7 วิธีสร้างภูมิคุ้มกันต้านหวัด

 ช่วงฤดูฝน ฝนตกบ่อยก็อาจทำให้เป็นหวัดได้ หากไม่ได้เตรียมภูมิคุ้มกันร่างกายให้พร้อมรับมือกับหน้าฝนนี้อาจทำให้ป่วยเป็นไข้หวัดได้ วิธีการเสริมภูมิคุ้มกันสามารถทำได้ง่ายโดยการปฏิบัติตัวตามแนวทางทั้ง 7 นี้

1. การรับประทานผักและผลไม้ให้หลากหลาย ในปริมาณที่เหมาะสม (ผักสุก 3 ทัพพี ผลไม้ 2 จานเล็กขนาดเท่าจานรองกาแฟ) ต่อวันก็ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณวิตามินซี และใยอาหารเพียงพอที่จะเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้แล้ว

2. รักษาระดับน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ มีการศึกษาว่า ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน (BMI >22.9 kg/m2) มีโอกาสที่จะป่วยเป็นหวัดได้นานกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ 1.5 เท่า ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อหวัดได้ และผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานมีความเสี่ยงที่จะมีอาการข้างเคียงจากการเป็นไข้หวัดมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ

วิธีการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 

3. ควรล้างมือก่อนการปรุงอาหาร และก่อนรับประทานอาหารเพื่อป้องกันการได้รับเชื้อโรคจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย

4. ออกกำลังกายมากกว่า 30 นาทีต่อวัน เพื่อเพิ่มการหมุนเวียนของเลือด ให้เม็ดเลือดขาวสามารถเก็บกินสิ่งแปลกปลอมได้มากขึ้น ทำให้โอกาสเป็นหวัดน้อยลง

5. นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 - 8 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้ร่างกายได้ผ่อนคลายความตึงเครียด คลายกังวล เพราะขณะหลับร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินที่เปรียบเสมือนนาฬิกาของร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติและเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายได้

6. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ

7. หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำและฉีดวัคซีนตามคำแนะนำของแพทย์

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

 ช่วงฤดูฝน ฝนตกบ่อยก็อาจทำให้เป็นหวัดได้ หากไม่ได้เตรียมภูมิคุ้มกันร่างกายให้พร้อมรับมือกับหน้าฝนนี้อาจทำให้ป่วยเป็นไข้หวัดได้ วิธีการเสริมภูมิคุ้มกันสามารถทำได้ง่ายโดยการปฏิบัติตัวตามแนวทางทั้ง 7 นี้

1. การรับประทานผักและผลไม้ให้หลากหลาย ในปริมาณที่เหมาะสม (ผักสุก 3 ทัพพี ผลไม้ 2 จานเล็กขนาดเท่าจานรองกาแฟ) ต่อวันก็ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณวิตามินซี และใยอาหารเพียงพอที่จะเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้แล้ว

2. รักษาระดับน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ มีการศึกษาว่า ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน (BMI >22.9 kg/m2) มีโอกาสที่จะป่วยเป็นหวัดได้นานกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ 1.5 เท่า ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อหวัดได้ และผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานมีความเสี่ยงที่จะมีอาการข้างเคียงจากการเป็นไข้หวัดมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ

วิธีการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 

3. ควรล้างมือก่อนการปรุงอาหาร และก่อนรับประทานอาหารเพื่อป้องกันการได้รับเชื้อโรคจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย

4. ออกกำลังกายมากกว่า 30 นาทีต่อวัน เพื่อเพิ่มการหมุนเวียนของเลือด ให้เม็ดเลือดขาวสามารถเก็บกินสิ่งแปลกปลอมได้มากขึ้น ทำให้โอกาสเป็นหวัดน้อยลง

5. นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 - 8 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้ร่างกายได้ผ่อนคลายความตึงเครียด คลายกังวล เพราะขณะหลับร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินที่เปรียบเสมือนนาฬิกาของร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติและเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายได้

6. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ

7. หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำและฉีดวัคซีนตามคำแนะนำของแพทย์

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง