ดูแลผู้สูงวัยอย่างไรให้ปลอดภัย (Part 2)

     ปัจจุบันสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุ การเตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยด้านอื่น ๆ หนึ่งในนั้น คือการทำกิจวัตรประจำวันที่ถูกต้อง และการปรับสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน ให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้สูงอายุนั้น ๆ ซึ่งได้รวบรวมเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อไปนี้คือ

 

คำแนะนำการจัดบ้านและสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุ

     1. ทางเดินเข้าสู่บริเวณบ้าน หรือทางเข้าสู่อาคาร

  • ทางลาดที่เหมาะสมควรมีความชันไม่เกิน 5 องศา หรือมีความสูง 10 เซนติเมตรต่อความยาวของทางลาด 120 เซนติเมตร
  • มีความกว้างของทางลาดมากกว่า 90 เซนติเมตร
  • ควรออกแบบให้มีขั้นกันลื่น
  • หากมีระยะทางที่ยาว ควรมีจุดพักระหว่างทางขึ้น – ลง
  • หากสูงเกิน 1.5 เซนติเมตร จำเป็นต้องทำราวจับทั้ง 2 ข้าง

 

 

 

     2. บันได

  • ต้องไม่มีชั้นมากเกินไป
  • ควรมีแถบกันลื่นหรือแถบสีสัญลักษณ์ติด เพื่อช่วยการมองเห็น
  • หากมีระยะทางที่ยาว ควรมีจุดพักระหว่างทางขึ้น – ลง
  • ความสูงของราวเกาะที่เหมาะสม คือประมาณ 90 เซนติเมตร
  • ราวบันได ควรมีรูปร่างทรงกลม เพื่อความสะดวกในการยึดเกาะ
  • แสงสว่างต้องเพียงพอต่อการมองเห็น ทั้งกลางวันและกลางคืน

 

 

 

     3. ประตู

  • ควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 81.5 เซนติเมตร หรือกว้างมากกว่าความกว้างของเก้าอี้รถเข็น
  • การเปิด – ปิดประตูต้องทำได้ง่าย
  • ไม่ควรมีธรณีประตู หรือหากมีไม่ควรสูงเกิน 1.3 เซนติเมตร หรือ 0.5 นิ้ว

 

 

 

     4. พื้นภายในตัวบ้าน

  • ควรมีระดับเดียวกันตลอดทั้งบริเวณ
  • พื้นไม่ควรลื่น สามารถทำความสะอาดได้ง่าย
  • ถ้าพื้นต่างระดับ ควรติดสัญลักษณ์ไว้อย่างชัดเจน
  • ไม่มีสิ่งกีดขวาง และเก็บสิ่งของบนพื้นให้มิดชิด
  • แสงสว่างต้องเพียงพอต่อการมองเห็น

 

 

 

     5. อุปกรณ์และเครื่องใช้ภายในบ้าน

  • ความสูงของที่นั่งเก้าอี้รถเข็นควรสูงประมาณ 48 ถึง 52 เซนติเมตร
  • โต๊ะหรือเคาน์เตอร์ควรสูงประมาณ 76 หรือ 85 เซนติเมตร หรือ สูงกว่าที่พักแขนของเก้าอี้รถเข็นเล็กน้อย
  • ชั้นวางของสวิตซ์ไฟ หรือที่ชาร์จโทรศัพท์ต้องมีความสูงพอเหมาะที่ผู้ใช้เก้าอี้รถเข็นจะเอื้อมถึง หรือประมาณ 38 หรือ 120 เซนติเมตร

 

 

 

     6. ห้องครัว

  • บริเวณที่เตรียมอาหารหรือปรุงอาหาร ควรมีเก้าอี้เตี้ย ๆ ไว้สำหรับเป็นที่พักเท้า
  • จัดวางของต่าง ๆ ให้อยู่ในระยะที่เอื้อมหยิบได้ง่าย

 

 

 

     7. ห้องน้ำ

  • ห้องน้ำ ควรมีระยะห่างจากห้องนอนผู้สูงอายุไม่เกิน 2 - 3 เมตร เนื่องจากอาจเกิดปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ที่มักจะพบบ่อยมากในกลุ่มผู้สูงอายุ
  • ควรมีพื้นที่กว้างพอ ที่เก้าอี้รถเข็นจะเข้าไปได้ คือมากกว่า 1.5 x 1.5 ตารางเมตร
  • ควรจัดให้มีราวจับติดผนังรอบ ๆ ชักโครก หรือเก้าอี้นั่งอาบน้ำ
  • ควรมีราวจับความสูงที่พอเหมาะ คือประมาณ 85 - 90 เชนติเมตรและความยาวไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของราวจับที่เหมาะสม ประมาณ 32 - 5.1 เชนติเมตร และควรติดให้ห่างจากนิ้วมือเข้าไปจับได้สะดวก ผนังมากกว่า 3.8 เชนติเมตร เพื่อให้สามารถสอดนิ้วมือเข้าไปจับได้สะดวก
  • โถส้วม ควรเป็นแบบชักโครก หรืออาจใช้เก้าอี้ถ่าย โดยความสูงที่เหมาะสมของชักโครก จะอยู่ที่ประมาณ 43 ถึง 48 เซนติเมตร อาจนำตัวเสริมเบาะมารองกับโถซักโครกให้มีระตับที่เหมาะสมได้
  • อ่างล้างหน้าควรสูงประมาณ 67 - 90 เชนติเมตรและมีพื้นที่ว่างด้านล่างอ่างล้างหน้า เพื่อสามารถเข็นรถเข็นเข้าไปได้ใกล้
  • พื้นห้องน้ำ ควรระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขัง และไม่ลื่นเมื่อเปียกน้ำ หรืออาจใช้แผ่นกันลื่นวางเป็นจุดก็ได้
  • แสงสว่างเพียงพอ สีของผนังและพื้นห้องน้ำควรใช้สีตัดกัน เพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน
  • ไม่ควรมีธรณีประตู หรือถ้าพื้นมีความต่างระดับ ควรทำสัญลักษณ์ให้เห็นชัดเจน

 

 

 

     8. ห้องนอน

  • ห้องนอนควรอยู่ชั้นล่างสุดของบ้าน มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • เตียงควรสูงประมาณ 45 เชนติเมตร ไม่ควรสูงเกิน 90 เชนติเมตรและไม่ต่ำกว่า 40 เชนติเมตร
  • เฟอร์นิเจอร์ เช่น โซฟา หรือเก้าอี้นั่ง ควรมีความสูงระดับที่พอดี นั่งแล้วเท้าไม่ลอย หรือนั่งแล้วขาเหยียดตรงและไม่งอ สะโพกมากกว่า 90o
  • ที่นอนไม่แข็งหรือนิ่มจนเกินไป อาจจะทำให้ปวดหลัง นอนไม่สบาย ลุกนั่งลำบาก
  • ไม่ควรนอนกับพื้นเพราะจะทำให้การเคลื่อนไหวลำบาก
  • การวางเตียงจะต้องวางไม่ให้ติตผนังจนเกินไป และมีช่องว่างให้ผู้สูงอายุ สามารถ ลุก - นั่ง ได้สะดวก
  • แสงสว่าง ควรมีเพียงพอ หรือเสริมด้วยอุปกรณ์ไฟ Auto ปิด-เปิดอัตโมมัติ สั่งงานด้วยเสียง หรือสั่งงานผ่านมือถือ เป็นต้น

 

 

 

เพราะความสุขของเรา คือ การเห็นคุณกลับมามีสุขภาพที่ดีอีกครั้ง

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

 

 

 

     ปัจจุบันสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุ การเตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยด้านอื่น ๆ หนึ่งในนั้น คือการทำกิจวัตรประจำวันที่ถูกต้อง และการปรับสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน ให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้สูงอายุนั้น ๆ ซึ่งได้รวบรวมเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อไปนี้คือ

 

คำแนะนำการจัดบ้านและสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุ

     1. ทางเดินเข้าสู่บริเวณบ้าน หรือทางเข้าสู่อาคาร

  • ทางลาดที่เหมาะสมควรมีความชันไม่เกิน 5 องศา หรือมีความสูง 10 เซนติเมตรต่อความยาวของทางลาด 120 เซนติเมตร
  • มีความกว้างของทางลาดมากกว่า 90 เซนติเมตร
  • ควรออกแบบให้มีขั้นกันลื่น
  • หากมีระยะทางที่ยาว ควรมีจุดพักระหว่างทางขึ้น – ลง
  • หากสูงเกิน 1.5 เซนติเมตร จำเป็นต้องทำราวจับทั้ง 2 ข้าง

 

 

 

     2. บันได

  • ต้องไม่มีชั้นมากเกินไป
  • ควรมีแถบกันลื่นหรือแถบสีสัญลักษณ์ติด เพื่อช่วยการมองเห็น
  • หากมีระยะทางที่ยาว ควรมีจุดพักระหว่างทางขึ้น – ลง
  • ความสูงของราวเกาะที่เหมาะสม คือประมาณ 90 เซนติเมตร
  • ราวบันได ควรมีรูปร่างทรงกลม เพื่อความสะดวกในการยึดเกาะ
  • แสงสว่างต้องเพียงพอต่อการมองเห็น ทั้งกลางวันและกลางคืน

 

 

 

     3. ประตู

  • ควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 81.5 เซนติเมตร หรือกว้างมากกว่าความกว้างของเก้าอี้รถเข็น
  • การเปิด – ปิดประตูต้องทำได้ง่าย
  • ไม่ควรมีธรณีประตู หรือหากมีไม่ควรสูงเกิน 1.3 เซนติเมตร หรือ 0.5 นิ้ว

 

 

 

     4. พื้นภายในตัวบ้าน

  • ควรมีระดับเดียวกันตลอดทั้งบริเวณ
  • พื้นไม่ควรลื่น สามารถทำความสะอาดได้ง่าย
  • ถ้าพื้นต่างระดับ ควรติดสัญลักษณ์ไว้อย่างชัดเจน
  • ไม่มีสิ่งกีดขวาง และเก็บสิ่งของบนพื้นให้มิดชิด
  • แสงสว่างต้องเพียงพอต่อการมองเห็น

 

 

 

     5. อุปกรณ์และเครื่องใช้ภายในบ้าน

  • ความสูงของที่นั่งเก้าอี้รถเข็นควรสูงประมาณ 48 ถึง 52 เซนติเมตร
  • โต๊ะหรือเคาน์เตอร์ควรสูงประมาณ 76 หรือ 85 เซนติเมตร หรือ สูงกว่าที่พักแขนของเก้าอี้รถเข็นเล็กน้อย
  • ชั้นวางของสวิตซ์ไฟ หรือที่ชาร์จโทรศัพท์ต้องมีความสูงพอเหมาะที่ผู้ใช้เก้าอี้รถเข็นจะเอื้อมถึง หรือประมาณ 38 หรือ 120 เซนติเมตร

 

 

 

     6. ห้องครัว

  • บริเวณที่เตรียมอาหารหรือปรุงอาหาร ควรมีเก้าอี้เตี้ย ๆ ไว้สำหรับเป็นที่พักเท้า
  • จัดวางของต่าง ๆ ให้อยู่ในระยะที่เอื้อมหยิบได้ง่าย

 

 

 

     7. ห้องน้ำ

  • ห้องน้ำ ควรมีระยะห่างจากห้องนอนผู้สูงอายุไม่เกิน 2 - 3 เมตร เนื่องจากอาจเกิดปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ที่มักจะพบบ่อยมากในกลุ่มผู้สูงอายุ
  • ควรมีพื้นที่กว้างพอ ที่เก้าอี้รถเข็นจะเข้าไปได้ คือมากกว่า 1.5 x 1.5 ตารางเมตร
  • ควรจัดให้มีราวจับติดผนังรอบ ๆ ชักโครก หรือเก้าอี้นั่งอาบน้ำ
  • ควรมีราวจับความสูงที่พอเหมาะ คือประมาณ 85 - 90 เชนติเมตรและความยาวไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของราวจับที่เหมาะสม ประมาณ 32 - 5.1 เชนติเมตร และควรติดให้ห่างจากนิ้วมือเข้าไปจับได้สะดวก ผนังมากกว่า 3.8 เชนติเมตร เพื่อให้สามารถสอดนิ้วมือเข้าไปจับได้สะดวก
  • โถส้วม ควรเป็นแบบชักโครก หรืออาจใช้เก้าอี้ถ่าย โดยความสูงที่เหมาะสมของชักโครก จะอยู่ที่ประมาณ 43 ถึง 48 เซนติเมตร อาจนำตัวเสริมเบาะมารองกับโถซักโครกให้มีระตับที่เหมาะสมได้
  • อ่างล้างหน้าควรสูงประมาณ 67 - 90 เชนติเมตรและมีพื้นที่ว่างด้านล่างอ่างล้างหน้า เพื่อสามารถเข็นรถเข็นเข้าไปได้ใกล้
  • พื้นห้องน้ำ ควรระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขัง และไม่ลื่นเมื่อเปียกน้ำ หรืออาจใช้แผ่นกันลื่นวางเป็นจุดก็ได้
  • แสงสว่างเพียงพอ สีของผนังและพื้นห้องน้ำควรใช้สีตัดกัน เพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน
  • ไม่ควรมีธรณีประตู หรือถ้าพื้นมีความต่างระดับ ควรทำสัญลักษณ์ให้เห็นชัดเจน

 

 

 

     8. ห้องนอน

  • ห้องนอนควรอยู่ชั้นล่างสุดของบ้าน มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • เตียงควรสูงประมาณ 45 เชนติเมตร ไม่ควรสูงเกิน 90 เชนติเมตรและไม่ต่ำกว่า 40 เชนติเมตร
  • เฟอร์นิเจอร์ เช่น โซฟา หรือเก้าอี้นั่ง ควรมีความสูงระดับที่พอดี นั่งแล้วเท้าไม่ลอย หรือนั่งแล้วขาเหยียดตรงและไม่งอ สะโพกมากกว่า 90o
  • ที่นอนไม่แข็งหรือนิ่มจนเกินไป อาจจะทำให้ปวดหลัง นอนไม่สบาย ลุกนั่งลำบาก
  • ไม่ควรนอนกับพื้นเพราะจะทำให้การเคลื่อนไหวลำบาก
  • การวางเตียงจะต้องวางไม่ให้ติตผนังจนเกินไป และมีช่องว่างให้ผู้สูงอายุ สามารถ ลุก - นั่ง ได้สะดวก
  • แสงสว่าง ควรมีเพียงพอ หรือเสริมด้วยอุปกรณ์ไฟ Auto ปิด-เปิดอัตโมมัติ สั่งงานด้วยเสียง หรือสั่งงานผ่านมือถือ เป็นต้น

 

 

 

เพราะความสุขของเรา คือ การเห็นคุณกลับมามีสุขภาพที่ดีอีกครั้ง

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

 

 

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง