การฉีดยาอินซูลินด้วยปากกา

อุปกรณ์ในการฉีดยาอินซูลิน (Insulin Injection Device)

     1. ปากกาอินซูลิน การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับชนิดอินซูลิน ต้องเลือกให้ตรงกับหลอดอินซูลินที่ผลิตมาจากบริษัทเดียวกันเท่านั้น ไม่สามารถใช้ร่วมกับบริษัทอื่นได้ ปากกาอินซูลินเป็นอุปกรณ์ส่วนบุคคล ห้ามนำไปใช้ร่วมกับผู้อื่นและไม่ควรใช้ปากกาที่ชำรุดแล้ว แนะนำให้ตรวจสอบสภาพปากกาก่อนการใช้ทุกครั้ง

     ชนิดของปากกาอินซูลิน

  • ปากกาอินซูลินแบบบรรจุสำเร็จ คือ ปากกาอินซูลินที่บรรจุอินซูลินไว้แล้ว ไม่สามารถแยกหลอดอินซูลินออกมาได้ และเมื่ออินซูลินหมดไม่สามารถนำปากกานั้นมาใช้ซ้ำได้อีก

  • ปากกาอินซูลินแบบประกอบ ต้องประกอบหลอดอินซูลินกับปากกาอินซูลิน โดยต้องประกอบอินซูลินที่ต้องการฉีดให้ตรงกับบริษัทเดียวกันกับปากกา และเมื่อใช้หมดหลอดสามารถเปลี่ยนอินซูลินหลอดใหม่ หรือชนิดใหม่ที่อยู่ภายใต้การผลิตจากบริษัทเดียวกัน และสามารถใช้ปากกาชนิดนี้ต่อเนื่องได้

     2. หัวเข็มสำหรับปากกาอินซูลิน การเลือกหัวเข็มในการฉีดอินซูลินต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับรูปร่างหรือความหนาของชั้นใต้ผิวหนังของผู้ป่วยแต่ละราย ขนาดของหัวเข็มเรียกว่า gauge หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “G” ขนาดของหัวเข็มที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ 30 G, 31 G, 32 G โดยตัวเลขที่สูงขึ้นมีความหมายว่าเข็มมีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลง

     3. สำลีปราศจากเชื้อ

     4. แอลกอฮอล์ 70%

     5. ถาดฉีดยา

การเตรียมก่อนการฉีดอินซูลิน

     1. สังเกตวันหมดอายุข้างหลอดและลักษณะอินซูลินว่ามีการเสื่อมสภาพหรือไม่ก่อนการใช้ เช่น มีตะกอนขุ่นขาวหรือสีเปลี่ยนไปจากเดิม

     2. ล้างมือ ฟอกสบู่ เช็ดมือให้สะอาดด้วยผ้าที่สะอาดหรือกระดาษเช็ดมือ

     3. เตรียมสำลี 2 - 3 ก้อน

  • ในกรณีเปลี่ยนหัวเข็มหรือหลอดอินซูลินใหม่ ใช้สำลี 3 ก้อน (ชุบแอลกอฮอล์ 2 ก้อน และสำลีแห้ง 1 ก้อน)

  • ในกรณีหัวเข็มเดิม ใช้สำลี 2 ก้อน (ชุบแอลกอฮอล์ 1 ก้อนและ สำลีแห้ง 1 ก้อน)

     4. การเตรียมหัวเข็มสำหรับฉีดอินซูลิน

  • เช็ดจุกยางหลอดอินซูลินด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ และรอให้แอลกอฮอล์แห้งทุกครั้งก่อนสวมหัวเข็มใหม่

  • ใส่หัวเข็มในแนวตั้งตรงเพื่อป้องกันอินซูลินรั่วซึมหรือเข็มหักพับงอ

     5. การผสมอินซูลินให้เป็นเนื้อเดียวกัน สำหรับอินซูลินชนิดขุ่นหรือแขวนตะกอน ก่อนใช้ทุกครั้งให้คลึงปากกาบนฝ่ามือไป-มา ในแนวนอน หรือแกว่งปากกาขึ้นลงอย่างช้า ๆ อย่างน้อย 20 ครั้ง เพื่อให้อินซูลินกระจายตัวสม่ำเสมอทั่วทั้งหลอด ห้ามเขย่าปากกา เพราะจะทำให้เกิดฟองอากาศ ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับปริมาณหรือขนาดอินซูลินคาดเคลื่อนได้

     6. การไล่ฟองอากาศ ต้องไล่ฟองอากาศทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนหัวเข็มหรือหลอดอินซูลินใหม่ และจำเป็นต้องทดสอบว่าปลายเข็มอุดตันหรือไม่ก่อนการฉีดอินซูลินทุกครั้ง โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • หมุนปรับขนาดอินซูลิน 1 ยูนิต

  • จับปากกาในแนวดิ่งให้ปลายเข็มอยู่ด้านบน

  • ใช้นิ้วเคาะด้านข้างของปากกาให้ฟองอากาศลอยขึ้น กดปุ่มฉีดยาจนกว่าจะเห็นหยดยาอินซูลินจากปลายเข็ม

     7. ตั้งขนาดอินซูลินตามแผนการรักษาของแพทย์ ห้ามปรับขนาดยาอินซูลินด้วยตนเองเด็ดขาด ยกเว้นได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้ปรับขนาดอินซูลินได้ตามระดับน้ำตาลปลายนิ้ว

     8. การฉีดอินซูลิน ฉีดอินซูลินเข้าชั้นใต้ผิวหนัง บริเวณที่สามารถฉีดอินซูลินได้ ได้แก่ หน้าท้อง แขน ขา และสะโพก

     ตำแหน่งฉีดอินซูลินที่ดีที่สุด 

     บริเวณหน้าท้อง หลีกเลี่ยงการฉีดชิดกับสะดือหรือใกล้กับสะดือในระยะ 1 นิ้ว หรือระยะเท่ากับความกว้างของ 2 นิ้วมือ ต้องหมุนเวียนตำแหน่งในการฉีดอินซูลิน โดยให้ตำแหน่งฉีดอินซูลินแต่ละจุดห่างกันประมาณ 1 นิ้ว ไปเรื่อย ๆ ในตำแหน่งต่าง ๆ ที่สามารถฉีดได้ หรือขยับตำแหน่งฉีดอินซูลินหมุนเวียนตามเข็มนาฬิกา และไม่ควรฉีดซ้ำ ๆ ในตำแหน่งเดียวกันในทุก ๆ วัน

     ตำแหน่งที่ควรหลีกเลี่ยง

     บริเวณที่มีก้อนไขมันใต้ผิวหนัง ซึ่งจะทำให้การดูดซึมยาผิดปกติไปจากเดิม ผู้ป่วยสามารถตรวจสอบได้เอง โดยจะคลำพบบริเวณดังกล่าวเป็นไตแข็งใต้ผิวหนัง ซึ่งเกิดขึ้นจากการฉีดอินซูลินตำแหน่งเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เมื่อเปลี่ยนตำแหน่งในการฉีดอินซูลินจนบริเวณดังกล่าวไม่เป็นไตแข็งแล้ว บริเวณดังกล่าวสามารถกลับมาฉีดอินซูลินได้ตามปกติ และผิวหนังที่มีการอักเสบ รอยผ่าตัด ผังผืด รากขน ไฝ

     9. ทำความสะอาดผิวหนังด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ รอให้แอลกอฮอล์แห้งก่อนฉีดยา วิธีการเช็ดแอลกอฮอล์ทำได้ 2 วิธี คือ เช็ดวนเป็นก้นหอยจากในสุดออกมาด้านนอก หรือเช็ดลงในแนวดิ่ง 3 ครั้ง และไม่เช็ดย้อนไปมา

  • ใช้มือข้างที่ถนัดกำปากกาด้วยนิ้วทั้ง 4 นิ้ว โดยให้หัวแม่มืออยู่ตำแหน่งปุ่มกด

  • ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับผิวหนังยกขึ้นในคนผอม หรือดึงผิวให้ตึงในอ้วน และหลีกเลี่ยงการดึงและบีบผิวหนังจนแน่นเพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของยาเมื่อถอนเข็มออก

  • แทงเข็มตั้งฉากกับผิวหนังจนเข็มมิด เดินยาอินซูลินอย่างช้า ๆ และลงน้ำหนักมือเท่า ๆ กันอย่างสม่ำเสมอจนสุดถึงเลข 0 แล้วค้างไว้ นับ 1 - 10 ช้า ๆ ก่อนดึงเข็มออก เพื่อให้ได้รับอินซูลินครบตามขนาดที่กำหนด

  • ดึงเข็มออก โดยใช้สำลีแห้งกดบริเวณที่ฉีดอินซูลินไว้สักครู่ ห้ามคลึงบริเวณที่ฉีดอินซูลิน

     10. สวมปลอกเข็มกลับอย่างระมัดระวัง

     11. ปิดปลอกปากกาอินซูลิน และเก็บไว้ในที่ที่สะอาด

การเก็บรักษาอินซูลินและการพกพาอินซูลิน

     1. ยาอินซูลินที่ยังไม่เปิดใช้ ให้เก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 2 - 8 องศาเซลเซียส อายุการใช้งานอินซูลิน ตามวันหมดอายุที่ระบุบนฉลากยา

  • ตำแหน่งที่เก็บยาในตู้เย็น คือ ชั้นวางของในตู้เย็น
  • ห้ามเก็บอินซูลินในช่องแช่แข็ง หรือช่องเก็บของใต้ช่องแช่แข็ง

     2. การเก็บรักษาอินซูลินที่เปิดใช้แล้ว ให้เก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 25 - 30 องศาเซลเซียส และไม่มีแสงแดดส่องถึง อินซูลินส่วนใหญ่หมดอายุในเวลา 28 วันนับจากวันแรกที่เปิดใช้ ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดอินซูลิน ในปัจจุบันอินซูลินบางชนิดเก็บได้นานขึ้น แนะนำสอบถามข้อมูลจากแพทย์หรือเภสัชกร

     3. อย่าวางยาอินซูลินทิ้งไว้ในรถยนต์ หรือรถที่จอดตากแดด เพราะจำทำให้อินซูลินเสื่อมสภาพ

การใช้งานของเข็มฉีดอินซูลิน

     1. ปากกาโนโวเพ็น (Novopen) จะใช้เฉพาะกับหัวเข็มโนโวไฟล์ (Novofine) เท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้อินซูลินรั่วซึม สำหรับปากกาบริษัทอื่น ๆ ใช้หัวเข็ม BD ได้

     2. หัวเข็ม 1 อัน สามารถใช้ซ้ำได้ 3 - 5 ครั้ง โดยที่ปลายเข็มไม่โค้งหรืองอ ควรเปลี่ยนหัวเข็มใหม่ทุกครั้งหากเข็มสัมผัสสิ่งใด ๆ เช่น เสื้อผ้า ปลอกเข็ม เป็นต้น

     3. ห้ามใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดปลายเข็ม เพราะจะทำให้สารเคลือบผิวบริเวณปลายเข็มหมดไป ทำให้รู้สึกเจ็บขณะฉีดอินซูลินได้

การทิ้งหัวเข็มฉีดอินซูลิน

     ทิ้งหัวเข็มฉีดอินซูลินในกระป๋องทิ้งเข็ม หรือภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D

 

อุปกรณ์ในการฉีดยาอินซูลิน (Insulin Injection Device)

     1. ปากกาอินซูลิน การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับชนิดอินซูลิน ต้องเลือกให้ตรงกับหลอดอินซูลินที่ผลิตมาจากบริษัทเดียวกันเท่านั้น ไม่สามารถใช้ร่วมกับบริษัทอื่นได้ ปากกาอินซูลินเป็นอุปกรณ์ส่วนบุคคล ห้ามนำไปใช้ร่วมกับผู้อื่นและไม่ควรใช้ปากกาที่ชำรุดแล้ว แนะนำให้ตรวจสอบสภาพปากกาก่อนการใช้ทุกครั้ง

     ชนิดของปากกาอินซูลิน

  • ปากกาอินซูลินแบบบรรจุสำเร็จ คือ ปากกาอินซูลินที่บรรจุอินซูลินไว้แล้ว ไม่สามารถแยกหลอดอินซูลินออกมาได้ และเมื่ออินซูลินหมดไม่สามารถนำปากกานั้นมาใช้ซ้ำได้อีก

  • ปากกาอินซูลินแบบประกอบ ต้องประกอบหลอดอินซูลินกับปากกาอินซูลิน โดยต้องประกอบอินซูลินที่ต้องการฉีดให้ตรงกับบริษัทเดียวกันกับปากกา และเมื่อใช้หมดหลอดสามารถเปลี่ยนอินซูลินหลอดใหม่ หรือชนิดใหม่ที่อยู่ภายใต้การผลิตจากบริษัทเดียวกัน และสามารถใช้ปากกาชนิดนี้ต่อเนื่องได้

     2. หัวเข็มสำหรับปากกาอินซูลิน การเลือกหัวเข็มในการฉีดอินซูลินต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับรูปร่างหรือความหนาของชั้นใต้ผิวหนังของผู้ป่วยแต่ละราย ขนาดของหัวเข็มเรียกว่า gauge หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “G” ขนาดของหัวเข็มที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ 30 G, 31 G, 32 G โดยตัวเลขที่สูงขึ้นมีความหมายว่าเข็มมีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลง

     3. สำลีปราศจากเชื้อ

     4. แอลกอฮอล์ 70%

     5. ถาดฉีดยา

การเตรียมก่อนการฉีดอินซูลิน

     1. สังเกตวันหมดอายุข้างหลอดและลักษณะอินซูลินว่ามีการเสื่อมสภาพหรือไม่ก่อนการใช้ เช่น มีตะกอนขุ่นขาวหรือสีเปลี่ยนไปจากเดิม

     2. ล้างมือ ฟอกสบู่ เช็ดมือให้สะอาดด้วยผ้าที่สะอาดหรือกระดาษเช็ดมือ

     3. เตรียมสำลี 2 - 3 ก้อน

  • ในกรณีเปลี่ยนหัวเข็มหรือหลอดอินซูลินใหม่ ใช้สำลี 3 ก้อน (ชุบแอลกอฮอล์ 2 ก้อน และสำลีแห้ง 1 ก้อน)

  • ในกรณีหัวเข็มเดิม ใช้สำลี 2 ก้อน (ชุบแอลกอฮอล์ 1 ก้อนและ สำลีแห้ง 1 ก้อน)

     4. การเตรียมหัวเข็มสำหรับฉีดอินซูลิน

  • เช็ดจุกยางหลอดอินซูลินด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ และรอให้แอลกอฮอล์แห้งทุกครั้งก่อนสวมหัวเข็มใหม่

  • ใส่หัวเข็มในแนวตั้งตรงเพื่อป้องกันอินซูลินรั่วซึมหรือเข็มหักพับงอ

     5. การผสมอินซูลินให้เป็นเนื้อเดียวกัน สำหรับอินซูลินชนิดขุ่นหรือแขวนตะกอน ก่อนใช้ทุกครั้งให้คลึงปากกาบนฝ่ามือไป-มา ในแนวนอน หรือแกว่งปากกาขึ้นลงอย่างช้า ๆ อย่างน้อย 20 ครั้ง เพื่อให้อินซูลินกระจายตัวสม่ำเสมอทั่วทั้งหลอด ห้ามเขย่าปากกา เพราะจะทำให้เกิดฟองอากาศ ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับปริมาณหรือขนาดอินซูลินคาดเคลื่อนได้

     6. การไล่ฟองอากาศ ต้องไล่ฟองอากาศทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนหัวเข็มหรือหลอดอินซูลินใหม่ และจำเป็นต้องทดสอบว่าปลายเข็มอุดตันหรือไม่ก่อนการฉีดอินซูลินทุกครั้ง โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • หมุนปรับขนาดอินซูลิน 1 ยูนิต

  • จับปากกาในแนวดิ่งให้ปลายเข็มอยู่ด้านบน

  • ใช้นิ้วเคาะด้านข้างของปากกาให้ฟองอากาศลอยขึ้น กดปุ่มฉีดยาจนกว่าจะเห็นหยดยาอินซูลินจากปลายเข็ม

     7. ตั้งขนาดอินซูลินตามแผนการรักษาของแพทย์ ห้ามปรับขนาดยาอินซูลินด้วยตนเองเด็ดขาด ยกเว้นได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้ปรับขนาดอินซูลินได้ตามระดับน้ำตาลปลายนิ้ว

     8. การฉีดอินซูลิน ฉีดอินซูลินเข้าชั้นใต้ผิวหนัง บริเวณที่สามารถฉีดอินซูลินได้ ได้แก่ หน้าท้อง แขน ขา และสะโพก

     ตำแหน่งฉีดอินซูลินที่ดีที่สุด 

     บริเวณหน้าท้อง หลีกเลี่ยงการฉีดชิดกับสะดือหรือใกล้กับสะดือในระยะ 1 นิ้ว หรือระยะเท่ากับความกว้างของ 2 นิ้วมือ ต้องหมุนเวียนตำแหน่งในการฉีดอินซูลิน โดยให้ตำแหน่งฉีดอินซูลินแต่ละจุดห่างกันประมาณ 1 นิ้ว ไปเรื่อย ๆ ในตำแหน่งต่าง ๆ ที่สามารถฉีดได้ หรือขยับตำแหน่งฉีดอินซูลินหมุนเวียนตามเข็มนาฬิกา และไม่ควรฉีดซ้ำ ๆ ในตำแหน่งเดียวกันในทุก ๆ วัน

     ตำแหน่งที่ควรหลีกเลี่ยง

     บริเวณที่มีก้อนไขมันใต้ผิวหนัง ซึ่งจะทำให้การดูดซึมยาผิดปกติไปจากเดิม ผู้ป่วยสามารถตรวจสอบได้เอง โดยจะคลำพบบริเวณดังกล่าวเป็นไตแข็งใต้ผิวหนัง ซึ่งเกิดขึ้นจากการฉีดอินซูลินตำแหน่งเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เมื่อเปลี่ยนตำแหน่งในการฉีดอินซูลินจนบริเวณดังกล่าวไม่เป็นไตแข็งแล้ว บริเวณดังกล่าวสามารถกลับมาฉีดอินซูลินได้ตามปกติ และผิวหนังที่มีการอักเสบ รอยผ่าตัด ผังผืด รากขน ไฝ

     9. ทำความสะอาดผิวหนังด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ รอให้แอลกอฮอล์แห้งก่อนฉีดยา วิธีการเช็ดแอลกอฮอล์ทำได้ 2 วิธี คือ เช็ดวนเป็นก้นหอยจากในสุดออกมาด้านนอก หรือเช็ดลงในแนวดิ่ง 3 ครั้ง และไม่เช็ดย้อนไปมา

  • ใช้มือข้างที่ถนัดกำปากกาด้วยนิ้วทั้ง 4 นิ้ว โดยให้หัวแม่มืออยู่ตำแหน่งปุ่มกด

  • ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับผิวหนังยกขึ้นในคนผอม หรือดึงผิวให้ตึงในอ้วน และหลีกเลี่ยงการดึงและบีบผิวหนังจนแน่นเพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของยาเมื่อถอนเข็มออก

  • แทงเข็มตั้งฉากกับผิวหนังจนเข็มมิด เดินยาอินซูลินอย่างช้า ๆ และลงน้ำหนักมือเท่า ๆ กันอย่างสม่ำเสมอจนสุดถึงเลข 0 แล้วค้างไว้ นับ 1 - 10 ช้า ๆ ก่อนดึงเข็มออก เพื่อให้ได้รับอินซูลินครบตามขนาดที่กำหนด

  • ดึงเข็มออก โดยใช้สำลีแห้งกดบริเวณที่ฉีดอินซูลินไว้สักครู่ ห้ามคลึงบริเวณที่ฉีดอินซูลิน

     10. สวมปลอกเข็มกลับอย่างระมัดระวัง

     11. ปิดปลอกปากกาอินซูลิน และเก็บไว้ในที่ที่สะอาด

การเก็บรักษาอินซูลินและการพกพาอินซูลิน

     1. ยาอินซูลินที่ยังไม่เปิดใช้ ให้เก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 2 - 8 องศาเซลเซียส อายุการใช้งานอินซูลิน ตามวันหมดอายุที่ระบุบนฉลากยา

  • ตำแหน่งที่เก็บยาในตู้เย็น คือ ชั้นวางของในตู้เย็น
  • ห้ามเก็บอินซูลินในช่องแช่แข็ง หรือช่องเก็บของใต้ช่องแช่แข็ง

     2. การเก็บรักษาอินซูลินที่เปิดใช้แล้ว ให้เก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 25 - 30 องศาเซลเซียส และไม่มีแสงแดดส่องถึง อินซูลินส่วนใหญ่หมดอายุในเวลา 28 วันนับจากวันแรกที่เปิดใช้ ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดอินซูลิน ในปัจจุบันอินซูลินบางชนิดเก็บได้นานขึ้น แนะนำสอบถามข้อมูลจากแพทย์หรือเภสัชกร

     3. อย่าวางยาอินซูลินทิ้งไว้ในรถยนต์ หรือรถที่จอดตากแดด เพราะจำทำให้อินซูลินเสื่อมสภาพ

การใช้งานของเข็มฉีดอินซูลิน

     1. ปากกาโนโวเพ็น (Novopen) จะใช้เฉพาะกับหัวเข็มโนโวไฟล์ (Novofine) เท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้อินซูลินรั่วซึม สำหรับปากกาบริษัทอื่น ๆ ใช้หัวเข็ม BD ได้

     2. หัวเข็ม 1 อัน สามารถใช้ซ้ำได้ 3 - 5 ครั้ง โดยที่ปลายเข็มไม่โค้งหรืองอ ควรเปลี่ยนหัวเข็มใหม่ทุกครั้งหากเข็มสัมผัสสิ่งใด ๆ เช่น เสื้อผ้า ปลอกเข็ม เป็นต้น

     3. ห้ามใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดปลายเข็ม เพราะจะทำให้สารเคลือบผิวบริเวณปลายเข็มหมดไป ทำให้รู้สึกเจ็บขณะฉีดอินซูลินได้

การทิ้งหัวเข็มฉีดอินซูลิน

     ทิ้งหัวเข็มฉีดอินซูลินในกระป๋องทิ้งเข็ม หรือภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง