ปวดฝ่าเท้า อาการโรครองช้ำ

โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

    โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (รองช้ำ) คือ ภาวะที่มีการอักเสบของเอ็นใต้ฝ่าเท้า เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในเพศหญิงซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บส้นเท้า และมักเป็นมากในตอนเช้าเมื่อลุกจากเตียงโดยอาการมักเป็นๆ หายๆ และเป็นมากขึ้นตามลักษณะการใช้งานการอับเสบจะเกิดขึ้นที่เอ็นบริเวณส้นเท้าต่อเนื่องไปจนถึงเอ็นร้อยหวาย ในรายที่เป็นมานาน หรือไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาการจะเรื้อรังมากขึ้น และมักเอกซเรย์พบหินปูนงอกบริเวณกระดูกส้นเท้าด้วย

ใครที่เสี่ยงเป็นโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

  1. คนสูงอายุ เนื่องจากพังผืดฝ่าเท้ามีความยืดหยุ่นน้อยลง
  2. คนที่มีน้ำหนักเกิน ทำให้พังผืดฝ่าเท้ารับแรงกระแทกมากขึ้น
  3. คนที่มีอาชีพยืนหรือเดินมาก ทำให้พังผืดฝ่าเท้าตึง
  4. คนที่มีอุ้งเท้าสูงหรือแบนผิดปกติก็อาจมีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น
  5. คนที่ใส่รองเท้าพื้นแข็งหรือพื้นบางเป็นประจำ

6 วิธีรักษาให้ลาขาด จากโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

 1. การพักและใช้ยาลดอาการอักเสบ
การลดการเดิน (ใช้ไม้เท้าพยุง) การประคบความเย็นหรือน้ำแข็งประมาณ 20 นาที 3-4 ครั้ง/วัน ในตอนเย็นจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ดี การรับประทานยาลดอาการอักเสบควรพิจารณาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและไม่ควรรับประทานต่อเนื่องนานเกิน 2-3 สัปดาห์

 2. การบริหาร
การบริหารเอ็นร้อยหวายและพังผืดฝ่าเท้าที่เหมาะสม จะช่วยทั้งรักษาและป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ดีที่สุด

   การบริหารเพื่อยืดเอ็นร้อยหวาย 

ท่าที่ 1

ท่าที่ 2

ท่าที่ 3

           

   การบริหาร เพื่อยืดพังผืดฝ่าเท้า 

ท่าที่ 1

ท่าที่ 2 

ท่าที่ 3

 

ยืนหันหน้าเข้าฝาผนังแล้วดันมือกับผนัง ก้าวขาที่ต้องการยืดไปด้านหลัง ส้นเท้าติดพื้นย่อเข่าหน้าจนรู้สึกตึงขาหลัง ทำค้างไว้ประมาณ 30-60 วินาที ทำซ้ำ 10-20 ครั้ง/วัน หรืออาจจะนั่งกับพื้นราบแล้วใช้ผ้าเช็ดตัวช่วยตึงปลายเท้าก็ได้

 3. การใช้แผ่นรองส้นเท้า

การใช้แผ่นรองเท้าที่อ่อนนุ่ม หรือสวมรองเท้าที่เหมาะสม ก็ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี และการใส่เฝือกอ่อนจะช่วยลดการเคลื่อนไหวที่ข้อเท้าอาจเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยลดอาการอักเสบในช่วงแรกได้ดี

 4. การรักษาด้วยความถี่ (Shock Wave)

เป็นการกระตุ้นเอ็นพังผืดฝ่าเท้าให้มีเส้นเลือดมาเลี้ยงซ่อมแซมตังเอง ได้ผลการรักษาใกล้เคียงการผ่าตัด

 5. การผ่าตัด (ส่วนน้อย)

หากรับการรักษาแล้วแต่ยังมีอาการไม่หายขาด จึงมีความจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อผ่าตัดพังผืดเท้าบางส่วนและนำหินปูนที่กระดูกส้นเท้าออก        

 6. การฉีดยาลดการอับเสบ

ไม่ควรใช้ยาสเตียรอยด์ฉีดเข้าบริเวณส้นเท้า เนื่องจากจะทำให้รักษาได้ยากขึ้น และมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกติดเชื้อ ไขมันฝ่าเท้าฝ่อ หรือ เอ็นฝ่าเท้าฉีกขาดซึ่งยากต่อการรักษามาก

ข้อควรระวัง

    ในบางกรณี การบาดเจ็บส้นเท้าอาจไม่ได้เกิดจากเอ็นฝ่าเท้าอักเสบเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากทำการบริหารแล้วยังมีอาการเจ็บอีก ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา และประมาณ 90% ของผู้ป่วยส่วนเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ มักจะดีขึ้นหลังจาก 2 เดือน หลังได้รับการรักษาที่เหมาะสม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

    โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (รองช้ำ) คือ ภาวะที่มีการอักเสบของเอ็นใต้ฝ่าเท้า เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในเพศหญิงซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บส้นเท้า และมักเป็นมากในตอนเช้าเมื่อลุกจากเตียงโดยอาการมักเป็นๆ หายๆ และเป็นมากขึ้นตามลักษณะการใช้งานการอับเสบจะเกิดขึ้นที่เอ็นบริเวณส้นเท้าต่อเนื่องไปจนถึงเอ็นร้อยหวาย ในรายที่เป็นมานาน หรือไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาการจะเรื้อรังมากขึ้น และมักเอกซเรย์พบหินปูนงอกบริเวณกระดูกส้นเท้าด้วย

ใครที่เสี่ยงเป็นโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

  1. คนสูงอายุ เนื่องจากพังผืดฝ่าเท้ามีความยืดหยุ่นน้อยลง
  2. คนที่มีน้ำหนักเกิน ทำให้พังผืดฝ่าเท้ารับแรงกระแทกมากขึ้น
  3. คนที่มีอาชีพยืนหรือเดินมาก ทำให้พังผืดฝ่าเท้าตึง
  4. คนที่มีอุ้งเท้าสูงหรือแบนผิดปกติก็อาจมีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น
  5. คนที่ใส่รองเท้าพื้นแข็งหรือพื้นบางเป็นประจำ

6 วิธีรักษาให้ลาขาด จากโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

 1. การพักและใช้ยาลดอาการอักเสบ
การลดการเดิน (ใช้ไม้เท้าพยุง) การประคบความเย็นหรือน้ำแข็งประมาณ 20 นาที 3-4 ครั้ง/วัน ในตอนเย็นจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ดี การรับประทานยาลดอาการอักเสบควรพิจารณาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและไม่ควรรับประทานต่อเนื่องนานเกิน 2-3 สัปดาห์

 2. การบริหาร
การบริหารเอ็นร้อยหวายและพังผืดฝ่าเท้าที่เหมาะสม จะช่วยทั้งรักษาและป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ดีที่สุด

   การบริหารเพื่อยืดเอ็นร้อยหวาย 

ท่าที่ 1

ท่าที่ 2

ท่าที่ 3

           

   การบริหาร เพื่อยืดพังผืดฝ่าเท้า 

ท่าที่ 1

ท่าที่ 2 

ท่าที่ 3

 

ยืนหันหน้าเข้าฝาผนังแล้วดันมือกับผนัง ก้าวขาที่ต้องการยืดไปด้านหลัง ส้นเท้าติดพื้นย่อเข่าหน้าจนรู้สึกตึงขาหลัง ทำค้างไว้ประมาณ 30-60 วินาที ทำซ้ำ 10-20 ครั้ง/วัน หรืออาจจะนั่งกับพื้นราบแล้วใช้ผ้าเช็ดตัวช่วยตึงปลายเท้าก็ได้

 3. การใช้แผ่นรองส้นเท้า

การใช้แผ่นรองเท้าที่อ่อนนุ่ม หรือสวมรองเท้าที่เหมาะสม ก็ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี และการใส่เฝือกอ่อนจะช่วยลดการเคลื่อนไหวที่ข้อเท้าอาจเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยลดอาการอักเสบในช่วงแรกได้ดี

 4. การรักษาด้วยความถี่ (Shock Wave)

เป็นการกระตุ้นเอ็นพังผืดฝ่าเท้าให้มีเส้นเลือดมาเลี้ยงซ่อมแซมตังเอง ได้ผลการรักษาใกล้เคียงการผ่าตัด

 5. การผ่าตัด (ส่วนน้อย)

หากรับการรักษาแล้วแต่ยังมีอาการไม่หายขาด จึงมีความจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อผ่าตัดพังผืดเท้าบางส่วนและนำหินปูนที่กระดูกส้นเท้าออก        

 6. การฉีดยาลดการอับเสบ

ไม่ควรใช้ยาสเตียรอยด์ฉีดเข้าบริเวณส้นเท้า เนื่องจากจะทำให้รักษาได้ยากขึ้น และมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกติดเชื้อ ไขมันฝ่าเท้าฝ่อ หรือ เอ็นฝ่าเท้าฉีกขาดซึ่งยากต่อการรักษามาก

ข้อควรระวัง

    ในบางกรณี การบาดเจ็บส้นเท้าอาจไม่ได้เกิดจากเอ็นฝ่าเท้าอักเสบเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากทำการบริหารแล้วยังมีอาการเจ็บอีก ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา และประมาณ 90% ของผู้ป่วยส่วนเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ มักจะดีขึ้นหลังจาก 2 เดือน หลังได้รับการรักษาที่เหมาะสม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง