7 เรื่อง เข้าใจผิดเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม

เป็นมะเร็งที่พบอันดับ 1 ในผู้หญิง และยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต แต่ยังมีหลายคนที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคดังกล่าว มาทำความเข้าใจโรคมะเร็งเต้านมให้มากขึ้น

1. ผู้หญิงที่มีขนาดหน้าอกใหญ่มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงหน้าอกเล็ก

“ขนาดของหน้าอก” ไม่เกี่ยวกับโอกาสในการเกิดมะเร็งเต้านมโดยตรง ขนาดที่ใหญ่อาจจะเป็นเรื่องของไขมันไม่ใช่ส่วนของเนื้อของเต้านม ดังนั้นผู้หญิงที่มีขนาดเต้านมใหญ่จึงไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม

2. ชุดชั้นในเป็นสาเหตุของการเป็นมะเร็งเต้านม

ชุดชั้นในไม่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของการเป็นมะเร็งเต้านม หลายคนอาจกังวลว่าการใส่ชุดชั้นในทำให้ไปกดรัดเนื้อเต้านมและจะทำให้เป็นมะเร็งได้นั้น ไม่เป็นความจริง ดังนั้นถ้าใส่ชุดชั้นในแล้วรู้สึกเจ็บไม่ได้หมายความว่าจะเป็นมะเร็งเต้านมเสมอไป แต่หากคลำพบว่าเป็นก้อนควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด

3. ถุงน้ำหรือซีสต์ในเต้านม มีโอกาสพัฒนาเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่

ถุงน้ำหรือซีสต์ในเต้านมไม่เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ถุงน้ำหรือซีสต์เกิดจากการตอบสนองต่อฮอร์โมนสูงกว่าปกติ จึงสร้างน้ำเข้ามาในท่อและกลายเป็นซีสต์ บางครั้งซีสต์ในเต้านมจะสัมพันธ์กับอาการเจ็บเต้านมได้ อย่างไรก็ตามหากรังสีแพทย์ตรวจอัลตราซาวด์แล้วพบว่าเป็นซีสต์ที่มีลักษณะผิดปกติแตกต่างจากซีสต์ทั่วๆ ไป อาจจะพิจารณาให้ตรวจเพิ่มเติม

4. การตรวจแมมโมแกรมบ่อยๆ จะทำให้เป็นมะเร็งเต้านม

ปัจจุบันการตรวจแมมโมแกรมใช้ปริมาณรังสีน้อยมาก ในการทำตรวจแมมโมแกรม 1 ครั้ง ปริมาณรังสีที่ได้รับเทียบเท่ากับรังสีที่ได้รับในชีวิตประจำวันประมาณ 7 สัปดาห์ ซึ่งนับว่าน้อยมาก อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบความเสี่ยงกับผลประโยชน์ที่ได้รับถือว่าเป็นผลดีต่อการตรวจโรคมะเร็งเต้านมมากกว่า ทำให้สามารถค้นหามะเร็งเต้านมได้ก่อนที่จะคลำพบก้อน

5. การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนทำให้เป็นมะเร็งเต้านม

ปัจจุบันการเสริมหน้าอกส่วนใหญ่จะเลือกใช้เป็นถุงซิลิโคน ซึ่งมีการศึกษามาอย่างยาวนานแล้วว่ามีความปลอดภัยไม่เพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามก่อนที่จะทำการผ่าตัดเสริมหน้าอก ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมก่อน

6. ผู้ชายไม่เป็นมะเร็งเต้านม

ผู้ชายก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่มีโอกาสน้อยกว่าผู้หญิงมาก มะเร็งเต้านมในผู้ชายมักจะสัมพันธ์กับการที่ครอบครัวมีประวัติเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมสูง หรือในผู้ชายที่รับประทานฮอร์โมนเพศหญิงอย่างต่อเนื่องนานๆ

7. การกินน้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว เพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งเต้านม

ไม่จริง ถึงแม้น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าวจะมีส่วนประกอบบางอย่างที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิง แต่ก็ไม่มีหลักฐานใดๆ สนับสนุนว่าสารเหล่านี้เป็นสาเหตุของมะเร็งเต้านม

ฉะนั้นผู้หญิงเมื่ออายุถึง 40 ปี ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมครั้งแรกโดยการตรวจแมมโมแกรมร่วมกับการทำอัลตราซาวด์ เพราะหากเราสามารถวินิจฉัยและรักษามะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ก็เพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 2 โซน E

มะเร็งเต้านม

เป็นมะเร็งที่พบอันดับ 1 ในผู้หญิง และยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต แต่ยังมีหลายคนที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคดังกล่าว มาทำความเข้าใจโรคมะเร็งเต้านมให้มากขึ้น

1. ผู้หญิงที่มีขนาดหน้าอกใหญ่มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงหน้าอกเล็ก

“ขนาดของหน้าอก” ไม่เกี่ยวกับโอกาสในการเกิดมะเร็งเต้านมโดยตรง ขนาดที่ใหญ่อาจจะเป็นเรื่องของไขมันไม่ใช่ส่วนของเนื้อของเต้านม ดังนั้นผู้หญิงที่มีขนาดเต้านมใหญ่จึงไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม

2. ชุดชั้นในเป็นสาเหตุของการเป็นมะเร็งเต้านม

ชุดชั้นในไม่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของการเป็นมะเร็งเต้านม หลายคนอาจกังวลว่าการใส่ชุดชั้นในทำให้ไปกดรัดเนื้อเต้านมและจะทำให้เป็นมะเร็งได้นั้น ไม่เป็นความจริง ดังนั้นถ้าใส่ชุดชั้นในแล้วรู้สึกเจ็บไม่ได้หมายความว่าจะเป็นมะเร็งเต้านมเสมอไป แต่หากคลำพบว่าเป็นก้อนควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด

3. ถุงน้ำหรือซีสต์ในเต้านม มีโอกาสพัฒนาเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่

ถุงน้ำหรือซีสต์ในเต้านมไม่เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ถุงน้ำหรือซีสต์เกิดจากการตอบสนองต่อฮอร์โมนสูงกว่าปกติ จึงสร้างน้ำเข้ามาในท่อและกลายเป็นซีสต์ บางครั้งซีสต์ในเต้านมจะสัมพันธ์กับอาการเจ็บเต้านมได้ อย่างไรก็ตามหากรังสีแพทย์ตรวจอัลตราซาวด์แล้วพบว่าเป็นซีสต์ที่มีลักษณะผิดปกติแตกต่างจากซีสต์ทั่วๆ ไป อาจจะพิจารณาให้ตรวจเพิ่มเติม

4. การตรวจแมมโมแกรมบ่อยๆ จะทำให้เป็นมะเร็งเต้านม

ปัจจุบันการตรวจแมมโมแกรมใช้ปริมาณรังสีน้อยมาก ในการทำตรวจแมมโมแกรม 1 ครั้ง ปริมาณรังสีที่ได้รับเทียบเท่ากับรังสีที่ได้รับในชีวิตประจำวันประมาณ 7 สัปดาห์ ซึ่งนับว่าน้อยมาก อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบความเสี่ยงกับผลประโยชน์ที่ได้รับถือว่าเป็นผลดีต่อการตรวจโรคมะเร็งเต้านมมากกว่า ทำให้สามารถค้นหามะเร็งเต้านมได้ก่อนที่จะคลำพบก้อน

5. การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนทำให้เป็นมะเร็งเต้านม

ปัจจุบันการเสริมหน้าอกส่วนใหญ่จะเลือกใช้เป็นถุงซิลิโคน ซึ่งมีการศึกษามาอย่างยาวนานแล้วว่ามีความปลอดภัยไม่เพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามก่อนที่จะทำการผ่าตัดเสริมหน้าอก ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมก่อน

6. ผู้ชายไม่เป็นมะเร็งเต้านม

ผู้ชายก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่มีโอกาสน้อยกว่าผู้หญิงมาก มะเร็งเต้านมในผู้ชายมักจะสัมพันธ์กับการที่ครอบครัวมีประวัติเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมสูง หรือในผู้ชายที่รับประทานฮอร์โมนเพศหญิงอย่างต่อเนื่องนานๆ

7. การกินน้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว เพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งเต้านม

ไม่จริง ถึงแม้น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าวจะมีส่วนประกอบบางอย่างที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิง แต่ก็ไม่มีหลักฐานใดๆ สนับสนุนว่าสารเหล่านี้เป็นสาเหตุของมะเร็งเต้านม

ฉะนั้นผู้หญิงเมื่ออายุถึง 40 ปี ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมครั้งแรกโดยการตรวจแมมโมแกรมร่วมกับการทำอัลตราซาวด์ เพราะหากเราสามารถวินิจฉัยและรักษามะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ก็เพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 2 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง