โบทูลินั่ม ท็อกซิน ไม่ใช่แค่ความงาม แต่เพื่อรักษา

โบทูลินั่ม ท็อกซิน คืออะไร?

     “โบทูลินั่ม ท็อกซิน” (Botulinum Toxin) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างจากแบคทีเรียชื่อ คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม (Clostridium botulinum) ออกฤทธิ์โดยการไปจับกับส่วนปลายของเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาทไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาทได้ ซึ่งในภาวะปกติของกล้ามเนื้อต้องอาศัยการสั่งงานจากเซลล์ประสาทในการทำงาน เคลื่อนไหว หรือหดตัว

     ดังนั้นเมื่อเซลล์ประสาทไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาทได้ จึงทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวหรืออีกนัยหนึ่ง คือ เกิดการอัมพาตของกล้ามเนื้อ โดยจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 2 - 3 วัน เห็นผลสูงสุดในเวลาประมาณ 7 - 14 วัน และมีฤทธิ์อยู่ได้นาน 3 - 6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ขนาดยาที่ฉีด และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ หลังจากนั้นกล้ามเนื้อจะค่อยๆกลับมาหดตัวได้เหมือนเดิม ในปัจจุบันวงการแพทย์ใช้โบทูลินั่ม ท็อกซิน มาฉีดบริเวณกล้ามเนื้อบนใบหน้าเพื่อลบเลือนริ้วรอยซึ่งเกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ เช่น บริเวณหน้าผาก หว่างคิ้ว หรือหางตา เป็นต้น

โบทูลินั่ม ท็อกซิน รักษาอะไรได้บ้าง?

     นอกจากโบทูลินั่ม ท็อกซินจะถูกนำมาใช้ในการรักษาริ้วรอยที่เกิดจากการขยับกล้ามเนื้อที่บริเวณใบหน้าและลำคอ โบทูลินั่ม ท็อกซินยังช่วยในการรักษา

  1. ภาวะความผิดปกติที่เกิดจากการทำงานมากเกินของกล้ามเนื้อ เช่น ตาเข (Strabismus) หนังตากระตุก (Blepharospasm) กล้ามเนื้อคอเกร็งตัว (Cervical dystonia)
  2. การปวดศีรษะแบบไมเกรน (Migrain) หรือ การปวดศีรษะจากความเครียด (Tension)
  3. ภาวะกล้ามเนื้อหลังอักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain)
  4. ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (Hyperhidrosis) การฉีดสารโบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ (Botulinum toxin A) ที่บริเวณใต้วงแขน ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ช่วยลดการทำงานของต่อมเหงื่อในผู้ที่มีปัญหาเหงื่อออกมากได้

กลุ่มบุคคลที่ไม่ควรรักษาด้วยโบทูลินั่ม ท็อกซิน

  • ผู้ป่วยโรคระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท เช่น โรค Myasthenia gravis หรือ โรค Amyotrophic lateral sclerosis เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้โบทูลินั่ม ท็อกซิน
  • สตรีมีครรภ์หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่อย่างหักโหม

การเตรียมตัวก่อนการฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซิน

  1. ควรสอบถามข้อมูลจากแพทย์เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
  2. งดรับประทานยาแอสไพริน ยาขยายหลอดเลือด หรือยาป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรืออาหารเสริม เช่น วิตามินอี ชาเขียว สารสกัดจากใบแปะก๊วย เป็นต้น ก่อนเข้ารับการฉีด 7 วัน

ข้อควรปฏิบัติหลังการฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซิน

  1. ห้ามนอนราบภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงหลังฉีดยา เพราะอาจทำให้ตัวยากระจายออกนอกตำแหน่งที่ต้องการรักษาไปยังกล้ามเนื้อบริเวณอื่น
  2. ห้ามนวด ขัด ถู คลึง บริเวณที่ทำการรักษา เนื่องจากอาจทำให้ยากระจายไปยังบริเวณที่ไม่ต้องการรักษาได้
  3. สามารถประคบเย็นบริเวณที่ทำการรักษาเพื่อลดอาการปวด บวม หรือรอยช้ำ
  4. การบริหารกล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดบ่อยๆ มีความสำคัญมาก และเพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้มากที่สุด ควรทำทุกๆ 15 นาทีในชั่วโมงแรกหลังการฉีด เช่น

               -  การฉีดบริเวณหน้าผาก ให้หมั่นเลิกคิ้ว 

               -  การฉีดบริเวณหว่างคิ้ว ให้หมั่นขมวดคิ้ว 

               -  การฉีดบริเวณหางตา ให้หมั่นยิ้มยิงฟัน 

               -  การฉีดบริเวณกราม ให้หมั่นเคี้ยวหมากฝรั่ง

  1. หลีกเลี่ยงการอบไอน้ำ อบซาวน่า ยิงเลเซอร์ การนวดหน้าแรงๆ หรือการทำไอออนโตที่หน้า ในช่วง 2 สัปดาห์แรก
  2. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในช่วง 2 สัปดาห์แรก
  3. สามารถล้างหน้า ทาครีม แต่งหน้าได้ตามปกติ   
  4. มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อประเมินผลการรักษา

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

  1. ความเจ็บจากการฉีดยา
  2. อาการปวดศีรษะ
  3. รอยช้ำ
  4. อาการคิ้วหรือหนังตาตก
  5. เกิดอาการแพ้ในผู้ป่วยบางราย

     โดยอาการเหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยและสามารถหายไปได้เองใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากมีความผิดปกติใดเกิดขึ้นควรรีบมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที

ขอบคุณข้อมูลจาก พญ. ศุภานัน ประเสริฐโยธิน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A

 

โบทูลินั่ม ท็อกซิน คืออะไร?

     “โบทูลินั่ม ท็อกซิน” (Botulinum Toxin) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างจากแบคทีเรียชื่อ คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม (Clostridium botulinum) ออกฤทธิ์โดยการไปจับกับส่วนปลายของเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาทไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาทได้ ซึ่งในภาวะปกติของกล้ามเนื้อต้องอาศัยการสั่งงานจากเซลล์ประสาทในการทำงาน เคลื่อนไหว หรือหดตัว

     ดังนั้นเมื่อเซลล์ประสาทไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาทได้ จึงทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวหรืออีกนัยหนึ่ง คือ เกิดการอัมพาตของกล้ามเนื้อ โดยจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 2 - 3 วัน เห็นผลสูงสุดในเวลาประมาณ 7 - 14 วัน และมีฤทธิ์อยู่ได้นาน 3 - 6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ขนาดยาที่ฉีด และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ หลังจากนั้นกล้ามเนื้อจะค่อยๆกลับมาหดตัวได้เหมือนเดิม ในปัจจุบันวงการแพทย์ใช้โบทูลินั่ม ท็อกซิน มาฉีดบริเวณกล้ามเนื้อบนใบหน้าเพื่อลบเลือนริ้วรอยซึ่งเกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ เช่น บริเวณหน้าผาก หว่างคิ้ว หรือหางตา เป็นต้น

โบทูลินั่ม ท็อกซิน รักษาอะไรได้บ้าง?

     นอกจากโบทูลินั่ม ท็อกซินจะถูกนำมาใช้ในการรักษาริ้วรอยที่เกิดจากการขยับกล้ามเนื้อที่บริเวณใบหน้าและลำคอ โบทูลินั่ม ท็อกซินยังช่วยในการรักษา

  1. ภาวะความผิดปกติที่เกิดจากการทำงานมากเกินของกล้ามเนื้อ เช่น ตาเข (Strabismus) หนังตากระตุก (Blepharospasm) กล้ามเนื้อคอเกร็งตัว (Cervical dystonia)
  2. การปวดศีรษะแบบไมเกรน (Migrain) หรือ การปวดศีรษะจากความเครียด (Tension)
  3. ภาวะกล้ามเนื้อหลังอักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain)
  4. ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (Hyperhidrosis) การฉีดสารโบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ (Botulinum toxin A) ที่บริเวณใต้วงแขน ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ช่วยลดการทำงานของต่อมเหงื่อในผู้ที่มีปัญหาเหงื่อออกมากได้

กลุ่มบุคคลที่ไม่ควรรักษาด้วยโบทูลินั่ม ท็อกซิน

  • ผู้ป่วยโรคระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท เช่น โรค Myasthenia gravis หรือ โรค Amyotrophic lateral sclerosis เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้โบทูลินั่ม ท็อกซิน
  • สตรีมีครรภ์หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่อย่างหักโหม

การเตรียมตัวก่อนการฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซิน

  1. ควรสอบถามข้อมูลจากแพทย์เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
  2. งดรับประทานยาแอสไพริน ยาขยายหลอดเลือด หรือยาป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรืออาหารเสริม เช่น วิตามินอี ชาเขียว สารสกัดจากใบแปะก๊วย เป็นต้น ก่อนเข้ารับการฉีด 7 วัน

ข้อควรปฏิบัติหลังการฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซิน

  1. ห้ามนอนราบภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงหลังฉีดยา เพราะอาจทำให้ตัวยากระจายออกนอกตำแหน่งที่ต้องการรักษาไปยังกล้ามเนื้อบริเวณอื่น
  2. ห้ามนวด ขัด ถู คลึง บริเวณที่ทำการรักษา เนื่องจากอาจทำให้ยากระจายไปยังบริเวณที่ไม่ต้องการรักษาได้
  3. สามารถประคบเย็นบริเวณที่ทำการรักษาเพื่อลดอาการปวด บวม หรือรอยช้ำ
  4. การบริหารกล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดบ่อยๆ มีความสำคัญมาก และเพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้มากที่สุด ควรทำทุกๆ 15 นาทีในชั่วโมงแรกหลังการฉีด เช่น

               -  การฉีดบริเวณหน้าผาก ให้หมั่นเลิกคิ้ว 

               -  การฉีดบริเวณหว่างคิ้ว ให้หมั่นขมวดคิ้ว 

               -  การฉีดบริเวณหางตา ให้หมั่นยิ้มยิงฟัน 

               -  การฉีดบริเวณกราม ให้หมั่นเคี้ยวหมากฝรั่ง

  1. หลีกเลี่ยงการอบไอน้ำ อบซาวน่า ยิงเลเซอร์ การนวดหน้าแรงๆ หรือการทำไอออนโตที่หน้า ในช่วง 2 สัปดาห์แรก
  2. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในช่วง 2 สัปดาห์แรก
  3. สามารถล้างหน้า ทาครีม แต่งหน้าได้ตามปกติ   
  4. มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อประเมินผลการรักษา

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

  1. ความเจ็บจากการฉีดยา
  2. อาการปวดศีรษะ
  3. รอยช้ำ
  4. อาการคิ้วหรือหนังตาตก
  5. เกิดอาการแพ้ในผู้ป่วยบางราย

     โดยอาการเหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยและสามารถหายไปได้เองใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากมีความผิดปกติใดเกิดขึ้นควรรีบมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที

ขอบคุณข้อมูลจาก พญ. ศุภานัน ประเสริฐโยธิน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง