ผลตรวจสุขภาพ ทำความเข้าใจอย่างไร?

 

การตรวจสุขภาพประจำปีมีความสำคัญอย่างไร?

     การตรวจสุขภาพ เน้นที่การตรวจก่อนการเป็นโรค การตรวจสุขภาพที่ถูกต้องจะทำให้เราได้รู้ว่า “เรายังมีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง” เพื่อจะได้ป้องกันก่อนที่จะเกิดโรคต่างๆ และหากสามารถขจัดได้ก็ไม่เป็นโรค การตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะที่ยังปราศจากอาการ มีประโยชน์ต่อตัวเรามากกว่าการตรวจพบเมื่อมีอาการแล้ว

การตรวจสุขภาพประจำปี จำเป็นต้องตรวจทุกปีไหม?

      ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกปี ควรได้รับการตรวจเท่าที่จำเป็นเท่านั้น การใช้คำว่าตรวจสุขภาพประจำปี ทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดว่าต้องมาตรวจสุขภาพทุกปี แต่เราพบว่าในคนที่อายุน้อยสุขภาพแข็งแรง ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจทุกปี อาจตรวจเพียงปีเว้นปีก็เพียงพอแล้ว

โดยปกติควรเริ่มตรวจสุขภาพตั้งแต่อายุเท่าไหร่?

     อายุ 20 – 30 ปี ควรตรวจความดันโลหิต และเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจการทำงานของไต และตรวจการทำงานของตับ

รายการตรวจพื้นฐานที่สำคัญ

   ช่วงอายุน้อยกว่า 40 ปี ควรตรวจวัดความดันโลหิต ค่าดัชนีมวลกายและตรวจเอ็กซเรย์ปอด หัวใจ และตรวจมะเร็งปากมดลูก

   ช่วงอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป ควรตรวจเบาหวาน ไขมัน การทำงานของไต การทำงานของตับ อัลตราซาวนด์ช่องท้องทั้งหมด ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง เช่น ตรวจมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก

คำอธิบายของ ผลตรวจสุขภาพ มีดังนี้

  1. การวัดสัญญาณชีพ และการตรวจร่างกาย ตรวจค้นหาความผิดปกติของความดันโลหิต และความผิดปกติอื่นๆ ที่สามารถค้นพบได้เบื้องต้นจากการตรวจร่างกายของแพทย์

  2. ดัชนีมวลกาย เป็นการวัดความสมดุลของน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) และส่วนสูง (เซนติเมตร) ซึ่งสามารถระบุได้ว่า ตอนนี้รูปร่างของคนคนนั้นอยู่ในระดับใด ตั้งแต่อ้วนมากไปจนถึงผอมเกินไป

  3. การตรวจเลือด

ผลเลือดผิดปกติก่อให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง?

โรคไขมัน โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคหัวใจ และเส้นเลือดในสมอง

   3.1 การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC) เป็นการตรวจเพื่อค้นหาความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือด ความเข้มข้นของเลือด ซึ่งอาจบ่งบอกถึงความผิกปกติของระบบเลือด ภาวะโลหิตจาง หรือภาวะที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย

   3.2 การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) เป็นการตรวจคัดกรองหาภาวะโรคเบาหวาน หรือมีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน

   3.3 การตรวจไขมันในเลือด เป็นการตรวจวัดระดับไขมัน โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ ไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) และไขมันโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) เพื่อระบุความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ

 **ไขมันดี (HDL) และไขมันไม่ดี (LDL) ต่างกันอย่างไร?
ไขมันดี (HDL) เป็นไขมันที่มีความหนาแน่นสูงซึ่งดีกับหลอดเลือดแดง เนื่องจากช่วยป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันไม่ดี (LDL) สะสมในหลอดเลือดแดง หากขาดไขมันดี (HDL) ในเลือด ก็จะทำให้เป็นการเพิ่มโอกาสการเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้

   3.4 การตรวจโรคเกาต์ (กรดยูริค) เป็นการตรวจวัดเพื่อวัดระดับกรดยูริค ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับโรคเกาต์ และอาการปวดข้อ

4. การตรวจการทำงานของไต

   4.1 Creatinine เป็นการวัดค่าของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกาย และของเสียเหล่านี้จะขับออกทางไต ค่านี้สามารถบ่งชี้ภาวะการทำงานของไต

   4.2 Blood Urea Nitrogen (BUN) เป็นการตรวจวัดค่าของเสียที่เหลือในร่างกาย ซึ่งจะบ่งบอกความสามารถในการขับของเสียของไต (เป็นตัวชี้วัดการทำงานของไต)

5. การตรวจการทำงานของตับ

   5.1 SGOT (AST) และ SGPT (ALT) การทดสอบเหล่านี้ตรวจสอบระดับเอนไซม์ตับที่มีอยู่ในเลือดถ้าผลผิดปกติ อาจบ่งบอกภาวะโรคของตับบางอย่าง

   5.2 Alkaline Phosphatase (ALP) เป็นเอนไซม์ตับอีกชนิดหนึ่งที่จะบ่งบอกความผิดปกติของตับ

   5.3 Gamma GT (GGT) เป็นการตรวจที่ดูความผิดปกติของตับได้เช่นกัน

   5.4 การตรวจไวรัสตับอักเสบบีและซี เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

   5.5 การตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ TSH and Free T4, Free T3 เป็นการตรวจเพื่อดูภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์

6. การตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง

    6.1 การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากจากเลือด แต่การแปลผลว่าจะเป็นมะเร็งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีก ควรต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง

   6.2 การตรวจมะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) เป็นการตรวจเพื่อหาสารบ่งชี้ของมะเร็งทางเดินอาหารจากเลือด แต่ผลที่สูงกว่าค่าปกติไม่ได้แสดงถึงการเป็นมะเร็งเสมอไป

   6.3 การตรวจมะเร็งตับอ่อน (CA19-9) เป็นการตรวจเพื่อหาสารบ่งชี้ของมะเร็งตับอ่อนจากเลือด แต่ผลที่สูงกว่าค่าปกติไม่ได้แสดงถึงการเป็นมะเร็งเสมอไป

   6.4 การตรวจมะเร็งรังไข่ (CA125) เป็นการตรวจเพื่อหาสารบ่งชี้ของมะเร็งรังไข่จากเลือด แต่ผลที่สูงกว่าค่าปกติไม่ได้แสดงถึงการเป็นมะเร็งเสมอไป

   6.5 การตรวจมะเร็งตับ (AFP) เป็นการตรวจเพื่อหาสารบ่งชี้ของมะเร็งตับจากเลือด แต่ผลที่สูงกว่าค่าปกติไม่ได้แสดงถึงการเป็นมะเร็งเสมอไป

7. การตรวจปัสสาวะ

   เป็นการตรวจเพื่อดูความผิดปกติของการทำงานของไต ระบบทางเดินปัสสาวะ และคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ ที่อาจมีผลต่อไต เช่น เบาหวาน ความดัน เป็นต้น

8. การตรวจอุจจาระ

   เป็นการตรวจหาพยาธิ และเลือดแฝง ซึ่งถ้าพบเลือดในอุจจาระ ควรปรึกษาแพทย์ทางเดินอาหาร เพื่อพิจารณาส่องกล้องลำไส้ต่อไป เนื่องจากมีหลายสาเหตุที่ทำให้มีเลือดออกในอุจจาระ เช่น มะเร็งลำไส้ และติ่งเนื้อในลำไส้ เป็นต้น

9. การทดสอบที่เกี่ยวเนื่องกลับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)

   เป็นการทดสอบที่ใช้ในการประเมินผลการทำงานของหัวใจขณะพัก

10. การตรวจด้วยการถ่ายภาพรังษีวินิจฉัย

   10.1 เอกซเรย์ปอด การถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดใช้สำหรับดูความผิดปกติของเนื้อปอด เช่น ก้อนในปอด วัณโรค เป็นต้น

   10.2 อัลตราซาวนด์ช่องท้องทั้งหมด เป็นการตรวจที่มีประสิทธิภาพในการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะสำคัญภายในช่องท้อง เช่น ตับ ไต ถุงน้ำดี มดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก และกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

   10.3 การตรวจเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์ เป็นการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งเต้านมและความผิดปกติอื่นๆ ของเต้านม

11. การตรวจภายใน

   เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูก และโอกาสที่จะเป็นมะเร็งของผู้หญิง อีกทั้งเป็นการตรวจในอุ้งเชิงกรานเพื่อมองหาความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ (แคม ช่องคลอด ปากมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกตรวจสุขภาพ ชั้น 4 โซน E

 

การตรวจสุขภาพประจำปีมีความสำคัญอย่างไร?

การตรวจสุขภาพ เน้นที่การตรวจก่อนการเป็นโรค การตรวจสุขภาพที่ถูกต้องจะทำให้เราได้รู้ว่า “เรายังมีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง” เพื่อจะได้ป้องกันก่อนที่จะเกิดโรคต่างๆ และหากสามารถขจัดได้ก็ไม่เป็นโรค การตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะที่ยังปราศจากอาการ มีประโยชน์ต่อตัวเรามากกว่าการตรวจพบเมื่อมีอาการแล้ว

การตรวจสุขภาพประจำปี จำเป็นต้องตรวจทุกปีไหม?

ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกปี ควรได้รับการตรวจเท่าที่จำเป็นเท่านั้น การใช้คำว่าตรวจสุขภาพประจำปี ทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดว่าต้องมาตรวจสุขภาพทุกปี แต่เราพบว่าในคนที่อายุน้อยสุขภาพแข็งแรง ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจทุกปี อาจตรวจเพียงปีเว้นปีก็เพียงพอแล้ว

โดยปกติควรเริ่มตรวจสุขภาพตั้งแต่อายุเท่าไหร่?

อายุ 20 – 30 ปี ควรตรวจความดันโลหิต และเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจการทำงานของไต และตรวจการทำงานของตับ

รายการตรวจพื้นฐานที่สำคัญ

ช่วงอายุน้อยกว่า 40 ปี ควรตรวจวัดความดันโลหิต ค่าดัชนีมวลกายและตรวจเอ็กซเรย์ปอด หัวใจ และตรวจมะเร็งปากมดลูก

ช่วงอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป ควรตรวจเบาหวาน ไขมัน การทำงานของไต การทำงานของตับ อัลตราซาวนด์ช่องท้องทั้งหมด ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง เช่น ตรวจมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก

คำอธิบายของ ผลตรวจสุขภาพ มีดังนี้

1. การวัดสัญญาณชีพ และการตรวจร่างกาย ตรวจค้นหาความผิดปกติของความดันโลหิต และความผิดปกติอื่นๆ ที่สามารถค้นพบได้เบื้องต้นจากการตรวจร่างกายของแพทย์

2. ดัชนีมวลกาย เป็นการวัดความสมดุลของน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) และส่วนสูง (เซนติเมตร) ซึ่งสามารถระบุได้ว่า ตอนนี้รูปร่างของคนคนนั้นอยู่ในระดับใด ตั้งแต่อ้วนมากไปจนถึงผอมเกินไป

3. การตรวจเลือด

ผลเลือดผิดปกติก่อให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง?

โรคไขมัน โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคหัวใจ และเส้นเลือดในสมอง

   3.1 การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC) เป็นการตรวจเพื่อค้นหาความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือด ความเข้มข้นของเลือด ซึ่งอาจบ่งบอกถึงความผิกปกติของระบบเลือด ภาวะโลหิตจาง หรือภาวะที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย

   3.2 การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) เป็นการตรวจคัดกรองหาภาวะโรคเบาหวาน หรือมีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน

   3.3 การตรวจไขมันในเลือด เป็นการตรวจวัดระดับไขมัน โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ ไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) และไขมันโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) เพื่อระบุความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ

 **ไขมันดี (HDL) และไขมันไม่ดี (LDL) ต่างกันอย่างไร?
ไขมันดี (HDL) เป็นไขมันที่มีความหนาแน่นสูงซึ่งดีกับหลอดเลือดแดง เนื่องจากช่วยป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันไม่ดี (LDL) สะสมในหลอดเลือดแดง หากขาดไขมันดี (HDL) ในเลือด ก็จะทำให้เป็นการเพิ่มโอกาสการเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้

   3.4 การตรวจโรคเกาต์ (กรดยูริค) เป็นการตรวจวัดเพื่อวัดระดับกรดยูริค ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับโรคเกาต์ และอาการปวดข้อ

4. การตรวจการทำงานของไต

   4.1 Creatinine เป็นการวัดค่าของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกาย และของเสียเหล่านี้จะขับออกทางไต ค่านี้สามารถบ่งชี้ภาวะการทำงานของไต

   4.2 Blood Urea Nitrogen (BUN) เป็นการตรวจวัดค่าของเสียที่เหลือในร่างกาย ซึ่งจะบ่งบอกความสามารถในการขับของเสียของไต (เป็นตัวชี้วัดการทำงานของไต)

5. การตรวจการทำงานของตับ

   5.1 SGOT (AST) และ SGPT (ALT) การทดสอบเหล่านี้ตรวจสอบระดับเอนไซม์ตับที่มีอยู่ในเลือดถ้าผลผิดปกติ อาจบ่งบอกภาวะโรคของตับบางอย่าง

   5.2 Alkaline Phosphatase (ALP) เป็นเอนไซม์ตับอีกชนิดหนึ่งที่จะบ่งบอกความผิดปกติของตับ

   5.3 Gamma GT (GGT) เป็นการตรวจที่ดูความผิดปกติของตับได้เช่นกัน

   5.4 การตรวจไวรัสตับอักเสบบีและซี เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

   5.5 การตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ TSH and Free T4, Free T3 เป็นการตรวจเพื่อดูภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์

6. การตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง

    6.1 การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากจากเลือด แต่การแปลผลว่าจะเป็นมะเร็งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีก ควรต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง

   6.2 การตรวจมะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) เป็นการตรวจเพื่อหาสารบ่งชี้ของมะเร็งทางเดินอาหารจากเลือด แต่ผลที่สูงกว่าค่าปกติไม่ได้แสดงถึงการเป็นมะเร็งเสมอไป

   6.3 การตรวจมะเร็งตับอ่อน (CA19-9) เป็นการตรวจเพื่อหาสารบ่งชี้ของมะเร็งตับอ่อนจากเลือด แต่ผลที่สูงกว่าค่าปกติไม่ได้แสดงถึงการเป็นมะเร็งเสมอไป

   6.4 การตรวจมะเร็งรังไข่ (CA125) เป็นการตรวจเพื่อหาสารบ่งชี้ของมะเร็งรังไข่จากเลือด แต่ผลที่สูงกว่าค่าปกติไม่ได้แสดงถึงการเป็นมะเร็งเสมอไป

   6.5 การตรวจมะเร็งตับ (AFP) เป็นการตรวจเพื่อหาสารบ่งชี้ของมะเร็งตับจากเลือด แต่ผลที่สูงกว่าค่าปกติไม่ได้แสดงถึงการเป็นมะเร็งเสมอไป

7. การตรวจปัสสาวะ

เป็นการตรวจเพื่อดูความผิดปกติของการทำงานของไต ระบบทางเดินปัสสาวะ และคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ ที่อาจมีผลต่อไต เช่น เบาหวาน ความดัน เป็นต้น

8. การตรวจอุจจาระ

เป็นการตรวจหาพยาธิ และเลือดแฝง ซึ่งถ้าพบเลือดในอุจจาระ ควรปรึกษาแพทย์ทางเดินอาหาร เพื่อพิจารณาส่องกล้องลำไส้ต่อไป เนื่องจากมีหลายสาเหตุที่ทำให้มีเลือดออกในอุจจาระ เช่น มะเร็งลำไส้ และติ่งเนื้อในลำไส้ เป็นต้น

9. การทดสอบที่เกี่ยวเนื่องกลับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)

เป็นการทดสอบที่ใช้ในการประเมินผลการทำงานของหัวใจขณะพัก

10. การตรวจด้วยการถ่ายภาพรังษีวินิจฉัย

   10.1 เอกซเรย์ปอด การถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดใช้สำหรับดูความผิดปกติของเนื้อปอด เช่น ก้อนในปอด วัณโรค เป็นต้น

   10.2 อัลตราซาวนด์ช่องท้องทั้งหมด เป็นการตรวจที่มีประสิทธิภาพในการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะสำคัญภายในช่องท้อง เช่น ตับ ไต ถุงน้ำดี มดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก และกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

   10.3 การตรวจเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์ เป็นการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งเต้านมและความผิดปกติอื่นๆ ของเต้านม

11. การตรวจภายใน

เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูก และโอกาสที่จะเป็นมะเร็งของผู้หญิง อีกทั้งเป็นการตรวจในอุ้งเชิงกรานเพื่อมองหาความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ (แคม ช่องคลอด ปากมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกตรวจสุขภาพ ชั้น 4 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง