ความเชื่อเรื่องไตกับสมุนไพร

     สมุนไพรขึ้นชื่อว่ามีประโยชน์ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แต่ในทางตรงกันข้าม มีความเชื่อที่ว่าการบริโภคสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคไตได้ ซึ่งในบางชนิดก็ให้โทษ และเป็นอันตรายได้หากผู้ใช้รับประทานไม่ถูกต้อง

 

 

     1. ถังเช่า

เชื่อว่า มีฤทธิ์บำรุงไตและชะลอการเสื่อมของไต

แต่ผลงานวิจัยยังไม่แน่ชัด โดยถังเช่าในปัจจุบันที่แพร่หลายมี 2 ชนิด

  • ถังเช่าทิเบต (Ophiocordyceps sinensis) เป็นถังเช่าที่เกิดจากธรรมชาติ เป็นเชื้อราที่ก่อโรคในแมลง และเจริญเติบโตจากหนอนผีเสื้อราตรีที่ฝังตัวอยู่ใต้ดิน  เมื่อเชื้อราเติบโตเต็มที่จะโผล่ขึ้นเหนือดินและมีลักษณะเป็นแท่ง ส่วนหนอนผีเสื้อที่ถูกดูดกินเป็นสารอาหารจะตายกลายเป็นซากติดอยู่กับส่วนที่เป็นแท่งของเชื้อรา 

     โดยมีรายงานของการปนเปื้อนสารหนูและโลหะหนักจำนวนมาก หน่วยงานด้านอาหารและยาของรัฐบาลจึงควบคุมการจำหน่าย

 

  • ถังเช่าสีทอง (Cordyceps miltaris ) เกิดจากการเพาะเลี้ยง

โดยทั้ง 2 ชนิดนั้น เป็นเชื้อราคนละสกุล (Family) คนละวงศ์ (Genus) และเป็นคนละชนิด (Species) สรรพคุณจึงแตกต่างกัน

     ถังเช่าสีทองมีราคาถูกกว่าถังเช่าทิเบต จึงมีหลากหลายบริษัทนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารเสริม เพื่อลดต้นทุนการผลิต  แต่ถังเช่าทิเบต ปัจจุบันเชื่อว่าสามารถบำรุงไตและชะลอการเสื่อมของไตได้ เนื่องจากคาดว่า มีฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบ แต่ผลการวิจัยยังไม่แน่ชัด จึงไม่แนะนำให้รับประทานค่ะ

 

 

 

     2. เห็ดหลินจือ

เชื่อว่า สามารถป้องกันโรคไต

เห็ดหลินจือมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สรรพคุณในการป้องกันโรคไต จากข้อมูลดังกล่าวยังไม่ชัดเจน จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

 

 

 

     3. ขมิ้นชัน

เชื่อว่า สามารถป้องกันโรคไต

ขมิ้นชันมี สาร turmeric ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและ ลดการอักเสบ เพิ่ม การไหลเวียนของเลือดในตับและ ลดการทำงานของไต พร้อมทั้งช่วยบรรเทาอาการปวดหัว และคลื่นไส้ ที่พบในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง สามารถรับประทานได้

 

 

 

     4. แปะก๊วย

เชื่อว่า ชะลอการเสื่อมของไต

แปะก๊วยมีสาร Ginkgo biloba จากการทดลองพบว่าสามารถลดการเกิดพังผืดที่ไต ในหนูที่เป็นโรคเบาหวาน แต่ในคนยังไม่มีการศึกษาแน่ชัด จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

 

 

 

     5. หญ้าหวาน

เชื่อว่า สามารถบำรุงไต

สารสกัดจากหญ้าหวานไม่ได้ลดการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะและไม่ได้ลดระดับ ซีรั่มครีเอตินิน (ค่าที่ใช้ประเมินการทำงานของไต) รวมถึงชะลอการเสื่อมของไต จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

 

 

 

     6. โสม

เชื่อว่า สามารถบำรุงไต

โสม มีสารสำคัญ ได้แก่ Ginsenoside Rb1 โดยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ แต่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 2-3 (CKD stages 2-3) ที่รับประทาน Ginsenoside Rb1

พบว่า มีผลทำให้การทำงานของไตลดลง โดยมีค่าซีรั่มครีเอตินิน (ค่าที่ใช้ประเมินการทำงานของไต) เพิ่มขึ้น และอัตราการขับออกของครีอะตินินทางไต (Creatinine Clearance) ลดลงหลังรับประทาน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

 

 

     7. มะระขี้นก

เชื่อว่า สามารถบำรุงไตและลดน้ำตาลในเลือด

มะระขี้นก มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ลดการอักเสบ, ลดระดับน้ำตาลในเลือด, ต้านมะเร็ง  แต่หากมะระขี้นกกินติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้ ค่าการทำงานของไตลดลง, ซีรั่มครีเอตินิน (ค่าที่ใช้ประเมินการทำงานของไต) เพิ่มขึ้น และมีการอักเสบของไตเฉียบพลัน จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

 

 

 

     8. หนานเฉาเหว่ย, ป่าเฮ่วหมอง หรือป่าช้าเหงา

ไม่มีสรรพคุณเกี่ยวกับเรื่องไต พบว่ามีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่มีพิษต่อตับและไต โดย ทำให้้โครงสร้างของไต เปลี่ยนแปลงไป จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

 

 

 

     9. Astaxanthin

เชื่อว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอการเสื่อมของไต

astaxanthin เป็นสารในกลุ่ม Carotenoids มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบ  แต่เนื่องจากการศึกษายังไม่ชัดเจน จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C

     สมุนไพรขึ้นชื่อว่ามีประโยชน์ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แต่ในทางตรงกันข้าม มีความเชื่อที่ว่าการบริโภคสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคไตได้ ซึ่งในบางชนิดก็ให้โทษ และเป็นอันตรายได้หากผู้ใช้รับประทานไม่ถูกต้อง

 

 

     1. ถังเช่า

เชื่อว่า มีฤทธิ์บำรุงไตและชะลอการเสื่อมของไต

แต่ผลงานวิจัยยังไม่แน่ชัด โดยถังเช่าในปัจจุบันที่แพร่หลายมี 2 ชนิด

  • ถังเช่าทิเบต (Ophiocordyceps sinensis) เป็นถังเช่าที่เกิดจากธรรมชาติ เป็นเชื้อราที่ก่อโรคในแมลง และเจริญเติบโตจากหนอนผีเสื้อราตรีที่ฝังตัวอยู่ใต้ดิน  เมื่อเชื้อราเติบโตเต็มที่จะโผล่ขึ้นเหนือดินและมีลักษณะเป็นแท่ง ส่วนหนอนผีเสื้อที่ถูกดูดกินเป็นสารอาหารจะตายกลายเป็นซากติดอยู่กับส่วนที่เป็นแท่งของเชื้อรา 

     โดยมีรายงานของการปนเปื้อนสารหนูและโลหะหนักจำนวนมาก หน่วยงานด้านอาหารและยาของรัฐบาลจึงควบคุมการจำหน่าย

 

  • ถังเช่าสีทอง (Cordyceps miltaris ) เกิดจากการเพาะเลี้ยง

โดยทั้ง 2 ชนิดนั้น เป็นเชื้อราคนละสกุล (Family) คนละวงศ์ (Genus) และเป็นคนละชนิด (Species) สรรพคุณจึงแตกต่างกัน

     ถังเช่าสีทองมีราคาถูกกว่าถังเช่าทิเบต จึงมีหลากหลายบริษัทนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารเสริม เพื่อลดต้นทุนการผลิต  แต่ถังเช่าทิเบต ปัจจุบันเชื่อว่าสามารถบำรุงไตและชะลอการเสื่อมของไตได้ เนื่องจากคาดว่า มีฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบ แต่ผลการวิจัยยังไม่แน่ชัด จึงไม่แนะนำให้รับประทานค่ะ

 

 

 

     2. เห็ดหลินจือ

เชื่อว่า สามารถป้องกันโรคไต

เห็ดหลินจือมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สรรพคุณในการป้องกันโรคไต จากข้อมูลดังกล่าวยังไม่ชัดเจน จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

 

 

 

     3. ขมิ้นชัน

เชื่อว่า สามารถป้องกันโรคไต

ขมิ้นชันมี สาร turmeric ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและ ลดการอักเสบ เพิ่ม การไหลเวียนของเลือดในตับและ ลดการทำงานของไต พร้อมทั้งช่วยบรรเทาอาการปวดหัว และคลื่นไส้ ที่พบในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง สามารถรับประทานได้

 

 

 

     4. แปะก๊วย

เชื่อว่า ชะลอการเสื่อมของไต

แปะก๊วยมีสาร Ginkgo biloba จากการทดลองพบว่าสามารถลดการเกิดพังผืดที่ไต ในหนูที่เป็นโรคเบาหวาน แต่ในคนยังไม่มีการศึกษาแน่ชัด จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

 

 

 

     5. หญ้าหวาน

เชื่อว่า สามารถบำรุงไต

สารสกัดจากหญ้าหวานไม่ได้ลดการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะและไม่ได้ลดระดับ ซีรั่มครีเอตินิน (ค่าที่ใช้ประเมินการทำงานของไต) รวมถึงชะลอการเสื่อมของไต จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

 

 

 

     6. โสม

เชื่อว่า สามารถบำรุงไต

โสม มีสารสำคัญ ได้แก่ Ginsenoside Rb1 โดยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ แต่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 2-3 (CKD stages 2-3) ที่รับประทาน Ginsenoside Rb1

พบว่า มีผลทำให้การทำงานของไตลดลง โดยมีค่าซีรั่มครีเอตินิน (ค่าที่ใช้ประเมินการทำงานของไต) เพิ่มขึ้น และอัตราการขับออกของครีอะตินินทางไต (Creatinine Clearance) ลดลงหลังรับประทาน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

 

 

 

     7. มะระขี้นก

เชื่อว่า สามารถบำรุงไตและลดน้ำตาลในเลือด

มะระขี้นก มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ลดการอักเสบ, ลดระดับน้ำตาลในเลือด, ต้านมะเร็ง  แต่หากมะระขี้นกกินติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้ ค่าการทำงานของไตลดลง, ซีรั่มครีเอตินิน (ค่าที่ใช้ประเมินการทำงานของไต) เพิ่มขึ้น และมีการอักเสบของไตเฉียบพลัน จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

 

 

 

     8. หนานเฉาเหว่ย, ป่าเฮ่วหมอง หรือป่าช้าเหงา

ไม่มีสรรพคุณเกี่ยวกับเรื่องไต พบว่ามีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่มีพิษต่อตับและไต โดย ทำให้้โครงสร้างของไต เปลี่ยนแปลงไป จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

 

 

 

     9. Astaxanthin

เชื่อว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอการเสื่อมของไต

astaxanthin เป็นสารในกลุ่ม Carotenoids มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบ  แต่เนื่องจากการศึกษายังไม่ชัดเจน จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง