โรคไทรอยด์เป็นพิษ คือ อะไร?

     โรคไทรอยด์เป็นพิษ คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากผิดปกติ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้มีการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินความจำเป็น ซึ่งจะส่งผลทำให้มีอาการและอาการแสดงจากอวัยวะต่าง ๆ ได้หลายระบบ

     อาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษ

     อาการของไทรอยด์เป็นพิษ ได้แก่ ใจสั่น มือสั่น เหนื่อยง่ายกว่าปกติ น้ำหนักลดลง ถ่ายอุจจาระบ่อยหรือถ่ายเหลวมากขึ้น อาจมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ในบางรายอาจมีปัญหานอนไม่หลับ หรือในเพศหญิงอาจมีประจำเดือนมาผิดปกติแบบประจำเดือนมาน้อยลงหรือรอบประจำเดือนห่างมากขึ้น โรคไทรอยด์เป็นพิษในผู้ป่วยบางรายพบมีต่อมไทรอยด์ที่อยู่บริเวณคอมีขนาดโตมากขึ้น บางรายอาจพบลักษณะตาโปนมากขึ้นได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษพบมีหัวใจเต้นเร็วขึ้นและก็อาจมีหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วย

    การวินิจฉัยโรคไทรอยด์เป็นพิษ

     แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจเลือดยืนยันทางห้องปฎิบัติการเพื่อวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid function test) โดยผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษจะพบมีผลเลือดฮอร์โมนไทรอยด์สูงกว่าค่าปกติ

    การรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ

     การรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ มีการรักษาหลักๆ 3 วิธี ได้แก่ การรับประทานยาลดฮอร์โมนไทรอยด์ การรับประทานน้ำแร่รังสีไอโอดีน และ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนหรือตัดต่อมไทรอยด์ทั้งหมด การรักษาหลักและการรักษาในครั้งแรกแพทย์จะให้การรักษาด้วยยาลดฮอร์โมนไทรอยด์ ผู้ป่วยควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปรับยาหรือหยุดยาเองเมื่ออาการดีขึ้น และติดตามการรักษาสม่ำเสมอตามแพทย์นัดหมาย    โดยทั่วไปเมื่ออาการต่างๆและผลตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์จะค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ หลังจากนั้นแพทย์จะพิจารณาปรับลดขนาดยาลงจนเหลือขนาดต่ำที่สุดที่สามารถควบคุมโรคได้ และพิจารณาหยุดยาเมื่อโรคสงบ ซึ่งผู้ป่วยส่วนหนึ่งสามารถหยุดยาได้เมื่อรับประทานยาลดฮอร์โมนไทรอยด์อย่างน้อย 18-24 เดือน   นอกจากนี้แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานยาเพื่อช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจ ลดอาการใจสั่นในช่วงแรกของการวินิจฉัยหรือในรายที่มีอาการใจสั่นหรือตรวจพบชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ

    ในกรณีที่รักษาด้วยการรับประทานยาแล้วไม่ได้ผล หรือมีผลข้างเคียงจากยา แพทย์จะพิจารณาเปลี่ยนวิธีการรักษา เป็นการรักษาด้วยการกลืนน้ำแร่ไอโอดีน ซึ่งจะทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนน้อยลงหรือการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนหรือทั้งหมด อย่างไรก็ตามการเลือกวิธีการรักษาใดแพทย์จะพิจารณาการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

    ข้อควรระวังเมื่อได้รับการรักษาด้วยยาลดฮอร์โมนไทรอยด์

     ยาลดฮอร์โมนไทรอยด์ในปัจจุบันมี 2 ชนิด ได้แก่ ยาโพรพิลไทโอยูราซิล (propylthiouracil) และ ยาเมไทมาโซล (methimazole) ยาทั้ง 2 ชนิดมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ แต่มีผลข้างเคียง เช่น ผื่นคัน หรือผื่นแพ้ยาได้ ดังนั้นถ้าได้ยาแล้วมีอาการคันหรือผื่นแพ้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ นอกจากนี้ยายังทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ ดังนั้นในระหว่างรับประทานยาลดฮอร์โมนไทรอยด์ ถ้ามีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ ควรไปพบแพทย์และแจ้งให้แพทย์ทราบว่ารับประทานยาดังกล่าวอยู่ เนื่องจากแพทย์จำเป็นต้องตรวจเลือดเพื่อดูจำนวนเม็ดเลือดขาว และหยุดยาลดฮอร์โมนไทรอยด์และพิจารณาเปลี่ยนวิธีการรักษาแบบอื่นตามความเหมาะสม

     โรคไทรอยด์เป็นพิษมีอาการแสดงได้หลากหลาย ดังนั้นหากมีอาการที่สงสัยภาวะไทรอยด์ป็นพิษควรรีบพบแพทย์ เพื่อส่งตรวจทางห้องปฎิบัติยืนยัน และให้การรักษาอย่างเหมาะสม เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกช้อนรุนแรง และเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้ในผู้ป่วยบางราย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D

    โรคไทรอยด์เป็นพิษ คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากผิดปกติ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้มีการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินความจำเป็น ซึ่งจะส่งผลทำให้มีอาการและอาการแสดงจากอวัยวะต่าง ๆ ได้หลายระบบ

     อาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษ

     อาการของไทรอยด์เป็นพิษ ได้แก่ ใจสั่น มือสั่น เหนื่อยง่ายกว่าปกติ น้ำหนักลดลง ถ่ายอุจจาระบ่อยหรือถ่ายเหลวมากขึ้น อาจมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ในบางรายอาจมีปัญหานอนไม่หลับ หรือในเพศหญิงอาจมีประจำเดือนมาผิดปกติแบบประจำเดือนมาน้อยลงหรือรอบประจำเดือนห่างมากขึ้น โรคไทรอยด์เป็นพิษในผู้ป่วยบางรายพบมีต่อมไทรอยด์ที่อยู่บริเวณคอมีขนาดโตมากขึ้น บางรายอาจพบลักษณะตาโปนมากขึ้นได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษพบมีหัวใจเต้นเร็วขึ้นและก็อาจมีหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วย

     การวินิจฉัยโรคไทรอยด์เป็นพิษ

     แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจเลือดยืนยันทางห้องปฎิบัติการเพื่อวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid function test) โดยผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษจะพบมีผลเลือดฮอร์โมนไทรอยด์สูงกว่าค่าปกติ

     การรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ

     การรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ มีการรักษาหลักๆ 3 วิธี ได้แก่ การรับประทานยาลดฮอร์โมนไทรอยด์ การรับประทานน้ำแร่รังสีไอโอดีน และ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนหรือตัดต่อมไทรอยด์ทั้งหมด การรักษาหลักและการรักษาในครั้งแรกแพทย์จะให้การรักษาด้วยยาลดฮอร์โมนไทรอยด์ ผู้ป่วยควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปรับยาหรือหยุดยาเองเมื่ออาการดีขึ้น และติดตามการรักษาสม่ำเสมอตามแพทย์นัดหมาย    โดยทั่วไปเมื่ออาการต่างๆและผลตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์จะค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ หลังจากนั้นแพทย์จะพิจารณาปรับลดขนาดยาลงจนเหลือขนาดต่ำที่สุดที่สามารถควบคุมโรคได้ และพิจารณาหยุดยาเมื่อโรคสงบ ซึ่งผู้ป่วยส่วนหนึ่งสามารถหยุดยาได้เมื่อรับประทานยาลดฮอร์โมนไทรอยด์อย่างน้อย 18-24 เดือน   นอกจากนี้แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานยาเพื่อช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจ ลดอาการใจสั่นในช่วงแรกของการวินิจฉัยหรือในรายที่มีอาการใจสั่นหรือตรวจพบชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ

ในกรณีที่รักษาด้วยการรับประทานยาแล้วไม่ได้ผล หรือมีผลข้างเคียงจากยา แพทย์จะพิจารณาเปลี่ยนวิธีการรักษา เป็นการรักษาด้วยการกลืนน้ำแร่ไอโอดีน ซึ่งจะทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนน้อยลงหรือการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนหรือทั้งหมด อย่างไรก็ตามการเลือกวิธีการรักษาใดแพทย์จะพิจารณาการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

     ข้อควรระวังเมื่อได้รับการรักษาด้วยยาลดฮอร์โมนไทรอยด์

     ยาลดฮอร์โมนไทรอยด์ในปัจจุบันมี 2 ชนิด ได้แก่ ยาโพรพิลไทโอยูราซิล (propylthiouracil) และ ยาเมไทมาโซล (methimazole) ยาทั้ง 2 ชนิดมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ แต่มีผลข้างเคียง เช่น ผื่นคัน หรือผื่นแพ้ยาได้ ดังนั้นถ้าได้ยาแล้วมีอาการคันหรือผื่นแพ้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ นอกจากนี้ยายังทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ ดังนั้นในระหว่างรับประทานยาลดฮอร์โมนไทรอยด์ ถ้ามีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ ควรไปพบแพทย์และแจ้งให้แพทย์ทราบว่ารับประทานยาดังกล่าวอยู่ เนื่องจากแพทย์จำเป็นต้องตรวจเลือดเพื่อดูจำนวนเม็ดเลือดขาว และหยุดยาลดฮอร์โมนไทรอยด์และพิจารณาเปลี่ยนวิธีการรักษาแบบอื่นตามความเหมาะสม

    โรคไทรอยด์เป็นพิษมีอาการแสดงได้หลากหลาย ดังนั้นหากมีอาการที่สงสัยภาวะไทรอยด์ป็นพิษควรรีบพบแพทย์ เพื่อส่งตรวจทางห้องปฎิบัติยืนยัน และให้การรักษาอย่างเหมาะสม เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกช้อนรุนแรง และเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้ในผู้ป่วยบางราย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง