การรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

     การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม (Joint replacement surgery) เป็นการรักษาข้อเข่าเสื่อม โดยการผ่าตัดที่ตัดผิวข้อส่วนที่เสื่อมออกแล้วทดแทนด้วยโลหะสังเคราะห์ โลหะที่นำมาใช้ส่วนใหญ่ ได้แก่ ไทเทเนียม โคบอลต์โครเมียม เซรามิก และพลาสติกพิเศษ ปัจจุบันเป็นวิธีที่นิยมที่สุด

ประโยชน์ของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

  • ลดอาการปวด
  • แก้ไขความพิการ หรือผิดรูปของข้อเข่า
  • ป้องกันการเสื่อมของข้ออื่นๆ ตามมา
  • แก้ไขอาการข้างเคียงจากการรักษาด้วยวิธีอื่นที่ไม่ประสบความสำเร็จ

การเตรียมสถานที่ที่บ้านให้พร้อมภายหลังการผ่าตัด

  • จัดหาที่ๆ สะดวกให้แก่ผู้ป่วย หากเป็นไปได้ควรให้นอนชั้นล่างในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกภายหลังการผ่าตัด
  • จัดวางสิ่งของในบ้านไม่ให้กีดขวางทางเดิน
  • ทำราวจับในห้องน้ำ และควรเปลี่ยนจากโถส้วมเป็นชักโครก
  • ดูแลความสว่างภายในบ้าน ให้มีแสงสว่างส่องถึงเพียงพอ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุในช่วงเวลากลางคืน
  • จัดหาเก้าอี้สำหรับนั่งภายหลังผ่าตัด ไม่ให้เตี้ยจนเกินไป เก้าอี้ควรมีที่เท้าแขนเพื่อสะดวกเวลาลงนั่ง หรือลุกจากเก้าอี้

สิ่งที่ควรนำติดตัวมาด้วยในวันที่มานอนโรงพยาบาลก่อนการผ่าตัด

  • ผลการตรวจร่างกาย ผลตรวจเลือด และแผ่นฟิล์มเอกซเรย์ข้อเข่าจากโรงพยาบาลอื่น ซึ่งผลการตรวจนั้นมีระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน (ถ้ามี)
  • หากมียารับประทานประจำตัว ให้นำยาที่หน้าซองระบุชื่อและขนาดยามาด้วย
  • แว่นตา ที่ใส่ฟันปลอม (ถ้ามี)
  • หากมีเครื่องช่วยพยุงเดิน (walker) ให้นำมาด้วย (ถ้าสะดวก) เพื่อฝึกการเดินภายหลังการผ่าตัด
  • หากมีเจลประคบเย็น ให้นำมาด้วย เพื่อใช้ประคบบริเวณข้อเข่าภายหลังการผ่าตัด

การฝึกบริหารกล้ามเนื้อก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถฝึกบริหารได้ทันทีที่ทราบว่าจะได้รับการผ่าตัด

ท่าที่ 1 นั่งชิดเก้าอี้ เหยียดเข่าตรง กระดกปลายเท้าขึ้น เกร็งค้างและนับ 1-10 แล้ววางลง นับเป็น 1 ครั้ง ทำข้างละ

20 ครั้ง

ท่าที่ 2 นั่งชิดเก้าอี้ ไขว้ขาโดยขาบนกดขาล่าง และขาล่างเหยียดขึ้นต้านแรงขาบน เกร็งค้างและนับ 1-10 ทำสลับข้างกัน ทำข้างละ 20 ครั้ง

ท่าที่ 3 นอนหงาย ใช้หมอนรองใต้เข่าด้านขวาเพื่อให้เข่างอเล็กน้อย เข่าด้านซ้ายเหยียดตรง นับ 1-10 แล้วทำสลับข้างกัน ทำข้างละ 20 ครั้ง

ท่าที่ 4 นอนหงาย ใช้หมอนรองใต้เข่าด้านขวา เหยียดเข่าซ้ายและยกขึ้นสูงประมาณ 1 ฟุต เกร็งค้างไว้ นับ 1-10 วางลงแล้วทำสลับข้างกัน ทำข้างละ 20 ครั้ง

 นับถอยหลังก่อนวันผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ก่อนการผ่าตัด 6 สัปดาห์

  • ดูแลสุขภาพร่างกาย ปาก ฟัน ให้พร้อม ไม่ให้มีการติดเชื้อที่บริเวณใดๆ
  • หากพบว่ามีฟันผุควรรับการรักษาในช่วงนี้

ก่อนการผ่าตัด 4 สัปดาห์

  • เริ่มตรวจร่างกายเพื่อประเมินสุขภาพและโรคประจำตัวเดิม เพื่อเตรียมพร้อมก่อนการผ่าตัด

ก่อนการผ่าตัด 2 สัปดาห์

  • เริ่มสำรวจความพร้อมของสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อให้สะดวกต่อการพักอาศัยภายหลังการผ่าตัด
  • หากผู้ป่วยรับประทานยาต้ม ยาหม้อ ยาลูกกลอน น้ำมันปลา โอเมก้า-3 โสม แปะก๊วย กระเทียมอัดเม็ด หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรต่างๆ ควรงดยาในช่วงดังกล่าว
  • หากผู้ป่วยรับประทานยาต้านการอักเสบของข้อ เช่น ยารักษาโรครูมาตอยด์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาหยุดยา

ก่อนการผ่าตัด 1 สัปดาห์

  • หากผู้ป่วยรับประทานยาละลายลิ่มเลือด / ยาต้านเกร็ดเลือด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาหยุดยา
  • หากพบว่ามีอาการไม่สบาย มีไข้ ไอ มีบาดแผลใหญ่บริเวณผิวหนัง มีผื่นแดงตามร่างกาย ควรรีบปรึกษาแพทย์
  • งดการโกนขนบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง ด้วยมีดโกน หรืออุปกรณ์กำจัดขน เพื่อป้องกันการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัด

ก่อนการผ่าตัด 4 วัน

  • หากผู้ป่วยรับประทานยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เช่น Ibuprofen, Naproxen, Diclofenac ฯลฯ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาหยุดยา
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และงดสูบบุหรี่

ก่อนการผ่าตัด 1 วัน

  • เตรียมสิ่งของ เครื่องใช้ที่ต้องการนำติดตัวมาด้วยในวันที่มานอนโรงพยาบาล
  • เตรียมงดน้ำและอาหาร ในวันและเวลาที่กำหนด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

วันผ่าตัด

  • งดน้ำและอาหารในเวลาที่กำหนด
  • อาบน้ำ สระผม ชำระร่างกายให้สะอาด
  • ตรวจสอบสิ่งของ เครื่องใช้ที่ต้องนำมาโรงพยาบาลให้เรียบร้อย
  • เดินทางมาโรงพยาบาลโดยสวัสดิภาพ

การปฏิบัติตัวในการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด

     ก่อนถึงเวลาผ่าตัดประมาณ 1 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่จากห้องผ่าตัดจะมารับผู้ป่วย เพื่อไปห้องเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยต้องถอดเครื่องประดับทุกชนิด รวมทั้งเลนส์ตา และฟันปลอมที่ถอดได้ หากมีฟันครอบ ฟันโยกคลอน ให้แจ้งพยาบาลประจำหอผู้ป่วยทราบ ญาติสามารถไปส่งและให้กำลังใจได้ถึงหน้าห้องเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด

ขั้นตอนในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

     แพทย์ทำการเปิดแผลผ่าตัดบริเวณหัวเข่ายาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร เมื่อเปิดเข้าถึงข้อแล้ว แพทย์จะผ่าตัดนำผิวกระดูกส่วนต้นขาออก โดยมีความหนาไม่เกิน 9-10 มิลลิเมตร และผิวกระดูกส่วนหน้าแข้งออก ซึ่งมีความหนาไม่เกิน 10 มิลลิเมตร และผิวกระดูกสะบ้าออกประมาณไม่เกิน 8 มิลลิเมตร (ในกรณีที่จำเป็นต้องเปลี่ยนผิวลูกสะบ้า) กระดูกที่นำออกมาจากทั้ง 3 ส่วนนั้นเป็นส่วนที่เป็นผิวของข้อเข่าที่เสื่อมสภาพ

     หากเปรียบกับพื้นบ้านก็เหมือนกับการนำกระเบื้องปูพื้นที่สึกหรือชำรุดออกแล้วเตรียมพื้นบ้านเพื่อปูกระเบื้องชุดใหม่เข้าไปแทน ไม่เพียงแต่การนำกระดูกที่เสื่อมออก การผ่าตัดยังมีความละเอียดกว่านั้น คือ แพทย์จะต้องปรับความตึงหรือหย่อนของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า เพื่อให้ขามีรูปร่างปกติ ไม่โก่งผิดรูป และยังต้องตั้งตำแหน่งการวางผิวข้อเทียมให้ถูกต้อง ซึ่งขั้นตอนนี้เปรียบ เสมือนการตั้งศูนย์ล้อของรถยนต์ ตำแหน่งที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ป่วยเดินได้ดี และข้อเข่าเทียมจะมีความทนทาน ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวต้องอาศัยแพทย์ที่มีความชำนาญ และมีประสบการณ์สูง เนื่องจากแพทย์ที่ชำนาญจะสามารถหาจุดอ้างอิงต่างๆ บนกระดูกข้อเข่าได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ จากนั้นจะประกอบเครื่องมือที่ใช้ในการตัดกระดูก ซึ่งมีการกำหนดค่ามุมในท่าเหยียด งอข้อเข่า และขนาดของข้อเทียมที่เหมาะสม นอกจากนั้น แพทย์ยังต้องตรวจสอบดูการเคลื่อนไหวของข้อให้ได้ผลดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

การพักฟื้นภายหลังการผ่าตัด

     ภายหลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่จะนำผู้ป่วยมาที่ห้องพักฟื้นภายหลังการผ่าตัด ซึ่งจะมีแพทย์และพยาบาลคอยตรวจเช็กความรู้สึกตัว สัญญาณชีพ ระดับออกซิเจนในเลือด อาการปวด จำนวนปัสสาวะ สายระบายเลือดจากแผลผ่าตัด สวมอุปกรณ์บีบรัดปลายขาเพื่อป้องกันลิ่มเลือดอุดตัน โดยผู้ป่วยจะนอนอยู่ที่ห้องพักฟื้นประมาณ 1 ชั่วโมง หากอาการคงที่เจ้าหน้าที่จะนำผู้ป่วยไปยังห้องพัก

การดูแลหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ภายหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรก

  • ผู้ป่วยจะมีแผลบริเวณข้อเข่า ปิดผ้าก๊อซบริเวณแผล มีสายระบายเลือด 1 เส้นจากแผลผ่าตัด มีสายสวนปัสสาวะและสายน้ำเกลือ
  • ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตและชีพจรทุก 1-2 ชั่วโมง ในระยะแรกพยาบาลจะนำหมอนมาวางหนุนขาข้างที่ทำผ่าตัดเพื่อยกให้ปลายเท้าสูง ช่วยลดอาการบวม
  • แนะนำให้ผู้ป่วยกระดกปลายเท้าขึ้น-ลง เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ลดการเกิดอาการบวมบริเวณปลายเท้าได้ และหากผู้ป่วยไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน สามารถรับประทานอาหารและน้ำได้

ภายหลังผ่าตัดวันที่ 1

  • พยาบาลจะนำเจลเย็นมาประคบบริเวณแผลผ่าตัดเพื่อลดอาการบวม ผู้ป่วยสามารถประคบเจลเย็นได้บ่อยที่สุดเท่าที่ต้องการ
  • ผู้ป่วยจะได้พบนักกายภาพบำบัด เพื่อฝึกการบริหารกล้ามเนื้อขา และฝึกการงอเหยียดขา หากผู้ป่วยทำกายภาพบนเตียงได้ดี และสามารถนั่งห้อยขาข้างเตียงได้ รวมถึงไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือเวียนศีรษะ ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกยืนลงน้ำหนัก และหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน (Walker)

การใช้ walker ท่านั่งไปยืน ให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงขยับ walker เข้าใกล้ตัว ก้าวขาข้างที่ผ่าไปด้านหน้าต่อขาอีกข้างเล็กน้อย แล้วก้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย มือทั้ง 2 จับ walker ให้แน่น และค่อยๆ ลุกขึ้น ยืนตัวตรงแล้วค่อยๆ ขยับขาอีกข้างมาให้เท่ากัน

การใช้ walker ท่ายืนไปนั่ง ยก walker ไปด้านหน้าพอประมาณ แล้วก้าวขาข้างที่ผ่าไปด้านหน้า และก้าวขาอีกข้างตามไปให้เท้าทั้งสองเท่ากัน

ภายหลังผ่าตัดวันที่ 2

  • ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกเดินด้วยเครื่องช่วยพยุงเดิน (Walker) และฝึกการเหยียดและงอเข่าอย่างต่อเนื่องทุกครั้งหลังผู้ป่วยฝึกเดิน แนะนำให้นอนยกขาสูงและประคบเจลเย็นบริเวณข้อเข่าเพื่อลดอาการบวม
  • หากผู้ป่วยสามารถเดินได้ดีขึ้นแล้วจะได้รับการฝึกให้เข้าห้องน้ำ ซึ่งหากผู้ป่วยทำได้ดีจะได้รับการนำสายสวนปัสสาวะออก เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าห้องน้ำเอง และลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจากการที่คาสายสวนปัสสาวะนานเกินไป

การเข้าห้องน้ำ ท่าถอยเพื่อนั่งชักโครก ยืนตัวตรงให้ตรงกับชักโครก แล้วค่อยๆ ขยับขาข้างที่ไม่ได้ผ่า หรือข้างที่ปวดน้อยกว่าไปก่อน แล้วก้าวขาอีกข้างพร้อมขยับ walker ตาม ถอยไปเรื่อยๆ จนกระทั่งขาทั้งสองข้างที่ผ่า หรือข้างที่ปวดมาด้านหน้า แล้วค่อยๆ ก้มตัวมาด้านหน้า หย่อนสะโพกลงที่ชักโครกช้าๆ เพื่อนั่งชักโครก

การเข้าห้องน้ำ ท่าลุกจากชักโครก ขยับ walker เข้ามาใกล้ตัว ใช้มือทั้งสองข้างจับที่ walker หรือจับราวช่วยพยุงในห้องน้ำ ก้าวขาข้างที่ผ่ามาด้านหน้าต่อขาอีกข้าง โน้มตัวมาด้านหน้าและค่อยๆ ลุกขึ้นยืดตัวตรง แล้วก้าวขาอีกข้างมาเท่ากันแล้วเดินออกมาจากห้องน้ำ

  • หากปริมาณเลือดในสายระบายเลือดจากแผลผ่าตัดลดน้อยลง แพทย์จะพิจารณาเอาสายระบายเลือดออกเพื่อให้ผู้ป่วยเดินได้สะดวกมากขึ้น และหากรับประทานอาหารและน้ำได้ดี ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แพทย์จะพิจารณาเอาสายน้ำเกลือออกด้วย

ภายหลังผ่าตัดวันที่ 3

  • เมื่อผู้ป่วยฝึกเดินด้วยเครื่องช่วยพยุงเดิน (Walker) ภายในห้องได้ดีแล้ว นักกายภาพบำบัดจะฝึกผู้ป่วยในการเดินขึ้น-ลงบันได (ซึ่งต้องลงไปฝึกที่ห้องทำกายภาพบำบัด ชั้น 4)

การขึ้นบันได ยืนตัวตรงมือทั้งสองจับราวบันได ก้าวขาข้างที่ผ่าหรือขาข้างที่ปวดมากลงก่อน แล้วก้าวขาอีกข้างตามลงมาที่ขั้นเดียวกัน ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงพื้น

ภายหลังผ่าตัดวันที่ 4

  • ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน ฝึกเดินขึ้น-ลงบันได และได้รับการสอนวิธีการออกกำลังกายเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน ในช่วงนี้แผลบริเวณเข่าที่ปิดผ้าก๊อซไว้ จะได้รับการเปลี่ยนจากผ้าก๊อซเป็นพลาสเตอร์แบบกันน้ำ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้
  • หากผู้ป่วยสามารถเดินด้วยเครื่องช่วยพยุงเดินได้ดี มีความมั่นใจแล้วก็สามารถกลับบ้านได้

การบริหารร่างกายภายหลังการผ่าตัด

ระยะที่ 1 เมื่อนอนอยู่บนเตียง

     ท่าที่ 1 หักปลายเท้าขึ้นลงอย่างน้อย 20 ครั้ง ทุกๆ 30 นาที

     ท่าที่ 2 นอนหงาย เหยียดเข่าตึง เกร็งขาแนบเตียง ค้างไว้ นับ 1-10 ทำอย่างน้อย 10 นาทีต่อเนื่องกัน

ระยะที่ 2 เมื่อลุกนั่งได้

     ท่าที่ 1 นั่งห้อยขาเอาขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัดช้อนขาข้างที่ผ่าตัดแล้วเกร็งยกขาข้างที่ผ่าตัดขึ้น-ลง ทำ 20 ครั้ง/รอบ วันละ 3 รอบ

     ท่าที่ 2 นั่งห้อยขาเอาขาข้างที่ไม่ผ่าตัดกดขาข้างที่ผ่าตัดให้ชิดขอบเตียง ทำ 20 ครั้ง/รอบ วันละ 3 รอบ (หรือเท่าที่ทำได้)

     ท่าที่ 3 นั่งห้อยขาเหยียดเข่าตรง กระดกปลายเท้าขึ้น เกร็งค้าง นับ 1-10 แล้วเอาลงนับเป็น 1 ครั้ง ทำ 20 ครั้ง/รอบ วันละ 3 รอบ

การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน

อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อกลับบ้าน

1. อาการปวดตึงบริเวณต้นขา และบริเวณข้อพับเข่าข้างที่ทำผ่าตัด

2. อาการบวมตึงขาข้างที่ทำผ่าตัด

3. อาการช้ำ เป็นจ้ำเลือดกระจายทั่วไป บริเวณต้นขา ข้อพับเข่า น่อง ข้อเท้า

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

     1. ติดเชื้อ พบได้ประมาณร้อยละ 1-2

     2. เลือดคั่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในบางครั้ง วิธีการรักษาโดยการผ่าตัดนำก้อนเลือดออก

     3. แผลแยก

     4. ลิ่มเลือดอุดตันที่ขา

     5. ข้อเข่าไม่มั่นคง

     6. เส้นเลือดฉีกขาด

     7. เส้นประสาทถูกกระทบกระเทือน

     8. ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

     9. ปัญหาด้านการหายใจ

     10. เสียชีวิตจากผลแทรกซ้อนต่างๆ

การดูแลป้องกันการติดเชื้อภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม

     ในช่วง 2 ปี ภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม หากผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการทำฟัน หรือส่องกล้องเพื่อตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยควรได้รับยาปฏิชีวนะก่อนรับการทำหัตถการนั้นๆ ดังต่อไปนี้

     1. ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องได้รับการทำฟัน ควรแจ้งทันตแพทย์ทราบเพื่อพิจารณาให้ยา Amoxicillin หรือ Cephalexin หรือ Cephradine ขนาด 2 gm ในรูปแบบของการรับประทานก่อนรับการทำฟัน 1 ชั่วโมง

     2. ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องได้รับการส่องกล้องเพื่อตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ ควรแจ้งแพทย์ผู้ทำการรักษาทราบเพื่อพิจารณาให้ยา Ciprofloxacin ขนาด 500 mg ในรูปแบบรับประทาน หรือขนาด 400 mg ในรูปแบบการให้ทางหลอดเลือดดำ ก่อนรับการทำหัตถการ 1 ชั่วโมง

     หากผู้ป่วยต้องได้รับการทำหัตถการทางการแพทย์อื่นๆ ทุกชนิด เช่น ผ่าตัดตา ผ่าตัดทางเดินอาหาร ฯลฯ ผู้ป่วยควรได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อข้อเข่าเช่นกัน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ผู้ทำการรักษาว่าควรได้รับยาปฏิชีวนะชนิดใด

ข้อมูลจาก : รศ.นพ.พัชรพล อุดมเกียรติ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

     การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม (Joint replacement surgery) เป็นการรักษาข้อเข่าเสื่อม โดยการผ่าตัดที่ตัดผิวข้อส่วนที่เสื่อมออกแล้วทดแทนด้วยโลหะสังเคราะห์ โลหะที่นำมาใช้ส่วนใหญ่ ได้แก่ ไทเทเนียม โคบอลต์โครเมียม เซรามิก และพลาสติกพิเศษ ปัจจุบันเป็นวิธีที่นิยมที่สุด

ประโยชน์ของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

  • ลดอาการปวด
  • แก้ไขความพิการ หรือผิดรูปของข้อเข่า
  • ป้องกันการเสื่อมของข้ออื่นๆ ตามมา
  • แก้ไขอาการข้างเคียงจากการรักษาด้วยวิธีอื่นที่ไม่ประสบความสำเร็จ

การเตรียมสถานที่ที่บ้านให้พร้อมภายหลังการผ่าตัด

  • จัดหาที่ๆ สะดวกให้แก่ผู้ป่วย หากเป็นไปได้ควรให้นอนชั้นล่างในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกภายหลังการผ่าตัด
  • จัดวางสิ่งของในบ้านไม่ให้กีดขวางทางเดิน
  • ทำราวจับในห้องน้ำ และควรเปลี่ยนจากโถส้วมเป็นชักโครก
  • ดูแลความสว่างภายในบ้าน ให้มีแสงสว่างส่องถึงเพียงพอ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุในช่วงเวลากลางคืน
  • จัดหาเก้าอี้สำหรับนั่งภายหลังผ่าตัด ไม่ให้เตี้ยจนเกินไป เก้าอี้ควรมีที่เท้าแขนเพื่อสะดวกเวลาลงนั่ง หรือลุกจากเก้าอี้

สิ่งที่ควรนำติดตัวมาด้วยในวันที่มานอนโรงพยาบาลก่อนการผ่าตัด

  • ผลการตรวจร่างกาย ผลตรวจเลือด และแผ่นฟิล์มเอกซเรย์ข้อเข่าจากโรงพยาบาลอื่น ซึ่งผลการตรวจนั้นมีระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน (ถ้ามี)
  • หากมียารับประทานประจำตัว ให้นำยาที่หน้าซองระบุชื่อและขนาดยามาด้วย
  • แว่นตา ที่ใส่ฟันปลอม (ถ้ามี)
  • หากมีเครื่องช่วยพยุงเดิน (walker) ให้นำมาด้วย (ถ้าสะดวก) เพื่อฝึกการเดินภายหลังการผ่าตัด
  • หากมีเจลประคบเย็น ให้นำมาด้วย เพื่อใช้ประคบบริเวณข้อเข่าภายหลังการผ่าตัด

การฝึกบริหารกล้ามเนื้อก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถฝึกบริหารได้ทันทีที่ทราบว่าจะได้รับการผ่าตัด

ท่าที่ 1 นั่งชิดเก้าอี้ เหยียดเข่าตรง กระดกปลายเท้าขึ้น เกร็งค้างและนับ 1-10 แล้ววางลง นับเป็น 1 ครั้ง ทำข้างละ 20 ครั้ง

     

ท่าที่ 2 นั่งชิดเก้าอี้ ไขว้ขาโดยขาบนกดขาล่าง และขาล่างเหยียดขึ้นต้านแรงขาบน เกร็งค้างและนับ 1-10 ทำสลับข้างกัน ทำข้างละ 20 ครั้ง

ท่าที่ 3 นอนหงาย ใช้หมอนรองใต้เข่าด้านขวาเพื่อให้เข่างอเล็กน้อย เข่าด้านซ้ายเหยียดตรง นับ 1-10 แล้วทำสลับข้างกัน ทำข้างละ 20 ครั้ง

ท่าที่ 4 นอนหงาย ใช้หมอนรองใต้เข่าด้านขวา เหยียดเข่าซ้ายและยกขึ้นสูงประมาณ 1 ฟุต เกร็งค้างไว้ นับ 1-10 วางลงแล้วทำสลับข้างกัน ทำข้างละ 20 ครั้ง

 

นับถอยหลังก่อนวันผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ก่อนการผ่าตัด 6 สัปดาห์

  • ดูแลสุขภาพร่างกาย ปาก ฟัน ให้พร้อม ไม่ให้มีการติดเชื้อที่บริเวณใดๆ
  • หากพบว่ามีฟันผุควรรับการรักษาในช่วงนี้

ก่อนการผ่าตัด 4 สัปดาห์

  • เริ่มตรวจร่างกายเพื่อประเมินสุขภาพและโรคประจำตัวเดิม เพื่อเตรียมพร้อมก่อนการผ่าตัด

ก่อนการผ่าตัด 2 สัปดาห์

  • เริ่มสำรวจความพร้อมของสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อให้สะดวกต่อการพักอาศัยภายหลังการผ่าตัด
  • หากผู้ป่วยรับประทานยาต้ม ยาหม้อ ยาลูกกลอน น้ำมันปลา โอเมก้า-3 โสม แปะก๊วย กระเทียมอัดเม็ด หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรต่างๆ ควรงดยาในช่วงดังกล่าว
  • หากผู้ป่วยรับประทานยาต้านการอักเสบของข้อ เช่น ยารักษาโรครูมาตอยด์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาหยุดยา

ก่อนการผ่าตัด 1 สัปดาห์

  • หากผู้ป่วยรับประทานยาละลายลิ่มเลือด / ยาต้านเกร็ดเลือด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาหยุดยา
  • หากพบว่ามีอาการไม่สบาย มีไข้ ไอ มีบาดแผลใหญ่บริเวณผิวหนัง มีผื่นแดงตามร่างกาย ควรรีบปรึกษาแพทย์
  • งดการโกนขนบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง ด้วยมีดโกน หรืออุปกรณ์กำจัดขน เพื่อป้องกันการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัด

ก่อนการผ่าตัด 4 วัน

  • หากผู้ป่วยรับประทานยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เช่น Ibuprofen, Naproxen, Diclofenac ฯลฯ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาหยุดยา
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และงดสูบบุหรี่

ก่อนการผ่าตัด 1 วัน

  • เตรียมสิ่งของ เครื่องใช้ที่ต้องการนำติดตัวมาด้วยในวันที่มานอนโรงพยาบาล
  • เตรียมงดน้ำและอาหาร ในวันและเวลาที่กำหนด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

วันผ่าตัด

  • งดน้ำและอาหารในเวลาที่กำหนด
  • อาบน้ำ สระผม ชำระร่างกายให้สะอาด
  • ตรวจสอบสิ่งของ เครื่องใช้ที่ต้องนำมาโรงพยาบาลให้เรียบร้อย
  • เดินทางมาโรงพยาบาลโดยสวัสดิภาพ

การปฏิบัติตัวในการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด

     ก่อนถึงเวลาผ่าตัดประมาณ 1 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่จากห้องผ่าตัดจะมารับผู้ป่วย เพื่อไปห้องเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยต้องถอดเครื่องประดับทุกชนิด รวมทั้งเลนส์ตา และฟันปลอมที่ถอดได้ หากมีฟันครอบ ฟันโยกคลอน ให้แจ้งพยาบาลประจำหอผู้ป่วยทราบ ญาติสามารถไปส่งและให้กำลังใจได้ถึงหน้าห้องเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด

ขั้นตอนในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

     แพทย์ทำการเปิดแผลผ่าตัดบริเวณหัวเข่ายาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร เมื่อเปิดเข้าถึงข้อแล้ว แพทย์จะผ่าตัดนำผิวกระดูกส่วนต้นขาออก โดยมีความหนาไม่เกิน 9-10 มิลลิเมตร และผิวกระดูกส่วนหน้าแข้งออก ซึ่งมีความหนาไม่เกิน 10 มิลลิเมตร และผิวกระดูกสะบ้าออกประมาณไม่เกิน 8 มิลลิเมตร (ในกรณีที่จำเป็นต้องเปลี่ยนผิวลูกสะบ้า) กระดูกที่นำออกมาจากทั้ง 3 ส่วนนั้นเป็นส่วนที่เป็นผิวของข้อเข่าที่เสื่อมสภาพ

     หากเปรียบกับพื้นบ้านก็เหมือนกับการนำกระเบื้องปูพื้นที่สึกหรือชำรุดออกแล้วเตรียมพื้นบ้านเพื่อปูกระเบื้องชุดใหม่เข้าไปแทน ไม่เพียงแต่การนำกระดูกที่เสื่อมออก การผ่าตัดยังมีความละเอียดกว่านั้น คือ แพทย์จะต้องปรับความตึงหรือหย่อนของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า เพื่อให้ขามีรูปร่างปกติ ไม่โก่งผิดรูป และยังต้องตั้งตำแหน่งการวางผิวข้อเทียมให้ถูกต้อง ซึ่งขั้นตอนนี้เปรียบ เสมือนการตั้งศูนย์ล้อของรถยนต์ ตำแหน่งที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ป่วยเดินได้ดี และข้อเข่าเทียมจะมีความทนทาน ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวต้องอาศัยแพทย์ที่มีความชำนาญ และมีประสบการณ์สูง เนื่องจากแพทย์ที่ชำนาญจะสามารถหาจุดอ้างอิงต่างๆ บนกระดูกข้อเข่าได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ จากนั้นจะประกอบเครื่องมือที่ใช้ในการตัดกระดูก ซึ่งมีการกำหนดค่ามุมในท่าเหยียด งอข้อเข่า และขนาดของข้อเทียมที่เหมาะสม นอกจากนั้น แพทย์ยังต้องตรวจสอบดูการเคลื่อนไหวของข้อให้ได้ผลดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

การพักฟื้นภายหลังการผ่าตัด

     ภายหลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่จะนำผู้ป่วยมาที่ห้องพักฟื้นภายหลังการผ่าตัด ซึ่งจะมีแพทย์และพยาบาลคอยตรวจเช็กความรู้สึกตัว สัญญาณชีพ ระดับออกซิเจนในเลือด อาการปวด จำนวนปัสสาวะ สายระบายเลือดจากแผลผ่าตัด สวมอุปกรณ์บีบรัดปลายขาเพื่อป้องกันลิ่มเลือดอุดตัน โดยผู้ป่วยจะนอนอยู่ที่ห้องพักฟื้นประมาณ 1 ชั่วโมง หากอาการคงที่เจ้าหน้าที่จะนำผู้ป่วยไปยังห้องพัก

การดูแลหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ภายหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรก

  • ผู้ป่วยจะมีแผลบริเวณข้อเข่า ปิดผ้าก๊อซบริเวณแผล มีสายระบายเลือด 1 เส้นจากแผลผ่าตัด มีสายสวนปัสสาวะและสายน้ำเกลือ
  • ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตและชีพจรทุก 1-2 ชั่วโมง ในระยะแรกพยาบาลจะนำหมอนมาวางหนุนขาข้างที่ทำผ่าตัดเพื่อยกให้ปลายเท้าสูง ช่วยลดอาการบวม
  • แนะนำให้ผู้ป่วยกระดกปลายเท้าขึ้น-ลง เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ลดการเกิดอาการบวมบริเวณปลายเท้าได้ และหากผู้ป่วยไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน สามารถรับประทานอาหารและน้ำได้

ภายหลังผ่าตัดวันที่ 1

  • พยาบาลจะนำเจลเย็นมาประคบบริเวณแผลผ่าตัดเพื่อลดอาการบวม ผู้ป่วยสามารถประคบเจลเย็นได้บ่อยที่สุดเท่าที่ต้องการ
  • ผู้ป่วยจะได้พบนักกายภาพบำบัด เพื่อฝึกการบริหารกล้ามเนื้อขา และฝึกการงอเหยียดขา หากผู้ป่วยทำกายภาพบนเตียงได้ดี และสามารถนั่งห้อยขาข้างเตียงได้ รวมถึงไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือเวียนศีรษะ ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกยืนลงน้ำหนัก และหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน (Walker)

การใช้ walker ท่านั่งไปยืน ให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงขยับ walker เข้าใกล้ตัว ก้าวขาข้างที่ผ่าไปด้านหน้าต่อขาอีกข้างเล็กน้อย แล้วก้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย มือทั้ง 2 จับ walker ให้แน่น และค่อยๆ ลุกขึ้น ยืนตัวตรงแล้วค่อยๆ ขยับขาอีกข้างมาให้เท่ากัน

การใช้ walker ท่ายืนไปนั่ง ยก walker ไปด้านหน้าพอประมาณ แล้วก้าวขาข้างที่ผ่าไปด้านหน้า และก้าวขาอีกข้างตามไปให้เท้าทั้งสองเท่ากัน

ภายหลังผ่าตัดวันที่ 2

  • ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกเดินด้วยเครื่องช่วยพยุงเดิน (Walker) และฝึกการเหยียดและงอเข่าอย่างต่อเนื่องทุกครั้งหลังผู้ป่วยฝึกเดิน แนะนำให้นอนยกขาสูงและประคบเจลเย็นบริเวณข้อเข่าเพื่อลดอาการบวม
  • หากผู้ป่วยสามารถเดินได้ดีขึ้นแล้วจะได้รับการฝึกให้เข้าห้องน้ำ ซึ่งหากผู้ป่วยทำได้ดีจะได้รับการนำสายสวนปัสสาวะออก เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าห้องน้ำเอง และลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจากการที่คาสายสวนปัสสาวะนานเกินไป

การเข้าห้องน้ำ ท่าถอยเพื่อนั่งชักโครก ยืนตัวตรงให้ตรงกับชักโครก แล้วค่อยๆ ขยับขาข้างที่ไม่ได้ผ่า หรือข้างที่ปวดน้อยกว่าไปก่อน แล้วก้าวขาอีกข้างพร้อมขยับ walker ตาม ถอยไปเรื่อยๆ จนกระทั่งขาทั้งสองข้างที่ผ่า หรือข้างที่ปวดมาด้านหน้า แล้วค่อยๆ ก้มตัวมาด้านหน้า หย่อนสะโพกลงที่ชักโครกช้าๆ เพื่อนั่งชักโครก

การเข้าห้องน้ำ ท่าลุกจากชักโครก ขยับ walker เข้ามาใกล้ตัว ใช้มือทั้งสองข้างจับที่ walker หรือจับราวช่วยพยุงในห้องน้ำ ก้าวขาข้างที่ผ่ามาด้านหน้าต่อขาอีกข้าง โน้มตัวมาด้านหน้าและค่อยๆ ลุกขึ้นยืดตัวตรง แล้วก้าวขาอีกข้างมาเท่ากันแล้วเดินออกมาจากห้องน้ำ

  • หากปริมาณเลือดในสายระบายเลือดจากแผลผ่าตัดลดน้อยลง แพทย์จะพิจารณาเอาสายระบายเลือดออกเพื่อให้ผู้ป่วยเดินได้สะดวกมากขึ้น และหากรับประทานอาหารและน้ำได้ดี ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แพทย์จะพิจารณาเอาสายน้ำเกลือออกด้วย

ภายหลังผ่าตัดวันที่ 3

  • เมื่อผู้ป่วยฝึกเดินด้วยเครื่องช่วยพยุงเดิน (Walker) ภายในห้องได้ดีแล้ว นักกายภาพบำบัดจะฝึกผู้ป่วยในการเดินขึ้น-ลงบันได (ซึ่งต้องลงไปฝึกที่ห้องทำกายภาพบำบัด ชั้น 4)

การขึ้นบันได ยืนตัวตรงมือทั้งสองจับราวบันได ก้าวขาข้างที่ผ่าหรือขาข้างที่ปวดมากลงก่อน แล้วก้าวขาอีกข้างตามลงมาที่ขั้นเดียวกัน ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงพื้น

ภายหลังผ่าตัดวันที่ 4

  • ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน ฝึกเดินขึ้น-ลงบันได และได้รับการสอนวิธีการออกกำลังกายเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน ในช่วงนี้แผลบริเวณเข่าที่ปิดผ้าก๊อซไว้ จะได้รับการเปลี่ยนจากผ้าก๊อซเป็นพลาสเตอร์แบบกันน้ำ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้
  • หากผู้ป่วยสามารถเดินด้วยเครื่องช่วยพยุงเดินได้ดี มีความมั่นใจแล้วก็สามารถกลับบ้านได้

การบริหารร่างกายภายหลังการผ่าตัด

ระยะที่ 1 เมื่อนอนอยู่บนเตียง

     ท่าที่ 1 หักปลายเท้าขึ้นลงอย่างน้อย 20 ครั้ง ทุกๆ 30 นาที

     ท่าที่ 2 นอนหงาย เหยียดเข่าตึง เกร็งขาแนบเตียง ค้างไว้ นับ 1-10 ทำอย่างน้อย 10 นาทีต่อเนื่องกัน

ระยะที่ 2 เมื่อลุกนั่งได้

     ท่าที่ 1 นั่งห้อยขาเอาขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัดช้อนขาข้างที่ผ่าตัดแล้วเกร็งยกขาข้างที่ผ่าตัดขึ้น-ลง ทำ 20 ครั้ง/รอบ วันละ 3 รอบ

     ท่าที่ 2 นั่งห้อยขาเอาขาข้างที่ไม่ผ่าตัดกดขาข้างที่ผ่าตัดให้ชิดขอบเตียง ทำ 20 ครั้ง/รอบ วันละ 3 รอบ (หรือเท่าที่ทำได้)

     ท่าที่ 3 นั่งห้อยขาเหยียดเข่าตรง กระดกปลายเท้าขึ้น เกร็งค้าง นับ 1-10 แล้วเอาลงนับเป็น 1 ครั้ง ทำ 20 ครั้ง/รอบ วันละ 3 รอบ

การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน

อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อกลับบ้าน

1. อาการปวดตึงบริเวณต้นขา และบริเวณข้อพับเข่าข้างที่ทำผ่าตัด

2. อาการบวมตึงขาข้างที่ทำผ่าตัด

3. อาการช้ำ เป็นจ้ำเลือดกระจายทั่วไป บริเวณต้นขา ข้อพับเข่า น่อง ข้อเท้า

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

     1. ติดเชื้อ พบได้ประมาณร้อยละ 1-2

     2. เลือดคั่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในบางครั้ง วิธีการรักษาโดยการผ่าตัดนำก้อนเลือดออก

     3. แผลแยก

     4. ลิ่มเลือดอุดตันที่ขา

     5. ข้อเข่าไม่มั่นคง

     6. เส้นเลือดฉีกขาด

     7. เส้นประสาทถูกกระทบกระเทือน

     8. ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

     9. ปัญหาด้านการหายใจ

     10. เสียชีวิตจากผลแทรกซ้อนต่างๆ

การดูแลป้องกันการติดเชื้อภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม

     ในช่วง 2 ปี ภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม หากผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการทำฟัน หรือส่องกล้องเพื่อตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยควรได้รับยาปฏิชีวนะก่อนรับการทำหัตถการนั้นๆ ดังต่อไปนี้

     1. ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องได้รับการทำฟัน ควรแจ้งทันตแพทย์ทราบเพื่อพิจารณาให้ยา Amoxicillin หรือ Cephalexin หรือ Cephradine ขนาด 2 gm ในรูปแบบของการรับประทานก่อนรับการทำฟัน 1 ชั่วโมง

     2. ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องได้รับการส่องกล้องเพื่อตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ ควรแจ้งแพทย์ผู้ทำการรักษาทราบเพื่อพิจารณาให้ยา Ciprofloxacin ขนาด 500 mg ในรูปแบบรับประทาน หรือขนาด 400 mg ในรูปแบบการให้ทางหลอดเลือดดำ ก่อนรับการทำหัตถการ 1 ชั่วโมง

     หากผู้ป่วยต้องได้รับการทำหัตถการทางการแพทย์อื่นๆ ทุกชนิด เช่น ผ่าตัดตา ผ่าตัดทางเดินอาหาร ฯลฯ ผู้ป่วยควรได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อข้อเข่าเช่นกัน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ผู้ทำการรักษาว่าควรได้รับยาปฏิชีวนะชนิดใด

ข้อมูลจาก : รศ.นพ.พัชรพล อุดมเกียรติ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง