หูดหงอนไก่ คืออะไร?

   หูดหงอนไก่  เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยมีสาเหตุหลักมาจากเชื้อไวรัสต้นเหตุที่เรียกว่า ฮิวแมนแปปิโลมาไวรัส (HPV) โรคนี้เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในผู้ใหญ่พบบ่อยในวัยเจริญพันธุ์ คือ ในช่วงอายุ 16-25 ปี โดยเชื้อชนิดนี้ชอบอยู่บริเวณที่อับชื้น ทำให้เกิดรอยโรคที่อวัยวะสืบพันธุ์

การติดต่อ

   ทางสัมผัส รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ และการคลอดทารกผ่านทางช่องคลอด อาการส่วนใหญ่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

อาการ

   อาการของโรคหูดหงอนไก่มีตั้งแต่ไม่มีอาการเลย ไปจนถึงมีก้อนโตมากจนอุดกั้นช่องคลอด ทวารหนักหรือท่อปัสสาวะ บางรายมีเลือดออกจากก้อนหูด มีอาการคัน ตกขาวผิดปกติหรือแม้แต่แสบร้อนที่อวัยวะเพศ

ตำแหน่งที่พบ

  • ในผู้หญิง พบได้ที่ปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนักและบริเวณฝีเย็บ หูดอาจมีขนาดเล็กๆ หรือโตมาก การตั้งครรภ์จะทำให้หูดโตเร็วกว่าปกติ
  • ในผู้ชาย มักพบใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ เส้นสองสลึง และรูเปิดท่อปัสสาวะ และอาจพบบริเวณรอบทวารหนักในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
  • ในทารก ที่คลอดผ่านช่องคลอดของมารดาที่มีหูดหงอนไก่ อาจจะทำให้เกิดโรคที่หลอดเสียง

ซึ่งมีอาการแตกต่างกัน ตั้งแต่เสียงแหบจนถึงมีการอุดกั้นของกล่องเสียง

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

  1. มีคู่นอนหลายคน
  2. มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
  3. มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ
  4. คู่นอนมีการติดเชื้อหูดหงอนไก่

การรักษา

   การรักษาส่วนใหญ่เพื่อเป็นการบรรเทาอาการ โดยหากภูมิคุ้มกันของร่างกายดีโรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ต้องใช้เวลา และการรักษาด้วยยาโดยแพทย์จะนัดทายาทุก 1 สัปดาห์ โดยก่อนทายาทุกครั้งผู้ป่วยควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเสมอ เพราะหลังจากทายาแล้วไม่ควรให้รอยทายาโดนน้ำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง ยามีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น สารละลายกรดเข้มข้น (80-90% Trichloroacetic acid) ออกฤทธิ์โดยทำให้โปรตีนในเซลล์เสื่อมสภาพเป็นเซลล์ตาย ซึ่งหูดที่มีก้านมักหลุดออกไปภายใน 2-3 วัน อาจทำให้เกิดผิวหนังระคายเคืองเป็นแผลเลือดออกได้

การทายานั้นจะต้องให้แพทย์เป็นผู้ทาให้เท่านั้น สำหรับยาที่ให้ผู้ป่วยทาเอง ในปัจจุบันที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย มี 2 ชนิด ได้แก่ 

  • อิมิควิโมด (5%Imiquimod/Aldara) ยานี้จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ ให้ร่างกายกำจัดไวรัสเอชพีวีด้วยตัวเอง ข้อเสียคืออาจทำให้เกิดผื่นแดง 
  • โพโดฟิลอก (Podofilox 0.5%) เป็นยาที่ยับยั้งการแบ่งเซลล์ ข้อเสียคืออาจทำให้เกิดระคายเคืองเล็กน้อย

นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยการจี้ไฟฟ้า จี้เย็น และการตัดด้วยใบมีด ซึ่งแนวทางการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์

   หูดหงอนไก่ไม่ทำให้เกิดมะเร็ง แต่ธรรมชาติของการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี อาจติดเชื้อได้หลายสายพันธุ์พร้อมกัน หากติดสายพันธุ์ชนิดความเสี่ยงสูงร่วมด้วยก็มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งขึ้น หูดหงอนไก่ที่ขนาดใหญ่ในระหว่างการตั้งครรภ์ อาจขัดขวางการคลอดจนต้องผ่าตัดคลอดได้ หูดหงอนไก่ยังสามารถเกิดที่คอหอย หลอดลม หรือเส้นเสียงของทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นโรคนี้ได้ ทำให้มีผลต่อการหายใจของทารกจนอาจเสียชีวิตได้ การรักษามักต้องผ่าตัดออก และต้องทำหลายครั้งซึ่งสร้างความทุกข์ทรมานมาก

สาเหตุของการเกิดซ้ำ

หูดหงอนไก่ สามารถเกิดซ้ำได้ถึงร้อยละ 30-70 ในระยะเวลา 6 เดือนหลังสิ้นสุดการรักษา สาเหตุเป็นได้ตั้งแต่ยาไม่มีประสิทธิภาพ การติดเชื้อซ้ำจากการมีเพศสัมพันธ์ หรือการเกิดรอยโรคจากเชื้อในร่างกายตนเอง

วิธีการป้องกัน

การป้องกันคือการมีคู่นอนคนเดียวหรือให้น้อยที่สุด ถุงยางอนามัยไม่สามารถลดการถ่ายทอดเชื้อไวรัสเอชพีวีได้ เพราะเชื้อนี้สามารถกระจายอยู่ได้ทั่วไป ตั้งแต่รอบทวารหนัก ฝีเย็บ หัวหน่าว เป็นต้น ซึ่งเป็นบริเวณที่ถุงยางอนามัยครอบคลุมไม่ถึง การสัมผัสอวัยวะเพศภายนอกด้วยวัตถุ หรืออวัยวะที่มีเชื้อไวรัสเอชพีวีนี้ก็ยังคงสามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้ 

ปัจจุบันมีการคิดค้นวัคซีนที่สามารถป้องกันเกิดโรคหูดหงอนไก่ได้ ซึ่งร้อยละ 90 ของหูดหงอนไก่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิด 6, 11 โดยวัคซีนที่ป้องกันหูดหงอนไก่ได้อยู่ในรูปวัคซีนเอชพีวีชนิดที่มี 4 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18) และ 9 สายพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันได้รับการรับรองให้ใช้ได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด และมะเร็งทวารหนักได้อีกด้วย

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E

หูดหงอนไก่  เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยมีสาเหตุหลักมาจากเชื้อไวรัสต้นเหตุที่เรียกว่า ฮิวแมนแปปิโลมาไวรัส (HPV) โรคนี้เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในผู้ใหญ่พบบ่อยในวัยเจริญพันธุ์ คือ ในช่วงอายุ 16-25 ปี โดยเชื้อชนิดนี้ชอบอยู่บริเวณที่อับชื้น ทำให้เกิดรอยโรคที่อวัยวะสืบพันธุ์

การติดต่อ

ทางสัมผัส รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ และการคลอดทารกผ่านทางช่องคลอด อาการส่วนใหญ่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

อาการ

อาการของโรคหูดหงอนไก่มีตั้งแต่ไม่มีอาการเลย ไปจนถึงมีก้อนโตมากจนอุดกั้นช่องคลอด ทวารหนักหรือท่อปัสสาวะ บางรายมีเลือดออกจากก้อนหูด มีอาการคัน ตกขาวผิดปกติหรือแม้แต่แสบร้อนที่อวัยวะเพศ

ตำแหน่งที่พบ

  • ในผู้หญิง พบได้ที่ปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนักและบริเวณฝีเย็บ หูดอาจมีขนาดเล็กๆ หรือโตมาก การตั้งครรภ์จะทำให้หูดโตเร็วกว่าปกติ
  • ในผู้ชาย มักพบใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ เส้นสองสลึง และรูเปิดท่อปัสสาวะ และอาจพบบริเวณรอบทวารหนักในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
  • ในทารก ที่คลอดผ่านช่องคลอดของมารดาที่มีหูดหงอนไก่ อาจจะทำให้เกิดโรคที่หลอดเสียง

ซึ่งมีอาการแตกต่างกัน ตั้งแต่เสียงแหบจนถึงมีการอุดกั้นของกล่องเสียง

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

  1. มีคู่นอนหลายคน
  2. มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
  3. มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ
  4. คู่นอนมีการติดเชื้อหูดหงอนไก่

การรักษา

การรักษาส่วนใหญ่เพื่อเป็นการบรรเทาอาการ โดยหากภูมิคุ้มกันของร่างกายดีโรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ต้องใช้เวลา และการรักษาด้วยยาโดยแพทย์จะนัดทายาทุก 1 สัปดาห์ โดยก่อนทายาทุกครั้งผู้ป่วยควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเสมอ เพราะหลังจากทายาแล้วไม่ควรให้รอยทายาโดนน้ำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง ยามีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น สารละลายกรดเข้มข้น (80-90% Trichloroacetic acid) ออกฤทธิ์โดยทำให้โปรตีนในเซลล์เสื่อมสภาพเป็นเซลล์ตาย ซึ่งหูดที่มีก้านมักหลุดออกไปภายใน 2-3 วัน อาจทำให้เกิดผิวหนังระคายเคืองเป็นแผลเลือดออกได้

การทายานั้นจะต้องให้แพทย์เป็นผู้ทาให้เท่านั้น สำหรับยาที่ให้ผู้ป่วยทาเอง ในปัจจุบันที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย มี 2 ชนิด ได้แก่ 

  • อิมิควิโมด (5%Imiquimod/Aldara) ยานี้จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ ให้ร่างกายกำจัดไวรัสเอชพีวีด้วยตัวเอง ข้อเสียคืออาจทำให้เกิดผื่นแดง 
  • โพโดฟิลอก (Podofilox 0.5%) เป็นยาที่ยับยั้งการแบ่งเซลล์ ข้อเสียคืออาจทำให้เกิดระคายเคืองเล็กน้อย

นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยการจี้ไฟฟ้า จี้เย็น และการตัดด้วยใบมีด ซึ่งแนวทางการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์

หูดหงอนไก่ไม่ทำให้เกิดมะเร็ง แต่ธรรมชาติของการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี อาจติดเชื้อได้หลายสายพันธุ์พร้อมกัน หากติดสายพันธุ์ชนิดความเสี่ยงสูงร่วมด้วยก็มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งขึ้น หูดหงอนไก่ที่ขนาดใหญ่ในระหว่างการตั้งครรภ์ อาจขัดขวางการคลอดจนต้องผ่าตัดคลอดได้ หูดหงอนไก่ยังสามารถเกิดที่คอหอย หลอดลม หรือเส้นเสียงของทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นโรคนี้ได้ ทำให้มีผลต่อการหายใจของทารกจนอาจเสียชีวิตได้ การรักษามักต้องผ่าตัดออก และต้องทำหลายครั้งซึ่งสร้างความทุกข์ทรมานมาก

สาเหตุของการเกิดซ้ำ

หูดหงอนไก่ สามารถเกิดซ้ำได้ถึงร้อยละ 30-70 ในระยะเวลา 6 เดือนหลังสิ้นสุดการรักษา สาเหตุเป็นได้ตั้งแต่ยาไม่มีประสิทธิภาพ การติดเชื้อซ้ำจากการมีเพศสัมพันธ์ หรือการเกิดรอยโรคจากเชื้อในร่างกายตนเอง

วิธีการป้องกัน

การป้องกันคือการมีคู่นอนคนเดียวหรือให้น้อยที่สุด ถุงยางอนามัยไม่สามารถลดการถ่ายทอดเชื้อไวรัสเอชพีวีได้ เพราะเชื้อนี้สามารถกระจายอยู่ได้ทั่วไป ตั้งแต่รอบทวารหนัก ฝีเย็บ หัวหน่าว เป็นต้น ซึ่งเป็นบริเวณที่ถุงยางอนามัยครอบคลุมไม่ถึง การสัมผัสอวัยวะเพศภายนอกด้วยวัตถุ หรืออวัยวะที่มีเชื้อไวรัสเอชพีวีนี้ก็ยังคงสามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้ 

ปัจจุบันมีการคิดค้นวัคซีนที่สามารถป้องกันเกิดโรคหูดหงอนไก่ได้ ซึ่งร้อยละ 90 ของหูดหงอนไก่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิด 6, 11 โดยวัคซีนที่ป้องกันหูดหงอนไก่ได้อยู่ในรูปวัคซีนเอชพีวีชนิดที่มี 4 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18) และ 9 สายพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันได้รับการรับรองให้ใช้ได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด และมะเร็งทวารหนักได้อีกด้วย

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง