ไซยาไนด์ (Cyanide) สารพิษอันตรายควรระวัง

     ไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีความเป็นพิษสูง มีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์บางประเภท เช่น ยาฆ่าแมลง น้ำยาขัดเงาโลหะ น้ำยาทำความสะอาดเครื่องเพชรพลอย ใช้ในอุตสาหกรรมการถลุงโลหะ ฯลฯ

     สามารถพบไซยาไนด์ได้ในหลายรูปแบบ ได้แก่ ภาวะก๊าซ hydrogen cyanide เกิดจากการเผาไหม้สารพลาสติก polyurethane และหนังเทียม รูปแบบของแข็งหรือสารละลาย ได้แก่ potassium cyanide และ potassium cyanide solution นอกจากนี้ยังสามารถพบไซยาไนด์ได้ในธรรมชาติเช่น ในมันสำปะหลังดิบ โดยเมื่อรับประทานแล้วร่างกายจะทำการย่อยสารบางชนิดในมันสำปะหลังดิบให้เป็นไซยาไนด์เข้าสู่เซลล์ในร่างกาย ในกรณีนี้อาการแสดงของพิษจากไซยาไนด์สามารถเกิดขึ้นในเวลาหลาย ๆ ชั่วโมงหลังจากรับประทาน

 

 

 

เมื่อถูกสารพิษจะเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

     ผู้ป่วยมักจะเริ่มปรากฏมีอาการหลังจากได้ไซยาไนด์ภายในเวลาไม่กี่วินาที เริ่มจากปวดศีรษะ ใจสั่น หน้าแดง หมดสติ ชัก และอาจจะเสียชีวิตภายในเวลา 10 นาที ในรายที่รุนแรงน้อยกว่าจะกดการทำงานของระบบประสาทและการหายใจ

 

วิธีป้องกันและวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

     วิธีการป้องกันคือ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารไซยาไนด์ และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อสัมผัสกับสารไซยาไนด์ให้รีบลดปริมาณสารไซยาไนด์ให้เร็วที่สุด แล้วรีบมาโรงพยาบาล โดยวิธีปฏิบัติขึ้นอยู่กับวิธีที่สัมผัสกับสารไซยาไนด์

  • ทางการสูดดม ควรรีบออกจากพื้นที่ หากไม่สามารถออกจากพื้นที่ได้ควรก้มต่ำลงบนพื้น ในกรณีที่ผู้ป่วยหายใจลำบากหรือหยุดหายใจ อาจจำเป็นต้องได้รับออกซิเจน แต่ไม่ควรผายปอดด้วยวิธีปากต่อปาก
  • ทางการสัมผัสผ่านผิวหนัง ถอดเสื้อผ้าของผู้ป่วยออก โดยพยายามไม่ให้ชิ้นส่วนของเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสัมผัสกับผิวหนังของผู้ป่วยและผู้ช่วยเหลือ จากนั้นทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำและสบู่
  • ทางการรับประทาน ให้รีบล้างปาก ไม่ควรทำการกระตุ้นให้เกิดการอาเจียน
  • ทางดวงตา หากสวมคอนแทคเลนส์ให้รีบถอดออก แล้วใช้น้ำสะอาดล้างตา 10 - 15 นาที

     ทั้งนี้ยังไม่มีวิธีการปฐมพยาบาลอย่างเฉพาะเจาะจงกับผู้สัมผัสไซยาไนด์ ควรรีบส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดในทันที

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลยา ฝ่ายวิชาการเภสัชสนเทศ
โทร. 1474 กด 2 ตามด้วยกด 2 หรือ 02-419-2222

     ไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีความเป็นพิษสูง มีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์บางประเภท เช่น ยาฆ่าแมลง น้ำยาขัดเงาโลหะ น้ำยาทำความสะอาดเครื่องเพชรพลอย ใช้ในอุตสาหกรรมการถลุงโลหะ ฯลฯ

     สามารถพบไซยาไนด์ได้ในหลายรูปแบบ ได้แก่ ภาวะก๊าซ hydrogen cyanide เกิดจากการเผาไหม้สารพลาสติก polyurethane และหนังเทียม รูปแบบของแข็งหรือสารละลาย ได้แก่ potassium cyanide และ potassium cyanide solution นอกจากนี้ยังสามารถพบไซยาไนด์ได้ในธรรมชาติเช่น ในมันสำปะหลังดิบ โดยเมื่อรับประทานแล้วร่างกายจะทำการย่อยสารบางชนิดในมันสำปะหลังดิบให้เป็นไซยาไนด์เข้าสู่เซลล์ในร่างกาย ในกรณีนี้อาการแสดงของพิษจากไซยาไนด์สามารถเกิดขึ้นในเวลาหลาย ๆ ชั่วโมงหลังจากรับประทาน

 

 

 

เมื่อถูกสารพิษจะเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

     ผู้ป่วยมักจะเริ่มปรากฏมีอาการหลังจากได้ไซยาไนด์ภายในเวลาไม่กี่วินาที เริ่มจากปวดศีรษะ ใจสั่น หน้าแดง หมดสติ ชัก และอาจจะเสียชีวิตภายในเวลา 10 นาที ในรายที่รุนแรงน้อยกว่าจะกดการทำงานของระบบประสาทและการหายใจ

 

วิธีป้องกันและวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

     วิธีการป้องกันคือ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารไซยาไนด์ และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อสัมผัสกับสารไซยาไนด์ให้รีบลดปริมาณสารไซยาไนด์ให้เร็วที่สุด แล้วรีบมาโรงพยาบาล โดยวิธีปฏิบัติขึ้นอยู่กับวิธีที่สัมผัสกับสารไซยาไนด์

  • ทางการสูดดม ควรรีบออกจากพื้นที่ หากไม่สามารถออกจากพื้นที่ได้ควรก้มต่ำลงบนพื้น ในกรณีที่ผู้ป่วยหายใจลำบากหรือหยุดหายใจ อาจจำเป็นต้องได้รับออกซิเจน แต่ไม่ควรผายปอดด้วยวิธีปากต่อปาก
  • ทางการสัมผัสผ่านผิวหนัง ถอดเสื้อผ้าของผู้ป่วยออก โดยพยายามไม่ให้ชิ้นส่วนของเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสัมผัสกับผิวหนังของผู้ป่วยและผู้ช่วยเหลือ จากนั้นทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำและสบู่
  • ทางการรับประทาน ให้รีบล้างปาก ไม่ควรทำการกระตุ้นให้เกิดการอาเจียน
  • ทางดวงตา หากสวมคอนแทคเลนส์ให้รีบถอดออก แล้วใช้น้ำสะอาดล้างตา 10 - 15 นาที

     ทั้งนี้ยังไม่มีวิธีการปฐมพยาบาลอย่างเฉพาะเจาะจงกับผู้สัมผัสไซยาไนด์ ควรรีบส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดในทันที

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลยา ฝ่ายวิชาการเภสัชสนเทศ
โทร. 1474 กด 2 ตามด้วยกด 2 หรือ 02-419-2222


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง