รู้ทันสัญญาณผิดปกติหัวใจด้วย EVENT RECORDER

เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เช็กสัญญาณหัวใจผิดปกติ (Cardiac event recorder)

     Event recorder เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการแพทย์ระบบทางไกล (Tele medicine) โดยทำการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจลงบนอุปกรณ์บันทึกที่สามารถพกพาได้ คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะถูกบันทึกและส่งผ่านทางโทรศัพท์ไปยังศูนย์รับข้อมูลได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะได้รับการอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อวินิจฉัย พร้อมลดระยะเวลาและเพิ่มความสะดวกในการติดต่อกับแพทย์ผู้รักษาได้มากขึ้น

เครื่อง Event recorder มี 2 ชนิด คือ

     1. แบบที่สามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้อัตโนมัติ

     2. แบบที่ผู้ป่วยต้องกดบันทึกด้วยตัวเอง เมื่อผู้ป่วยต้องการส่งข้อมูลที่บันทึกไว้ในเครื่อง สามารถส่งข้อมูลมายังศูนย์เพื่อทำการแปลผลได้

     เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพามีประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวินิจฉัยจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ซึ่งมักไม่เกิดขึ้นบ่อยหรือมีอาการเป็นๆ หายๆ การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติในระยะแรกอาจพบนานๆ ครั้ง แต่ผู้ป่วยเองสามารถรู้สึกได้ จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยได้รวดเร็วและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

เครื่อง Event recorder มีประโยชน์อย่างไร? 

     การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติซึ่งเรียกว่า ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmias) ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของความเร็วหรือรูปแบบจังหวะการเต้นของหัวใจ เช่น ขณะเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจอาจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia) หรือเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) รวมถึงจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอ (Irregular) แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้จากการตรวจดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมักจะทำการตรวจ และบันทึกโดยการตรวจกราฟไฟฟ้าหัวใจที่สถานพยาบาลโดยปกตินั้น การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติมักไม่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ไปตรวจกับแพทย์ บ่อยครั้งที่ความผิดปกติของอัตราการเต้นหัวใจมักเกิดในระยะเวลาอันสั้น (น้อยกว่า 1 นาที) เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยจะมีการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะและผู้ป่วยเองก็มีอาการผิดปกติร่วมด้วย จึงจำเป็นที่จะต้องพยายามบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจในระหว่างการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้นเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาสามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ในทันทีที่รู้สึกมีอาการผิดปกติ

เครื่อง Event recorder แตกต่างจากเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าชนิดอื่นอย่างไร?

  • ช่วยในการประเมินอาการและอาการแสดงต่างๆ เช่น เวียนศีรษะ ใจสั่น หน้ามืด หรือเมื่อมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก และช่วยในการประเมินประสิทธิผลของการรักษาดัวยยาต้านการเต้นผิดจังหวะ
  • เมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติผู้ป่วยสามารถกดปุ่มเพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ทันที โดยสามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจทั้งก่อนและหลังเกิดอาการผิดปกติได้ตามโปรแกรมที่เครื่องตั้งไว้
  • เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีขนาดเล็กประมาณโทรศัพท์มือถือ โดยเครื่องจะเก็บข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจไว้ในหน่วยความจำ และสามารถส่งข้อมูลผ่านสัญญาณโทรศัพท์ไปยังศูนย์รับข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูลและทำการพิมพ์ลงกระดาษเก็บไว้ในเวชระเบียน หรือผู้ป่วยสามารถนำเครื่องมาให้เจ้าหน้าที่ดึงข้อมูลจากเครื่องก็ได้
  • การใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ในการบันทึกและส่งคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผู้ป่วยต้องทำความเข้าใจกับการใช้ปุ่มต่างๆ บนตัวเครื่อง รวมถึงขั้นตอนการบันทึกและส่งคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งผู้ป่วยสามารถบันทึกอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น และส่งคลื่นไฟฟ้าหัวใจมายังศูนย์รับข้อมูลได้มากเท่าที่เกิดอาการผิดปกติ

เครื่อง Event recorder ช่วยคุณได้อย่างไรบ้าง?

  • ติดตามและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจกรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmias)
  • ติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีที่ผู้ป่วยใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือเครื่องช็อตไฟฟ้าหัวใจ หรือติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจหลังทำหัตถการทางหัวใจ เช่น ผ่าตัด Coronary Artery Bypass Graft (CABG) หรือกรณีการทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Coronary angioplasty)
  • ติดตามและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกหรือใจสั่น (Evaluation of atypical chest pain or palpitation)

วิธีการบันทึกข้อมูล

     1. เมื่อมีอาการให้นำตัวเครื่องวางบริเวณหน้าอก โดยที่ Electrode ทั้ง 4 จุด สัมผัสกับผิวหนังบริเวณนั้น

     2. กดปุ่ม EVENT

     3. เมื่อกดปุ่ม EVENT จะมีเสียงสัญญาณดังขึ้น พยายามถือเครื่องให้นิ่งจนกระทั่งเสียงหยุดดังประมาณ 30 วินาที

     4. เมื่อเสียงหยุดดัง ให้นำเครื่องออกจากหน้าอก

วิธีการส่งข้อมูล

     1. ผู้ป่วยสามารถกดบันทึกอาการได้คราวละ 5 ครั้ง หากหน่วยความจำเต็ม เครื่องจะแสดงโดยมีไฟกระพริบเตือนเป็นเวลาประมาณ 5 วินาที และจะไม่สามาถกดปุ่มบันทึกอาการได้ ผู้ป่วยควรโทรหาหน่วยรับข้อมูลเพื่อจัดส่งข้อมูล

     2. เมื่อศูนย์รับข้อมูลพร้อมรับข้อมูล ให้นำ Speaker Phone ของหูฟังโทรศัพท์วางจ่อกับ Speaker port ของตัวเครื่อง

     3. กดปุ่ม SEND เพื่อเริ่มการส่งข้อมูลจะมีเสียงดังขึ้น และเมื่อเสียงหยุดดังถือว่าการส่งข้อมูลนั้นเสร็จสิ้น

     4. หากมีอาการรุนแรง เช่น หมดสติ ควรรีบส่งข้อมูลเพื่อทำการวินิจฉัยทันที

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C

เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เช็กสัญญาณหัวใจผิดปกติ (Cardiac event recorder)

     Event recorder เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการแพทย์ระบบทางไกล (Tele medicine) โดยทำการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจลงบนอุปกรณ์บันทึกที่สามารถพกพาได้ คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะถูกบันทึกและส่งผ่านทางโทรศัพท์ไปยังศูนย์รับข้อมูลได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะได้รับการอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อวินิจฉัย พร้อมลดระยะเวลาและเพิ่มความสะดวกในการติดต่อกับแพทย์ผู้รักษาได้มากขึ้น

เครื่อง Event recorder มี 2 ชนิด คือ

     1. แบบที่สามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้อัตโนมัติ

     2. แบบที่ผู้ป่วยต้องกดบันทึกด้วยตัวเอง เมื่อผู้ป่วยต้องการส่งข้อมูลที่บันทึกไว้ในเครื่อง สามารถส่งข้อมูลมายังศูนย์เพื่อทำการแปลผลได้

     เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพามีประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวินิจฉัยจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ซึ่งมักไม่เกิดขึ้นบ่อยหรือมีอาการเป็นๆ หายๆ การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติในระยะแรกอาจพบนานๆ ครั้ง แต่ผู้ป่วยเองสามารถรู้สึกได้ จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยได้รวดเร็วและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

เครื่อง Event recorder มีประโยชน์อย่างไร? 

     การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติซึ่งเรียกว่า ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmias) ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของความเร็วหรือรูปแบบจังหวะการเต้นของหัวใจ เช่น ขณะเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจอาจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia) หรือเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) รวมถึงจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอ (Irregular) แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้จากการตรวจดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมักจะทำการตรวจ และบันทึกโดยการตรวจกราฟไฟฟ้าหัวใจที่สถานพยาบาลโดยปกตินั้น การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติมักไม่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ไปตรวจกับแพทย์ บ่อยครั้งที่ความผิดปกติของอัตราการเต้นหัวใจมักเกิดในระยะเวลาอันสั้น (น้อยกว่า 1 นาที) เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยจะมีการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะและผู้ป่วยเองก็มีอาการผิดปกติร่วมด้วย จึงจำเป็นที่จะต้องพยายามบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจในระหว่างการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้นเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาสามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ในทันทีที่รู้สึกมีอาการผิดปกติ

เครื่อง Event recorder แตกต่างจากเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าชนิดอื่นอย่างไร?

  • ช่วยในการประเมินอาการและอาการแสดงต่างๆ เช่น เวียนศีรษะ ใจสั่น หน้ามืด หรือเมื่อมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก และช่วยในการประเมินประสิทธิผลของการรักษาดัวยยาต้านการเต้นผิดจังหวะ
  • เมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติผู้ป่วยสามารถกดปุ่มเพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ทันที โดยสามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจทั้งก่อนและหลังเกิดอาการผิดปกติได้ตามโปรแกรมที่เครื่องตั้งไว้
  • เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีขนาดเล็กประมาณโทรศัพท์มือถือ โดยเครื่องจะเก็บข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจไว้ในหน่วยความจำ และสามารถส่งข้อมูลผ่านสัญญาณโทรศัพท์ไปยังศูนย์รับข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูลและทำการพิมพ์ลงกระดาษเก็บไว้ในเวชระเบียน หรือผู้ป่วยสามารถนำเครื่องมาให้เจ้าหน้าที่ดึงข้อมูลจากเครื่องก็ได้
  • การใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ในการบันทึกและส่งคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผู้ป่วยต้องทำความเข้าใจกับการใช้ปุ่มต่างๆ บนตัวเครื่อง รวมถึงขั้นตอนการบันทึกและส่งคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งผู้ป่วยสามารถบันทึกอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น และส่งคลื่นไฟฟ้าหัวใจมายังศูนย์รับข้อมูลได้มากเท่าที่เกิดอาการผิดปกติ

เครื่อง Event recorder ช่วยคุณได้อย่างไรบ้าง?

  • ติดตามและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจกรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmias)
  • ติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีที่ผู้ป่วยใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือเครื่องช็อตไฟฟ้าหัวใจ หรือติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจหลังทำหัตถการทางหัวใจ เช่น ผ่าตัด Coronary Artery Bypass Graft (CABG) หรือกรณีการทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Coronary angioplasty)
  • ติดตามและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกหรือใจสั่น (Evaluation of atypical chest pain or palpitation)

วิธีการบันทึกข้อมูล

     1. เมื่อมีอาการให้นำตัวเครื่องวางบริเวณหน้าอก โดยที่ Electrode ทั้ง 4 จุด สัมผัสกับผิวหนังบริเวณนั้น

     2. กดปุ่ม EVENT

     3. เมื่อกดปุ่ม EVENT จะมีเสียงสัญญาณดังขึ้น พยายามถือเครื่องให้นิ่งจนกระทั่งเสียงหยุดดังประมาณ 30 วินาที

     4. เมื่อเสียงหยุดดัง ให้นำเครื่องออกจากหน้าอก

วิธีการส่งข้อมูล

     1. ผู้ป่วยสามารถกดบันทึกอาการได้คราวละ 5 ครั้ง หากหน่วยความจำเต็ม เครื่องจะแสดงโดยมีไฟกระพริบเตือนเป็นเวลาประมาณ 5 วินาที และจะไม่สามาถกดปุ่มบันทึกอาการได้ ผู้ป่วยควรโทรหาหน่วยรับข้อมูลเพื่อจัดส่งข้อมูล

     2. เมื่อศูนย์รับข้อมูลพร้อมรับข้อมูล ให้นำ Speaker Phone ของหูฟังโทรศัพท์วางจ่อกับ Speaker port ของตัวเครื่อง

     3. กดปุ่ม SEND เพื่อเริ่มการส่งข้อมูลจะมีเสียงดังขึ้น และเมื่อเสียงหยุดดังถือว่าการส่งข้อมูลนั้นเสร็จสิ้น

     4. หากมีอาการรุนแรง เช่น หมดสติ ควรรีบส่งข้อมูลเพื่อทำการวินิจฉัยทันที

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง