โรคข้อสะโพกผิดปกติแต่กำเนิด

โรคข้อสะโพกผิดปกติแต่กำเนิด

     หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โรคข้อสะโพกเคลื่อนหลุดแต่กำเนิด (Developmental Dysplasia of the Hip) เกิดจากความผิดปกติของการเจริญเติบโตของข้อสะโพก ทำให้ข้อสะโพกเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม หรือหลุดออกจากตำแหน่งเดิม พบได้ประมาณ 1.7 - 20% ในกลุ่มประชากรทั่วไป โดยพบในเพศชายน้อยกว่าเพศหญิง หากเทียบในเพศชายจะเป็น 1 ใน 3,000 และหากเทียบใบเพศหญิงจะเป็น 1 ใน 600 โดยประมาณ

 

สาเหตุของการเกิดโรค

     อาจจะเกิดจากพันธุกรรม หรือสิ่งแวดล้อมภายหลัง โดยพบว่าเด็กที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท, คลอดท่าก้น, ครรภ์แฝด หรือเด็กที่เป็นลูกคนแรกเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ซึ่งร้อยละ 90 - 95% ของผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัย โดยกุมารแพทย์หรือสูติแพทย์และเข้ารับการรักษาในวัยเด็ก อีกทั้งยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีอาการแสดงน้อย ไม่มีอาการปวด แต่จะมาแสดงอาการในช่วงวัยรุ่นหรือวัยสูงอายุ

     การเจริญเติบโตที่ผิดปกติของข้อสะโพก ทำให้สัดส่วนของหัวกระดูกสะโพกและเบ้าสะโพกไม่เหมาะสมกัน โดยเบ้าสะโพกจะเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จะมีลักษณะที่ตื้นและชัน หัวกระดูกข้อสะโพกจะไม่เป็นลักษณะทรงกลม คอกระดูกสะโพกและกระดูกต้นขามีมุมฉิ่งออก กระดูกต้นขาส่วนต้นมีลักษณะเล็กผิดปกติ ถุงหุ้มข้อสะโพกเกิดการยืดหรือดึงรั้งผิดปกติ

     ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีการหดรั้งของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีการใช้งานของข้อสะโพกลดลง เมื่อการขยับของข้อสะโพกลดลง โดยเฉพาะท่าเหยียดสะโพกและท่ากางต้นขา จะมีอาการปวดจากการขัดสีของกระดูกสะโพกและเบ้าสะโพก หรือการฉีกขาดของหมอนรองข้อหรือข้อสะโพกเสื่อมก่อนวัย โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่ขาหนีบสัมพันธ์กับการใช้งาน ข้อสะโพกขัดในบางท่าทาง เดินกะเผลกหรือบางรายอาจจะมีความรู้สึกข้อสะโพกหลวมหลุด ซึ่งการวินิจฉัยที่รวดเร็วขึ้นทำให้มีทางเลือกในการรักษาและสามารถชะลอรอยโรคได้

 

การวินิจฉัย

     นอกจากการซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว การเอกซเรย์ก็สามารถใช้ในการร่วมวินิจฉัยโรคข้อสะโพกเคลื่อนหลุดแต่กำเนิดได้ ส่วนการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( Computed tomography ) และการทำเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( Magnetic resonance arthrogram ) ก็จะทำให้มีความแม่นยำในการวินิจฉัยมากขึ้น โดยการทำเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กจะได้ข้อมูลของรอยโรคอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น หมอนรองข้อสะโพกฉีกขาด หรือกระดูกอ่อนหัวสะโพกได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น

 

การรักษาโรคข้อสะโพกผิดปกติแต่กำเนิด

     ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการน้อยสามารถรักษาด้วยการประคับประคอง โดยการทานยาแก้ปวด เมื่อมีอาการปวดหรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้มีน้ำหนักกดลงข้อสะโพกมากขึ้น ส่วนในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดมาก ล้มเหลวจากการรักษาด้วยวิธีประคับประคอง หรือขยับข้อสะโพกได้น้อยจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นข้อชี้บ่งของการรักษาด้วยการผ่าตัด

 

การรักษาด้วยการผ่าตัด แบ่งออกเป็น

  •      การผ่าตัดรักษาปรับแต่งกระดูกเพื่อให้กระดูกเบ้าสะโพกคลุมหัวกระดูกสะโพกและการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
  •      การผ่าตัดรักษาปรับแต่งกระดูกเบ้าสะโพกมักจะทำในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ที่ยังมีการขยับของข้อสะโพกและยังไม่มีความเสื่อมของกระดูกข้อสะโพก แต่หากผู้ป่วยเป็นกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ และมีข้อสะโพกเสื่อมแล้ว จะได้รับการพิจารณาเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

 

 

ข้อมูลจาก รศ. นพ.จตุรงค์ พรรัตนมณีวงศ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

โรคข้อสะโพกผิดปกติแต่กำเนิด

     หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โรคข้อสะโพกเคลื่อนหลุดแต่กำเนิด (Developmental Dysplasia of the Hip) เกิดจากความผิดปกติของการเจริญเติบโตของข้อสะโพก ทำให้ข้อสะโพกเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม หรือหลุดออกจากตำแหน่งเดิม พบได้ประมาณ 1.7 - 20% ในกลุ่มประชากรทั่วไป โดยพบในเพศชายน้อยกว่าเพศหญิง หากเทียบในเพศชายจะเป็น 1 ใน 3,000 และหากเทียบใบเพศหญิงจะเป็น 1 ใน 600 โดยประมาณ

 

สาเหตุของการเกิดโรค

     อาจจะเกิดจากพันธุกรรม หรือสิ่งแวดล้อมภายหลัง โดยพบว่าเด็กที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท, คลอดท่าก้น, ครรภ์แฝด หรือเด็กที่เป็นลูกคนแรกเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ซึ่งร้อยละ 90 - 95% ของผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัย โดยกุมารแพทย์หรือสูติแพทย์และเข้ารับการรักษาในวัยเด็ก อีกทั้งยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีอาการแสดงน้อย ไม่มีอาการปวด แต่จะมาแสดงอาการในช่วงวัยรุ่นหรือวัยสูงอายุ

     การเจริญเติบโตที่ผิดปกติของข้อสะโพก ทำให้สัดส่วนของหัวกระดูกสะโพกและเบ้าสะโพกไม่เหมาะสมกัน โดยเบ้าสะโพกจะเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จะมีลักษณะที่ตื้นและชัน หัวกระดูกข้อสะโพกจะไม่เป็นลักษณะทรงกลม คอกระดูกสะโพกและกระดูกต้นขามีมุมฉิ่งออก กระดูกต้นขาส่วนต้นมีลักษณะเล็กผิดปกติ ถุงหุ้มข้อสะโพกเกิดการยืดหรือดึงรั้งผิดปกติ

     ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีการหดรั้งของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีการใช้งานของข้อสะโพกลดลง เมื่อการขยับของข้อสะโพกลดลง โดยเฉพาะท่าเหยียดสะโพกและท่ากางต้นขา จะมีอาการปวดจากการขัดสีของกระดูกสะโพกและเบ้าสะโพก หรือการฉีกขาดของหมอนรองข้อหรือข้อสะโพกเสื่อมก่อนวัย โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่ขาหนีบสัมพันธ์กับการใช้งาน ข้อสะโพกขัดในบางท่าทาง เดินกะเผลกหรือบางรายอาจจะมีความรู้สึกข้อสะโพกหลวมหลุด ซึ่งการวินิจฉัยที่รวดเร็วขึ้นทำให้มีทางเลือกในการรักษาและสามารถชะลอรอยโรคได้

 

การวินิจฉัย

     นอกจากการซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว การเอกซเรย์ก็สามารถใช้ในการร่วมวินิจฉัยโรคข้อสะโพกเคลื่อนหลุดแต่กำเนิดได้ ส่วนการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( Computed tomography ) และการทำเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( Magnetic resonance arthrogram ) ก็จะทำให้มีความแม่นยำในการวินิจฉัยมากขึ้น โดยการทำเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กจะได้ข้อมูลของรอยโรคอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น หมอนรองข้อสะโพกฉีกขาด หรือกระดูกอ่อนหัวสะโพกได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น

 

การรักษาโรคข้อสะโพกผิดปกติแต่กำเนิด

     ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการน้อยสามารถรักษาด้วยการประคับประคอง โดยการทานยาแก้ปวด เมื่อมีอาการปวดหรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้มีน้ำหนักกดลงข้อสะโพกมากขึ้น ส่วนในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดมาก ล้มเหลวจากการรักษาด้วยวิธีประคับประคอง หรือขยับข้อสะโพกได้น้อยจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นข้อชี้บ่งของการรักษาด้วยการผ่าตัด

 

การรักษาด้วยการผ่าตัด แบ่งออกเป็น

  •      การผ่าตัดรักษาปรับแต่งกระดูกเพื่อให้กระดูกเบ้าสะโพกคลุมหัวกระดูกสะโพกและการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
  •      การผ่าตัดรักษาปรับแต่งกระดูกเบ้าสะโพกมักจะทำในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ที่ยังมีการขยับของข้อสะโพกและยังไม่มีความเสื่อมของกระดูกข้อสะโพก แต่หากผู้ป่วยเป็นกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ และมีข้อสะโพกเสื่อมแล้ว จะได้รับการพิจารณาเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

 

 

ข้อมูลจาก รศ. นพ.จตุรงค์ พรรัตนมณีวงศ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง