การใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดสำหรับผู้เป็นโรคหัวใจ

     ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานตัวแรกที่มีประสิทธิภาพและมีการใช้อย่างแพร่หลายคือ warfarin ซึ่งยังมีข้อจำกัดในการใช้กับผู้ป่วยบางกลุ่ม แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนายาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานกลุ่มใหม่ขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า Non-vitamin K antagonist oral anticoagulants (NOACs) หรือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานที่ไม่ได้ออกฤทธิ์ต้านวิตามินเค เพื่อให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษามากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีข้อจำกัดในการใช้ยา warfarin รายละเอียดยาเบื้องต้นที่ควรทราบมีดังนี้

กลไกการออกฤทธิ์ของ NOACs แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

     1. ออกฤทธิ์ต้าน thrombin โดยตรง ซึ่ง thrombin ทำให้เกิดกระบวนการแข็งตัวของเลือด ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Dabigatran

     2. ออกฤทธิ์ยับยั้ง factor Xa ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Rivaroxaban, Apixaban และ Edoxaban

ข้อบ่งใช้ที่สำคัญ

     1. ใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพริ้วที่ไม่มีโรคลิ้นหัวใจร่วมด้วย เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน

     2. ใช้รักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำในปอด แขน หรือขา

     3. ใช้ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก หรือข้อเข่า

วิธีการรับประทานยา

     ควรรับประทานตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เนื่องจากการรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ สามารถเพิ่มทั้งความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันและความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกผิดปกติได้

อาการหรือสิ่งผิดปกติที่ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทันที

     1. อาการเลือดออกผิดปกติ เช่น มีจ้ำเลือดหรือรอยฟกช้ำตามผิวหนังและขยายขนาดมากขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อเกิดบาดแผลแล้วเลือดไหลไม่หยุด เลือดกำเดาไหลไม่หยุด เลือดออกตามไรฟันมากผิดปกติ มีเลือดประจำเดือนหรือเลือดออกมาทางช่องคลอดปริมาณมากผิดปกติ ปัสสาวะสีแดงหรือน้ำตาลแดง มีเลือดปนมากับอุจจาระหรืออุจจาระมีสีดำ หรืออาจเกิดภาวะเลือดออกในสมองซึ่งอาจแสดงออกโดยมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง เดินเซ อาเจียน ชัก ซึม หมดสติ เป็นต้น

     2. อาการลิ่มเลือดอุดตัน เช่น อาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ออก พูดไม่ชัดหรือมองเห็นภาพซ้อน

     3. การหกล้มศีรษะกระแทกหรือถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง

ข้อควรระวัง

     1. ยาบางชนิด ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอน ยาชุด ยาต้ม หรือยาแผนโบราณอื่น อาจมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาในกลุ่มนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบทุกครั้งก่อนรับประทานยาเหล่านั้น

  • ตัวอย่างยาที่เพิ่มฤทธิ์ของยากลุ่มโนแอค ยาฆ่าเชื้อ เช่น Clarithromycin, Ketoconazole, Itraconazole
  • ตัวอย่างยาที่ลดฤทธิ์ของยากลุ่มโนแอค ยากันชัก เช่น Carbamazepine, Phynetoin ยาฆ่าเชื้อ เช่น Rifampin

     2. ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือเกิดภาวะเลือดออกได้  รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

     3. ข้อมูลการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรยังมีไม่เพียงพอ ดังนั้นหากท่านตั้งครรภ์หรือต้องการมีบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

     4. ถ้าเกิดอุบัติเหตุมีบาดแผล เลือดจะแข็งตัวได้ช้า วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือ ใช้มือหรือผ้าสะอาดกดบริเวณบาดแผลให้แน่น เพื่อลดการสูญเสียเลือด หากเลือดไม่หยุดไหลให้รีบไปโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที และแจ้งให้แพทย์ทราบว่าท่านรับประทานยาในกลุ่มนี้อยู่

     5. หากไปพบทันตแพทย์ หรือแพทย์อื่นควรแจ้งให้ทราบว่ารับประทานยากลุ่มนี้อยู่ โดยเฉพาะกรณีผ่าตัด หรือถอนฟัน

คำแนะนำสำหรับติดตามการรักษา

     ยาในกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดเพื่อติดตามค่าการแข็งตัวของเลือดเป็นประจำ แต่อย่างไรก็ตาม บางกรณีแพทย์อาจพิจารณาเจาะเลือดเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา เรียกว่า Anti-Factor Xa นอกจากนี้ยาในกลุ่ม NOACs ส่วนใหญ่ถูกกำจัดออกทางไตเป็นหลัก ดังนั้นจึงควรติดตามค่าการทำงานของไตเพื่อใช้ในการปรับขนาดยาให้เหมาะสม

ทำอย่างไรหากลืมรับประทานยา?

     1. กรณีรับประทานยาวันละ 1 ครั้ง

  • หากลืมไม่เกิน 12 ชั่วโมง นับจากเวลาเดิมที่เคยรับประทาน ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ในขนาดเดิม
  • หากลืมเกิน 12 ชั่วโมง นับจากเวลาเดิมที่เคยรับประทาน ให้ข้ามยามื้อนั้นไป แล้วกินยามื้อถัดไปในขนาดเดิม

     2. กรณีรับประทานยาวันละ 2 ครั้ง

  • หากลืมไม่เกิน 6 ชั่วโมง นับจากเวลาเดิมที่เคยรับประทาน ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ในขนาดเดิม
  • หากลืมเกิน 6 ชั่วโมงไปแล้ว นับจากเวลาเดิมที่เคยรับประทาน ให้ข้ามยามื้อนั้นไป แล้วกินยามื้อถัดไปในขนาดเดิม

การเก็บรักษายา

  • เก็บยาให้พ้นแสงและความชื้น
  • เก็บไว้ในแผงบรรจุจนกว่าจะถึงเวลารับประทาน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C

     ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานตัวแรกที่มีประสิทธิภาพและมีการใช้อย่างแพร่หลายคือ warfarin ซึ่งยังมีข้อจำกัดในการใช้กับผู้ป่วยบางกลุ่ม แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนายาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานกลุ่มใหม่ขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า Non-vitamin K antagonist oral anticoagulants (NOACs) หรือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานที่ไม่ได้ออกฤทธิ์ต้านวิตามินเค เพื่อให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษามากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีข้อจำกัดในการใช้ยา warfarin รายละเอียดยาเบื้องต้นที่ควรทราบมีดังนี้

กลไกการออกฤทธิ์ของ NOACs แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

     1. ออกฤทธิ์ต้าน thrombin โดยตรง ซึ่ง thrombin ทำให้เกิดกระบวนการแข็งตัวของเลือด ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Dabigatran

     2. ออกฤทธิ์ยับยั้ง factor Xa ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Rivaroxaban, Apixaban และ Edoxaban

ข้อบ่งใช้ที่สำคัญ

     1. ใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพริ้วที่ไม่มีโรคลิ้นหัวใจร่วมด้วย เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน

     2. ใช้รักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำในปอด แขน หรือขา

     3. ใช้ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก หรือข้อเข่า

วิธีการรับประทานยา

     ควรรับประทานตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เนื่องจากการรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ สามารถเพิ่มทั้งความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันและความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกผิดปกติได้

อาการหรือสิ่งผิดปกติที่ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทันที

     1. อาการเลือดออกผิดปกติ เช่น มีจ้ำเลือดหรือรอยฟกช้ำตามผิวหนังและขยายขนาดมากขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อเกิดบาดแผลแล้วเลือดไหลไม่หยุด เลือดกำเดาไหลไม่หยุด เลือดออกตามไรฟันมากผิดปกติ มีเลือดประจำเดือนหรือเลือดออกมาทางช่องคลอดปริมาณมากผิดปกติ ปัสสาวะสีแดงหรือน้ำตาลแดง มีเลือดปนมากับอุจจาระหรืออุจจาระมีสีดำ หรืออาจเกิดภาวะเลือดออกในสมองซึ่งอาจแสดงออกโดยมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง เดินเซ อาเจียน ชัก ซึม หมดสติ เป็นต้น

     2. อาการลิ่มเลือดอุดตัน เช่น อาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ออก พูดไม่ชัดหรือมองเห็นภาพซ้อน

     3. การหกล้มศีรษะกระแทกหรือถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง

ข้อควรระวัง

     1. ยาบางชนิด ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอน ยาชุด ยาต้ม หรือยาแผนโบราณอื่น อาจมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาในกลุ่มนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบทุกครั้งก่อนรับประทานยาเหล่านั้น

  • ตัวอย่างยาที่เพิ่มฤทธิ์ของยากลุ่มโนแอค ยาฆ่าเชื้อ เช่น Clarithromycin, Ketoconazole, Itraconazole
  • ตัวอย่างยาที่ลดฤทธิ์ของยากลุ่มโนแอค ยากันชัก เช่น Carbamazepine, Phynetoin ยาฆ่าเชื้อ เช่น Rifampin

     2. ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือเกิดภาวะเลือดออกได้  รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

     3. ข้อมูลการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรยังมีไม่เพียงพอ ดังนั้นหากท่านตั้งครรภ์หรือต้องการมีบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

     4. ถ้าเกิดอุบัติเหตุมีบาดแผล เลือดจะแข็งตัวได้ช้า วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือ ใช้มือหรือผ้าสะอาดกดบริเวณบาดแผลให้แน่น เพื่อลดการสูญเสียเลือด หากเลือดไม่หยุดไหลให้รีบไปโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที และแจ้งให้แพทย์ทราบว่าท่านรับประทานยาในกลุ่มนี้อยู่

     5. หากไปพบทันตแพทย์ หรือแพทย์อื่นควรแจ้งให้ทราบว่ารับประทานยากลุ่มนี้อยู่ โดยเฉพาะกรณีผ่าตัด หรือถอนฟัน

คำแนะนำสำหรับติดตามการรักษา

     ยาในกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดเพื่อติดตามค่าการแข็งตัวของเลือดเป็นประจำ แต่อย่างไรก็ตาม บางกรณีแพทย์อาจพิจารณาเจาะเลือดเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา เรียกว่า Anti-Factor Xa นอกจากนี้ยาในกลุ่ม NOACs ส่วนใหญ่ถูกกำจัดออกทางไตเป็นหลัก ดังนั้นจึงควรติดตามค่าการทำงานของไตเพื่อใช้ในการปรับขนาดยาให้เหมาะสม

ทำอย่างไรหากลืมรับประทานยา?

     1. กรณีรับประทานยาวันละ 1 ครั้ง

  • หากลืมไม่เกิน 12 ชั่วโมง นับจากเวลาเดิมที่เคยรับประทาน ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ในขนาดเดิม
  • หากลืมเกิน 12 ชั่วโมง นับจากเวลาเดิมที่เคยรับประทาน ให้ข้ามยามื้อนั้นไป แล้วกินยามื้อถัดไปในขนาดเดิม

     2. กรณีรับประทานยาวันละ 2 ครั้ง

  • หากลืมไม่เกิน 6 ชั่วโมง นับจากเวลาเดิมที่เคยรับประทาน ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ในขนาดเดิม
  • หากลืมเกิน 6 ชั่วโมงไปแล้ว นับจากเวลาเดิมที่เคยรับประทาน ให้ข้ามยามื้อนั้นไป แล้วกินยามื้อถัดไปในขนาดเดิม

การเก็บรักษายา

  • เก็บยาให้พ้นแสงและความชื้น
  • เก็บไว้ในแผงบรรจุจนกว่าจะถึงเวลารับประทาน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง