ปัสสาวะปนเลือด อย่านิ่งนอนใจ

     ปัสสาวะเป็นเลือด คือ การที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในปัสสาวะซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ชนิดคือ เลือดออกในระบบปัสสาวะเป็นปริมาณมากจนสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาจมองเห็นปัสสาวะเป็นเลือดสด สีแดงจางๆ สีชมพู หรือสีดำคล้ำ ปนลิ่มเลือด  ส่วนอีกชนิดคือปริมาณเลือดที่ออกไม่มาก จึงไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าต้องใช้การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น ผู้ป่วยจะเห็นปัสสาวะเป็นสีเหลืองใส แต่ตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจสุขภาพประจำปี การที่มีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะนั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะผิดปกติต่างๆ ที่ร้ายแรงและโรคมะเร็งบางชนิดได้

อาการของปัสสาวะเป็นเลือด

     ผู้ป่วยจะมีอาการหลักคือปัสสาวะแดงขึ้น อาจเป็นสีชมพู สีแดง สีน้ำตาลคล้ำ อาจปนลิ่มเลือดออกมาด้วย หากไม่มีอาการปวดร่วมด้วย สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ เลือดออกจากเนื้องอก มะเร็ง หรือหลอดเลือดของไตผิดปกติ หากพบร่วมกับอาการปวดท้อง บั้นเอว หรือปัสสาวะแสบขัด มักมีสาเหตุที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อ การอุดตันของทางเดินปัสสาวะจาก นิ่ว หรือ เนื้องอก โดยความรุนแรงหรือลักษณะอาการจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุ

สาเหตุของปัสสาวะเป็นเลือด

     เกิดจากการเลือดออกจากอวัยวะที่ปัสสาวะไหลผ่าน ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยแบ่งออกได้ดังนี้

เลือดออกจากไต

  • นิ่วในไต (Renal stone)
  • เนื้องอกในไต (Renal tumor)
  • โรคไตบางชนิด เช่น ไตอักเสบ (Glomerulonephritis) ซึ่งเป็นหน่วยทำหน้าที่กรองของเสียและน้ำออกมาเป็นปัสสาวะ

เลือดออกจากท่อไต

  • เนื้องอกในท่อไต (Ureteric tumor)
  • นิ่วในท่อไต (Ureteric stone)

เลือดออกจากกระเพาะปัสสาวะ

  • เนื้องอกกระเพาะปัสสาวะ (Bladder tumor)
  • ติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ (Cystitis)
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder stone)

เลือดออกจากต่อมลูกหมากและท่อปัสสาวะ

  • โรคต่อมลูกหมากโต (Enlarged Prostate)
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer)
  • ท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethritis)

สาเหตุอื่นๆ

  • ภาวะเลือดออกผิดปกติ (Bleeding Disorders) เช่น โรคเลือดออกไม่หยุดจากพันธุกรรม (Hemophilia) และโรคความผิดปกติในการแข็งตัวของเกล็ดเลือด วอน วิลแบรนด์ (Von Willebrand’s Disease)
  • การใช้ยาต้านการเกล็ดเลือดและยาละลายลิ่มเลือดปริมาณสูง เช่น ยาแอสไพริน (Aspirin) วาฟาริน (Warfarin) และยาเฮพาริน (Heparin)
  • ออกกำลังกายอย่างหนัก อาจทำให้ปัสสาวะปนเลือดหลังจากที่ออกกำลังกายได้

การส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยในผู้ป่วยปัสสาวะเป็นเลือด

     เพื่อยืนยันภาวะปัสสาวะเป็นเลือด ควรตรวจปัสสาวะโดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู หากพบเม็ดเลือดแดงมากกว่า 3 ตัว จะยืนยันการปัสสาวะเป็นเลือด และควรทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุให้แน่ชัด คือ

  • ตรวจเลือด สามารถตรวจดูระดับครีอะตินีน (Creatinine) ในเลือด ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงประสิทธิภาพการทำงานของไต โดยหากมีระดับครีอะตินีนในเลือดสูงนั่นก็อาจหมายถึงการทำงานของไตเสื่อมลง
  • ตรวจวินิจฉัยด้วยการดูลักษณะของไตและท่อไตโดย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องและระบบปัสสาวะ (CT urography) หรือ ตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณช่องท้อง (MRI)
  • ตรวจดูเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะใช้การส่องกล้องภายในกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy) ช่วยให้แพทย์สามารถพิจารณาสาเหตุของเลือดออกจากท่อปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะได้

     สำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่พบสาเหตุของปัสสาวะเป็นเลือดในการตรวจเบื้องต้นและอาการทุเลาลงแล้ว แพทย์แนะนำให้ตรวจปัสสาวะเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต้องสัมผัสกับสารพิษ หรือมีประวัติเคยได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสี

     ปัสสาวะเป็นเลือดอาจเป็นอาการของโรคร้าย ดังนั้นควรหมั่นสังเกตลักษณะของปัสสาวะรวมถึงอาการที่พบร่วม หากพบความผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์ ทางที่ดีที่สุดควรมารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากมีความผิดปกติจะได้มีโอกาสรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A

ข้อมูลจาก: พญ. กานติมา จงจิตอารี

ปัสสาวะเป็นเลือด คือ การที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในปัสสาวะซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ชนิดคือ เลือดออกในระบบปัสสาวะเป็นปริมาณมากจนสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาจมองเห็นปัสสาวะเป็นเลือดสด สีแดงจางๆ สีชมพู หรือสีดำคล้ำ ปนลิ่มเลือด  ส่วนอีกชนิดคือปริมาณเลือดที่ออกไม่มาก จึงไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าต้องใช้การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น ผู้ป่วยจะเห็นปัสสาวะเป็นสีเหลืองใส แต่ตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจสุขภาพประจำปี การที่มีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะนั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะผิดปกติต่างๆ ที่ร้ายแรงและโรคมะเร็งบางชนิดได้

อาการของปัสสาวะเป็นเลือด

     ผู้ป่วยจะมีอาการหลักคือปัสสาวะแดงขึ้น อาจเป็นสีชมพู สีแดง สีน้ำตาลคล้ำ อาจปนลิ่มเลือดออกมาด้วย หากไม่มีอาการปวดร่วมด้วย สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ เลือดออกจากเนื้องอก มะเร็ง หรือหลอดเลือดของไตผิดปกติ หากพบร่วมกับอาการปวดท้อง บั้นเอว หรือปัสสาวะแสบขัด มักมีสาเหตุที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อ การอุดตันของทางเดินปัสสาวะจาก นิ่ว หรือ เนื้องอก โดยความรุนแรงหรือลักษณะอาการจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุ

สาเหตุของปัสสาวะเป็นเลือด

     เกิดจากการเลือดออกจากอวัยวะที่ปัสสาวะไหลผ่าน ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยแบ่งออกได้ดังนี้

เลือดออกจากไต

  • นิ่วในไต (Renal stone)
  • เนื้องอกในไต (Renal tumor)
  • โรคไตบางชนิด เช่น ไตอักเสบ (Glomerulonephritis) ซึ่งเป็นหน่วยทำหน้าที่กรองของเสียและน้ำออกมาเป็นปัสสาวะ

เลือดออกจากท่อไต

  • เนื้องอกในท่อไต (Ureteric tumor)
  • นิ่วในท่อไต (Ureteric stone)

เลือดออกจากกระเพาะปัสสาวะ

  • เนื้องอกกระเพาะปัสสาวะ (Bladder tumor)
  • ติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ (Cystitis)
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder stone)

เลือดออกจากต่อมลูกหมากและท่อปัสสาวะ

  • โรคต่อมลูกหมากโต (Enlarged Prostate)
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer)
  • ท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethritis)

สาเหตุอื่นๆ

  • ภาวะเลือดออกผิดปกติ (Bleeding Disorders) เช่น โรคเลือดออกไม่หยุดจากพันธุกรรม (Hemophilia) และโรคความผิดปกติในการแข็งตัวของเกล็ดเลือด วอน วิลแบรนด์ (Von Willebrand’s Disease)
  • การใช้ยาต้านการเกล็ดเลือดและยาละลายลิ่มเลือดปริมาณสูง เช่น ยาแอสไพริน (Aspirin) วาฟาริน (Warfarin) และยาเฮพาริน (Heparin)
  • ออกกำลังกายอย่างหนัก อาจทำให้ปัสสาวะปนเลือดหลังจากที่ออกกำลังกายได้

การส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยในผู้ป่วยปัสสาวะเป็นเลือด

     เพื่อยืนยันภาวะปัสสาวะเป็นเลือด ควรตรวจปัสสาวะโดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู หากพบเม็ดเลือดแดงมากกว่า 3 ตัว จะยืนยันการปัสสาวะเป็นเลือด และควรทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุให้แน่ชัด คือ

  • ตรวจเลือด สามารถตรวจดูระดับครีอะตินีน (Creatinine) ในเลือด ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงประสิทธิภาพการทำงานของไต โดยหากมีระดับครีอะตินีนในเลือดสูงนั่นก็อาจหมายถึงการทำงานของไตเสื่อมลง
  • ตรวจวินิจฉัยด้วยการดูลักษณะของไตและท่อไตโดย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องและระบบปัสสาวะ (CT urography) หรือ ตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณช่องท้อง (MRI)
  • ตรวจดูเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะใช้การส่องกล้องภายในกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy) ช่วยให้แพทย์สามารถพิจารณาสาเหตุของเลือดออกจากท่อปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะได้

     สำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่พบสาเหตุของปัสสาวะเป็นเลือดในการตรวจเบื้องต้นและอาการทุเลาลงแล้ว แพทย์แนะนำให้ตรวจปัสสาวะเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต้องสัมผัสกับสารพิษ หรือมีประวัติเคยได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสี

     ปัสสาวะเป็นเลือดอาจเป็นอาการของโรคร้าย ดังนั้นควรหมั่นสังเกตลักษณะของปัสสาวะรวมถึงอาการที่พบร่วม หากพบความผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์ ทางที่ดีที่สุดควรมารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากมีความผิดปกติจะได้มีโอกาสรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A

ข้อมูลจาก: พญ. กานติมา จงจิตอารี


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง