กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ รักษาได้อย่างไร?

   ภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด (Genuine stress urinary incontinence) คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary incontinence) ในขณะไอ จาม เดิน วิ่ง หรือยกของหนัก เกิดจากท่อปัสสาวะไม่สามารถปิดได้สนิทเมื่อมีกิจกรรมที่เพิ่มความดันภายในช่องท้อง ในขณะกักเก็บน้ำปัสสาวะ มักจะเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

สาเหตุที่ทำให้ท่อปัสสาวะปิดไม่สนิท เกิดได้จาก

  1. เยื่อบุท่อปัสสาวะฝ่อ (Atrophic urethra) เช่นในผู้ป่วยหมดประจำเดือน
  2. กล้ามเนื้อท่อปัสสาวะ หูรูดท่อปัสสาวะ และอุ้งเชิงกรานบาดเจ็บฉีกขาด ไม่แข็งแรง (Muscle weakness) จากการผ่าตัด การตั้งครรภ์และคลอดบุตร  
  3. เนื้อเยื่อรองรับท่อปัสสาวะฉีกขาดหรือหย่อน (Loss of urethral support) จากการผ่าตัด การตั้งครรภ์และคลอดบุตร  
  4. ระบบประสาทควบคุมกล้ามเนื้อและหูรูดท่อปัสสาวะบกพร่อง (Neurogenic urethral dysfunction) จากโรคหรือภาวะผิดปกติทางสมองและไขสันหลัง

อาการ

   ผู้ป่วยจะมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สัมพันธ์กับกิจกรรมที่เพิ่มความดันภายในช่องท้อง เช่น ไอ จาม เดิน วิ่ง หรือยกของหนัก หรือเรียกว่าอาการไอจามปัสสาวะเล็ด (Symptomatic stress urinary incontinence) สิ่งที่ผู้ป่วยพึงระลึกไว้เสมอคือ อาการไอจามปัสสาวะเล็ดไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยมีภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด (Genuine stress urinary incontinence) อาจจะเกิดจากความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างที่มีความซับซ้อนมากกว่าท่อปัสสาวะปิดไม่สนิท 

ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้

  1. มีประวัติการตั้งครรภ์และคลอดบุตรทางช่องคลอด หรือมีประวัติการคลอดบุตรยากต้องใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด
  2. น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์
  3. สูบบุหรี่เป็นประจำ
  4. มีประวัติการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุที่บริเวณอุ้งเชิงกราน
  5. มีประวัติโรคหรือภาวะผิดปกติทางสมองและไขสันหลัง
  6. การได้รับยารักษาโรคประจำตัวบางชนิด เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงกลุ่ม Alpha-blockers  

การรักษา

  1. การหยุดสูบบุหรี่ และลดน้ำหนัก
  2. การใช้แผ่นซึมซับหรือผ้าอ้อม ในรายที่ไม่ต้องการรับการรักษาเนื่องจากอาการไม่มาก หรือไม่สามารถให้การรักษาได้เนื่องจากมีความเสี่ยงหรืออาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการรักษา
  3. การฝึกกายบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอย่างถูกวิธี ทั้งการฝึกขมิบเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและคลายเต็มที่เพื่อให้สามารถปัสสาวะออกได้สะดวก  
  4. การใช้ยารับประทานหรือยาเหน็บช่องคลอด ได้แก่ ยาฮอร์โมนเอสโทรเจน ยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิดที่ส่งผลให้กล้ามเนื้อท่อปัสสาวะและหูรูดท่อปัสสาวะมีการหดเกร็งมากขึ้น ทั้งนี้จำเป็นที่จะต้องพิจารณาผลดีผลเสียและข้อห้ามของการใช้ยาแต่ละชนิด     
  5. การใช้เครื่องกระตุ้นเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน มักจะใช้ในรายที่ไม่สามารถทำการฝึกกายบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอย่างถูกวิธี
  6. การผ่าตัดแก้ไขกลั้นปัสสาวะไม่อยู่  ซึ่งเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง ในขณะเดียวกันทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าวิธีการรักษาอื่นข้างต้น ได้แก่ ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ภาวะปัสสาวะไม่ออกหรือออกลำบาก ภาวะปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง   

   ภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด (Genuine stress urinary incontinence) เป็นภาวะที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต (Quality of life) แต่ไม่ใช่ภาวะที่ส่งผลอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต (Life-threatening condition) ดังนั้นการพิจารณาให้การรักษา ผู้ป่วยมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา ตามข้อมูลผลดีและผลเสียที่แพทย์ให้

   อาการไอจามปัสสาวะเล็ด (Symptomatic stress urinary incontinence) ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยมีภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด (Genuine stress urinary incontinence) อาจจะเกิดจากความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างที่มีความซับซ้อนมากกว่าท่อปัสสาวะปิดไม่สนิท ดังนั้นการได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสม ก่อนให้การรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมากลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้น และเกิดผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยที่สุด    

ข้อมูลจาก : รศ. นพ. ภควัฒน์ ระมาตร์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A

   ภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด (Genuine stress urinary incontinence) คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary incontinence) ในขณะไอ จาม เดิน วิ่ง หรือยกของหนัก เกิดจากท่อปัสสาวะไม่สามารถปิดได้สนิทเมื่อมีกิจกรรมที่เพิ่มความดันภายในช่องท้อง ในขณะกักเก็บน้ำปัสสาวะ มักจะเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

สาเหตุที่ทำให้ท่อปัสสาวะปิดไม่สนิท เกิดได้จาก

  1. เยื่อบุท่อปัสสาวะฝ่อ (Atrophic urethra) เช่นในผู้ป่วยหมดประจำเดือน
  2. กล้ามเนื้อท่อปัสสาวะ หูรูดท่อปัสสาวะ และอุ้งเชิงกรานบาดเจ็บฉีกขาด ไม่แข็งแรง (Muscle weakness) จากการผ่าตัด การตั้งครรภ์และคลอดบุตร  
  3. เนื้อเยื่อรองรับท่อปัสสาวะฉีกขาดหรือหย่อน (Loss of urethral support) จากการผ่าตัด การตั้งครรภ์และคลอดบุตร  
  4. ระบบประสาทควบคุมกล้ามเนื้อและหูรูดท่อปัสสาวะบกพร่อง (Neurogenic urethral dysfunction) จากโรคหรือภาวะผิดปกติทางสมองและไขสันหลัง

อาการ

   ผู้ป่วยจะมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สัมพันธ์กับกิจกรรมที่เพิ่มความดันภายในช่องท้อง เช่น ไอ จาม เดิน วิ่ง หรือยกของหนัก หรือเรียกว่าอาการไอจามปัสสาวะเล็ด (Symptomatic stress urinary incontinence) สิ่งที่ผู้ป่วยพึงระลึกไว้เสมอคือ อาการไอจามปัสสาวะเล็ดไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยมีภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด (Genuine stress urinary incontinence) อาจจะเกิดจากความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างที่มีความซับซ้อนมากกว่าท่อปัสสาวะปิดไม่สนิท 

ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้

  1. มีประวัติการตั้งครรภ์และคลอดบุตรทางช่องคลอด หรือมีประวัติการคลอดบุตรยากต้องใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด
  2. น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์
  3. สูบบุหรี่เป็นประจำ
  4. มีประวัติการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุที่บริเวณอุ้งเชิงกราน
  5. มีประวัติโรคหรือภาวะผิดปกติทางสมองและไขสันหลัง
  6. การได้รับยารักษาโรคประจำตัวบางชนิด เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงกลุ่ม Alpha-blockers  

การรักษา

  1. การหยุดสูบบุหรี่ และลดน้ำหนัก
  2. การใช้แผ่นซึมซับหรือผ้าอ้อม ในรายที่ไม่ต้องการรับการรักษาเนื่องจากอาการไม่มาก หรือไม่สามารถให้การรักษาได้เนื่องจากมีความเสี่ยงหรืออาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการรักษา
  3. การฝึกกายบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอย่างถูกวิธี ทั้งการฝึกขมิบเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและคลายเต็มที่เพื่อให้สามารถปัสสาวะออกได้สะดวก  
  4. การใช้ยารับประทานหรือยาเหน็บช่องคลอด ได้แก่ ยาฮอร์โมนเอสโทรเจน ยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิดที่ส่งผลให้กล้ามเนื้อท่อปัสสาวะและหูรูดท่อปัสสาวะมีการหดเกร็งมากขึ้น ทั้งนี้จำเป็นที่จะต้องพิจารณาผลดีผลเสียและข้อห้ามของการใช้ยาแต่ละชนิด     
  5. การใช้เครื่องกระตุ้นเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน มักจะใช้ในรายที่ไม่สามารถทำการฝึกกายบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอย่างถูกวิธี
  6. การผ่าตัดแก้ไขกลั้นปัสสาวะไม่อยู่  ซึ่งเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง ในขณะเดียวกันทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าวิธีการรักษาอื่นข้างต้น ได้แก่ ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ภาวะปัสสาวะไม่ออกหรือออกลำบาก ภาวะปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง   

   ภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด (Genuine stress urinary incontinence) เป็นภาวะที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต (Quality of life) แต่ไม่ใช่ภาวะที่ส่งผลอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต (Life-threatening condition) ดังนั้นการพิจารณาให้การรักษา ผู้ป่วยมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา ตามข้อมูลผลดีและผลเสียที่แพทย์ให้

   อาการไอจามปัสสาวะเล็ด (Symptomatic stress urinary incontinence) ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยมีภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด (Genuine stress urinary incontinence) อาจจะเกิดจากความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างที่มีความซับซ้อนมากกว่าท่อปัสสาวะปิดไม่สนิท ดังนั้นการได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสม ก่อนให้การรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมากลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้น และเกิดผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยที่สุด    

ข้อมูลจาก : รศ. นพ. ภควัฒน์ ระมาตร์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง