แมงกระพรุนกล่อง พิษร้ายอันตรายถึงชีวิต

แมงกะพรุนกล่อง (Box jellyfish) หรือต่อทะเล (Sea wasp) เป็นแมงกะพรุนพิษที่มีรายงานว่าทำให้เสียชีวิตได้บ่อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแมงกะพรุนชนิดอื่น ๆ โดยในประเทศไทยสามารถพบแมงกระพรุนกล่องที่มีพิษร้ายแรงได้เกือบทุกจังหวัดชายทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน

แมงกะพรุนกล่อง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีลักษณะโปร่งใส หรือมีสีฟ้าอ่อน น้ำตาลอ่อน ชมพู หรือไม่มีสี จึงทําให้สังเกตได้ยากเวลาอยู่ในน้ำ รูปร่างคล้าลูกบาศก์ คล้ายร่ม หรือระฆังควํ่า มีขนาดแตกต่างกันไป แต่ละมุมของตัวสี่เหลี่ยมจะมีขายื่นออกมาก่อนจะแตกเป็นหนวด อาจมีหนวดมากถึง 15 เส้น แต่ละเส้นยาวได้ถึง 3 เมตร หนวดสามารถยืดออกไปได้ไกลเพื่อปล่อยกะเปาะซึ่งมีเข็มพิษ (nematocyst) ออกมาจับกินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร แมงกะพรุนยิ่งมีขนาดตัวใหญ่จะยิ่งมีพิษมาก เพราะมีจํานวนของกะเปาะที่ภายในมีสารพิษบรรจุอยู่จํานวนมากกว่า มีดวงตาเกาะกลุ่มกัน 4 กลุ่ม ว่ายน้ำได้เร็ว และสามารถเคลื่อนที่แบบพุ่งตัวขึ้นสู่บนผิวน้ำได้อย่างรวดเร็วถึง 5 ฟุตต่อวินาที

แมงกะพรุนกล่อง จำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่

1. ชนิดมีหนวดหลายเส้น – มีหนวดแบบแตกแขนงอาจมีได้มากถึง 60 เส้น มีถุงกระเพาะอาหาร (gastric saccules) มักพบบริเวณชายฝั่งทะเลน้ำตื้นระดับเอวหรือระดับเข่า ในบริเวณที่เป็นอ่าวและพื้นทะเลเป็นทราย ไม่มีแนวปะการังหรือแนวหิน โดยเฉพาะบริเวณหาดทรายใกล้ป่าชายเลนและปากแม่น้ำ พบได้ทุกฤดูแต่มักพบบ่อยในช่วงเดือนที่มีอากาศอบอุ่น ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – เดือนเมษายน โดยเฉพาะหลังฝนตกและลมแรง พิษจากแมงกะพรุนกล่องบางชนิดในกลุ่มนี้ ทำให้บริเวณที่ได้รับพิษมีอาการปวดอย่างรุนแรง ซึ่งอาการปวดนี้จะหายภายใน 4-12 ชั่วโมง และปรากฏเป็นรอยไหม้ ในรายที่มีอาการรุนแรงสามารถทำให้ผิวหนังบริเวณที่ได้รับพิษตาย และในกรณีได้รับพิษเป็นจำนวนมากอาจมีอาการสับสนหรือหมดความรู้สึก ก่อนที่จะนำไปสู่ระยะโคม่าและเสียชีวิตซึ่งในรายที่เสียชีวิตนั้นส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุระบบหัวใจหรือระบบหายใจล้มเหลว

2. ชนิดมีหนวดเส้นเดียว – หนวดแต่ละเส้นไม่มีการแตกแขนง ส่วนใหญ่ไม่มีถุงกระเพาะอาหาร พบได้ทุกฤดู ทุกพื้นที่ และทุกสภาวะอากาศ ส่วนใหญ่พบตามชายหาด แนวหินโสโครก ตามเกาะหรือบริเวณทะเลเปิด เช่น ไทย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฮาวาย แคริบเบียน ตาฮิติ อินเดียและทางตอนเหนือของอังกฤษ โดยเฉพาะในช่วงที่มีลมอ่อน ๆ พัดเข้าหาฝั่ง ในเดือนที่มีอากาศค่อนข้างร้อน แมงกะพรุนหลายชนิดในกลุ่มนี้มีพิษและทำให้เกิดอาการอิรูคันจิ (Irukandji syndrome) บริเวณที่ได้รับพิษจะมีอาการปวดอย่างรุนแรง แต่อาจไม่ปรากฏรอยไหม้ ในช่วงแรกอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย และรุนแรงขึ้นหลังจากนั้นประมาณ 5 - 40 นาที อาการที่พบ ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก หายใจลำบาก ไอ เป็นตะคริว กล้ามเนื้อหดเกร็ง ความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติแต่มักไม่ทำให้เสียชีวิต เพียงแต่ทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบาย ซึ่งอาจเป็นเหตุให้จมน้ำง่ายขึ้น

การวินิจฉัยการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษ

เนื่องจากการจับตัวแมงกะพรุนที่เป็นสาเหตุนั้นค่อนข้างยาก ทำให้การจำแนกชนิดของแมงกะพรุนที่เป็นเหตุของการบาดเจ็บส่วนใหญ่ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นการวินิจฉัยจึงต้องอาศัยประวัติ ข้อมูลพื้นที่ อาการและลักษณะอาการแสดงเป็นหลัก

อาการเมื่อถูกพิษแมงกะพรุนกล่อง

  ผู้ป่วยที่เข้าข่ายว่าเกิดจากแมงกะพรุนกล่องชนิดมีหนวดหลายเส้น

  • มีอาการหลังสัมผัสหนวดทันที
  • ผื่นแดงเป็นเส้นๆ ขดวนไปมาคล้ายสายแมงกะพรุน กรณีที่โดนมากจะเห็นเป็นรอยไหม้
  • เจ็บปวด ส่วนที่สัมผัสแมงกะพรุน ผู้ป่วยมักจะปวดรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  • หมดสติ หยุดหายใจ

   ผู้ป่วยที่เข้าข่ายว่าเกิดจากแมงกะพรุนกล่องชนิดมีหนวดเส้นเดียว

  • มีอาการภายใน 5 – 40 นาที หลังสัมผัสหนวด
  • อาจจะไม่มีรอยแผลให้เห็นได้ ถ้ามีจะเห็นเป็นลายนูนแดงหรือรอยไหม้ แต่รอยสายจะจำนวนไม่มากเท่าแมงกะพรุนชนิดหลายสาย
  • ปวด คัน บริเวณแผล ร่วมกับอาการอื่นๆ (Irukandji syndrome) เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ปวดข้อ คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ใจสั่น เหงื่อแตก กระสับกระส่าย ในรายที่รุนแรงอาจเกิดอาการหมดสติ หัวใจล้มเหลวได้

วิธีการปฐมพยาบาลที่สัมผัสแมงกะพรุนกล่อง

  1. นำผู้บาดเจ็บขึ้นจากน้ำ และต้องคำนึงว่าผู้ช่วยเหลือจะต้องปลอดภัยจากแมงกะพรุน
  2. ตัดเสื้อผ้าออก เพื่อลดบริเวณที่สัมผัสพิษ
  3. เรียกให้คนช่วยและเรียกรถพยาบาล
  4. ถ้าผู้บาดเจ็บหมดสติ ไม่หายใจ หรือไม่มีชีพจร ให้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพตามหลัก CPR ทันที
  5. แนะนำให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ ระวังและป้องกันไม่ให้ผู้อื่นสัมผัส หรือขัดถูบริเวณที่สัมผัสสายหนวดแมงกะพรุน
  6. บริเวณที่สัมผัสถูกแมงกะพรุนให้ราดด้วยน้ำส้มสายชูที่ใช้กันตามครัวเรือน (ความเข้มข้น ร้อยละ 4-6) ต่อเนื่องอย่างน้อย 30 วินาที ซึ่งน้ำส้มสายชูจะหยุดยั้งไม่ให้กะเปาะพิษยิงเข็มพิษจึงไม่ได้ลดอาการปวด แต่ป้องกันไม่ให้ผู้บาดเจ็บได้รับพิษเพิ่มขึ้น ในกรณีที่ไม่มีน้ำส้มสายชูในบริเวณนั้น หากไม่มีน้ำส้มสายชูให้ใช้น้ำทะเลแทน แต่ประสิทธิภาพจะไม่ดีเท่ากับน้ำส้มสายชู
  7. ไม่ควรใช้น้ำเปล่า น้ำอัดลม น้ำรสเปรี้ยว หรือน้ำปัสสาวะ เนื่องจากจะกระตุ้นพิษมากขึ้น
  8. ให้ใช้อุปกรณ์คีบเอาหนวดแมงกะพรุนและเยื่อเมือกที่ติดตามตัวผู้บาดเจ็บออกภายหลังจากราดด้วยน้ำส้มสายชูแล้ว โดยไม่ใช้มือสัมผัสโดยตรง
  9. ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดเบื้องต้น
  10. หากสัมผัสถูกตา ให้ล้างตาด้วยน้ำเกลืออย่างต่อเนื่อง 15-30 นาที และหากมีอาการปวดตาสู้แสงไม่ได้หรือมองเห็นภาพไม่ชัด ควรรีบไปพบแพทย์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A

แมงกะพรุนกล่อง (Box jellyfish) หรือต่อทะเล (Sea wasp) เป็นแมงกะพรุนพิษที่มีรายงานว่าทำให้เสียชีวิตได้บ่อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแมงกะพรุนชนิดอื่น ๆ โดยในประเทศไทยสามารถพบแมงกระพรุนกล่องที่มีพิษร้ายแรงได้เกือบทุกจังหวัดชายทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน

แมงกะพรุนกล่อง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีลักษณะโปร่งใส หรือมีสีฟ้าอ่อน น้ำตาลอ่อน ชมพู หรือไม่มีสี จึงทําให้สังเกตได้ยากเวลาอยู่ในน้ำ รูปร่างคล้าลูกบาศก์ คล้ายร่ม หรือระฆังควํ่า มีขนาดแตกต่างกันไป แต่ละมุมของตัวสี่เหลี่ยมจะมีขายื่นออกมาก่อนจะแตกเป็นหนวด อาจมีหนวดมากถึง 15 เส้น แต่ละเส้นยาวได้ถึง 3 เมตร หนวดสามารถยืดออกไปได้ไกลเพื่อปล่อยกะเปาะซึ่งมีเข็มพิษ (nematocyst) ออกมาจับกินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร แมงกะพรุนยิ่งมีขนาดตัวใหญ่จะยิ่งมีพิษมาก เพราะมีจํานวนของกะเปาะที่ภายในมีสารพิษบรรจุอยู่จํานวนมากกว่า มีดวงตาเกาะกลุ่มกัน 4 กลุ่ม ว่ายน้ำได้เร็ว และสามารถเคลื่อนที่แบบพุ่งตัวขึ้นสู่บนผิวน้ำได้อย่างรวดเร็วถึง 5 ฟุตต่อวินาที

แมงกะพรุนกล่อง จำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่

1. ชนิดมีหนวดหลายเส้น – มีหนวดแบบแตกแขนงอาจมีได้มากถึง 60 เส้น มีถุงกระเพาะอาหาร (gastric saccules) มักพบบริเวณชายฝั่งทะเลน้ำตื้นระดับเอวหรือระดับเข่า ในบริเวณที่เป็นอ่าวและพื้นทะเลเป็นทราย ไม่มีแนวปะการังหรือแนวหิน โดยเฉพาะบริเวณหาดทรายใกล้ป่าชายเลนและปากแม่น้ำ พบได้ทุกฤดูแต่มักพบบ่อยในช่วงเดือนที่มีอากาศอบอุ่น ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – เดือนเมษายน โดยเฉพาะหลังฝนตกและลมแรง พิษจากแมงกะพรุนกล่องบางชนิดในกลุ่มนี้ ทำให้บริเวณที่ได้รับพิษมีอาการปวดอย่างรุนแรง ซึ่งอาการปวดนี้จะหายภายใน 4-12 ชั่วโมง และปรากฏเป็นรอยไหม้ ในรายที่มีอาการรุนแรงสามารถทำให้ผิวหนังบริเวณที่ได้รับพิษตาย และในกรณีได้รับพิษเป็นจำนวนมากอาจมีอาการสับสนหรือหมดความรู้สึก ก่อนที่จะนำไปสู่ระยะโคม่าและเสียชีวิตซึ่งในรายที่เสียชีวิตนั้นส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุระบบหัวใจหรือระบบหายใจล้มเหลว

2. ชนิดมีหนวดเส้นเดียว – หนวดแต่ละเส้นไม่มีการแตกแขนง ส่วนใหญ่ไม่มีถุงกระเพาะอาหาร พบได้ทุกฤดู ทุกพื้นที่ และทุกสภาวะอากาศ ส่วนใหญ่พบตามชายหาด แนวหินโสโครก ตามเกาะหรือบริเวณทะเลเปิด เช่น ไทย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฮาวาย แคริบเบียน ตาฮิติ อินเดียและทางตอนเหนือของอังกฤษ โดยเฉพาะในช่วงที่มีลมอ่อน ๆ พัดเข้าหาฝั่ง ในเดือนที่มีอากาศค่อนข้างร้อน แมงกะพรุนหลายชนิดในกลุ่มนี้มีพิษและทำให้เกิดอาการอิรูคันจิ (Irukandji syndrome) บริเวณที่ได้รับพิษจะมีอาการปวดอย่างรุนแรง แต่อาจไม่ปรากฏรอยไหม้ ในช่วงแรกอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย และรุนแรงขึ้นหลังจากนั้นประมาณ 5 - 40 นาที อาการที่พบ ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก หายใจลำบาก ไอ เป็นตะคริว กล้ามเนื้อหดเกร็ง ความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติแต่มักไม่ทำให้เสียชีวิต เพียงแต่ทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบาย ซึ่งอาจเป็นเหตุให้จมน้ำง่ายขึ้น

การวินิจฉัยการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษ

เนื่องจากการจับตัวแมงกะพรุนที่เป็นสาเหตุนั้นค่อนข้างยาก ทำให้การจำแนกชนิดของแมงกะพรุนที่เป็นเหตุของการบาดเจ็บส่วนใหญ่ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นการวินิจฉัยจึงต้องอาศัยประวัติ ข้อมูลพื้นที่ อาการและลักษณะอาการแสดงเป็นหลัก

อาการเมื่อถูกพิษแมงกะพรุนกล่อง

  ผู้ป่วยที่เข้าข่ายว่าเกิดจากแมงกะพรุนกล่องชนิดมีหนวดหลายเส้น

  • มีอาการหลังสัมผัสหนวดทันที
  • ผื่นแดงเป็นเส้นๆ ขดวนไปมาคล้ายสายแมงกะพรุน กรณีที่โดนมากจะเห็นเป็นรอยไหม้
  • เจ็บปวด ส่วนที่สัมผัสแมงกะพรุน ผู้ป่วยมักจะปวดรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  • หมดสติ หยุดหายใจ

   ผู้ป่วยที่เข้าข่ายว่าเกิดจากแมงกะพรุนกล่องชนิดมีหนวดเส้นเดียว

  • มีอาการภายใน 5 – 40 นาที หลังสัมผัสหนวด
  • อาจจะไม่มีรอยแผลให้เห็นได้ ถ้ามีจะเห็นเป็นลายนูนแดงหรือรอยไหม้ แต่รอยสายจะจำนวนไม่มากเท่าแมงกะพรุนชนิดหลายสาย
  • ปวด คัน บริเวณแผล ร่วมกับอาการอื่นๆ (Irukandji syndrome) เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ปวดข้อ คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ใจสั่น เหงื่อแตก กระสับกระส่าย ในรายที่รุนแรงอาจเกิดอาการหมดสติ หัวใจล้มเหลวได้

วิธีการปฐมพยาบาลที่สัมผัสแมงกะพรุนกล่อง

  1. นำผู้บาดเจ็บขึ้นจากน้ำ และต้องคำนึงว่าผู้ช่วยเหลือจะต้องปลอดภัยจากแมงกะพรุน
  2. ตัดเสื้อผ้าออก เพื่อลดบริเวณที่สัมผัสพิษ
  3. เรียกให้คนช่วยและเรียกรถพยาบาล
  4. ถ้าผู้บาดเจ็บหมดสติ ไม่หายใจ หรือไม่มีชีพจร ให้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพตามหลัก CPR ทันที
  5. แนะนำให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ ระวังและป้องกันไม่ให้ผู้อื่นสัมผัส หรือขัดถูบริเวณที่สัมผัสสายหนวดแมงกะพรุน
  6. บริเวณที่สัมผัสถูกแมงกะพรุนให้ราดด้วยน้ำส้มสายชูที่ใช้กันตามครัวเรือน (ความเข้มข้น ร้อยละ 4-6) ต่อเนื่องอย่างน้อย 30 วินาที ซึ่งน้ำส้มสายชูจะหยุดยั้งไม่ให้กะเปาะพิษยิงเข็มพิษจึงไม่ได้ลดอาการปวด แต่ป้องกันไม่ให้ผู้บาดเจ็บได้รับพิษเพิ่มขึ้น ในกรณีที่ไม่มีน้ำส้มสายชูในบริเวณนั้น หากไม่มีน้ำส้มสายชูให้ใช้น้ำทะเลแทน แต่ประสิทธิภาพจะไม่ดีเท่ากับน้ำส้มสายชู
  7. ไม่ควรใช้น้ำเปล่า น้ำอัดลม น้ำรสเปรี้ยว หรือน้ำปัสสาวะ เนื่องจากจะกระตุ้นพิษมากขึ้น
  8. ให้ใช้อุปกรณ์คีบเอาหนวดแมงกะพรุนและเยื่อเมือกที่ติดตามตัวผู้บาดเจ็บออกภายหลังจากราดด้วยน้ำส้มสายชูแล้ว โดยไม่ใช้มือสัมผัสโดยตรง
  9. ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดเบื้องต้น
  10. หากสัมผัสถูกตา ให้ล้างตาด้วยน้ำเกลืออย่างต่อเนื่อง 15-30 นาที และหากมีอาการปวดตาสู้แสงไม่ได้หรือมองเห็นภาพไม่ชัด ควรรีบไปพบแพทย์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง