คุมอาหารแบบไหน ลดไขมันในเลือด

     ไขมันในเลือดผิดปกติ คือ ภาวะที่มีระดับคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol, Chol) หรือมีระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอลสูง (Low Density Lipoprotein Cholesterol, LDL-C) และ/หรือมีระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอลต่ำ (High Density Lipoprotein, HDL-C) และ/หรือมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง (Triglyceride, TG) ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่

ค่ามาตรฐานของระดับไขมันในเลือด

     การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม ควบคุมปริมาณและชนิดของไขมันในอาหาร เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการควบคุมระดับไขมันในเลือด (ไตรกลีเซอไรด์ แอลดีแอลคอเลสเตอรอล คอเลสเตอรอล) ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไขมันในเลือดต่างๆ มีปัจจัยการเกิดและแนวทางการปฏิบัติตัวแตกต่างกัน

     1. ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride, TG)

     ปัจจัยที่ทำให้ไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง

  • การรับประทานแป้ง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวาน ขนมหวาน และผลไม้ในปริมาณมาก เช่น ผลไม้มากกว่า 1 จานกาแฟต่อมื้อ รับประทานน้ำตาลมากเกิน 24 กรัมต่อวัน (หรือเท่ากับประมาณ 6 ช้อนชา)
  • น้ำหนักตัวที่เกินเกณฑ์ (ดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 23 kg/ m2 อ้างอิงจากเกณฑ์ดัชนีมวลกายสำหรับคนเอเชีย)
  • เส้นรอบเอวที่เกินค่ามาตรฐาน (ความยาวเส้นรอบเอวที่ควรจะเป็น สามารถคำนวณได้จาก ส่วนสูงเป็นเซนติเมตรหารสอง เช่น สมหญิงสูง 150 เซนติเมตร ความยาวเส้นรอบเอวที่ควรเป็นคือ 150 หาร 2 = 75 เซนติเมตร)
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป

     แนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด

  • ควบคุมการบริโภคคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ควบคุมแหล่งอาหารที่ให้พลังงานส่วนเกินและไม่ให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น น้ำตาล ลดหรือเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เลือกรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วย กรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 (Omega 3) เช่น เนื้อปลา น้ำมันปลา น้ำมันเมล็ดแฟล็กซ์ น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
  • เพิ่มกิจกรรมทางกาย เช่น เดิน วิ่ง เต้นแอโรบิค เป็นต้น
  • หากผู้ป่วยมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ แนะนำให้ตั้งเป้าหมายที่การลดน้ำหนัก 5-10% ของน้ำหนักเริ่มต้น (เช่น น้ำหนักเริ่มต้น 100 กิโลกรัม ดังนั้น 5-10% ของน้ำหนัก 100 กิโลกรัม คือ 5-10 กิโลกรัม)

     2. ไขมันชนิดแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL-C)

     หรือที่รู้จักกันในชื่อไขมันตัวร้าย เป็นไขมันที่ไปสะสมในผนังเส้นเลือด ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง

     ปัจจัยที่ทำให้ไขมันแอลดีแอลในเลือดสูง

  • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง หนังและส่วนติดไขมันสัตว์ (หมูติดมัน เบคอน หมูกรอบ) เนื้อสัตว์แปรรูป (ไส้กรอก ไส้อั่ว แหนม แฮม โบโลน่า หมูยอ กุนเชียง) น้ำมันจากสัตว์ (น้ำมันหมู น้ำมันไก่) น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ เนย นมและผลิตภัณฑ์จากนมแบบชนิดไขมันเต็มส่วน เป็นต้น
  • ไขมันทรานส์ เป็นน้ำมันที่ผ่านการกระบวนไฮโดรจิเนชัน เป็นการปรับโครงสร้างของไขมัน เพื่อให้น้ำมันเป็นของแข็งในอุณหภูมิห้อง ยืดอายุน้ำมัน ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน เช่น เนยเทียม (มาการีน (margarine)) เนยขาว (shortening) ครีมเทียม นมข้นจืด ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมในอาหารพวกขนมอบ เช่น ขนมปัง พาย เค้ก คุ้กกี้ โดนัท ของทอด เช่น เฟรนช์ฟรายด์ ไก่ทอด ไอศกรีม เป็นต้น

     แนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อลดระดับไขมันแอลดีแอลในเลือด

  • แนะนำให้ลดหรือเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ติดไขมัน เนื้อสัตว์แปรรูป น้ำมันจากสัตว์ เนย รวมถึงผลิตภัณฑ์จากนมที่เป็นไขมันเต็มส่วน โดยแนะนำให้เลือกเป็นแบบพร่องมันเนยหรือขาดมันเนยแทน
  • ลดการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันทรานส์
  • อ่านฉลากโภชนาการ ว่ามีไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์นี้หรือไม่
  • อ่านส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ หากมีส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially hydrogenated vegetable oil) ผลิตภัณฑ์นั้นอาจมีไขมันทรานส์ได้ ถึงแม้ว่าบนฉลากโภชนาการจะระบุว่าไขมันทรานส์ (Trans fat) 0.0 กรัม
  • ผลิตภัณฑ์เบเกอรี เช่น คุกกี้ โดนัท เค้ก พาย อาหารจานด่วน เช่น เฟรนช์ฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ ขนมกรุบกรอบทั้งหลาย ควรรับประทานแต่น้อย
  • เลือกใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก ยกเว้น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ซึ่งประกอบไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวและอาจเพิ่มระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือด
  • เลือกรับประทานไขมันไม่อิ่มตัว เช่น ถั่วเปลือกแข็ง (วอลนัท ถั่วลิสง อัลมอนด์) เป็นมื้อว่างไม่เกิน 1 อุ้งมือต่อวัน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากพลังงานมากเกินความจำเป็น

     3. ไขมันชนิดเอชดีแอล (HDL-C) หรือที่รู้จักกันในชื่อไขมันดี

     ปัจจัยที่ทำให้ไขมันเอชดีแอลในเลือดลดลง

     แนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อเพิ่มระดับไขมันเอชดีแอลในเลือด

  • การลดน้ำหนักในผู้ป่วยน้ำหนักเกินและผู้ป่วยอ้วน ประมาณ 5-10% ของน้ำหนักเริ่มต้น น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • การออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
  • การรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของกรดไขมันชนิด โอเมก้า-3 (Omega-3) เช่น เนื้อปลา น้ำมันปลา น้ำมันเมล็ดแฟล็กซ์ น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น

     4. คอเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol)

     ไม่สามารถแปลผลได้โดยตรง ควรดูแยกผลเลือดแต่ละชนิด เพราะบางครั้งระดับคอเลสเตอรอลสูงจากระดับแอลดีแอลสูง แต่บางครั้งระดับคอเลสเตอรอลรวมสูงอาจสูงจากระดับเอชดีแอลสูงก็ได้ คอเลสเตอรอลในอาหารพบมากในไข่แดง อาหารทะเล (มันกุ้ง มันปู ไข่ปลาหมึก) เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน นมและผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูง

     กลุ่มน้ำมันที่มีกรดไขมันชนิดต่างๆ ที่มีผลต่อระดับไขมันในเลือด

     1. กลุ่มน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่งสูง (โอเมก้า 9) เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันรำข้าว มีผลลดระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (เมื่อเปรียบเทียบกับกรดไขมันอิ่มตัว)

     2. กลุ่มน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งสูง (โอเมก้า 6) เช่น น้ำมันเมล็ดแฟล็กซ์ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันงา น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน มีผลลดระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (เมื่อเปรียบเทียบกับกรดไขมันอิ่มตัว)

     3. กลุ่มน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งสูง (โอเมก้า 3) เช่น น้ำมันจากปลา มีผลลดระดับไตรกลีเซอไรด์

     4. กลุ่มน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันมะพร้าว เนย ไขวัว น้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู น้ำมันไก่ มีผลเพิ่มระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอล

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมไขมันในเลือดผิดปกติ (Lifestyle Modification)

  • เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ส่วนที่มีไขมันต่ำ ไม่ติดหนัง โดยเฉพาะปลาทะเล เลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีคอเลสเตอรอลสูง ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ เช่น เมนูกะทิ เนื้อสัตว์แปรรูป ขนมอบ (ขนมปัง พาย เค้ก คุ้กกี้ โดนัท) เป็นต้น
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน และไขมันในเลือดสูง สามาถรับประทานไข่ได้ แต่ไม่ควรรับประทานไข่แดงเกิน 1 ฟองต่อวัน ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงสามารถรับประทานไข่แดงหรืออาหารที่มีคอเลสเตอรอลได้ในปริมาณที่เหมาะสม (ไม่เกิน 1-2 ฟองต่อวัน) โดยต้องเป็นส่วนหนึ่งของการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
  • เลือกวิธีการปรุงอาหารด้วยการอบ นึ่ง ย่าง แทนการทอด และการผัดที่ใช้น้ำมันมาก
  • เลือกใช้น้ำมันในการปรุงประกอบอาหารให้ถูกประเภท เช่น น้ำมันปาล์มใช้สำหรับทอด น้ำมันถั่วเหลืองใช้สำหรับผัด (น้ำมันที่ใช้ถึงจะเป็นไขมันชนิดที่ดี แต่ควรใช้แต่น้อยเท่าที่จำเป็น ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา)
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงในสัดส่วนที่พอดี ได้แก่ ข้าวกล้อง ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อย รับประทานผักและผลไม้เพียงพอ (400 กรัมต่อวันหรือเทียบเท่ากับผัก 3 ทัพพีและผลไม้ 2 จานกาแฟต่อวัน)
  • เลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์เพื่อลดระดับไขมันแอลดีแอล (LDL-C) เพิ่มระดับไขมันเอชดีแอล (HDL-C)
  • การลดน้ำหนักในผู้ป่วยน้ำหนักเกินและผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง สามารถลดไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride, TG) และเพิ่มระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL-C) และยังสามารถลดความดันโลหิตได้ด้วย
  • รับประทานยาลดระดับไขมันในเลือดตามคำแนะนำของแพทย์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C

     ไขมันในเลือดผิดปกติ คือ ภาวะที่มีระดับคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol, Chol) หรือมีระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอลสูง (Low Density Lipoprotein Cholesterol, LDL-C) และ/หรือมีระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอลต่ำ (High Density Lipoprotein, HDL-C) และ/หรือมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง (Triglyceride, TG) ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่

ค่ามาตรฐานของระดับไขมันในเลือด

     การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม ควบคุมปริมาณและชนิดของไขมันในอาหาร เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการควบคุมระดับไขมันในเลือด (ไตรกลีเซอไรด์ แอลดีแอลคอเลสเตอรอล คอเลสเตอรอล) ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไขมันในเลือดต่างๆ มีปัจจัยการเกิดและแนวทางการปฏิบัติตัวแตกต่างกัน

     1. ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride, TG)

     ปัจจัยที่ทำให้ไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง

  • การรับประทานแป้ง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวาน ขนมหวาน และผลไม้ในปริมาณมาก เช่น ผลไม้มากกว่า 1 จานกาแฟต่อมื้อ รับประทานน้ำตาลมากเกิน 24 กรัมต่อวัน (หรือเท่ากับประมาณ 6 ช้อนชา)
  • น้ำหนักตัวที่เกินเกณฑ์ (ดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 23 kg/ m2 อ้างอิงจากเกณฑ์ดัชนีมวลกายสำหรับคนเอเชีย)
  • เส้นรอบเอวที่เกินค่ามาตรฐาน (ความยาวเส้นรอบเอวที่ควรจะเป็น สามารถคำนวณได้จาก ส่วนสูงเป็นเซนติเมตรหารสอง เช่น สมหญิงสูง 150 เซนติเมตร ความยาวเส้นรอบเอวที่ควรเป็นคือ 150 หาร 2 = 75 เซนติเมตร)
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป

     แนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด

  • ควบคุมการบริโภคคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ควบคุมแหล่งอาหารที่ให้พลังงานส่วนเกินและไม่ให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น น้ำตาล ลดหรือเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เลือกรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วย กรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 (Omega 3) เช่น เนื้อปลา น้ำมันปลา น้ำมันเมล็ดแฟล็กซ์ น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
  • เพิ่มกิจกรรมทางกาย เช่น เดิน วิ่ง เต้นแอโรบิค เป็นต้น
  • หากผู้ป่วยมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ แนะนำให้ตั้งเป้าหมายที่การลดน้ำหนัก 5-10% ของน้ำหนักเริ่มต้น (เช่น น้ำหนักเริ่มต้น 100 กิโลกรัม ดังนั้น 5-10% ของน้ำหนัก 100 กิโลกรัม คือ 5-10 กิโลกรัม)

     2. ไขมันชนิดแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL-C)

     หรือที่รู้จักกันในชื่อไขมันตัวร้าย เป็นไขมันที่ไปสะสมในผนังเส้นเลือด ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง

     ปัจจัยที่ทำให้ไขมันแอลดีแอลในเลือดสูง

  • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง หนังและส่วนติดไขมันสัตว์ (หมูติดมัน เบคอน หมูกรอบ) เนื้อสัตว์แปรรูป (ไส้กรอก ไส้อั่ว แหนม แฮม โบโลน่า หมูยอ กุนเชียง) น้ำมันจากสัตว์ (น้ำมันหมู น้ำมันไก่) น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ เนย นมและผลิตภัณฑ์จากนมแบบชนิดไขมันเต็มส่วน เป็นต้น
  • ไขมันทรานส์ เป็นน้ำมันที่ผ่านการกระบวนไฮโดรจิเนชัน เป็นการปรับโครงสร้างของไขมัน เพื่อให้น้ำมันเป็นของแข็งในอุณหภูมิห้อง ยืดอายุน้ำมัน ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน เช่น เนยเทียม (มาการีน (margarine)) เนยขาว (shortening) ครีมเทียม นมข้นจืด ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมในอาหารพวกขนมอบ เช่น ขนมปัง พาย เค้ก คุ้กกี้ โดนัท ของทอด เช่น เฟรนช์ฟรายด์ ไก่ทอด ไอศกรีม เป็นต้น

     แนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อลดระดับไขมันแอลดีแอลในเลือด

  • แนะนำให้ลดหรือเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ติดไขมัน เนื้อสัตว์แปรรูป น้ำมันจากสัตว์ เนย รวมถึงผลิตภัณฑ์จากนมที่เป็นไขมันเต็มส่วน โดยแนะนำให้เลือกเป็นแบบพร่องมันเนยหรือขาดมันเนยแทน
  • ลดการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันทรานส์
  • อ่านฉลากโภชนาการ ว่ามีไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์นี้หรือไม่
  • อ่านส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ หากมีส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially hydrogenated vegetable oil) ผลิตภัณฑ์นั้นอาจมีไขมันทรานส์ได้ ถึงแม้ว่าบนฉลากโภชนาการจะระบุว่าไขมันทรานส์ (Trans fat) 0.0 กรัม
  • ผลิตภัณฑ์เบเกอรี เช่น คุกกี้ โดนัท เค้ก พาย อาหารจานด่วน เช่น เฟรนช์ฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ ขนมกรุบกรอบทั้งหลาย ควรรับประทานแต่น้อย
  • เลือกใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก ยกเว้น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ซึ่งประกอบไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวและอาจเพิ่มระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือด
  • เลือกรับประทานไขมันไม่อิ่มตัว เช่น ถั่วเปลือกแข็ง (วอลนัท ถั่วลิสง อัลมอนด์) เป็นมื้อว่างไม่เกิน 1 อุ้งมือต่อวัน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากพลังงานมากเกินความจำเป็น

     3. ไขมันชนิดเอชดีแอล (HDL-C) หรือที่รู้จักกันในชื่อไขมันดี

     ปัจจัยที่ทำให้ไขมันเอชดีแอลในเลือดลดลง

     แนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อเพิ่มระดับไขมันเอชดีแอลในเลือด

  • การลดน้ำหนักในผู้ป่วยน้ำหนักเกินและผู้ป่วยอ้วน ประมาณ 5-10% ของน้ำหนักเริ่มต้น น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • การออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
  • การรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของกรดไขมันชนิด โอเมก้า-3 (Omega-3) เช่น เนื้อปลา น้ำมันปลา น้ำมันเมล็ดแฟล็กซ์ น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น

     4. คอเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol)

     ไม่สามารถแปลผลได้โดยตรง ควรดูแยกผลเลือดแต่ละชนิด เพราะบางครั้งระดับคอเลสเตอรอลสูงจากระดับแอลดีแอลสูง แต่บางครั้งระดับคอเลสเตอรอลรวมสูงอาจสูงจากระดับเอชดีแอลสูงก็ได้ คอเลสเตอรอลในอาหารพบมากในไข่แดง อาหารทะเล (มันกุ้ง มันปู ไข่ปลาหมึก) เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน นมและผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูง

     กลุ่มน้ำมันที่มีกรดไขมันชนิดต่างๆ ที่มีผลต่อระดับไขมันในเลือด

     1. กลุ่มน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่งสูง (โอเมก้า 9) เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันรำข้าว มีผลลดระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (เมื่อเปรียบเทียบกับกรดไขมันอิ่มตัว)

     2. กลุ่มน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งสูง (โอเมก้า 6) เช่น น้ำมันเมล็ดแฟล็กซ์ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันงา น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน มีผลลดระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (เมื่อเปรียบเทียบกับกรดไขมันอิ่มตัว)

     3. กลุ่มน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งสูง (โอเมก้า 3) เช่น น้ำมันจากปลา มีผลลดระดับไตรกลีเซอไรด์

     4. กลุ่มน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันมะพร้าว เนย ไขวัว น้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู น้ำมันไก่ มีผลเพิ่มระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอล

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมไขมันในเลือดผิดปกติ (Lifestyle Modification)

  • เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ส่วนที่มีไขมันต่ำ ไม่ติดหนัง โดยเฉพาะปลาทะเล เลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีคอเลสเตอรอลสูง ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ เช่น เมนูกะทิ เนื้อสัตว์แปรรูป ขนมอบ (ขนมปัง พาย เค้ก คุ้กกี้ โดนัท) เป็นต้น
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน และไขมันในเลือดสูง สามาถรับประทานไข่ได้ แต่ไม่ควรรับประทานไข่แดงเกิน 1 ฟองต่อวัน ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงสามารถรับประทานไข่แดงหรืออาหารที่มีคอเลสเตอรอลได้ในปริมาณที่เหมาะสม (ไม่เกิน 1-2 ฟองต่อวัน) โดยต้องเป็นส่วนหนึ่งของการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
  • เลือกวิธีการปรุงอาหารด้วยการอบ นึ่ง ย่าง แทนการทอด และการผัดที่ใช้น้ำมันมาก
  • เลือกใช้น้ำมันในการปรุงประกอบอาหารให้ถูกประเภท เช่น น้ำมันปาล์มใช้สำหรับทอด น้ำมันถั่วเหลืองใช้สำหรับผัด (น้ำมันที่ใช้ถึงจะเป็นไขมันชนิดที่ดี แต่ควรใช้แต่น้อยเท่าที่จำเป็น ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา)
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงในสัดส่วนที่พอดี ได้แก่ ข้าวกล้อง ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อย รับประทานผักและผลไม้เพียงพอ (400 กรัมต่อวันหรือเทียบเท่ากับผัก 3 ทัพพีและผลไม้ 2 จานกาแฟต่อวัน)
  • เลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์เพื่อลดระดับไขมันแอลดีแอล (LDL-C) เพิ่มระดับไขมันเอชดีแอล (HDL-C)
  • การลดน้ำหนักในผู้ป่วยน้ำหนักเกินและผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง สามารถลดไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride, TG) และเพิ่มระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL-C) และยังสามารถลดความดันโลหิตได้ด้วย
  • รับประทานยาลดระดับไขมันในเลือดตามคำแนะนำของแพทย์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง