ความดันโลหิตสูง ความเสี่ยงโรคไต

ความดันโลหิตสูง กับการรับประทานอาหารเค็ม

โดยปกติเมื่ออายุมากขึ้นความดันโลหิตจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยพบว่าผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จากการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ในหลายประเทศแสดงให้เห็นชัดเจนว่า การรับประทานเค็มมากๆ จะส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ นอกจากนี้ การรับประทานเค็มยังทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นตามลำดับ เนื่องจากมีผลทำให้ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวขึ้น และส่งผลให้อัตราการกรองของเสียผ่านไตเพื่อขับถ่ายออกทางปัสสาวะมากขึ้น

อีกทั้งการรับประทานเค็มยังทำให้อัตราการขับโปรตีนอัลบูมินออกทางปัสสาวะมากขึ้น ซึ่งการตรวจพบปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะถือเป็นตัวบ่งชี้ของภาวะไตเสื่อมในระยะแรก หรือกล่าวง่ายๆ คือ ทำให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้นนั่นเอง

ในทางตรงกันข้าม จากการสำรวจประชากรที่ไม่ใช้เกลือในการปรุงอาหารเลยพบว่า ความดันโลหิตของประชากรในกลุ่มนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามอายุเช่นเดียวกับประชากรทั่วไป ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการรับประทานเค็มเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง

ควบคุมความดันโลหิตสูง แค่ลดรับประทานอาหารเค็ม

ผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงควรทำความเข้าใจในความหมายของคำว่า “เค็ม” และ “เกลือ” ตามความหมายของแพทย์ให้ถูกต้อง คำว่า “เกลือ” หรือนักวิชาการบางท่านใช้คำว่า “เกลือแกง” หมายถึง สารที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า โซเดียมคลอไรด์ (Sodiumchloride: NaCl) โดยทั่วไปใช้สำหรับปรุงอาหารเพื่อให้รสเค็ม เกลือโซเดียมมีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

ดังนั้น หากแพทย์แนะนำว่าไม่ควรรับประทานเค็มจึงหมายความว่า ให้ลดปริมาณการบริโภคเกลือ รวมถึงผงชูรส เนื่องจากมีส่วนผสมของเกลือโซเดียมเช่นกัน และไม่แนะนำให้ใช้เกลือเทียม เช่น เกลือโพแทสเซียมแทนเกลือแกง เพราะอาจเป็นอันตรายในผู้ที่มีภาวะไตเสื่อมได้

ความดันโลหิตสูง รับประทานอย่างไร?

ความดันโลหิตสูง กับโรคไต เกี่ยวกันอย่างไร? (Hypertension and Kidney)

ควบคุมความดันโลหิตสูง ป้องกันเสี่ยงโรคไต

  1. ลดน้ำหนัก
  2. หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  4. งดสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วขณะ ถึงแม้ว่าการเลิกสูบบุหรี่อาจไม่มีผลต่อการลดความดันโลหิตในระยะยาว แต่จะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ ถุงลมโป่งพอง และมะเร็งอีกหลายชนิด ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้ป่วยและคนใกล้ชิด
  5. ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรจำกัดปริมาณให้น้อยกว่าวันละ 2 แก้ว

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C

ความดันโลหิตสูง กับการรับประทานอาหารเค็ม

โดยปกติเมื่ออายุมากขึ้นความดันโลหิตจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยพบว่าผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จากการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ในหลายประเทศแสดงให้เห็นชัดเจนว่า การรับประทานเค็มมากๆ จะส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ นอกจากนี้ การรับประทานเค็มยังทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นตามลำดับ เนื่องจากมีผลทำให้ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวขึ้น และส่งผลให้อัตราการกรองของเสียผ่านไตเพื่อขับถ่ายออกทางปัสสาวะมากขึ้น

อีกทั้งการรับประทานเค็มยังทำให้อัตราการขับโปรตีนอัลบูมินออกทางปัสสาวะมากขึ้น ซึ่งการตรวจพบปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะถือเป็นตัวบ่งชี้ของภาวะไตเสื่อมในระยะแรก หรือกล่าวง่ายๆ คือ ทำให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้นนั่นเอง

ในทางตรงกันข้าม จากการสำรวจประชากรที่ไม่ใช้เกลือในการปรุงอาหารเลยพบว่า ความดันโลหิตของประชากรในกลุ่มนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามอายุเช่นเดียวกับประชากรทั่วไป ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการรับประทานเค็มเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง

ควบคุมความดันโลหิตสูง แค่ลดรับประทานอาหารเค็ม

ผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงควรทำความเข้าใจในความหมายของคำว่า “เค็ม” และ “เกลือ” ตามความหมายของแพทย์ให้ถูกต้อง คำว่า “เกลือ” หรือนักวิชาการบางท่านใช้คำว่า “เกลือแกง” หมายถึง สารที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า โซเดียมคลอไรด์ (Sodiumchloride: NaCl) โดยทั่วไปใช้สำหรับปรุงอาหารเพื่อให้รสเค็ม เกลือโซเดียมมีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

ดังนั้น หากแพทย์แนะนำว่าไม่ควรรับประทานเค็มจึงหมายความว่า ให้ลดปริมาณการบริโภคเกลือ รวมถึงผงชูรส เนื่องจากมีส่วนผสมของเกลือโซเดียมเช่นกัน และไม่แนะนำให้ใช้เกลือเทียม เช่น เกลือโพแทสเซียมแทนเกลือแกง เพราะอาจเป็นอันตรายในผู้ที่มีภาวะไตเสื่อมได้

ความดันโลหิตสูง รับประทานอย่างไร?

ความดันโลหิตสูง กับโรคไต เกี่ยวกันอย่างไร? (Hypertension and Kidney)

ควบคุมความดันโลหิตสูง ป้องกันเสี่ยงโรคไต

  1. ลดน้ำหนัก
  2. หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  4. งดสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วขณะ ถึงแม้ว่าการเลิกสูบบุหรี่อาจไม่มีผลต่อการลดความดันโลหิตในระยะยาว แต่จะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ ถุงลมโป่งพอง และมะเร็งอีกหลายชนิด ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้ป่วยและคนใกล้ชิด
  5. ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรจำกัดปริมาณให้น้อยกว่าวันละ 2 แก้ว

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง