ไวรัสตับอักเสบ ต้นเหตุของมะเร็งตับ

     ไวรัสตับอักเสบมี 5 ชนิดประกอบด้วย ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสที่เป็นปัญหาสำคัญในบ้านเรา ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบีและซีเนื่องจากไวรัสทั้ง 2 ชนิดทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับตามมา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

     ในประเทศไทยคาดว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีประมาณร้อยละ 5 ของประชากร หรือประมาณ 2 - 3 ล้านคน ส่วนผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีประมาณร้อยละ 0.4 ของประชากรหรือประมาณ 300,000 คน

ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอีจะมีลักษณะการติดต่อที่แตกต่างกันไปตามชนิด

  • ไวรัสตับอักเสบ A #พบได้บ่อย

     การติดต่อ : ติดต่อทางอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค

     อาการ : ไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียน ดีซ่าน

  • ไวรัสตับอักเสบ B #พบได้บ่อย

     การติดต่อ : ติดต่อทางเลือด เพศสัมพันธ์ จากมารดาสู่บุตร

     อาการ : ตับอักเสบรุนแรง อาจพัฒนาไปเป็นโรคตับ มะเร็งตับ

  • ไวรัสตับอักเสบ C

     การติดต่อ : ติดเชื้อทางเลือด เพศสัมพันธ์

     อาการ : ตับอักเสบเรื้อรัง จนกลายเป็นตับแข็ง มะเร็งตับได้

  • ไวรัสตับอักเสบ D

     การติดต่อ : ติดเชื้อทางเลือด กลุ่มเสี่ยงคือผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบ B

     อาการ : ตับอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยตับเรื้อรังรุนแรงเสี่ยงเสียชีวิตได้

  • ไวรัสตับอักเสบ E

     การติดต่อ : เกิดจากทานอาหารที่ปรุงไม่สุก เช่น เนื้อหมู สัตว์ปีก

     อาการ : ตาเหลือง ตัวเหลือ อ่อนเพลีย

โรคไวรัสตับอักเสบบีและซีมีความสำคัญอย่างไร?

     ไวรัสตับอักเสบบี

     ในบ้านเราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีส่วนใหญ่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก หากว่าติดแต่เด็กจะเป็นเรื้อรัง โดยพบว่าช่วง 10 - 15 ปีแรกจะมีปริมาณไวรัสสูงมาก แต่ตับยังไม่อักเสบเพราะเม็ดเลือดขาวยังไม่ทราบว่ามีไวรัสอยู่ในร่างกาย จนเข้าสู่วัยรุ่นเมื่อเม็ดเลือดขาวเริ่มตรวจพบและทำลายเซลล์ตับที่มีไวรัสอยู่ จึงทำให้มีไวรัสตับอักเสบเกิดขึ้น ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ โดยอาจมีการอักเสบของตับเรื้อรัง โดยอาจมีการอักเสบของตับเรื่อรัง มีไวรัสขึ้นๆ ลงๆ ร่วมกับการทำงานของตับผิดปกติ เกิดการอักเสบเรื้อรังและมีพังผืดเกิดขึ้นมาแทนที่ ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ นานวันเข้าจะมีภาวะตับแข็งและมะเร็งตับเกิดขึ้น ซึ่งพบประมาณร้อยละ 15 - 40 ของผู้ป่วยที่มีตับอักเสบเรื้อรัง

     ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 100 เท่า และจะมีความเสี่ยงมากขึ้นอีกหากมีปัจจัยส่งเสริมอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ เพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ พบว่าผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งตับมีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ มีโรคตับอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การดื่มสุรา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบดี จะทำให้ตับมีการอักเสบมากขึ้น การได้รับสารก่อมะเร็งโดยเฉพาะสารอะฟลาท็อกซิน (aflatoxin)  ซึ่งสร้างจากเชื้อราที่มักพบในธัญพืชที่เก็บไว้นานๆ หรือในที่ชื้น โดยเฉพาะถั่วลิสงป่น พริกป่น สารอะฟลาท๊อกซินสามารถทนความร้อนได้ดีและจะไม่ถูกทำลายด้วยการหุงต้ม

     ไวรัสตับอักเสบซี

     การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมักไม่ทำให้เกิดอาการเฉียบพลัน มากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้จะเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติ หากไม่ได้ไปพบแพทย์หรือตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับก็จะไม่ทราบว่าตนเองมีตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งร้อยละ 20 - 30 ของผู้ป่วยเหล่านี้จะเกิดภาวะตับแข็งภายใน 20-30 ปี และนำไปสู่มะเร็งตับในที่สุด

     ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับเพิ่มขึ้นประมาณ 20 เท่า พบว่าผู้ที่ดื่มสุราหรือมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือเอดส์ร่วมด้วยจะเกิดตับแข็งในเวลาอันรวดเร็ว

ไวรัสตับอักเสบบีและซีป้องกันอย่างไร?

     เราสามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีได้หลายวิธี ประกอบด้วย

  1. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การเจาะ สักผิวหนัง การใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น การใช้ของมีคมร่วมกับบุคคลอื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ การมีคู่นอนหลายคนหรือมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน บุคลากรทางการแพทย์ควรสวมถุงมือ แว่นตา หรือชุดคลุม เมื่อต้องสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยทุกครั้ง
  2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรพบแพทย์เพื่อประเมินว่ามีความจำเป็นต้องกินยาต้านไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ หากเชื้อไวรัสมีปริมาณมากควรได้รับยาต้านไวรัสช่วง 3 เดือนก่อนคลอด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก และทารกควรได้รับการฉีดวัคซีนอินมูโนกลอบบูลิน (hepatitis B immunoglobulin, HBIG) เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกคลอด
  3. การฉีดวัคซีน เรายังสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้โดยการฉีดวัคซีนซึ่งมีประสิทธิภาพดี โดยฉีดเพียง 3 เข็ม สามารถสร้างภูมิต้านทานซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ตลอดชีวิต ส่วนวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบซีในปัจจุบันไม่มี

ใครควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี?

     ในปัจจุบันวัคซีนมีราคาถูกลงมากและมีความปลอดภัยสูงจึงควรฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่ยังไม่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและยังไม่มีภูมิต้านทานทุกคน ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่

  • ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นไวรัสตับอักเสบบี
  • ทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี
  • บุคลากรทางการแพทย์
  • สามีหรือภรรยาของผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี
  • ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกไต
  • ผู้ที่ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
  • ผู้ป่วยที่ต้องได้รับยากดภูมิต้านทาน

ต้องตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีนหรือไม่?

     ในทารกไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีน แต่ในผู้ใหญ่ควรตรวจเลือดก่อน เนื่องจากอาจมีการติดเชื้อหรืออาจมีภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบบีแล้ว โดยตรวจ HBsAg ว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ และตรวจ anti-HBs ว่ามีภูมิต้านทานเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ โดยต้องมีระดับของภูมิต้านทานมากกว่า 10 ยูนิต/มล.

ฉีดวัคซีนอย่างไร?

     การฉีดวัคซีนแนะนำให้ฉีด 3 เข็มเข้ากล้ามเนื้อที่ต้นแขน เดือนที่ 0, 1 และ 6 ตามลำดับ วัคซีนเข็มที่สองไม่ควรฉีดก่อน 1 เดือน หากเลยกำหนด 1 เดือนให้ฉีดเข็มที่ 2 ทันทีที่นึกได้ และนับต่อไปอีก 5 เดือนสำหรับเข็มที่ 3 การฉีดให้ฉีดเข้ากล้ามที่ต้นแขนเท่านั้น ยกเว้นในทารกควรฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่หน้าขาเพราะแขนมีขนาดเล็กมาก ขนาดที่ฉีดหากอายุน้อยกว่า 18 ปีให้ใช้ขนาดเด็ก และมากกว่า 18 ปี ให้ใช้ขนาดผู้ใหญ่

     วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีในปัจจุบันผลิตโดยใช้วิธีทางพันธุวิศวกรรมทั้งสิ้น ไม่มีวัคซีนที่ผลิตจากน้ำเลือดอีกแล้ว การฉีดวัคซีนทั้ง 3 เข็มจะใช้ของบริษัทใดก็สามารถใช้ทดแทนกันได้หมด

การฉีดวัคซีนมีผลเสียหรือไม่?

     การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีมีความปลอดภัยสูง ไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง บางรายอาจมีไข้ต่ำๆ 1-2 วัน เจ็บหรือมีผื่นแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน

ต้องตรวจเลือดซ้ำเพื่อดูภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีนครบหรือไม่?

     เมื่อฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม โดยทั่วไปมักจะมีภูมิต้านทานเกิดขึ้นร้อยละ 95 จึงไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดซ้ำ เพื่อดูว่ามีภูมิต้านทานหรือไม่   ยกเว้นในบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงควรตรวจดูระดับของภูมิต้านทาน 1-2 เดือน หลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 3

หากฉีดวัคซีนแล้วภูมิต้านทานไม่ขึ้นควรทำอย่างไร?

     ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้วภูมิต้านทานไม่ขึ้น พบได้น้อยประมาณร้อยละ 5 แนะนำให้ฉีดวัคซีนซ้ำ โดยอาจเพิ่มจำนวนเป็น 4 เข็ม เดือนที่ 0, 1, 2 และ 6 เดือน หรือเพิ่มขนาดของวัคซีน หรือเปลี่ยนวิธีการฉีดจากฉีดเข้ากล้ามเนื้อเป็นเข้าชั้นผิวหนัง (intradermal injection) ซึ่จะกระตุ้นภูมิต้านทานได้มากขึ้น

จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นหรือไม่?

     ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนครบจะค่อยๆ ลดลงตามระยะเวลามากกว่า 1 ใน 3 อาจมีภูมิตกลงจนตรวจไม่พบ แต่ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นอย่างรวดเร็ว หากได้รับเชื้อจึงไม่มีความจำเป็นต้องฉีดกระตุ้นอีก ยกเว้นในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดหรือผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

หากโดนเข็มตำต้องทำอย่างไร?

  • หากบุคลากรทางการแพทย์โดนเข็มเจาะเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีต่ำ
  • หากยังไม่มีภูมิต้านทาน การฉีดวัคซีน 3 เข็มอย่างเดียว อาจสร้างภูมิคุ้มกันไม่ทัน ต้องฉีดอิมมูโน กลอบบูลิน (hepatitis B immunoglobulin; HBIG) ร่วมด้วยเสมอเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ในกรณีที่มีภูมิต้านทานแต่ระดับน้อยกว่า 10 ยูนิต ควรได้รับการฉีดอิมมูโนกลอบบูลิน ร่วมกับวัคซีน 1 เข็ม เพื่อกระตุ้นภูมิต้านทาน เนื่องจากภูมิต้านทานที่มีอยู่อาจไม่สูงเพียงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อ
  • ในกรณีที่มีภูมิต้านทานมากกว่า 10 ยูนิต ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม นอกเหนือจากไวรัสตับอักเสบบี ผู้ที่โดนเข็มตำควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูไวรัสตับอักเสบซีและเอชไอวีร่วมด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก ศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A

     ไวรัสตับอักเสบมี 5 ชนิดประกอบด้วย ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสที่เป็นปัญหาสำคัญในบ้านเรา ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบีและซีเนื่องจากไวรัสทั้ง 2 ชนิดทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับตามมา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

     ในประเทศไทยคาดว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีประมาณร้อยละ 5 ของประชากร หรือประมาณ 2 - 3 ล้านคน ส่วนผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีประมาณร้อยละ 0.4 ของประชากรหรือประมาณ 300,000 คน

ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอีจะมีลักษณะการติดต่อที่แตกต่างกันไปตามชนิด

  • ไวรัสตับอักเสบ A #พบได้บ่อย

     การติดต่อ : ติดต่อทางอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค

     อาการ : ไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียน ดีซ่าน

  • ไวรัสตับอักเสบ B #พบได้บ่อย

     การติดต่อ : ติดต่อทางเลือด เพศสัมพันธ์ จากมารดาสู่บุตร

     อาการ : ตับอักเสบรุนแรง อาจพัฒนาไปเป็นโรคตับ มะเร็งตับ

  • ไวรัสตับอักเสบ C

     การติดต่อ : ติดเชื้อทางเลือด เพศสัมพันธ์

     อาการ : ตับอักเสบเรื้อรัง จนกลายเป็นตับแข็ง มะเร็งตับได้

  • ไวรัสตับอักเสบ D

     การติดต่อ : ติดเชื้อทางเลือด กลุ่มเสี่ยงคือผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบ B

     อาการ : ตับอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยตับเรื้อรังรุนแรงเสี่ยงเสียชีวิตได้

  • ไวรัสตับอักเสบ E

     การติดต่อ : เกิดจากทานอาหารที่ปรุงไม่สุก เช่น เนื้อหมู สัตว์ปีก

     อาการ : ตาเหลือง ตัวเหลือ อ่อนเพลีย

โรคไวรัสตับอักเสบบีและซีมีความสำคัญอย่างไร?

     ไวรัสตับอักเสบบี

     ในบ้านเราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีส่วนใหญ่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก หากว่าติดแต่เด็กจะเป็นเรื้อรัง โดยพบว่าช่วง 10 - 15 ปีแรกจะมีปริมาณไวรัสสูงมาก แต่ตับยังไม่อักเสบเพราะเม็ดเลือดขาวยังไม่ทราบว่ามีไวรัสอยู่ในร่างกาย จนเข้าสู่วัยรุ่นเมื่อเม็ดเลือดขาวเริ่มตรวจพบและทำลายเซลล์ตับที่มีไวรัสอยู่ จึงทำให้มีไวรัสตับอักเสบเกิดขึ้น ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ โดยอาจมีการอักเสบของตับเรื้อรัง โดยอาจมีการอักเสบของตับเรื่อรัง มีไวรัสขึ้นๆ ลงๆ ร่วมกับการทำงานของตับผิดปกติ เกิดการอักเสบเรื้อรังและมีพังผืดเกิดขึ้นมาแทนที่ ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ นานวันเข้าจะมีภาวะตับแข็งและมะเร็งตับเกิดขึ้น ซึ่งพบประมาณร้อยละ 15 - 40 ของผู้ป่วยที่มีตับอักเสบเรื้อรัง

     ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 100 เท่า และจะมีความเสี่ยงมากขึ้นอีกหากมีปัจจัยส่งเสริมอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ เพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ พบว่าผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งตับมีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ มีโรคตับอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การดื่มสุรา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบดี จะทำให้ตับมีการอักเสบมากขึ้น การได้รับสารก่อมะเร็งโดยเฉพาะสารอะฟลาท็อกซิน (aflatoxin)  ซึ่งสร้างจากเชื้อราที่มักพบในธัญพืชที่เก็บไว้นานๆ หรือในที่ชื้น โดยเฉพาะถั่วลิสงป่น พริกป่น สารอะฟลาท๊อกซินสามารถทนความร้อนได้ดีและจะไม่ถูกทำลายด้วยการหุงต้ม

     ไวรัสตับอักเสบซี

     การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมักไม่ทำให้เกิดอาการเฉียบพลัน มากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้จะเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติ หากไม่ได้ไปพบแพทย์หรือตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับก็จะไม่ทราบว่าตนเองมีตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งร้อยละ 20 - 30 ของผู้ป่วยเหล่านี้จะเกิดภาวะตับแข็งภายใน 20-30 ปี และนำไปสู่มะเร็งตับในที่สุด

     ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับเพิ่มขึ้นประมาณ 20 เท่า พบว่าผู้ที่ดื่มสุราหรือมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือเอดส์ร่วมด้วยจะเกิดตับแข็งในเวลาอันรวดเร็ว

ไวรัสตับอักเสบบีและซีป้องกันอย่างไร?

     เราสามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีได้หลายวิธี ประกอบด้วย

  1. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การเจาะ สักผิวหนัง การใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น การใช้ของมีคมร่วมกับบุคคลอื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ การมีคู่นอนหลายคนหรือมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน บุคลากรทางการแพทย์ควรสวมถุงมือ แว่นตา หรือชุดคลุม เมื่อต้องสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยทุกครั้ง
  2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรพบแพทย์เพื่อประเมินว่ามีความจำเป็นต้องกินยาต้านไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ หากเชื้อไวรัสมีปริมาณมากควรได้รับยาต้านไวรัสช่วง 3 เดือนก่อนคลอด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก และทารกควรได้รับการฉีดวัคซีนอินมูโนกลอบบูลิน (hepatitis B immunoglobulin, HBIG) เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกคลอด
  3. การฉีดวัคซีน เรายังสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้โดยการฉีดวัคซีนซึ่งมีประสิทธิภาพดี โดยฉีดเพียง 3 เข็ม สามารถสร้างภูมิต้านทานซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ตลอดชีวิต ส่วนวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบซีในปัจจุบันไม่มี

ใครควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี?

     ในปัจจุบันวัคซีนมีราคาถูกลงมากและมีความปลอดภัยสูงจึงควรฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่ยังไม่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและยังไม่มีภูมิต้านทานทุกคน ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่

  • ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นไวรัสตับอักเสบบี
  • ทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี
  • บุคลากรทางการแพทย์
  • สามีหรือภรรยาของผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี
  • ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกไต
  • ผู้ที่ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
  • ผู้ป่วยที่ต้องได้รับยากดภูมิต้านทาน

ต้องตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีนหรือไม่?

     ในทารกไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีน แต่ในผู้ใหญ่ควรตรวจเลือดก่อน เนื่องจากอาจมีการติดเชื้อหรืออาจมีภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบบีแล้ว โดยตรวจ HBsAg ว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ และตรวจ anti-HBs ว่ามีภูมิต้านทานเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ โดยต้องมีระดับของภูมิต้านทานมากกว่า 10 ยูนิต/มล.

ฉีดวัคซีนอย่างไร?

     การฉีดวัคซีนแนะนำให้ฉีด 3 เข็มเข้ากล้ามเนื้อที่ต้นแขน เดือนที่ 0, 1 และ 6 ตามลำดับ วัคซีนเข็มที่สองไม่ควรฉีดก่อน 1 เดือน หากเลยกำหนด 1 เดือนให้ฉีดเข็มที่ 2 ทันทีที่นึกได้ และนับต่อไปอีก 5 เดือนสำหรับเข็มที่ 3 การฉีดให้ฉีดเข้ากล้ามที่ต้นแขนเท่านั้น ยกเว้นในทารกควรฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่หน้าขาเพราะแขนมีขนาดเล็กมาก ขนาดที่ฉีดหากอายุน้อยกว่า 18 ปีให้ใช้ขนาดเด็ก และมากกว่า 18 ปี ให้ใช้ขนาดผู้ใหญ่

     วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีในปัจจุบันผลิตโดยใช้วิธีทางพันธุวิศวกรรมทั้งสิ้น ไม่มีวัคซีนที่ผลิตจากน้ำเลือดอีกแล้ว การฉีดวัคซีนทั้ง 3 เข็มจะใช้ของบริษัทใดก็สามารถใช้ทดแทนกันได้หมด

การฉีดวัคซีนมีผลเสียหรือไม่?

     การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีมีความปลอดภัยสูง ไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง บางรายอาจมีไข้ต่ำๆ 1-2 วัน เจ็บหรือมีผื่นแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน

ต้องตรวจเลือดซ้ำเพื่อดูภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีนครบหรือไม่?

     เมื่อฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม โดยทั่วไปมักจะมีภูมิต้านทานเกิดขึ้นร้อยละ 95 จึงไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดซ้ำ เพื่อดูว่ามีภูมิต้านทานหรือไม่   ยกเว้นในบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงควรตรวจดูระดับของภูมิต้านทาน 1-2 เดือน หลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 3

หากฉีดวัคซีนแล้วภูมิต้านทานไม่ขึ้นควรทำอย่างไร?

     ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้วภูมิต้านทานไม่ขึ้น พบได้น้อยประมาณร้อยละ 5 แนะนำให้ฉีดวัคซีนซ้ำ โดยอาจเพิ่มจำนวนเป็น 4 เข็ม เดือนที่ 0, 1, 2 และ 6 เดือน หรือเพิ่มขนาดของวัคซีน หรือเปลี่ยนวิธีการฉีดจากฉีดเข้ากล้ามเนื้อเป็นเข้าชั้นผิวหนัง (intradermal injection) ซึ่จะกระตุ้นภูมิต้านทานได้มากขึ้น

จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นหรือไม่?

     ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนครบจะค่อยๆ ลดลงตามระยะเวลามากกว่า 1 ใน 3 อาจมีภูมิตกลงจนตรวจไม่พบ แต่ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นอย่างรวดเร็ว หากได้รับเชื้อจึงไม่มีความจำเป็นต้องฉีดกระตุ้นอีก ยกเว้นในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดหรือผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

หากโดนเข็มตำต้องทำอย่างไร?

  • หากบุคลากรทางการแพทย์โดนเข็มเจาะเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีต่ำ
  • หากยังไม่มีภูมิต้านทาน การฉีดวัคซีน 3 เข็มอย่างเดียว อาจสร้างภูมิคุ้มกันไม่ทัน ต้องฉีดอิมมูโน กลอบบูลิน (hepatitis B immunoglobulin; HBIG) ร่วมด้วยเสมอเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ในกรณีที่มีภูมิต้านทานแต่ระดับน้อยกว่า 10 ยูนิต ควรได้รับการฉีดอิมมูโนกลอบบูลิน ร่วมกับวัคซีน 1 เข็ม เพื่อกระตุ้นภูมิต้านทาน เนื่องจากภูมิต้านทานที่มีอยู่อาจไม่สูงเพียงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อ
  • ในกรณีที่มีภูมิต้านทานมากกว่า 10 ยูนิต ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม นอกเหนือจากไวรัสตับอักเสบบี ผู้ที่โดนเข็มตำควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูไวรัสตับอักเสบซีและเอชไอวีร่วมด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก ศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง