การตรวจวัดความดันโลหิต 24 ชั่วโมง

     การวัดความดันโลหิต 24 ชั่วโมง (24-hour Ambulatory Blood Pressure Monitoring) ทำให้สามารถตรวจวัดความดันโลหิตที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงของวัน ช่วยในการประเมินการรักษาที่เหมาะสมและแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถตรวจวัดได้ขณะนอนหลับ

     เครื่องจะทำการบันทึกค่าความดันโลหิตค่าบน-ค่าล่าง (Systolic and Diastolic Blood Pressure) ค่าความดันเลือดแดงเฉลี่ย (Mean Arterial Pressure) และชีพจร (Pulse Rate) โดยอัตโนมัติไว้ในหน่วยความจำของเครื่อง ตามช่วงเวลาที่ตั้งค่าไว้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งช่วงกลางวันและช่วงกลางคืนขณะผู้ป่วยหลับ ตัวเครื่องมีน้ำหนักเบา ทำงานเงียบ จึงไม่รบกวนกิจกรรมระหว่างวันและการนอนของผู้ป่วย

ประโยชน์ในการวัดความดันโลหิต 24 ชั่วโมง

     1. สามารถตรวจวัดความดันโลหิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากความดันโลหิตมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงของวัน รูปแบบความดันโลหิตที่แตกต่างกันส่งผลต่อการปรับการรักษา นอกจากนี้ ยังมีภาวะความดันโลหิตที่โรงพยาบาลมีค่าสูงกว่าความดันโลหิตปกติที่บ้าน หรือเรียกว่า White Coat Hypertension (WCH) ซึ่งการวัดความดันโลหิตที่บ้านมีประโยชน์มากในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว

     2. เพื่อประเมินผลการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิตสูง ให้เหมาะสมและแม่นยำมากขึ้นในผู้ป่วยแต่ละราย

     3. สามารถวัดความดันโลหิตขณะนอนหลับ มีประโยชน์ในการค้นหากลุ่มผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงแม้ในขณะนอนหลับ (Non-dipper) เพื่อช่วยปรับการรักษาและควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในช่วงที่ต้องการได้ตลอดวัน

การเตรียมตัวในการวัดความดันโลหิต 24 ชั่วโมง

  • สวมเสื้อผ้าที่สามารถถอดง่าย ไม่รัดแน่นจดเกินไป
  • ควรมาถึงก่อนเวลานัดหมาย 30 นาที พร้อมญาติ
  • พยาบาลจะให้คำแนะนำขั้นตอนในการตรวจ             

ข้อปฏิบัติในการวัดความดันโลหิต 24 ชั่วโมง

     1. พยาบาลติดตั้งเครื่องวัดให้ผู้ป่วย โดยปกติจะพันผ้าพันแขนวัดความดันในข้างที่ไม่ถนัด หรือข้างที่ความดันสูงกว่า
     2. ในขณะเครื่องทำงาน ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมระหว่างวันได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เครื่องและผ้าพันแขนวัดความดันเปียกน้ำ
     3. เมื่อเครื่องบันทึกครบตามเวลาที่กำหนด ให้ผู้ป่วยถอดผ้าพันแขนวัดความดันออก นำเครื่องและอุปกรณ์ทั้งหมดมาส่งคืนที่ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 เพื่อทำการดึงข้อมูลและส่งให้แพทย์ทำการแปลผล โดยผลจะออกภายใน 1 สัปดาห์หลังคืนเครื่อง
     4. หากเครื่องมีความผิดปกติระหว่างการตรวจ กรุณาติดต่อศูนย์หัวใจ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C

     การวัดความดันโลหิต 24 ชั่วโมง (24-hour Ambulatory Blood Pressure Monitoring) ทำให้สามารถตรวจวัดความดันโลหิตที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงของวัน ช่วยในการประเมินการรักษาที่เหมาะสมและแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถตรวจวัดได้ขณะนอนหลับ

     เครื่องจะทำการบันทึกค่าความดันโลหิตค่าบน-ค่าล่าง (Systolic and Diastolic Blood Pressure) ค่าความดันเลือดแดงเฉลี่ย (Mean Arterial Pressure) และชีพจร (Pulse Rate) โดยอัตโนมัติไว้ในหน่วยความจำของเครื่อง ตามช่วงเวลาที่ตั้งค่าไว้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งช่วงกลางวันและช่วงกลางคืนขณะผู้ป่วยหลับ ตัวเครื่องมีน้ำหนักเบา ทำงานเงียบ จึงไม่รบกวนกิจกรรมระหว่างวันและการนอนของผู้ป่วย

ประโยชน์ในการวัดความดันโลหิต 24 ชั่วโมง

     1. สามารถตรวจวัดความดันโลหิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากความดันโลหิตมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงของวัน รูปแบบความดันโลหิตที่แตกต่างกันส่งผลต่อการปรับการรักษา นอกจากนี้ ยังมีภาวะความดันโลหิตที่โรงพยาบาลมีค่าสูงกว่าความดันโลหิตปกติที่บ้าน หรือเรียกว่า White Coat Hypertension (WCH) ซึ่งการวัดความดันโลหิตที่บ้านมีประโยชน์มากในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว

     2. เพื่อประเมินผลการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิตสูง ให้เหมาะสมและแม่นยำมากขึ้นในผู้ป่วยแต่ละราย

     3. สามารถวัดความดันโลหิตขณะนอนหลับ มีประโยชน์ในการค้นหากลุ่มผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงแม้ในขณะนอนหลับ (Non-dipper) เพื่อช่วยปรับการรักษาและควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในช่วงที่ต้องการได้ตลอดวัน

การเตรียมตัวในการวัดความดันโลหิต 24 ชั่วโมง

  • สวมเสื้อผ้าที่สามารถถอดง่าย ไม่รัดแน่นจดเกินไป
  • ควรมาถึงก่อนเวลานัดหมาย 30 นาที พร้อมญาติ
  • พยาบาลจะให้คำแนะนำขั้นตอนในการตรวจ             

ข้อปฏิบัติในการวัดความดันโลหิต 24 ชั่วโมง

     1. พยาบาลติดตั้งเครื่องวัดให้ผู้ป่วย โดยปกติจะพันผ้าพันแขนวัดความดันในข้างที่ไม่ถนัด หรือข้างที่ความดันสูงกว่า
     2. ในขณะเครื่องทำงาน ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมระหว่างวันได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เครื่องและผ้าพันแขนวัดความดันเปียกน้ำ
     3. เมื่อเครื่องบันทึกครบตามเวลาที่กำหนด ให้ผู้ป่วยถอดผ้าพันแขนวัดความดันออก นำเครื่องและอุปกรณ์ทั้งหมดมาส่งคืนที่ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 เพื่อทำการดึงข้อมูลและส่งให้แพทย์ทำการแปลผล โดยผลจะออกภายใน 1 สัปดาห์หลังคืนเครื่อง
     4. หากเครื่องมีความผิดปกติระหว่างการตรวจ กรุณาติดต่อศูนย์หัวใจ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง