อาหารเสริมพัฒนาการลูกน้อยวัยอนุบาล

     เด็กในวัยอนุบาลเริ่มตั้งแต่ 3 ขวบจนถึงอายุ 5 ขวบ เริ่มรับประทานอาหารได้ด้วยตัวเอง จึงทำให้เริ่มเลือกรับประทานมากขึ้นจนอาจเป็นที่กังวลใจของผู้ปกครองหลายๆท่าน วันนี้นักกำหนดอาหารจะมาแชร์เทคนิคการจัดอาหารให้เพียงพอและเหมาะสมตามวัยกันค่ะ

     ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจเรื่องความต้องการพลังงานและสารอาหารของเด็กวัยนี้กันค่ะ

พลังงาน เด็กในวัย 3-5 ขวบ มีความต้องการพลังงานเฉลี่ยที่ 1200 kcal เพื่อให้เพียงพอต่อกิจวัตรประจำวันและการเจริญเติบโตของร่างกาย และต้องการโปรตีนเพียง 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว(กิโลกรัม)ต่อวัน หรือเฉลี่ย ประมาณ 25 กรัมต่อวัน

ที่มาของพลังงานและโปรตีน หลักๆควรมาจากอาหาร 3 มื้อหลัก (ข้าวมื้อละ ครึ่ง - 1 ทัพพี เนื้อสัตว์หรือไข่ มื้อละ 1-2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันปรุงอาหารมื้อละ 1-2 ช้อนชา) และเสริมด้วยนมกล่อง 1-2 กล่องต่อวัน แต่ในกรณีที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติม

 

     ปัญหาที่พบบ่อยและเทคนิค

1. ไม่ยอมรับประทานอาหาร อยากดื่มแต่นม หรือรับประทานแต่ขนม

  • แนะนำให้ลองเลือกเมนูที่มีส่วนประกอบของนมค่อยๆสอดแทรกเข้าไปในมื้ออาหาร เช่น รีซ็อตโต้ คาโบนาร่า หากทำอาหารเอง สามารถใช้นมจืดแทนครีมครึ่งหนึ่งเพื่อให้ได้กลิ่นและรสที่คุ้นเคย
  • สร้างสัมพันธ์ที่ดีให้กับเด็กและอาหาร ผ่านการเจรจา แลกเปลี่ยน แทนการดุ หรือตี เช่น หากรับประทานข้าวได้ ครึ่งชาม ค่อยดื่มนม 2 อึก สลับกันไป
  • พยายามให้รับประทานข้าวให้ได้เสียก่อนจึงให้ดื่มนม หรือรับประทานขนม หรือผลไม้

2. ติดเล่นหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ไม่รับประทานอาหารด้วยตัวเอง

  • ควรสร้างวินัยในการจัดสรรเวลา เมื่อถึงมื้ออาหาร ควรนั่งรับประทานอาหารที่โต๊ะมากกว่าการเดินไปป้อนไป หรือเล่นไปป้อนไป ส่วนนี้จะช่วยเรื่องพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก ในการควบคุมช้อน รับประทานเอง
  • หากมีการรับประทานเปลอะเลอะเทอะไปบ้าง ควรสอนอย่างใจเย็น อาจมีเสื้อกันเปื้อนให้เด็ก เพราะกิจกรรมนี้จะเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีให้กับเด็กและอาหาร

3. เลือกรับประทาน ไม่ยอมรับประทานผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์

  • การที่เด็กจะไม่รับประทานอาหารใดๆ อาจเกิดจากประสบการณ์ที่ไม่ดี เช่น เนื้อเหนียวไป ชิ้นใหญ่ลองกินแล้วติดคอ หรือเคยรับประทานผักที่เหนียว กลิ่นแรง หรือขมจนเกินไป และส่วนหนึ่งพฤติกรรมการเลือกรับประทานบางส่วนมาจากพฤติกรรมของผู้ปกครองที่ดูแลด้วย
  • ค่อยๆแนะนำผักหรือผลไม้แต่ละชนิด อาจทำผ่านกิจกรรม เช่น หั่นผักเป็นชิ้นๆ ลวกให้สุกดี ให้เด็กลองทายสีหรือเล่นจัดจานอาหารตามจินตนาการ จากนั้นค่อยลองนำผักที่เด็กชอบไปปรุงประกอบอาหาร
  • เนื้อสัตว์ควรหั่นชิ้นเล็ก เลือกส่วนที่นุ่มๆ หรือสลับเป็นเต้าหู้ไข่บ้าง เพื่อให้ง่ายต่อการเคี้ยว

4. มีน้ำหนักตัวต่ำ หรือเกินเกณฑ์

  • แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลต่อเนื่องเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมตามวัยค่ะ

5. ชอบรับประทานอาหารจานด่วน เช่น ไก่ทอด มันฝรั่งทอด

  • อาจตั้งเกณฑ์เป็น 1 ครั้งต่อเดือน เนื่องอาหารเหล่านี้มีรสค่อนข้างจัดและมีไขมันสูง อาจทำให้เด็กมีภาวะน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานในอนาคตได้

6. ติดหวาน นมหวาน น้ำหวาน ขนมหวาน

  • หากยังไม่เริ่มให้ลองดื่ม ในเด็กระยะนี้ แนะนำเป็นนมรสจืดก่อนดีกว่าค่ะ
  • สลับขนมหวานเป็นผลไม้สดใส่น้ำเล็กน้อย ปั่นให้เข้ากัน แช่แข็ง หรือหั่นเป็นชิ้นแล้วแช่เย็นจัดเป็นของว่าง 1 มื้อเวลาอากาศร้อนๆค่ะ ไม่แนะนำให้ใช้น้ำผลไม้กล่องนะคะ เนื่องจากมีรสจัดค่ะ

 

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

     เด็กในวัยอนุบาลเริ่มตั้งแต่ 3 ขวบจนถึงอายุ 5 ขวบ เริ่มรับประทานอาหารได้ด้วยตัวเอง จึงทำให้เริ่มเลือกรับประทานมากขึ้นจนอาจเป็นที่กังวลใจของผู้ปกครองหลายๆท่าน วันนี้นักกำหนดอาหารจะมาแชร์เทคนิคการจัดอาหารให้เพียงพอและเหมาะสมตามวัยกันค่ะ

     ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจเรื่องความต้องการพลังงานและสารอาหารของเด็กวัยนี้กันค่ะ

พลังงาน เด็กในวัย 3-5 ขวบ มีความต้องการพลังงานเฉลี่ยที่ 1200 kcal เพื่อให้เพียงพอต่อกิจวัตรประจำวันและการเจริญเติบโตของร่างกาย และต้องการโปรตีนเพียง 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว(กิโลกรัม)ต่อวัน หรือเฉลี่ย ประมาณ 25 กรัมต่อวัน

ที่มาของพลังงานและโปรตีน หลักๆควรมาจากอาหาร 3 มื้อหลัก (ข้าวมื้อละ ครึ่ง - 1 ทัพพี เนื้อสัตว์หรือไข่ มื้อละ 1-2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันปรุงอาหารมื้อละ 1-2 ช้อนชา) และเสริมด้วยนมกล่อง 1-2 กล่องต่อวัน แต่ในกรณีที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติม

 

     ปัญหาที่พบบ่อยและเทคนิค

1. ไม่ยอมรับประทานอาหาร อยากดื่มแต่นม หรือรับประทานแต่ขนม

  • แนะนำให้ลองเลือกเมนูที่มีส่วยประกอบของนมค่อยๆสอดแทรกเข้าไปในมื้ออาหาร เช่น รีซ็อตโต้ คาโบนาร่า หากทำอาหารเอง สามารถใช้นมจืดแทนครีมครึ่งหนึ่งเพื่อให้ได้กลิ่นและรสที่คุ้นเคย
  • สร้างสัมพันธ์ที่ดีให้กับเด็กและอาหาร ผ่านการเจรจา แลกเปลี่ยน แทนการดุ หรือตี เช่น หากรับประทานข้าวได้ ครึ่งชาม ค่อยดื่มนม 2 อึก สลับกันไป
  • พยายามให้รับประทานข้าวให้ได้เสียก่อนจึงให้ดื่มนม หรือรับประทานขนม หรือผลไม้

2. ติดเล่นหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ไม่รับประทานอาหารด้วยตัวเอง

  • ควรสร้างวินัยในการจัดสรรเวลา เมื่อถึงมื้ออาหาร ควรนั่งรับประทานอาหารที่โต๊ะมากกว่าการเดินไปป้อนไป หรือเล่นไปป้อนไป ส่วนนี้จะช่วยเรื่องพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก ในการควบคุมช้อน รับประทานเอง
  • หากมีการรับประทานเปลอะเลอะเทอะไปบ้าง ควรสอนอย่างใจเย็น อาจมีเสื้อกันเปื้อนให้เด็ก เพราะกิจกรรมนี้จะเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีให้กับเด็กและอาหาร

3. เลือกรับประทาน ไม่ยอมรับประทานผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์

  • การที่เด็กจะไม่รับประทานอาหารใดๆ อาจเกิดจากประสบการณ์ที่ไม่ดี เช่น เนื้อเหนียวไป ชิ้นใหญ่ลองกินแล้วติดคอ หรือเคยรับประทานผักที่เหนียว กลิ่นแรง หรือขมจนเกินไป และส่วนหนึ่งพฤติกรรมการเลือกรับประทานบางส่วนมาจากพฤติกรรมของผู้ปกครองที่ดูแลด้วย
  • ค่อยๆแนะนำผักหรือผลไม้แต่ละชนิด อาจทำผ่านกิจกรรม เช่น หั่นผักเป็นชิ้นๆ ลวกให้สุกดี ให้เด็กลองทายสีหรือเล่นจัดจานอาหารตามจินตนาการ จากนั้นค่อยลองนำผักที่เด็กชอบไปปรุงประกอบอาหาร
  • เนื้อสัตว์ควรหั่นชิ้นเล็ก เลือกส่วนที่นุ่มๆ หรือสลับเป็นเต้าหู้ไข่บ้าง เพื่อให้ง่ายต่อการเคี้ยว

4. มีน้ำหนักตัวต่ำ หรือเกินเกณฑ์

  • แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลต่อเนื่องเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมตามวัยค่ะ

5. ชอบรับประทานอาหารจานด่วน เช่น ไก่ทอด มันฝรั่งทอด

  • อาจตั้งเกณฑ์เป็น 1 ครั้งต่อเดือน เนื่องจอาหารเหล่านี้มีรสค่อนข้างจัดและมีไขมันสูง อาจทำให้เด็กมีภาวะน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานในอนาคตได้

6. ติดหวาน นมหวาน น้ำหวาน ขนมหวาน

  • หากยังไม่เริ่มให้ลองดื่ม ในเด็กระยะนี้ แนะนำเป็นนมรสจืดก่อนดีกว่าค่ะ
  • สลับขนมหวานเป็นผลไม้สดใส่น้ำเล็กน้อย ปั่นให้เข้ากัน แช่แข็ง หรือหั่นเป็นชิ้นแล้วแช่เย็นจัดเป็นของว่าง 1 มื้อเวลาอากาศร้อนๆค่ะ ไม่แนะนำให้ใช้น้ำผลไม้กล่องนะคะ เนื่องจากมีรสจัดค่ะ

 

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง