วัคซีนภูมิแพ้ ทางเลือกของโรคภูมิแพ้

   การรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้ (Immunotherapy) เป็นวิธีการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยแพ้สารก่อภูมิแพ้น้อยลง โดยการให้สารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้เข้าสู่ร่างกายทีละน้อย การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Immunotherapy) เป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยม โดยใช้เวลารักษาประมาณ 3-5 ปี เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อสารที่แพ้จากภายในร่างกาย ช่วยลดอาการและการใช้ยาลงได้เพราะเป็นการแก้ไขที่สาเหตุทางภูมิคุ้มกันโดยตรง ผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

การรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้เหมาะสำหรับใคร?

  1. ผู้ป่วยโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) โรคเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Conjunctivitis) โรคหืดจากภูมิแพ้ (Allergic Asthma) ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ (Atopic Dermatitis)
  2. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมอาการแพ้ได้ด้วยยา หรือได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยา
  3. ผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ได้
  4. ผู้ที่แพ้แมลงอย่างรุนแรง

การเตรียมตัวก่อนมารับวัคซีนภูมิแพ้

  1. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด ควรใช้ยาคุมอาการให้ดีขึ้นก่อน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหลังรับวัคซีนภูมิแพ้
  2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคไต ที่จำเป็นต้องใช้ยาที่เกี่ยวข้องกับความดันเลือด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน
  3. กรณีที่มีการตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง
  4. สามารถรับประทานยาที่ทานอยู่เป็นประจำตามแพทย์สั่งได้ เช่น ยาแก้หอบหืด หรือยาแก้แพ้ ไม่ควรหยุดใช้ยาเอง

ขั้นตอนในการรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้

  1. หาสาเหตุของการแพ้ โดยวิธีการสะกิดผิวหนัง (Skin Prick Test) หรือการตรวจเลือด แล้วนำข้อมูลส่วนนั้นมาผสมทำวัคซีน
  2. เริ่มฉีดวัคซีนที่เจือจางที่สุดเข้าทางชั้นใต้ผิวหนังประมาณ 5 ครั้ง แล้วจึงค่อยๆ ไล่ระดับจากความเข้มข้นจากต่ำไปหาความเข้มข้นสูง
  3. โดยทั่วไปจะฉีดตามตารางปกติ คือ ฉีดทุกอาทิตย์ หลังจากนั้นจะค่อยๆ ฉีดห่างออกไปจนเหลือแค่เดือนละ 1 ครั้ง ในที่สุด
  4. วัคซีนภูมิแพ้เริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 5 ปี เนื่องจากเด็กต้องสามารถพูดคุยรู้เรื่องและสังเกตุอาการผิดปกติได้

ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้

หลังการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ผู้ป่วยควรนั่งอยู่ในคลินิกประมาณ 30 นาที เพื่อสังเกตอาการแพ้ เช่น ตัวแดง คันทั้งตัว หายใจลำบาก หรืออาจรุนแรงจนถึงขั้นช็อก เพื่อให้แพทย์ทำการฉีดยาแก้แพ้ได้ทันเวลา

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D

   การรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้ (Immunotherapy) เป็นวิธีการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยแพ้สารก่อภูมิแพ้น้อยลง โดยการให้สารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้เข้าสู่ร่างกายทีละน้อย การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Immunotherapy) เป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยม โดยใช้เวลารักษาประมาณ 3-5 ปี เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อสารที่แพ้จากภายในร่างกาย ช่วยลดอาการและการใช้ยาลงได้เพราะเป็นการแก้ไขที่สาเหตุทางภูมิคุ้มกันโดยตรง ผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

การรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้เหมาะสำหรับใคร?

  1. ผู้ป่วยโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) โรคเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Conjunctivitis) โรคหืดจากภูมิแพ้ (Allergic Asthma) ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ (Atopic Dermatitis)
  2. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมอาการแพ้ได้ด้วยยา หรือได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยา
  3. ผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ได้
  4. ผู้ที่แพ้แมลงอย่างรุนแรง

การเตรียมตัวก่อนมารับวัคซีนภูมิแพ้

  1. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด ควรใช้ยาคุมอาการให้ดีขึ้นก่อน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหลังรับวัคซีนภูมิแพ้
  2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคไต ที่จำเป็นต้องใช้ยาที่เกี่ยวข้องกับความดันเลือด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน
  3. กรณีที่มีการตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง
  4. สามารถรับประทานยาที่ทานอยู่เป็นประจำตามแพทย์สั่งได้ เช่น ยาแก้หอบหืด หรือยาแก้แพ้ ไม่ควรหยุดใช้ยาเอง

ขั้นตอนในการรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้

  1. หาสาเหตุของการแพ้ โดยวิธีการสะกิดผิวหนัง (Skin Prick Test) หรือการตรวจเลือด แล้วนำข้อมูลส่วนนั้นมาผสมทำวัคซีน
  2. เริ่มฉีดวัคซีนที่เจือจางที่สุดเข้าทางชั้นใต้ผิวหนังประมาณ 5 ครั้ง แล้วจึงค่อยๆ ไล่ระดับจากความเข้มข้นจากต่ำไปหาความเข้มข้นสูง
  3. โดยทั่วไปจะฉีดตามตารางปกติ คือ ฉีดทุกอาทิตย์ หลังจากนั้นจะค่อยๆ ฉีดห่างออกไปจนเหลือแค่เดือนละ 1 ครั้ง ในที่สุด
  4. วัคซีนภูมิแพ้เริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 5 ปี เนื่องจากเด็กต้องสามารถพูดคุยรู้เรื่องและสังเกตุอาการผิดปกติได้

ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้

หลังการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ผู้ป่วยควรนั่งอยู่ในคลินิกประมาณ 30 นาที เพื่อสังเกตอาการแพ้ เช่น ตัวแดง คันทั้งตัว หายใจลำบาก หรืออาจรุนแรงจนถึงขั้นช็อก เพื่อให้แพทย์ทำการฉีดยาแก้แพ้ได้ทันเวลา

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง