คุมกำเนิดแบบไหนดี?

     การคุมกำเนิด (Birth control) แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

     1. การคุมกำเนิดแบบถาวร คือ การทำหมันชาย และการทำหมันหญิง

     การทำหมัน เหมาะสำหรับครอบครัวที่มีบุตรเพียงพอแล้ว การคุมกำเนิดวิธีนี้มีผลดี คือ เป็นการคุมกำเนิดถาวร ปลอดภัย ไม่มีฤทธิของฮอร์โมน ไม่มีผลต่อสุขภาพหรือสมรรถภาพทางเพศ

  • การทำหมันหญิง คือ การผูกและตัดท่อนำไข่บางส่วนทั้งสองข้างทำให้ท่อนำไข่อุดตัน สามารถทำได้ตั้งแต่ระยะหลังคลอด เรียกว่า การทำหมันเปียก และทำในช่วงที่พ้นระยะหลังคลอดไปแล้ว เรียกว่า การทำหมันแห้ง

  • การทำหมันชาย คือ การผูกและตัดท่อนำเชื้อทั้งสองข้างในถุงอัณฑะ สามารถทำได้ตลอดเวลา ไม่ต้องนอนพักในโรงพยาบาล

     2. การคุมกำเนิดชั่วคราว ได้แก่ การรับประทานยาคุมกำเนิด ฉีดยาคุมกำเนิด ใส่ห่วงทองแดงคุมกำเนิด ฝังยาคุมกำเนิด แปะแผ่นยาคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย การนับวัน การหลั่งภายนอก เป็นต้น

     ยารับประทานคุมกำเนิด มีอยู่ 3 ชนิด คือ

          1. ยารับประทานคุมกำเนิดหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือยารับประทานคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

          2. ยารับประทานคุมกำเนิด ชนิดแบบที่มีฮอร์โมนเดี่ยว

          3. ยารับประทานคุมกำเนิด ชนิดแบบที่มีฮอร์โมนรวม ซึ่งเป็นแบบที่ใช้กันมากที่สุด

     ยารับประทานคุมกำเนิดอาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดในระยะยาว เพราะต้องรับประทานทุกวันจึงมีโอกาสที่จะลืมรับประทานได้ สำหรับสตรีที่ต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมอาจไม่เหมาะเพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันและมีผลให้น้ำนมน้อยลงได้ อาจจะใช้เป็นยารับประทานคุมกำเนิด ชนิดแบบฮอร์โมนเดี่ยวแทน ซึ่งสามารถใช้ได้ตั้งแต่หลังคลอด แต่ผลข้างเคียงของการลืมรับประทานยา คือ อาจมีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริบกะปรอยได้บ่อย

     ยารับประทานคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน สามารถใช้ได้ในช่วงไม่เกิน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิดโดยวิธีนี้ไม่ควรใช้เป็นวิธีคุมกำเนิดเป็นประจำ เพราะมีผลข้างเคียงเช่น ทำให้ระดูมาไม่สม่ำเสมอ ระดูกะปริบกะปรอยได้ถ้าใช้เป็นประจำ

     การฉีดยาคุมกำเนิด สามารถฉีดได้ตั้งแต่ระยะหลังคลอดใหม่ ๆ ไม่มีผลต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันและปริมาณน้ำนม แพทย์จะนัดฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อทุก 3 เดือน ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดดี เหมาะสำหรับการคุมกำเนิดระยะยาว ไม่ต้องรับประทานยาทุกวัน ราคาถูก แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น ระดูกะปริบกะปรอยในระยะแรกแต่หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะไม่มีระดู น้ำหนักขึ้น และเมื่อหยุดฉีดยา อาจจะต้องรอประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี จึงจะกลับมามีระดูและมีการตกไข่ตามปกติ จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดในระยะเวลาสั้นๆ

     การใส่ห่วงทองแดงคุมกำเนิด เป็นการใส่ห่วงทองแดงคุมกำเนิดในโพรงมดลูก กลไกการคุมกำเนิดคือห่วงจะไปขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูก แพทย์จะใส่ห่วงคุมกำเนิดเข้าไปในโพรงมดลูก แล้วเหลือสายห่วงออกมาจากปากมดลูกยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดังนั้นจะต้องตรวจสายห่วงเป็นระยะ อายุการใช้งานของห่วงคุมกำเนิด คือ 3-5 ปีแล้วแต่ชนิดของห่วงคุมกำเนิด ข้อดี คือ ไม่ต้องรับประทานยาทุกวัน ไม่ต้องฉีดยาทุก 3 เดือน ไม่มีผลของฮอร์โมน ไม่มีปัญหาเรื่องระดูผิดปกติกะปริบกะปรอย ไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว ไม่คลื่นไส้อาเจียน ไม่ทำให้เกิดสิวฝ้ามากขึ้น แต่ข้อเสีย คือ ต้องคอยตรวจเช็คสายห่วงอย่างสม่ำเสมอ โดยการตรวจด้วยตนเอง หรือมาตรวจตามที่แพทย์นัดหมาย

     การฝังยาคุมกำเนิด สามารถทำได้ตั้งแต่ระยะคลอดใหม่ ๆ ไม่มีผลต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันและปริมาณน้ำนม แพทย์จะฝังหลอดยาเล็ก ๆ ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร แบบจำนวน 1 หลอดหรือ 2 หลอด (แล้วแต่ชนิดของยา) เข้าใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขนด้านใน ยาฝังคุมกำเนิดจะมีฤทธิ์คุมกำเนิด 3-5 ปี แล้วแต่ชนิดของยา ข้อดีคือสามารถคุมกำเนิดได้นาน ไม่ต้องรับประทานยาทุกวัน ไม่ถูกฉีดยา และ ไม่ต้องเช็คสายห่วงคุมกำเนิด ไม่มีโอกาสหลุดเหมือนห่วงคุมกำเนิด แต่ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ประจำเดือนกะปริบกะปรอย น้ำหนักขึ้น

     การใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด คือ การใช้แผ่นแปะที่มีฮอร์โมนคุมกำเนิดอยู่ในแผ่นขนาดประมาณ 4x4 เซนติเมตร แปะที่บริเวณสะโพก ท้องน้อย ต้นแขน หรือแผ่นหลังส่วนบน (แต่ไม่ควรแปะบริเวณเต้านม) โดยจะเปลี่ยนแผ่นทุกสัปดาห์เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เว้น 1 สัปดาห์ไม่ต้องแปะแผ่นยา ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีระดู ข้อดีคือประสิทธิภาพการคุมกำเนิดค่อนข้างดี ไม่ต้องรับประทานยาทุกวัน ไม่ต้องถูกฉีดยา ฝังยาหรือใส่ห่วงคุมกำเนิด ผลข้างเคียงคือ บริเวณที่แปะอาจมีอาการคัน รู้สึกไม่สบายตัว กังวลว่าจะลอกหลุด คัดตึงเต้านม  

     การใช้ถุงยางอนามัย นอกจากคุมกำเนิดแล้วยังสามารถป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย โอกาสล้มเหลวในการคุมกำเนิดสูง เพราะวิธีการใช้ไม่ถูกต้อง คุณภาพของถุงยางไม่ดีทำให้ขาดหรือรั่วได้ 

     การนับวัน วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีรอบระดูสม่ำเสมอ โดยช่วงที่ปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ คือ ก่อน 7 หลัง 7 หมายถึง ช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์ต่ำถ้ามีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ คือในช่วงก่อนมีระดู 7 วัน และหลังจากมีระดู 7 วัน (นับวันที่มีระดูวันแรกเป็นวันที่1) การคุมกำเนิดวิธีนี้มีโอกาสล้มเหลวในการคุมกำเนิดได้สูง เนื่องจากการนับวันผิดพลาด และไม่เหมาะสำหรับผู้ที่รอบระดูไม่สม่ำเสมอ

     นอกจากนี้ยังมีการคุมกำเนิดวิธีอื่น ๆ อีกเช่น การหลั่งภายนอก การใช้น้ำยาฆ่าเชื้ออสุจิ การสวนล้างช่องคลอด ซึ่งเหล่านี้เป็นวิธีที่มีโอกาสล้มเหลวในการคุมกำเนิดได้สูง ดังนั้นการคุมกำเนิดแต่ละวิธีอาจเหมาะกับสตรีแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นกับ ความต้องการมีบุตรอีกหรือไม่ ระยะเวลาในความต้องการคุมกำเนิด การยอมรับได้กับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ความสะดวก ราคา โรคประจำตัวที่เป็นข้อบ่งห้ามในการคุมกำเนิดแต่ละวิธี เหล่านี้จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเลือกวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมในสตรีแต่ละคน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E

     การคุมกำเนิด (Birth control) แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

     1. การคุมกำเนิดแบบถาวร คือ การทำหมันชาย และการทำหมันหญิง

     การทำหมัน เหมาะสำหรับครอบครัวที่มีบุตรเพียงพอแล้ว การคุมกำเนิดวิธีนี้มีผลดี คือ เป็นการคุมกำเนิดถาวร ปลอดภัย ไม่มีฤทธิของฮอร์โมน ไม่มีผลต่อสุขภาพหรือสมรรถภาพทางเพศ

  • การทำหมันหญิง คือ การผูกและตัดท่อนำไข่บางส่วนทั้งสองข้างทำให้ท่อนำไข่อุดตัน สามารถทำได้ตั้งแต่ระยะหลังคลอด เรียกว่า การทำหมันเปียก และทำในช่วงที่พ้นระยะหลังคลอดไปแล้ว เรียกว่า การทำหมันแห้ง

  • การทำหมันชาย คือ การผูกและตัดท่อนำเชื้อทั้งสองข้างในถุงอัณฑะ สามารถทำได้ตลอดเวลา ไม่ต้องนอนพักในโรงพยาบาล

     2. การคุมกำเนิดชั่วคราว ได้แก่ การรับประทานยาคุมกำเนิด ฉีดยาคุมกำเนิด ใส่ห่วงทองแดงคุมกำเนิด ฝังยาคุมกำเนิด แปะแผ่นยาคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย การนับวัน การหลั่งภายนอก เป็นต้น

     ยารับประทานคุมกำเนิด มีอยู่ 3 ชนิด คือ

          1. ยารับประทานคุมกำเนิดหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือยารับประทานคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

          2. ยารับประทานคุมกำเนิด ชนิดแบบที่มีฮอร์โมนเดี่ยว

          3. ยารับประทานคุมกำเนิด ชนิดแบบที่มีฮอร์โมนรวม ซึ่งเป็นแบบที่ใช้กันมากที่สุด

     ยารับประทานคุมกำเนิดอาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดในระยะยาว เพราะต้องรับประทานทุกวันจึงมีโอกาสที่จะลืมรับประทานได้ สำหรับสตรีที่ต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมอาจไม่เหมาะเพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันและมีผลให้น้ำนมน้อยลงได้ อาจจะใช้เป็นยารับประทานคุมกำเนิด ชนิดแบบฮอร์โมนเดี่ยวแทน ซึ่งสามารถใช้ได้ตั้งแต่หลังคลอด แต่ผลข้างเคียงของการลืมรับประทานยา คือ อาจมีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริบกะปรอยได้บ่อย

     ยารับประทานคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน สามารถใช้ได้ในช่วงไม่เกิน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิดโดยวิธีนี้ไม่ควรใช้เป็นวิธีคุมกำเนิดเป็นประจำ เพราะมีผลข้างเคียงเช่น ทำให้ระดูมาไม่สม่ำเสมอ ระดูกะปริบกะปรอยได้ถ้าใช้เป็นประจำ

     การฉีดยาคุมกำเนิด สามารถฉีดได้ตั้งแต่ระยะหลังคลอดใหม่ ๆ ไม่มีผลต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันและปริมาณน้ำนม แพทย์จะนัดฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อทุก 3 เดือน ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดดี เหมาะสำหรับการคุมกำเนิดระยะยาว ไม่ต้องรับประทานยาทุกวัน ราคาถูก แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น ระดูกะปริบกะปรอยในระยะแรกแต่หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะไม่มีระดู น้ำหนักขึ้น และเมื่อหยุดฉีดยา อาจจะต้องรอประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี จึงจะกลับมามีระดูและมีการตกไข่ตามปกติ จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดในระยะเวลาสั้นๆ

     การใส่ห่วงทองแดงคุมกำเนิด เป็นการใส่ห่วงทองแดงคุมกำเนิดในโพรงมดลูก กลไกการคุมกำเนิดคือห่วงจะไปขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูก แพทย์จะใส่ห่วงคุมกำเนิดเข้าไปในโพรงมดลูก แล้วเหลือสายห่วงออกมาจากปากมดลูกยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดังนั้นจะต้องตรวจสายห่วงเป็นระยะ อายุการใช้งานของห่วงคุมกำเนิด คือ 3-5 ปีแล้วแต่ชนิดของห่วงคุมกำเนิด ข้อดี คือ ไม่ต้องรับประทานยาทุกวัน ไม่ต้องฉีดยาทุก 3 เดือน ไม่มีผลของฮอร์โมน ไม่มีปัญหาเรื่องระดูผิดปกติกะปริบกะปรอย ไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว ไม่คลื่นไส้อาเจียน ไม่ทำให้เกิดสิวฝ้ามากขึ้น แต่ข้อเสีย คือ ต้องคอยตรวจเช็คสายห่วงอย่างสม่ำเสมอ โดยการตรวจด้วยตนเอง หรือมาตรวจตามที่แพทย์นัดหมาย

     การฝังยาคุมกำเนิด สามารถทำได้ตั้งแต่ระยะคลอดใหม่ ๆ ไม่มีผลต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันและปริมาณน้ำนม แพทย์จะฝังหลอดยาเล็ก ๆ ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร แบบจำนวน 1 หลอดหรือ 2 หลอด (แล้วแต่ชนิดของยา) เข้าใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขนด้านใน ยาฝังคุมกำเนิดจะมีฤทธิ์คุมกำเนิด 3-5 ปี แล้วแต่ชนิดของยา ข้อดีคือสามารถคุมกำเนิดได้นาน ไม่ต้องรับประทานยาทุกวัน ไม่ถูกฉีดยา และ ไม่ต้องเช็คสายห่วงคุมกำเนิด ไม่มีโอกาสหลุดเหมือนห่วงคุมกำเนิด แต่ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ประจำเดือนกะปริบกะปรอย น้ำหนักขึ้น

     การใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด คือ การใช้แผ่นแปะที่มีฮอร์โมนคุมกำเนิดอยู่ในแผ่นขนาดประมาณ 4x4 เซนติเมตร แปะที่บริเวณสะโพก ท้องน้อย ต้นแขน หรือแผ่นหลังส่วนบน (แต่ไม่ควรแปะบริเวณเต้านม) โดยจะเปลี่ยนแผ่นทุกสัปดาห์เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เว้น 1 สัปดาห์ไม่ต้องแปะแผ่นยา ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีระดู ข้อดีคือประสิทธิภาพการคุมกำเนิดค่อนข้างดี ไม่ต้องรับประทานยาทุกวัน ไม่ต้องถูกฉีดยา ฝังยาหรือใส่ห่วงคุมกำเนิด ผลข้างเคียงคือ บริเวณที่แปะอาจมีอาการคัน รู้สึกไม่สบายตัว กังวลว่าจะลอกหลุด คัดตึงเต้านม  

     การใช้ถุงยางอนามัย นอกจากคุมกำเนิดแล้วยังสามารถป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย โอกาสล้มเหลวในการคุมกำเนิดสูง เพราะวิธีการใช้ไม่ถูกต้อง คุณภาพของถุงยางไม่ดีทำให้ขาดหรือรั่วได้ 

     การนับวัน วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีรอบระดูสม่ำเสมอ โดยช่วงที่ปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ คือ ก่อน 7 หลัง 7 หมายถึง ช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์ต่ำถ้ามีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ คือในช่วงก่อนมีระดู 7 วัน และหลังจากมีระดู 7 วัน (นับวันที่มีระดูวันแรกเป็นวันที่1) การคุมกำเนิดวิธีนี้มีโอกาสล้มเหลวในการคุมกำเนิดได้สูง เนื่องจากการนับวันผิดพลาด และไม่เหมาะสำหรับผู้ที่รอบระดูไม่สม่ำเสมอ

     นอกจากนี้ยังมีการคุมกำเนิดวิธีอื่น ๆ อีกเช่น การหลั่งภายนอก การใช้น้ำยาฆ่าเชื้ออสุจิ การสวนล้างช่องคลอด ซึ่งเหล่านี้เป็นวิธีที่มีโอกาสล้มเหลวในการคุมกำเนิดได้สูง ดังนั้นการคุมกำเนิดแต่ละวิธีอาจเหมาะกับสตรีแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นกับ ความต้องการมีบุตรอีกหรือไม่ ระยะเวลาในความต้องการคุมกำเนิด การยอมรับได้กับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ความสะดวก ราคา โรคประจำตัวที่เป็นข้อบ่งห้ามในการคุมกำเนิดแต่ละวิธี เหล่านี้จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเลือกวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมในสตรีแต่ละคน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง