หยอดตา ป้ายตา เช็ดตา ดูแลตาอย่างไรให้ถูกวิธี

   ผู้ที่เข้ารับการรักษาอาการต่างๆ เกี่ยวกับดวงตา เช่น ตาแดง วุ้นตาเสื่อม ต้อหิน ต้อกระจก เป็นต้น หลังจากที่ได้รับการตรวจรักษาแล้ว ส่วนใหญ่จักษุแพทย์จะให้ผู้ป่วยใช้ยาหยอดตา ยาป้ายตา หรือการเช็ดตา เพื่อรักษาอาการรวมถึงการป้องกันแผลติดเชื้อในกรณีที่ได้รับการผ่าตัด ดังนั้น การหยอดตา การป้ายตา และการเช็ดตาอย่างถูกวิธีจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

การหยอดตาอย่างถูกวิธี

1. ก่อนสัมผัสบริเวณรอบดวงตาควรล้างมือให้สะอาด และเช็ดมือให้แห้งทุกครั้ง

2. ตรวจสอบชื่อยาให้ถูกต้อง ยาบางชนิดควรเขย่าขวดยาก่อนหยอด

3. นอนราบหรือนั่งพิงให้ศีรษะเอนไปด้านหลัง เงยหน้ามองด้านบน ดึงหนังตาล่างลงมาให้เป็นกระพุ้ง

4. หยอดยาลงไปด้านในกระพุ้งเปลือกตาล่าง 1 หยด ระวังอย่าให้นิ้วมือสัมผัสปลายหลอด ขนตา และเปลือกตา ปิดฝาขวดให้สนิทโดยไม่ต้องเช็ดปลายหลอด

5. หลับตาค้างไว้สักครู่เพื่อให้ยากระจายไปทั่วตา หากมีน้ำยาไหลออกมานอกตาให้ใช้สำลีปลอดเชื้อซับอย่างระมัดระวัง

6. หากต้องหยอดตา 2 ชนิดขึ้นไป ควรทิ้งระยะการหยอดให้ห่างกันอย่างน้อย 3 - 5 นาที เพื่อให้ยาที่หยอดก่อนได้รับการดูดซึมเต็มที่

การป้ายยาอย่างถูกวิธี

1. ก่อนสัมผัสบริเวณรอบดวงตาควรล้างมือให้สะอาด และเช็ดมือให้แห้งทุกครั้ง

2. ใช้มือดึงเปลือกตาล่างลงมาให้เป็นกระพุ้ง เหลือบตาขึ้นด้านบน ใช้มืออีกข้างบีบยาลงด้านในเปลือกตาล่าง

3. เริ่มป้ายยาจากหัวตาไปหางตา  ระวังอย่าให้ปลายหลอดยาสัมผัสขนตาหรือเปลือกตา ปิดฝาขวดให้สนิทโดยไม่ต้องเช็ดปลายหลอด

4. หลับตาให้สนิทเพื่อให้ยากระจายไปทั่วตา

การเช็ดตาอย่างถูกวิธี

1. ก่อนสัมผัสบริเวณรอบดวงตาควรล้างมือให้สะอาด และเช็ดมือให้แห้งทุกครั้ง

2. ใช้สำลีชุบน้ำเกลือบีบพอหมาด

3. เริ่มเช็ดจากเปลือกตาบน วางสำลีที่หัวตาแล้วเช็ดจากหัวตาไปหางตาอย่างเบามือ

4. จากนั้นเช็ดที่เปลือกตาล่างโดยเช็ดจากหัวตาไปหางตาเช่นเดียวกัน ห้ามเช็ดกลับไปกลับมาเด็ดขาด

5. เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา สามารถเช็ดตาได้วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 - 4 สัปดาห์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A

   ผู้ที่เข้ารับการรักษาอาการต่างๆ เกี่ยวกับดวงตา เช่น ตาแดง วุ้นตาเสื่อม ต้อหิน ต้อกระจก เป็นต้น หลังจากที่ได้รับการตรวจรักษาแล้ว ส่วนใหญ่จักษุแพทย์จะให้ผู้ป่วยใช้ยาหยอดตา ยาป้ายตา หรือการเช็ดตา เพื่อรักษาอาการรวมถึงการป้องกันแผลติดเชื้อในกรณีที่ได้รับการผ่าตัด ดังนั้น การหยอดตา การป้ายตา และการเช็ดตาอย่างถูกวิธีจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

การหยอดตาอย่างถูกวิธี

1. ก่อนสัมผัสบริเวณรอบดวงตาควรล้างมือให้สะอาด และเช็ดมือให้แห้งทุกครั้ง

2. ตรวจสอบชื่อยาให้ถูกต้อง ยาบางชนิดควรเขย่าขวดยาก่อนหยอด

3. นอนราบหรือนั่งพิงให้ศีรษะเอนไปด้านหลัง เงยหน้ามองด้านบน ดึงหนังตาล่างลงมาให้เป็นกระพุ้ง

4. หยอดยาลงไปด้านในกระพุ้งเปลือกตาล่าง 1 หยด ระวังอย่าให้นิ้วมือสัมผัสปลายหลอด ขนตา และเปลือกตา ปิดฝาขวดให้สนิทโดยไม่ต้องเช็ดปลายหลอด

5. หลับตาค้างไว้สักครู่เพื่อให้ยากระจายไปทั่วตา หากมีน้ำยาไหลออกมานอกตาให้ใช้สำลีปลอดเชื้อซับอย่างระมัดระวัง

6. หากต้องหยอดตา 2 ชนิดขึ้นไป ควรทิ้งระยะการหยอดให้ห่างกันอย่างน้อย 3 - 5 นาที เพื่อให้ยาที่หยอดก่อนได้รับการดูดซึมเต็มที่

การป้ายยาอย่างถูกวิธี

1. ก่อนสัมผัสบริเวณรอบดวงตาควรล้างมือให้สะอาด และเช็ดมือให้แห้งทุกครั้ง

2. ใช้มือดึงเปลือกตาล่างลงมาให้เป็นกระพุ้ง เหลือบตาขึ้นด้านบน ใช้มืออีกข้างบีบยาลงด้านในเปลือกตาล่าง

3. เริ่มป้ายยาจากหัวตาไปหางตา  ระวังอย่าให้ปลายหลอดยาสัมผัสขนตาหรือเปลือกตา ปิดฝาขวดให้สนิทโดยไม่ต้องเช็ดปลายหลอด

4. หลับตาให้สนิทเพื่อให้ยากระจายไปทั่วตา

การเช็ดตาอย่างถูกวิธี

1. ก่อนสัมผัสบริเวณรอบดวงตาควรล้างมือให้สะอาด และเช็ดมือให้แห้งทุกครั้ง

2. ใช้สำลีชุบน้ำเกลือบีบพอหมาด

3. เริ่มเช็ดจากเปลือกตาบน วางสำลีที่หัวตาแล้วเช็ดจากหัวตาไปหางตาอย่างเบามือ

4. จากนั้นเช็ดที่เปลือกตาล่างโดยเช็ดจากหัวตาไปหางตาเช่นเดียวกัน ห้ามเช็ดกลับไปกลับมาเด็ดขาด

5. เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา สามารถเช็ดตาได้วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 - 4 สัปดาห์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง