กลืนติด สำลักบ่อย เสี่ยงเป็นโรคอะคาเลเซีย Achalasia (ภาวะกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารไม่คลายตัว)

     อาการกลืนลำบากเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อย หนึ่งในสาเหตุของการกลืนลำบากคือโรคอะคาเลเซีย เป็นโรคที่มีอุบัติการณ์น้อย แต่มักวินิจฉัยยาก โดยสถิติผู้ป่วยมักได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคกรดไหลย้อนและได้รับการรักษาเป็นเวลานานแต่อาการไม่ดีขึ้น โดยโรคนี้มักได้รับการวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำโดยอายุรแพทย์หรือศัลยแพทย์ทางเดินอาหาร

 

อาการทั่วไป

  • นํ้าหนักลด
  • เจ็บหน้าอกเวลากลืน
  • กลืนติด
  • ขย้อนอาเจียนและสําลักบ่อย

 

สาเหตุ

     สาเหตุของโรคนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สามารถตรวจวินิจฉัยเพื่อยืนยันและเพื่อตัดภาวะอื่นๆ ที่มีอาการเหมือนกันออกไป และรีบรักษาตั้งแต่แรกเริ่มจะสามารถลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การสำลักอาหารเข้าไปในปอดที่อาจก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ ภาวะทุพโภชนาการ ความเสี่ยงต่อมะเร็งหลอดอาหารได้

 

การวินิจฉัย

  • การส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
  • การเอกซเรย์แบเรียมตรวจหลอดอาหาร (Timed Barium Esophagography)
  • การตรวจวัดความดันของหลอดอาหาร (High Resolution Manometry)
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
  • การตรวจวัดการไหลย้อนของกรดตลอด 24 ชั่วโมง (24 hrs pH monitoring)

 

     เนื่องจากเครื่องตรวจความดันในหลอดอาหารมีเฉพาะในโรงพยาบาลไม่กี่แห่งในประเทศไทย และมีความสำคัญในการวินิจฉัยโรคอะคาเลเซีย จึงมีความสำคัญในการได้รับการตรวจพิเศษนี้เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคดังกล่าว

 

การรักษา

     จุดมุ่งหมายของการรักษาคือทำให้หูรูดส่วนล่างคลายตัวเพื่อให้อาหารสามารถผ่านไปได้ง่ายขึ้น ซึ่งมีหลายวิธี เช่น

  • การผ่าตัด (Laparoscopic Surgery) เป็นการผ่าตัดวิธีมาตรฐานที่ได้ผลดี
  • การขยายหลอดอาหารด้วยบอลลูน (Pneumatic dilation)

     

     แต่ในปัจจุบันมีการรักษาด้วยวิธีการส่องกล้อง (POEM) ซึ่งได้ผลดีเทียบเท่าการผ่าตัด โดยไม่มีบาดแผลภายนอก
     Peroral Endoscopic Myotomy (POEM) คือ การรักษาภาวะกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารไม่คลายตัว ด้วยวิธีการใส่กล้องเหมือนการตรวจทางเดินอาหารส่วนบนขณะผุ้ป่วยดมยาสลบ เพื่อเข้าไปตัดกล้ามเนื้อหูรูดให้คลายตัว ทำให้อาหารผ่านลงกระเพาะสะดวกขึ้น โดยไม่มีบาดแผลภายนอก ซึ่งในการรักษาแต่ละวิธีแพทย์อาจทำการรักษาด้วยทางเลือกการรักษาใดๆ ดังกล่าวข้างต้นโดยขึ้นกับภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย

 

การเตรียมตัวก่อนการรักษา

     นอกจากเตรียมความพร้อมสําหรับการดมยาสลบทั่วไปแล้ว ให้ผู้ป่วยทานอาหารเหลว ก่อนผ่าตัด 2 วัน ผู้ป่วยจําเป็นต้องมานอนโรงพยาบาลล่วงหน้า 1 วัน เพื่อเตรียมตัว โดยงดนํ้าและอาหาร 1 คืนก่อนผ่าตัด แพทย์ผู้รักษาจะให้นํ้าเกลือทดแทน

 

การดูแลหลังการรักษา

     ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลประมาณ 4 วัน 3 คืน รวมวันผ่าตัดและพักฟื้น โดยหลังผ่าตัด 1 วัน จะมีการกลืนสารทึบรังสีเพื่อตรวจสอบว่าไม่มีรอยรั่วจากการผ่าตัด จึงให้ผู้ป่วยเริ่มทานอาหาร โดยเริ่มจากอาหารเหลวไปจนถึงอาหารอ่อน แล้วจึงกลับบ้านได้หลังผ่าตัดทั่วไปผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาดื่มนํ้าและรับประทานอาหาร แต่อาการจะดีขึ้นเรื่อยๆ

 

ภาวะแทรกซ้อนหลังการรักษา

     อาจมีปัญหากรดไหลย้อนได้ แต่มีเพียง 5% ที่ต้องได้รับยาลดกรด ที่เหลือไม่มีอาการหรือมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น มีเลือดออกในหลอดอาหาร ลมรั่วในช่องปอด ลมรั่วในช่องท้อง จากสถิติพบน้อยกว่า 5% และสามารถทําการรักษาแบบประคับประคองโดยไม่ต้องผ่าตัดได้

 

หลังกลับบ้านปฏิบัติตัวอย่างไร

  • ผู้ป่วยสามารถทํากิจวัตรประจําวันได้ตามปกติ
  • รับประทานอาหารอ่อน งดอาหาร รสจัด งดดื่มแอลกอฮอล์กาแฟ จนกว่าจะหายเจ็บหน้าอก โดยปกติจะประมาณ1เดือน
  • ทํางานยกของหนักได้พอสมควร
  • ออกกําลังกายเบาๆได้หลังผ่าตัด 2 สัปดาห์
  • นัดตรวจติดตามอาหารหลังผ่าตัดทุก 3-6 เดือน

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A

ผศ. นพ. ชัยณรงค์ พลานุสิตเทพา

อาการกลืนลำบากเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อย หนึ่งในสาเหตุของการกลืนลำบากคือโรคอะคาเลเซีย เป็นโรคที่มีอุบัติการณ์น้อย แต่มักวินิจฉัยยาก โดยสถิติผู้ป่วยมักได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคกรดไหลย้อนและได้รับการรักษาเป็นเวลานานแต่อาการไม่ดีขึ้น โดยโรคนี้มักได้รับการวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำโดยอายุรแพทย์หรือศัลยแพทย์ทางเดินอาหาร

 

อาการทั่วไป

  • นํ้าหนักลด
  • เจ็บหน้าอกเวลากลืน
  • กลืนติด
  • ขย้อนอาเจียนและสําลักบ่อย

 

สาเหตุ

     สาเหตุของโรคนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สามารถตรวจวินิจฉัยเพื่อยืนยันและเพื่อตัดภาวะอื่นๆ ที่มีอาการเหมือนกันออกไป และรีบรักษาตั้งแต่แรกเริ่มจะสามารถลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การสำลักอาหารเข้าไปในปอดที่อาจก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ ภาวะทุพโภชนาการ ความเสี่ยงต่อมะเร็งหลอดอาหารได้

 

การวินิจฉัย

  • การส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
  • การเอกซเรย์แบเรียมตรวจหลอดอาหาร (Timed Barium Esophagography)
  • การตรวจวัดความดันของหลอดอาหาร (High Resolution Manometry)
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
  • การตรวจวัดการไหลย้อนของกรดตลอด 24 ชั่วโมง (24 hrs pH monitoring)

 

     เนื่องจากเครื่องตรวจความดันในหลอดอาหารมีเฉพาะในโรงพยาบาลไม่กี่แห่งในประเทศไทย และมีความสำคัญในการวินิจฉัยโรคอะคาเลเซีย จึงมีความสำคัญในการได้รับการตรวจพิเศษนี้เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคดังกล่าว

 

การรักษา

     จุดมุ่งหมายของการรักษาคือทำให้หูรูดส่วนล่างคลายตัวเพื่อให้อาหารสามารถผ่านไปได้ง่ายขึ้น ซึ่งมีหลายวิธี เช่น

  • การผ่าตัด (Laparoscopic Surgery) เป็นการผ่าตัดวิธีมาตรฐานที่ได้ผลดี
  • การขยายหลอดอาหารด้วยบอลลูน (Pneumatic dilation)

     

     แต่ในปัจจุบันมีการรักษาด้วยวิธีการส่องกล้อง (POEM) ซึ่งได้ผลดีเทียบเท่าการผ่าตัด โดยไม่มีบาดแผลภายนอก
     Peroral Endoscopic Myotomy (POEM) คือ การรักษาภาวะกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารไม่คลายตัว ด้วยวิธีการใส่กล้องเหมือนการตรวจทางเดินอาหารส่วนบนขณะผุ้ป่วยดมยาสลบ เพื่อเข้าไปตัดกล้ามเนื้อหูรูดให้คลายตัว ทำให้อาหารผ่านลงกระเพาะสะดวกขึ้น โดยไม่มีบาดแผลภายนอก ซึ่งในการรักษาแต่ละวิธีแพทย์อาจทำการรักษาด้วยทางเลือกการรักษาใดๆ ดังกล่าวข้างต้นโดยขึ้นกับภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย

 

การเตรียมตัวก่อนการรักษา

     นอกจากเตรียมความพร้อมสําหรับการดมยาสลบทั่วไปแล้ว ให้ผู้ป่วยทานอาหารเหลว ก่อนผ่าตัด 2 วัน ผู้ป่วยจําเป็นต้องมานอนโรงพยาบาลล่วงหน้า 1 วัน เพื่อเตรียมตัว โดยงดนํ้าและอาหาร 1 คืนก่อนผ่าตัด แพทย์ผู้รักษาจะให้นํ้าเกลือทดแทน

 

การดูแลหลังการรักษา

     ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลประมาณ 4 วัน 3 คืน รวมวันผ่าตัดและพักฟื้น โดยหลังผ่าตัด 1 วัน จะมีการกลืนสารทึบรังสีเพื่อตรวจสอบว่าไม่มีรอยรั่วจากการผ่าตัด จึงให้ผู้ป่วยเริ่มทานอาหาร โดยเริ่มจากอาหารเหลวไปจนถึงอาหารอ่อน แล้วจึงกลับบ้านได้หลังผ่าตัดทั่วไปผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาดื่มนํ้าและรับประทานอาหาร แต่อาการจะดีขึ้นเรื่อยๆ

 

ภาวะแทรกซ้อนหลังการรักษา

     อาจมีปัญหากรดไหลย้อนได้ แต่มีเพียง 5% ที่ต้องได้รับยาลดกรด ที่เหลือไม่มีอาการหรือมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น มีเลือดออกในหลอดอาหาร ลมรั่วในช่องปอด ลมรั่วในช่องท้อง จากสถิติพบน้อยกว่า 5% และสามารถทําการรักษาแบบประคับประคองโดยไม่ต้องผ่าตัดได้

 

หลังกลับบ้านปฏิบัติตัวอย่างไร

  • ผู้ป่วยสามารถทํากิจวัตรประจําวันได้ตามปกติ
  • รับประทานอาหารอ่อน งดอาหาร รสจัด งดดื่มแอลกอฮอล์กาแฟ จนกว่าจะหายเจ็บหน้าอก โดยปกติจะประมาณ1เดือน
  • ทํางานยกของหนักได้พอสมควร
  • ออกกําลังกายเบาๆได้หลังผ่าตัด 2 สัปดาห์
  • นัดตรวจติดตามอาหารหลังผ่าตัดทุก 3-6 เดือน

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A

ผศ. นพ. ชัยณรงค์ พลานุสิตเทพา

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง