วัยซนปลอดภัย ห่างไกลโรคหน้าฝน

     เปิดเทอมใหม่แล้ว....พร้อมฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องและไม่รู้ว่าจะตกลงมาตอนไหน เหตุการณ์แบบนี้ทำให้ พ่อ แม่หลายคนเป็นกังวลหากฝนเกิดตกลงมาพอดีในวันที่ลูกไปโรงเรียน เพราะนอกจากจะเลอะเทอะ เฉอะแฉะแล้วลูกของคุณอาจป่วยได้ เพราะอากาศจะเริ่มเย็นลง และมีความชื้นสูงขึ้น สภาพอากาศเช่นนี้ ทำให้ เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดีและแพร่กระจายได้ง่าย โดย 3 โรคติดเชื้อที่พบบ่อยในเด็ก มักจะติดต่อกันมากใน โรงเรียน พ่อแม่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในฤดูนี้ ได้แก่

1. ไข้หวัดใหญ่

เป็นโรคที่พบได้ตลอดปีและจะพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน ติดต่อกันได้ทางการหายใจ เมื่อไอหรือจาม เชื้อจะ เข้าทางจมูกหรือปาก ผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และปวดเมื่อยตามร่างกาย คัดจมูกน้ำมูกไหล ไอ จามร่วมด้วย

 

วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่

1. รักษาสุขภาพเด็กให้แข็งแรง และควรให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอ
2. หลีกเลี่ยงไม่ใกล้ชิดเด็กที่ป่วย หลีกเลี่ยงไม่อยู่ในสถานที่ที่คนหนาแน่น

3. ในเด็กที่เป็นไข้หวัดใหญ่ควรให้หยุดพักรักษาตัว ไม่ควรให้เด็กไปโรงเรียน

4. สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือใช้แอลกอฮอล์เจล
5. รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำปีทุกปี

 

2. มือ เท้า ปาก

เป็นโรคที่พบการระบาดได้บ่อยในช่วงฤดูฝน ติดต่อได้โดยการสัมผัสโดยตรงกับน้ำมูก น้ำลาย ผื่น ตุ่มน้ำใส อุจจาระ หรือ สัมผัสทางอ้อม เช่น ผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ เจ็บปาก มีแผล ตุ่มในช่องปาก กระพุ้งแก้ม ผื่นแดงหรือตุ่มโดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า
 

วิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก

  1. แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ และให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายป่วย
  2. ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำสบู่ และรีบล้างมือให้สะอาดโดยเร็วเมื่อเช็ดน้ำมูก น้ำลาย เปลี่ยนผ้าอ้อม หรือเสื้อผ้าเมื่อมีการ เปื้อนอุจจาระ
  3.  ฝึกให้เด็กมีนิสัย กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
  4. หมั่นทำความสะอาดของเล่นเด็ก เครื่องใช้และสิ่งแวดล้อมที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้สบู่ ผงซักฟอกหรือน้ายาชะล้างทาความสะอาดทั่วไป

5. รับวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปาก สายพันธุ์ 71 ป้องกันการติดเชื้อ Enterovirus 71 ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรครุนแรง แต่วัคซีนไม่สามารถป้องกันไวรัสชนิดอื่นที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก ได้  ฉีดในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี 11 เดือน โดยฉีด 2 เข็ม ระยะห่างกัน 1 เดือน

 

3. ไข้เลือดออก

     เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่โดยมียุงลายเป็นพาหะนาโรค ซึ่งยุงเหล่านี้มักเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำขังและพบมาก ในช่วงฤดูฝน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอย หน้าแดง ปวดกล้ามเนื้อ บางราย ปวดท้อง อาเจียน

วิธีป้องกันไข้เลือดออก

  1. ป้องกันไม่ให้ยุงกัดโดยสวมเสื้อและกางเกงขายาว ฉีดสเปรย์หรือทายากันยุงเมื่อต้องออกนอกบ้าน
  2. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านรวมทั้งบริเวณรอบๆ บ้าน ได้แก่ เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง กำจัดภาชนะที่มีน้าขัง ปิดฝาโอ่งให้มิดชิด เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์ไม่ให้ยุงลายวางไข่

การเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกต้องป่วยในช่วงหน้าฝน
1. หมวก ก่อนออกจากบ้านทุกครั้งควรให้ลูกสวมหมวกจนเป็นนิสัยถึงแม้ว่าอากาศจะแจ่มใส การสวมหมวก อาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก แม่อาจหาหมวกรูปแบบต่างๆ มาให้ลูกเลือกแล้วลองใส่ ที่สำคัญหมวกเหล่านั้น จะต้องเป็นหมวกที่สวมใส่สบาย สามารถป้องกันได้ทั้งแดดและฝน
2. ร่ม นอกจากเลือกรูปแบบที่มีสีสัน ลายน่ารัก ดึงใจเด็กๆ แล้ว แนะนำให้แม่นึกถึงเรื่องการใช้งานร่วมด้วย

เช่น เลือกร่มแบบพับได้สะดวกต่อการจัดเก็บใส่กระเป๋า หรือเลือกร่มที่มียูวีใช้ได้ทั้งหน้าร้อนและหน้าฝน
3. ชุดกันฝน เป็นหนึ่งไอเท็มที่ควรมีติดไว้ในกระเป๋าของลูกเมื่อยามจำเป็น ควรเลือกตามความสะดวกในการใช้งาน
4. ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าผืนเล็ก สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง เช่น กันแดด ห่อสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ หรือปกป้อง สิ่งสกปรก เชื้อโรคต่างๆ เมื่อเวลาไอ จาม ควรมีผ้าเช็ดหน้าปิดปากป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
5. ถุงพลาสติก พับเก็บใส่กระเป๋า พกติดตัวไว้เมื่อฝนตกถุงพลาสติกน่าจะช่วยป้องกันน้าฝน ไม่ให้ข้าวของเครื่องใช้ของลูกเสียหาย หรือสวมเป็นหมวกป้องกันฝนก็ได้

เคล็ดลับ

เสื้อผ้าที่ให้ลูกสวมหน้าฝน แนะนำให้เลือกเสื้อที่เป็นผ้าเนื้อเบา สามารถระบายอากาศได้ดี ไม่หนาจนเกินไป และไม่บางมากจนเกินไป ไม่ควรสวมใส่ผ้าเนื้อหนา เพราะเมื่อเปียกฝนจะทาให้เกิดอับชื้นและสะสมเชื้อราอาจ ทาให้ไม่สบายตัวและเป็นหวัดได้

สำหรับเด็กเล็กอย่าลืมเตรียม “ผ้าอ้อมสำเร็จรูป” เผื่อไว้ให้มากกว่าปกติ เพื่อสามารถเปลี่ยนได้บ่อยขึ้นช่วย ลดความอับชื้นจากสภาพอากาศในช่วงฤดูฝน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก พญ.วรพร พุ่มเล็ก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E

     เปิดเทอมใหม่แล้ว....พร้อมฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องและไม่รู้ว่าจะตกลงมาตอนไหน เหตุการณ์แบบนี้ทำให้ พ่อ แม่หลายคนเป็นกังวลหากฝนเกิดตกลงมาพอดีในวันที่ลูกไปโรงเรียน เพราะนอกจากจะเลอะเทอะ เฉอะแฉะแล้วลูกของคุณอาจป่วยได้ เพราะอากาศจะเริ่มเย็นลง และมีความชื้นสูงขึ้น สภาพอากาศเช่นนี้ ทำให้ เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดีและแพร่กระจายได้ง่าย โดย 3 โรคติดเชื้อที่พบบ่อยในเด็ก มักจะติดต่อกันมากใน โรงเรียน พ่อแม่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในฤดูนี้ ได้แก่

1. ไข้หวัดใหญ่

เป็นโรคที่พบได้ตลอดปีและจะพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน ติดต่อกันได้ทางการหายใจ เมื่อไอหรือจาม เชื้อจะ เข้าทางจมูกหรือปาก ผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และปวดเมื่อยตามร่างกาย คัดจมูกน้ำมูกไหล ไอ จามร่วมด้วย

 

วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่

1. รักษาสุขภาพเด็กให้แข็งแรง และควรให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอ
2. หลีกเลี่ยงไม่ใกล้ชิดเด็กที่ป่วย หลีกเลี่ยงไม่อยู่ในสถานที่ที่คนหนาแน่น

3. ในเด็กที่เป็นไข้หวัดใหญ่ควรให้หยุดพักรักษาตัว ไม่ควรให้เด็กไปโรงเรียน

4. สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือใช้แอลกอฮอล์เจล
5. รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำปีทุกปี

 

2. มือ เท้า ปาก

เป็นโรคที่พบการระบาดได้บ่อยในช่วงฤดูฝน ติดต่อได้โดยการสัมผัสโดยตรงกับน้ำมูก น้ำลาย ผื่น ตุ่มน้ำใส อุจจาระ หรือ สัมผัสทางอ้อม เช่น ผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ เจ็บปาก มีแผล ตุ่มในช่องปาก กระพุ้งแก้ม ผื่นแดงหรือตุ่มโดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า
 

วิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก

  1. แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ และให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายป่วย
  2. ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำสบู่ และรีบล้างมือให้สะอาดโดยเร็วเมื่อเช็ดน้ำมูก น้ำลาย เปลี่ยนผ้าอ้อม หรือเสื้อผ้าเมื่อมีการ เปื้อนอุจจาระ
  3.  ฝึกให้เด็กมีนิสัย กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
  4. หมั่นทำความสะอาดของเล่นเด็ก เครื่องใช้และสิ่งแวดล้อมที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้สบู่ ผงซักฟอกหรือน้ายาชะล้างทาความสะอาดทั่วไป

5. รับวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปาก สายพันธุ์ 71 ป้องกันการติดเชื้อ Enterovirus 71 ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรครุนแรง แต่วัคซีนไม่สามารถป้องกันไวรัสชนิดอื่นที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก ได้  ฉีดในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี 11 เดือน โดยฉีด 2 เข็ม ระยะห่างกัน 1 เดือน

 

3. ไข้เลือดออก

     เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่โดยมียุงลายเป็นพาหะนาโรค ซึ่งยุงเหล่านี้มักเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำขังและพบมาก ในช่วงฤดูฝน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอย หน้าแดง ปวดกล้ามเนื้อ บางราย ปวดท้อง อาเจียน

วิธีป้องกันไข้เลือดออก

  1. ป้องกันไม่ให้ยุงกัดโดยสวมเสื้อและกางเกงขายาว ฉีดสเปรย์หรือทายากันยุงเมื่อต้องออกนอกบ้าน
  2. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านรวมทั้งบริเวณรอบๆ บ้าน ได้แก่ เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง กำจัดภาชนะที่มีน้าขัง ปิดฝาโอ่งให้มิดชิด เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์ไม่ให้ยุงลายวางไข่

การเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกต้องป่วยในช่วงหน้าฝน
1. หมวก ก่อนออกจากบ้านทุกครั้งควรให้ลูกสวมหมวกจนเป็นนิสัยถึงแม้ว่าอากาศจะแจ่มใส การสวมหมวก อาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก แม่อาจหาหมวกรูปแบบต่างๆ มาให้ลูกเลือกแล้วลองใส่ ที่สำคัญหมวกเหล่านั้น จะต้องเป็นหมวกที่สวมใส่สบาย สามารถป้องกันได้ทั้งแดดและฝน
2. ร่ม นอกจากเลือกรูปแบบที่มีสีสัน ลายน่ารัก ดึงใจเด็กๆ แล้ว แนะนำให้แม่นึกถึงเรื่องการใช้งานร่วมด้วย

เช่น เลือกร่มแบบพับได้สะดวกต่อการจัดเก็บใส่กระเป๋า หรือเลือกร่มที่มียูวีใช้ได้ทั้งหน้าร้อนและหน้าฝน
3. ชุดกันฝน เป็นหนึ่งไอเท็มที่ควรมีติดไว้ในกระเป๋าของลูกเมื่อยามจำเป็น ควรเลือกตามความสะดวกในการใช้งาน
4. ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าผืนเล็ก สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง เช่น กันแดด ห่อสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ หรือปกป้อง สิ่งสกปรก เชื้อโรคต่างๆ เมื่อเวลาไอ จาม ควรมีผ้าเช็ดหน้าปิดปากป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
5. ถุงพลาสติก พับเก็บใส่กระเป๋า พกติดตัวไว้เมื่อฝนตกถุงพลาสติกน่าจะช่วยป้องกันน้าฝน ไม่ให้ข้าวของเครื่องใช้ของลูกเสียหาย หรือสวมเป็นหมวกป้องกันฝนก็ได้

เคล็ดลับ

เสื้อผ้าที่ให้ลูกสวมหน้าฝน แนะนำให้เลือกเสื้อที่เป็นผ้าเนื้อเบา สามารถระบายอากาศได้ดี ไม่หนาจนเกินไป และไม่บางมากจนเกินไป ไม่ควรสวมใส่ผ้าเนื้อหนา เพราะเมื่อเปียกฝนจะทาให้เกิดอับชื้นและสะสมเชื้อราอาจ ทาให้ไม่สบายตัวและเป็นหวัดได้

สำหรับเด็กเล็กอย่าลืมเตรียม “ผ้าอ้อมสำเร็จรูป” เผื่อไว้ให้มากกว่าปกติ เพื่อสามารถเปลี่ยนได้บ่อยขึ้นช่วย ลดความอับชื้นจากสภาพอากาศในช่วงฤดูฝน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก พญ.วรพร พุ่มเล็ก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง