เรื่องกิน เรื่องใหญ่ การเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ

Thermage นวัตกรรมยกกระชับผิวโดยไม่ต้องผ่าตัด โดย ศ.นพ.วรพงษ์ มนัสเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ผิวหนัง โรงพยาาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

 

คำถาม - คำตอบ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  

1. Ketogenic Diet คืออะไร? ช่วยในการลดน้ำหนักได้จริงไหม?

    Ketogenic Diet มีที่มาจากอาหารชนิดพิเศษที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคลมชักที่มีอาการรุนแรงมาก ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยา จึงนำแนวทางดังกล่าวมาใช้เพื่อควบคุมอาการให้ดีขึ้น แต่ในช่วงหลังได้มีคนนำวิธีการรับประทานอาหารแบบ Ketogenic Diet มาใช้ในการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก โดยปกติอาหารที่ให้พลังงานประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ซึ่งการรับประทานอาหารแบบ Ketogenic diet คือ งดรับประทานอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต และเพิ่มปริมาณการรับประทานอาหารในกลุ่มโปรตีนและไขมันมากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารคีโตน (Ketone) เกิดจากการเผาพลาญไขมันในร่างกาย และจะไปออกฤทธิ์ที่สมองทำให้ไม่รู้สึกหิว ทานน้อยลง และปัสสาวะมากขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วใน 1 - 2 สัปดาห์แรก ซึ่งในความเป็นจริงเป็นน้ำหนักของน้ำไม่ใช่ไขมัน

2. การควบคุมอาหารแบบ Ketogenic Diet มีผลเสียอย่างไร?

  • การรับประทานอาหารในกลุ่มไขมันชนิดอิ่มตัวในปริมาณมากๆ เช่น เนย หมูติดมัน น้ำมันหมู อาจส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดสูง (LDL) เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ในระยะยาว เปลี่ยนมาทานน้ำมันพืชแทน
  • หากรับประทานอาหารในกลุ่มโปรตีนไม่เพียงพออาจทำให้ร่างกายสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ส่งผลต่อการเผาพลาญพลังงานได้
  • การรับประทานอาหารแบบ Ketogenic Diet จะทำให้ร่างกายปัสสาวะมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดร่างกายขาดสารน้ำได้ ควรรับประทานน้ำอย่างน้อย 6 - 8 แก้ว / วัน
  • การงดรับประทานอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น ผลไม้ ข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง อาจทำให้ร่างกายเสียวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด ควรรับประทานผักใบเพื่อทดแทนคาร์โบไฮเดรตให้เพียงพอ
  • ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนรับประทานอาหารแบบ Ketogenic Diet เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำได้

 

#ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #การเลือกรับประทานอาหาร #ลดหน้ำหนัก #ควบคุมอาหาร #ควบคุมน้ำหนัก #สูตรลดน้ำหนัก #Ketogenic Diet #Intermittent Fasting #การควบคุมน้ำหนักที่ถูกต้อง

 

 

3. Intermittent Fasting คืออะไร? มีผลต่อร่างกายอย่างไร?

    Intermittent Fasting เป็นการควบคุมน้ำหนักโดยการรับประทานอาหารเป็นช่วงๆ อดบ้าง รับประทานบ้าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1: การควบคุมอาหารให้สัมพันธ์กับความมืดและความสว่างของวัน เช่น การรับประทานอาหาร 8 ชั่วโมงในช่วงกลางวัน และงดรับประทานอาหาร 16 ชั่วโมงในช่วงกลางคืน ส่งผลให้ระบบการเผาพลาญอาหาร (Metabolism) และสุขภาพโดยรวมดีขึ้น ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะอ้วน เป็นต้น

กลุ่มที่ 2: การควบคุมอาหารในคนละวันกัน เช่น ควบคุมการรับประทานอาหาร 5 วัน และอีก 2 วัน สามารถรับประทานอาหารตามใจอยากได้ หรือเรียกว่า Cheat Day

4. การควบคุมอาหารแบบ Intermittent Fasting มีผลเสียอย่างไร?

    สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องรับประทานยาให้ตรงเวลา เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน การเปลี่ยนแปลงเวลาในการรับประทานอาหารแบบ Intermittent Fasting ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ที่ดูแลโรคประจำตัวท่านก่อน

5. แนวทางการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักที่ถูกต้องคืออะไร?

  • ควรรับประทานอาหารที่หลากหลาย ลดอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น อาหารในกลุ่มหวาน มัน เค็ม จะช่วยให้น้ำหนักอยู๋ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ลดความสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
  • รับประทานอาหารตามสูตร 2-1-1 หรือโมเดลจานอาหารเพื่อสุขภาพ (Plate model) ได้แก่ ผัก 2 ส่วน เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ 1 ส่วน และคาร์โบไฮเดรต 1 ส่วน ควรเลือกเมนูที่มีผักประกอบในจานด้วยเสมอ หรือ เลือกรับประทานอาหารตามสูตร 6-6-1 ได้แก่

   6 หมายถึง ปริมาณน้ำตาลที่สามารถทานได้ต่อ 1 วัน คือ ไม่เกิน 6 ช้อนชา
   6 หมายถึง ปริมาณน้ำมันที่สามารถทานได้ต่อ 1 วัน คือ ไม่เกิน 6 ช้อนชา
   1 หมายถึง ปริมาณเกลือ / โซเดียมที่ผสมอยู่ในเครื่องปรุงรสต่างๆ สามารถทานได้ต่อ1 วัน คือ ไม่เกิน 1 ช้อนชา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D

Thermage นวัตกรรมยกกระชับผิวโดยไม่ต้องผ่าตัด โดย ศ.นพ.วรพงษ์ มนัสเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ผิวหนัง โรงพยาาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

 

คำถาม - คำตอบ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  

1. Ketogenic Diet คืออะไร? ช่วยในการลดน้ำหนักได้จริงไหม?

    Ketogenic Diet มีที่มาจากอาหารชนิดพิเศษที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคลมชักที่มีอาการรุนแรงมาก ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยา จึงนำแนวทางดังกล่าวมาใช้เพื่อควบคุมอาการให้ดีขึ้น แต่ในช่วงหลังได้มีคนนำวิธีการรับประทานอาหารแบบ Ketogenic Diet มาใช้ในการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก โดยปกติอาหารที่ให้พลังงานประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ซึ่งการรับประทานอาหารแบบ Ketogenic diet คือ งดรับประทานอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต และเพิ่มปริมาณการรับประทานอาหารในกลุ่มโปรตีนและไขมันมากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารคีโตน (Ketone) เกิดจากการเผาพลาญไขมันในร่างกาย และจะไปออกฤทธิ์ที่สมองทำให้ไม่รู้สึกหิว ทานน้อยลง และปัสสาวะมากขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วใน 1 - 2 สัปดาห์แรก ซึ่งในความเป็นจริงเป็นน้ำหนักของน้ำไม่ใช่ไขมัน

2. การควบคุมอาหารแบบ Ketogenic Diet มีผลเสียอย่างไร?

  • การรับประทานอาหารในกลุ่มไขมันชนิดอิ่มตัวในปริมาณมากๆ เช่น เนย หมูติดมัน น้ำมันหมู อาจส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดสูง (LDL) เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ในระยะยาว เปลี่ยนมาทานน้ำมันพืชแทน
  • หากรับประทานอาหารในกลุ่มโปรตีนไม่เพียงพออาจทำให้ร่างกายสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ส่งผลต่อการเผาพลาญพลังงานได้
  • การรับประทานอาหารแบบ Ketogenic Diet จะทำให้ร่างกายปัสสาวะมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดร่างกายขาดสารน้ำได้ ควรรับประทานน้ำอย่างน้อย 6 - 8 แก้ว / วัน
  • การงดรับประทานอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น ผลไม้ ข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง อาจทำให้ร่างกายเสียวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด ควรรับประทานผักใบเพื่อทดแทนคาร์โบไฮเดรตให้เพียงพอ
  • ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนรับประทานอาหารแบบ Ketogenic Diet เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำได้

#ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #การเลือกรับประทานอาหาร #ลดหน้ำหนัก #ควบคุมอาหาร #ควบคุมน้ำหนัก #สูตรลดน้ำหนัก #Ketogenic Diet #Intermittent Fasting #การควบคุมน้ำหนักที่ถูกต้อง

 

3. Intermittent Fasting คืออะไร? มีผลต่อร่างกายอย่างไร?

    Intermittent Fasting เป็นการควบคุมน้ำหนักโดยการรับประทานอาหารเป็นช่วงๆ อดบ้าง รับประทานบ้าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1: การควบคุมอาหารให้สัมพันธ์กับความมืดและความสว่างของวัน เช่น การรับประทานอาหาร 8 ชั่วโมงในช่วงกลางวัน และงดรับประทานอาหาร 16 ชั่วโมงในช่วงกลางคืน ส่งผลให้ระบบการเผาพลาญอาหาร (Metabolism) และสุขภาพโดยรวมดีขึ้น ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะอ้วน เป็นต้น

กลุ่มที่ 2: การควบคุมอาหารในคนละวันกัน เช่น ควบคุมการรับประทานอาหาร 5 วัน และอีก 2 วัน สามารถรับประทานอาหารตามใจอยากได้ หรือเรียกว่า Cheat Day

4. การควบคุมอาหารแบบ Intermittent Fasting มีผลเสียอย่างไร?

    สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องรับประทานยาให้ตรงเวลา เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน การเปลี่ยนแปลงเวลาในการรับประทานอาหารแบบ Intermittent Fasting ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ที่ดูแลโรคประจำตัวท่านก่อน

5. แนวทางการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักที่ถูกต้องคืออะไร?

  • ควรรับประทานอาหารที่หลากหลาย ลดอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น อาหารในกลุ่มหวาน มัน เค็ม จะช่วยให้น้ำหนักอยู๋ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ลดความสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
  • รับประทานอาหารตามสูตร 2-1-1 หรือโมเดลจานอาหารเพื่อสุขภาพ (Plate model) ได้แก่ ผัก 2 ส่วน เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ 1 ส่วน และคาร์โบไฮเดรต 1 ส่วน ควรเลือกเมนูที่มีผักประกอบในจานด้วยเสมอ หรือ เลือกรับประทานอาหารตามสูตร 6-6-1 ได้แก่

   6 หมายถึง ปริมาณน้ำตาลที่สามารถทานได้ต่อ 1 วัน คือ ไม่เกิน 6 ช้อนชา
   6 หมายถึง ปริมาณน้ำมันที่สามารถทานได้ต่อ 1 วัน คือ ไม่เกิน 6 ช้อนชา
   1 หมายถึง ปริมาณเกลือ / โซเดียมที่ผสมอยู่ในเครื่องปรุงรสต่างๆ สามารถทานได้ต่อ1 วัน คือ ไม่เกิน 1 ช้อนชา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง