ปวดท้องประจำเดือน ควรทนหรือทานยา

     ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องเคยมีอาการปวดประจำเดือน และอาจคิดว่าอาการปวดประจำเดือนเป็นเรื่องธรรมชาติ ซึ่งถ้ามีอาการปวดเพียงเล็กน้อยและไม่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน แต่หากมีอาการปวดท้องเป็นระยะเวลานาน หรือปวดมากจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ก็อาจเป็นสัญญาณบอกของโรคร้ายได้ ดังนั้น จึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดประจำเดือนนั้น

 

อาการปวดประจำเดือนคืออะไร

     ส่วนมากมักมีอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน หรือระหว่างมีประจำเดือน อาการมีตั้งแต่อาการปวดหน่วง ปวดเกร็งเล็กน้อย ปวดขั้นรุนแรงบริเวณท้องน้อย และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดหลังด้านล่าง คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก ท้องเสีย ท้องผูก ท้องอืด เวียนศีรษะและปวดศีรษะ เป็นต้น

 

ประเภทของอาการปวดประจำเดือน

อาการปวดประจำเดือนแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน

  • ปวดประจำเดือนประเภทปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) เป็นภาวะปวดท้องประจำเดือนที่ทำการตรวจเบื้องต้นแล้วไม่พบความผิดปกติในอุ้งเชิงกราน กลุ่มนี้มักเกิดในผู้ที่อายุยังน้อย ซึ่งจะมีความรุนแรงแตกต่างกันไป
  • ปวดประจำเดือนประเภททุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) ภาวะการปวดท้องประจำเดือนที่เกิดจากโรคที่เราพบบ่อย ๆ ทางโรคเฉพาะสตรี มักเกิดในผู้หญิงที่อายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป ได้แก่ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งคือภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญอยู่นอกโพรงมดลูก ถ้าไปเจริญอยู่ที่ชั้นกล้ามเนื้อมดลูกก็ทำให้เกิดกล้ามเนื้อมดลูกหนาตัวและมดลูกโตได้ ถ้าไปเจริญอยู่ที่รังไข่ทำให้เกิดลักษณะมีเลือดเก่าๆ อยู่ในรังไข่ ซึ่งมีลักษณะคล้ายช็อกโกแลต เราก็รู้จักกันดีในโรคช็อกโกแลตซีสต์ ถ้าไปเจริญอยู่ที่เยื่อบุในอุ้งเชิงกราน จะเกิดเป็นพังผืดในอุ้งเชิงกรานได้ ภาวะโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ก็จะทำให้ผู้ป่วยปวดท้องประจำเดือนมาก และมากขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปอาจนำไปสู่ภาวะปัญหาการมีบุตรยาก เนื่องจากเกิดพังผืดในอุ้งเชิงกราน

 

การรักษา

     การรักษาภาวะปวดท้องประจำเดือนแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย ในกรณีที่ตรวจดูแล้วไม่พบรอยโรคผิดปกติ แพทย์จะให้การรักษาด้วยการรับประทานยาแก้ปวด ถ้าตรวจพบเนื้องอกหรือซีสต์ขนาดไม่ใหญ่มาก ก็จะพิจารณาให้ฮอร์โมนเพื่อเป็นการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการ โดยแพทย์จะวินิจฉัยและรักษาตามความเหมาะสมกับแต่ละราย

     อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การดูแลตนเอง โดยเฉพาะผู้หญิงควรได้รับการตรวจสุขภาพโรคเฉพาะด้านนรีเวชวิทยาอย่างน้อยปีละครั้ง พร้อมทั้งคอยหมั่นสังเกตรอบประจำเดือนของตัวเองว่ามาสม่ำเสมอหรือไม่ และที่สำคัญคือ ภาวะการปวดประจำเดือน ถ้ามีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E

     ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องเคยมีอาการปวดประจำเดือน และอาจคิดว่าอาการปวดประจำเดือนเป็นเรื่องธรรมชาติ ซึ่งถ้ามีอาการปวดเพียงเล็กน้อยและไม่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน แต่หากมีอาการปวดท้องเป็นระยะเวลานาน หรือปวดมากจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ก็อาจเป็นสัญญาณบอกของโรคร้ายได้ ดังนั้น จึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดประจำเดือนนั้น

 

อาการปวดประจำเดือนคืออะไร

     ส่วนมากมักมีอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน หรือระหว่างมีประจำเดือน อาการมีตั้งแต่อาการปวดหน่วง ปวดเกร็งเล็กน้อย ปวดขั้นรุนแรงบริเวณท้องน้อย และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดหลังด้านล่าง คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก ท้องเสีย ท้องผูก ท้องอืด เวียนศีรษะและปวดศีรษะ เป็นต้น

 

ประเภทของอาการปวดประจำเดือน

อาการปวดประจำเดือนแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน

  • ปวดประจำเดือนประเภทปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) เป็นภาวะปวดท้องประจำเดือนที่ทำการตรวจเบื้องต้นแล้วไม่พบความผิดปกติในอุ้งเชิงกราน กลุ่มนี้มักเกิดในผู้ที่อายุยังน้อย ซึ่งจะมีความรุนแรงแตกต่างกันไป
  • ปวดประจำเดือนประเภททุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) ภาวะการปวดท้องประจำเดือนที่เกิดจากโรคที่เราพบบ่อย ๆ ทางโรคเฉพาะสตรี มักเกิดในผู้หญิงที่อายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป ได้แก่ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งคือภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญอยู่นอกโพรงมดลูก ถ้าไปเจริญอยู่ที่ชั้นกล้ามเนื้อมดลูกก็ทำให้เกิดกล้ามเนื้อมดลูกหนาตัวและมดลูกโตได้ ถ้าไปเจริญอยู่ที่รังไข่ทำให้เกิดลักษณะมีเลือดเก่าๆ อยู่ในรังไข่ ซึ่งมีลักษณะคล้ายช็อกโกแลต เราก็รู้จักกันดีในโรคช็อกโกแลตซีสต์ ถ้าไปเจริญอยู่ที่เยื่อบุในอุ้งเชิงกราน จะเกิดเป็นพังผืดในอุ้งเชิงกรานได้ ภาวะโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ก็จะทำให้ผู้ป่วยปวดท้องประจำเดือนมาก และมากขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปอาจนำไปสู่ภาวะปัญหาการมีบุตรยาก เนื่องจากเกิดพังผืดในอุ้งเชิงกราน

 

การรักษา

    การรักษาภาวะปวดท้องประจำเดือนแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย ในกรณีที่ตรวจดูแล้วไม่พบรอยโรคผิดปกติ แพทย์จะให้การรักษาด้วยการรับประทานยาแก้ปวด ถ้าตรวจพบเนื้องอกหรือซีสต์ขนาดไม่ใหญ่มาก ก็จะพิจารณาให้ฮอร์โมนเพื่อเป็นการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการ โดยแพทย์จะวินิจฉัยและรักษาตามความเหมาะสมกับแต่ละราย

     อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การดูแลตนเอง โดยเฉพาะผู้หญิงควรได้รับการตรวจสุขภาพโรคเฉพาะด้านนรีเวชวิทยาอย่างน้อยปีละครั้ง พร้อมทั้งคอยหมั่นสังเกตรอบประจำเดือนของตัวเองว่ามาสม่ำเสมอหรือไม่ และที่สำคัญคือ ภาวะการปวดประจำเดือน ถ้ามีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง