“ปานแต่กำเนิด” รักษาไว หายไว

     ปานแต่กำเนิด คือ ความผิดปกติของสีผิว หรือ ความผิดปกติของความเรียบเนียนของผิวซึ่งสามารถพบในทารกแรกเกิดหรือในช่วงอายุขวบปีแรก ปานมีหลายชนิดและเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่แตกต่างกันไป เช่น เซลล์ผิวหนัง หลอดเลือด ทางเดินน้ำเหลืองและกล้ามเนื้อ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ถึงสาเหตุของการเกิดปาน และปานก็ไม่ใช่ความผิดปกติที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

โดยปานบางชนิดสามารถหายเองแบบไม่ต้องได้รับการรักษาใด ๆ บางชนิดมีอาการคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง หรือบางชนิดอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นตามอายุ นอกจากนี้ปานบางชนิดสามารถพบร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสม

ปานแต่กำเนิดที่พบได้บ่อย

  1. ปานมองโกเลียน (Mongolian) พบบ่อยที่สุด มีลักษณะเป็นผื่นราบสีเขียว ฟ้าเทา หรือน้ำเงินเข้ม บริเวณก้นและสะโพก แต่อาจพบที่บริเวณอื่น ๆ ของร่างกายได้ เช่น แขน ขา หลัง ไหล่ หนังศีรษะ ปานชนิดนี้จะค่อย ๆ จางหายไปเมื่อเข้าสู่วัยเด็กตอนต้น ไม่มีความจำเป็นต้องทำการรักษา

 

  1. ปานโอตะ (Nevus of Ota) เป็นปานแต่กำเนิดชนิดที่พบบ่อยในชาวเอเชีย มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเข้ม สีเขียว สีฟ้าเทา หรือสีน้ำเงินที่ค่อยขยายขนาดขึ้นตามอายุ จนกลายเป็นปื้นอยู่ซีกใดซีกหนึ่งบนใบหน้า ผู้ป่วยบางรายอาจมีปานโอตะที่เกิดขึ้นในบริเวณตาขาวด้วย  ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยจะตรวจพบความผิดปกติของความดันลูกตาในข้างเดียวกับปานที่มีอยู่ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลาจะพัฒนาไปเป็นโรคต้อหินและทำให้ตาบอดได้ ปานโอตะที่ผิวหนังตอบสนองต่อการรักษาด้วยเลเซอร์ดีมาก

 

  1. ปานสีกาแฟใส่นม (Café au lait) มีลักษณะเป็นผื่นราบสีน้ำตาลอ่อน ปรากฏตั้งแต่แรกเกิดหรือภายในอายุ 2-3 เดือน มักจะมีรูปร่างกลมหรือรี ขอบเขตค่อนข้างชัดเจน จะขยายขนาดขึ้นตามการเจริญเติบโตและจะคงอยู่ตลอดชีวิต ส่วนใหญ่จะไม่พบมีความผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกายร่วมด้วย แต่หากผู้ป่วยที่มีปานชนิดนี้จำนวนมากหรือมีขนาดใหญ่ อาจพบโรคพันธุกรรมบางชนิดได้

 

  1. ปานแดงชนิด (Port-wine stains) มีลักษณะเป็นปื้นแดงที่มักปรากฏอาการตั้งแต่แรกเกิด และจะคงอยู่ตลอดชีวิตไม่จางหายไป รอยโรคจะขยายขนาดโตตามตัวของผู้ป่วย ส่วนใหญ่มักอยู่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ปานจะมีสีเข้มขึ้น รวมทั้งอาจนูนหนาและขรุขระเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น หากพบปานชนิดนี้บริเวณใบหน้า โดยเฉพาะรอบดวงตา อาจพบร่วมกับความผิดปกติของดวงตาและสมองได้ จึงควรพาบุตรหลานของท่านไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดต่อไป 

 

  1. เนื้องอกหลอดเลือดในเด็ก (Hemangioma) พบความผิดปกติบ่อยที่สุดในเด็ก (ประมาณร้อยละ 5 ในทารกแรกเกิด และร้อยละ 5-10 ในเด็กอายุ 1 ปี)  พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย บางรายอาจมีจุดหรือปื้นสีแดงนำมาก่อนแล้วค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น ลักษณะของปานที่พบบ่อย จะเป็นก้อนนูนสีแดงสด ผิวขรุขระ ซึ่งก้อนเนื้องอกชนิดนี้จะมีขนาดโตขึ้นภายในช่วงอายุ 6-9 เดือนแรกของชีวิต ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่มีปานชนิดนี้ก้อนจะค่อย ๆ ยุบลงได้เอง ภายหลังอายุ 5 ปี ภายหลังก้อนสีแดงนี้ยุบลง อาจหลงเหลือความผิดปกติของผิวหนังบริเวณดังกล่าวได้

 

แนวทางการรักษาปานโอตะ

การเริ่มต้นการรักษาก่อนอายุ 5 ขวบจะได้ผลการรักษาที่ดีกว่า และมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้น้อยกว่า โดยการรักษาด้วยการทำเลเซอร์ Q-Switched Laser หรือ Picosecond Laser ควรทำการรักษาด้วยเลเซอร์ประมาณ 5-10 ครั้งเป็นอย่างน้อย ห่างกันครั้งละ 2-3 เดือน หรือตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง ศัลยกรรมเลเซอร์และความงาม

 

ข้อมูลจาก : ศ.นพ.วรพงษ์  มนัสเกียรติ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

     ปานแต่กำเนิด คือ ความผิดปกติของสีผิว หรือ ความผิดปกติของความเรียบเนียนของผิวซึ่งสามารถพบในทารกแรกเกิดหรือในช่วงอายุขวบปีแรก ปานมีหลายชนิดและเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่แตกต่างกันไป เช่น เซลล์ผิวหนัง หลอดเลือด ทางเดินน้ำเหลืองและกล้ามเนื้อ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ถึงสาเหตุของการเกิดปาน และปานก็ไม่ใช่ความผิดปกติที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

โดยปานบางชนิดสามารถหายเองแบบไม่ต้องได้รับการรักษาใด ๆ บางชนิดมีอาการคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง หรือบางชนิดอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นตามอายุ นอกจากนี้ปานบางชนิดสามารถพบร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสม

ปานแต่กำเนิดที่พบได้บ่อย

  1. ปานมองโกเลียน (Mongolian) พบบ่อยที่สุด มีลักษณะเป็นผื่นราบสีเขียว ฟ้าเทา หรือน้ำเงินเข้ม บริเวณก้นและสะโพก แต่อาจพบที่บริเวณอื่น ๆ ของร่างกายได้ เช่น แขน ขา หลัง ไหล่ หนังศีรษะ ปานชนิดนี้จะค่อย ๆ จางหายไปเมื่อเข้าสู่วัยเด็กตอนต้น ไม่มีความจำเป็นต้องทำการรักษา

 

  1. ปานโอตะ (Nevus of Ota) เป็นปานแต่กำเนิดชนิดที่พบบ่อยในชาวเอเชีย มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเข้ม สีเขียว สีฟ้าเทา หรือสีน้ำเงินที่ค่อยขยายขนาดขึ้นตามอายุ จนกลายเป็นปื้นอยู่ซีกใดซีกหนึ่งบนใบหน้า ผู้ป่วยบางรายอาจมีปานโอตะที่เกิดขึ้นในบริเวณตาขาวด้วย  ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยจะตรวจพบความผิดปกติของความดันลูกตาในข้างเดียวกับปานที่มีอยู่ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลาจะพัฒนาไปเป็นโรคต้อหินและทำให้ตาบอดได้ ปานโอตะที่ผิวหนังตอบสนองต่อการรักษาด้วยเลเซอร์ดีมาก

 

  1. ปานสีกาแฟใส่นม (Café au lait) มีลักษณะเป็นผื่นราบสีน้ำตาลอ่อน ปรากฏตั้งแต่แรกเกิดหรือภายในอายุ 2-3 เดือน มักจะมีรูปร่างกลมหรือรี ขอบเขตค่อนข้างชัดเจน จะขยายขนาดขึ้นตามการเจริญเติบโตและจะคงอยู่ตลอดชีวิต ส่วนใหญ่จะไม่พบมีความผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกายร่วมด้วย แต่หากผู้ป่วยที่มีปานชนิดนี้จำนวนมากหรือมีขนาดใหญ่ อาจพบโรคพันธุกรรมบางชนิดได้

 

  1. ปานแดงชนิด (Port-wine stains) มีลักษณะเป็นปื้นแดงที่มักปรากฏอาการตั้งแต่แรกเกิด และจะคงอยู่ตลอดชีวิตไม่จางหายไป รอยโรคจะขยายขนาดโตตามตัวของผู้ป่วย ส่วนใหญ่มักอยู่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ปานจะมีสีเข้มขึ้น รวมทั้งอาจนูนหนาและขรุขระเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น หากพบปานชนิดนี้บริเวณใบหน้า โดยเฉพาะรอบดวงตา อาจพบร่วมกับความผิดปกติของดวงตาและสมองได้ จึงควรพาบุตรหลานของท่านไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดต่อไป 

 

  1. เนื้องอกหลอดเลือดในเด็ก (Hemangioma) พบความผิดปกติบ่อยที่สุดในเด็ก (ประมาณร้อยละ 5 ในทารกแรกเกิด และร้อยละ 5-10 ในเด็กอายุ 1 ปี)  พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย บางรายอาจมีจุดหรือปื้นสีแดงนำมาก่อนแล้วค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น ลักษณะของปานที่พบบ่อย จะเป็นก้อนนูนสีแดงสด ผิวขรุขระ ซึ่งก้อนเนื้องอกชนิดนี้จะมีขนาดโตขึ้นภายในช่วงอายุ 6-9 เดือนแรกของชีวิต ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่มีปานชนิดนี้ก้อนจะค่อย ๆ ยุบลงได้เอง ภายหลังอายุ 5 ปี ภายหลังก้อนสีแดงนี้ยุบลง อาจหลงเหลือความผิดปกติของผิวหนังบริเวณดังกล่าวได้

 

แนวทางการรักษาปานโอตะ

การเริ่มต้นการรักษาก่อนอายุ 5 ขวบจะได้ผลการรักษาที่ดีกว่า และมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้น้อยกว่า โดยการรักษาด้วยการทำเลเซอร์ Q-Switched Laser หรือ Picosecond Laser ควรทำการรักษาด้วยเลเซอร์ประมาณ 5-10 ครั้งเป็นอย่างน้อย ห่างกันครั้งละ 2-3 เดือน หรือตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง ศัลยกรรมเลเซอร์และความงาม

 

ข้อมูลจาก : ศ.นพ.วรพงษ์  มนัสเกียรติ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง