได้เตรียมร่างกายเพื่อเข้ารับการฝึก นักกีฬาที่ออกกำลัง และผู้ที่ทำงานในอากาศร้อนจัด

อาการของโรคลมร้อน

  • มีไข้สูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส
  • ปวดศีรษะ หน้ามืด เมื่อยล้า อ่อนเพลีย และอาจหมดสติได้
  • มีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ชัก เพ้อ เดินโซเซ ตอบสนองช้า พูดจาสับสน
  • ไม่มีเหงื่อออก จากผลของต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงมากขึ้น
  • อาจพบปัสสาวะสีเข้มผิดปกติจากภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย และอาจเกิดภาวะไตวายตามมาได้

#ศูนย์อายุรกรรม #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #ฮีทสโตรค #โรคลมแดด #หน้าร้อน #อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น #ตะคริวแดด #เพลียแดด #หน้ามืด #เป็นลม #เมื่อยล้า #อ่อนเพลีย #ปวดศีรษะ #หมดสติ #พูดจาสับสน #ชัก #Heat Stroke

 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

หลักการสำคัญที่สุดในการปฐมพยาบาล คือ การทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงให้เร็วที่สุดก่อนนำส่งโรงพยาบาล เช่น ย้ายผู้ป่วยมาในที่ร่ม จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย ยกขาสูง ถอดเสื้อผ้า แล้วใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามร่างกายโดยเฉพาะบริเวณหลังคอ รักแร้ ขาหนีบ และนำพัดลมเป่าระบายความร้อน หากผู้ป่วยรู้สึกตัวให้ดื่มน้ำเกลือให้มากที่สุดเพื่อทดแทนภาวะการขาดน้ำ จากนั้นรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

การป้องกันภาวะลมร้อน

  • ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบายและบาง อากาศถ่ายเทได้ดี
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
  • หากเล่นกีฬาเป็นเวลานานกว่า 1 ชั่วโมง ควรดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมกลางแดด ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด

ข้อมูลจาก : นพ. พีรวิชญ์ จีรทีปตานนท์

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!!  คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A

 

โรคลมร้อน หรือ Heatstroke มักพบในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ทันที โดยโรคนี้เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาทันทีเนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก

บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ที่จะเป็นโรคลมร้อน ได้แก่ ทหารที่ไม่ได้เตรียมร่างกายเพื่อเข้ารับการฝึก นักกีฬาที่ออกกำลัง และผู้ที่ทำงานในอากาศร้อนจัด

อาการของโรคลมร้อน

  • มีไข้สูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส
  • ปวดศีรษะ หน้ามืด เมื่อยล้า อ่อนเพลีย และอาจหมดสติได้
  • มีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ชัก เพ้อ เดินโซเซ ตอบสนองช้า พูดจาสับสน
  • ไม่มีเหงื่อออก จากผลของต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงมากขึ้น
  • อาจพบปัสสาวะสีเข้มผิดปกติจากภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย และอาจเกิดภาวะไตวายตามมาได้

#ศูนย์อายุรกรรม #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #ฮีทสโตรค #โรคลมแดด #หน้าร้อน #อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น #ตะคริวแดด #เพลียแดด #หน้ามืด #เป็นลม #เมื่อยล้า #อ่อนเพลีย #ปวดศีรษะ #หมดสติ #พูดจาสับสน #ชัก #Heat Stroke

 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

หลักการสำคัญที่สุดในการปฐมพยาบาล คือ การทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงให้เร็วที่สุดก่อนนำส่งโรงพยาบาล เช่น ย้ายผู้ป่วยมาในที่ร่ม จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย ยกขาสูง ถอดเสื้อผ้า แล้วใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามร่างกายโดยเฉพาะบริเวณหลังคอ รักแร้ ขาหนีบ และนำพัดลมเป่าระบายความร้อน หากผู้ป่วยรู้สึกตัวให้ดื่มน้ำเกลือให้มากที่สุดเพื่อทดแทนภาวะการขาดน้ำ จากนั้นรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

การป้องกันภาวะลมร้อน

  • ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบายและบาง อากาศถ่ายเทได้ดี
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
  • หากเล่นกีฬาเป็นเวลานานกว่า 1 ชั่วโมง ควรดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมกลางแดด ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด

ข้อมูลจาก : นพ. พีรวิชญ์ จีรทีปตานนท์

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!!  คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง