วิธีสังเกต ยาเสื่อมคุณภาพ

     วันหมดอายุ หรือ วันสิ้นอายุของยา คือ วันที่กำหนดอายุการใช้งานของยา เพื่อแสดงว่ายาดังกล่าวมีคุณภาพตามมาตรฐานตลอดช่วงระยะเวลาก่อนถึงวันสิ้นอายุของยา ซึ่งข้อมูลวันหมดอายุและสภาวะการจัดเก็บยาได้จากการศึกษาความคงตัวของยา ประชาชนในฐานะผู้บริโภคจึงควรทราบวิธีการสังเกตยาหมดอายุ ซึ่งเป็นวิธีการตรวจสอบคุณภาพยาอย่างง่ายที่สามารถทำได้เอง ข้อควรรู้พื้นฐานในการพิจารณาวันหมดอายุของยา เพื่อสังเกตยาเสื่อมสภาพ มีดังนี้

  1. ยาที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ของบริษัทผู้ผลิต สังเกตได้จากวันหมดอายุที่ระบุไว้บนฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ เช่น ที่แผงยา ซองยา เป็นต้น กรณีที่ระบุเฉพาะเดือนและปีที่หมดอายุ วันหมดอายุจะเป็นวันสุดท้ายของเดือน
  2. ยาแบ่งบรรจุล่วงหน้า (pre-pack) จะมีอายุการใช้งาน 1 ปี นับจากวันที่แบ่งบรรจุ
  3. ยาน้ำที่ยังไม่ได้เปิดใช้ มีอายุ 3 ปีนับจากวันผลิต ยาน้ำที่มีสารกันเสียทั้งชนิดรับประทานและใช้ภายนอก หากเปิดใช้แล้วมีอายุไม่เกิน 6 เดือน การเก็บรักษายาจะต่างกันไปตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด
  4. ยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้ง โดยทั่วไปหลังผสมจะมีอายุได้ 7 วัน หากเก็บที่อุณหภูมิห้อง และ 14 วัน หากเก็บในตู้เย็น เนื่องจากไม่มีสารกันเสีย
  5. ยาน้ำเชื่อม หลังเปิดใช้ควรเก็บไว้ไม่เกิน 1 เดือน และเก็บที่อุณหภูมิห้อง (การแช่ตู้เย็นไม่ช่วยยืดอายุยา แต่อาจทำให้ยาตกตะกอน หรือน้ำเชื่อมตกผลึก ยกเว้น azithromycin syrup ต้องเก็บในตู้เย็น)
  6. ยาหยอดตา ยาป้ายตา หากเป็นชนิดที่ใส่สารต้านเชื้อ (preservative) โดยทั่วไปจะมีอายุไม่เกิน 1 เดือนหลังการเปิดใช้ หากเป็นชนิดไม่เติมสารต้านเชื้อควรใช้ให้หมดภายใน 1 วัน วิธีเก็บรักษาปฏิบัติตามฉลากยา

ยาจะมีคุณภาพดีจนถึงวันหมดอายุที่ระบุไว้ได้ หากอยู่ภายใต้การจัดเก็บที่เหมาะสมตามที่แนะนำโดยบริษัทผู้ผลิต แต่หากมีการจัดเก็บยาที่ไม่เหมาะสม ยาอาจเสื่อมสภาพและมีคุณภาพลดลงต่ำกว่ามาตรฐานก่อนวันหมดอายุที่ระบุไว้ ดังนั้นการสังเกตลักษณะทางกายภาพของยาร่วมด้วยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะหากยามีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม ก็อาจอนุมานได้ว่าคุณภาพของยาน่าจะเปลี่ยนแปลงและผู้บริโภคไม่ควรใช้ยานั้นต่อไป

การเสื่อมสภาพของยาเกิดขึ้นได้ใน 3 ลักษณะ คือ

  1. การเสื่อมสภาพทางเคมี ได้แก่ การลดลงของปริมาณตัวยาสำคัญ และการเพิ่มขึ้นของสารสลายตัว
  2. การเสื่อมสภาพทางกายภาพ ได้แก่ ความผิดปกติของสี กลิ่น รสชาติ ความใส หรือการเกิดตะกอน
  3. การเสื่อมสภาพทางจุลชีววิทยา ได้แก่ การปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียเกินระดับปลอดภัย

ตัวอย่างลักษณะยาที่เสื่อมสภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โทร 1474 กด 2 

     วันหมดอายุ หรือ วันสิ้นอายุของยา คือ วันที่กำหนดอายุการใช้งานของยา เพื่อแสดงว่ายาดังกล่าวมีคุณภาพตามมาตรฐานตลอดช่วงระยะเวลาก่อนถึงวันสิ้นอายุของยา ซึ่งข้อมูลวันหมดอายุและสภาวะการจัดเก็บยาได้จากการศึกษาความคงตัวของยา ประชาชนในฐานะผู้บริโภคจึงควรทราบวิธีการสังเกตยาหมดอายุ ซึ่งเป็นวิธีการตรวจสอบคุณภาพยาอย่างง่ายที่สามารถทำได้เอง ข้อควรรู้พื้นฐานในการพิจารณาวันหมดอายุของยา เพื่อสังเกตยาเสื่อมสภาพ มีดังนี้

  1. ยาที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ของบริษัทผู้ผลิต สังเกตได้จากวันหมดอายุที่ระบุไว้บนฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ เช่น ที่แผงยา ซองยา เป็นต้น กรณีที่ระบุเฉพาะเดือนและปีที่หมดอายุ วันหมดอายุจะเป็นวันสุดท้ายของเดือน
  2. ยาแบ่งบรรจุล่วงหน้า (pre-pack) จะมีอายุการใช้งาน 1 ปี นับจากวันที่แบ่งบรรจุ
  3. ยาน้ำที่ยังไม่ได้เปิดใช้ มีอายุ 3 ปีนับจากวันผลิต ยาน้ำที่มีสารกันเสียทั้งชนิดรับประทานและใช้ภายนอก หากเปิดใช้แล้วมีอายุไม่เกิน 6 เดือน การเก็บรักษายาจะต่างกันไปตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด
  4. ยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้ง โดยทั่วไปหลังผสมจะมีอายุได้ 7 วัน หากเก็บที่อุณหภูมิห้อง และ 14 วัน หากเก็บในตู้เย็น เนื่องจากไม่มีสารกันเสีย
  5. ยาน้ำเชื่อม หลังเปิดใช้ควรเก็บไว้ไม่เกิน 1 เดือน และเก็บที่อุณหภูมิห้อง (การแช่ตู้เย็นไม่ช่วยยืดอายุยา แต่อาจทำให้ยาตกตะกอน หรือน้ำเชื่อมตกผลึก ยกเว้น azithromycin syrup ต้องเก็บในตู้เย็น)
  6. ยาหยอดตา ยาป้ายตา หากเป็นชนิดที่ใส่สารต้านเชื้อ (preservative) โดยทั่วไปจะมีอายุไม่เกิน 1 เดือนหลังการเปิดใช้ หากเป็นชนิดไม่เติมสารต้านเชื้อควรใช้ให้หมดภายใน 1 วัน วิธีเก็บรักษาปฏิบัติตามฉลากยา

ยาจะมีคุณภาพดีจนถึงวันหมดอายุที่ระบุไว้ได้ หากอยู่ภายใต้การจัดเก็บที่เหมาะสมตามที่แนะนำโดยบริษัทผู้ผลิต แต่หากมีการจัดเก็บยาที่ไม่เหมาะสม ยาอาจเสื่อมสภาพและมีคุณภาพลดลงต่ำกว่ามาตรฐานก่อนวันหมดอายุที่ระบุไว้ ดังนั้นการสังเกตลักษณะทางกายภาพของยาร่วมด้วยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะหากยามีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม ก็อาจอนุมานได้ว่าคุณภาพของยาน่าจะเปลี่ยนแปลงและผู้บริโภคไม่ควรใช้ยานั้นต่อไป

การเสื่อมสภาพของยาเกิดขึ้นได้ใน 3 ลักษณะ คือ

  1. การเสื่อมสภาพทางเคมี ได้แก่ การลดลงของปริมาณตัวยาสำคัญ และการเพิ่มขึ้นของสารสลายตัว
  2. การเสื่อมสภาพทางกายภาพ ได้แก่ ความผิดปกติของสี กลิ่น รสชาติ ความใส หรือการเกิดตะกอน
  3. การเสื่อมสภาพทางจุลชีววิทยา ได้แก่ การปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียเกินระดับปลอดภัย

ตัวอย่างลักษณะยาที่เสื่อมสภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โทร 1474 กด 2 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง