คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

     ผู้ที่ต้องได้รับการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม อาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรักษา ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เพื่อนำมาตอบข้อสงสัย ดังนี้

1. ข้อเข่าเทียมจะอยู่ได้นานแค่ไหน?       

     ตามสถิติ โอกาสที่ข้อเข่าเทียมจะหลวมเสียภายใน 10 ปี ประมาณร้อยละ 5 โอกาสที่ข้อเข่าเทียมจะหลวมเสียภายใน 20 ปี ประมาณร้อยละ 10-15  และโอกาสที่ข้อเข่าเทียมจะอยู่นานกว่า 20 ปี ประมาณร้อยละ 80 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ         

  • การใช้งานของผู้ป่วย
  • ความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์กระดูก
  • คุณสมบัติของข้อเทียม

     ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่ออายุของข้อเทียมเกือบร้อยละ 80 ขึ้นอยู่กับ ข้อ 1 และ 2 สิ่งที่ผู้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมควรทำ คือ ดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น ไม่นั่งยองๆ โดยไม่จำเป็น ไม่วิ่งทางไกล 10-20 กิโลเมตร ไม่เล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะ เช่น ฟุตบอล

     ถ้าดูแลตัวเองดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ให้ตัวเองติดเชื้อที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานานๆ ไม่ปล่อยให้ฟันผุ เหงือกอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือเป็นแผลที่เล็บเท้า ปัจจัยที่ดีเหล่านี้จะส่งผลให้ข้อเข่าเทียมมีอายุยาวนานขึ้น

2. ข้อเข่าราคาแพงมีอายุการใช้งานนานกว่าข้อเข่าราคาถูกใช่หรือไม่?

     ราคาแพงของข้อไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกถึงคุณภาพข้อที่ดีเสมอไป ต้องประกอบกับการผ่าตัดให้ข้อเข่าเข้าได้กับกายวิภาคของข้อเข่า ความสมดุลของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่าข้อเทียมราคาสูงหลายชนิดหากประกอบกับข้อเข่าผู้ป่วยไม่ได้ดี อายุการใช้งานก็ไม่สูงก็ได้

3. การเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะทำให้ขาสั้นลงหรือไม่?

     ขาไม่สั้นลง แต่ขาจะยาวขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนผ่าตัด เพราะขาที่ผ่าตัดแล้วจะยืดตรงขึ้น เนื่องจากการที่ขาโก่งทำให้คนตัวเตี้ยลง ถ้าขาโก่งทั้งสองข้าง ขาข้างที่ไม่ได้ผ่าจึงสั้นกว่า

4. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าต่างโรงพยาบาลกัน จะทำให้ขาไม่เท่ากันหรือไม่?

     ถ้าเป็นไปได้ ควรผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมกับแพทย์คนเดียวกัน แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป เพราะศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัดจะพยายามจัดขาให้ความยาวเท่ากัน

5. สาเหตุอะไรบ้างที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้?

     ภาวะเจ็บป่วยทั่วไป เช่น ฟันผุ ไอ ไข้หวัด หรือว่าเป็นงูสวัด ควรรักษาโรคเหล่านี้ให้หายก่อนจะมาผ่าตัด เพราะร่างกายต้องแข็งแรงที่สุด ณ วันผ่าตัด

     ผู้ที่เป็นโรค เบาหวาน โรคหัวใจ หรือความดันโลหิตสูง แม้จะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแต่ก็ต้องควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติเสียก่อน เช่น ระดับน้ำตาลไม่ควรเกิน 150  mg/de ความดันโลหิตไม่ควรเกิน 140-150 mmHg

     ถ้าเป็นโรคหัวใจต้องไปทดสอบและปรึกษาหมอโรคหัวใจก่อนว่าผ่าตัดได้หรือไม่ ถ้าความเสี่ยงสูงก็ยังไม่สมควรผ่าตัด ต้องกลับไปรักษาโรคหัวใจให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเสียก่อน

     ข้อห้าม ถ้ามีการติดเชื้อรุนแรง ณ วันนั้น ไม่ควรมาผ่าตัดเลย ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อบริเวณรอบข้อเข่า หรือบริเวณอื่นในร่างกาย ควรเลื่อนการผ่าตัดไปก่อน ภาวะอื่นที่ไม่ควรผ่าตัด เช่น ผู้ป่วยอัมพาต อัมพฤกษ์ ซึ่งไม่มีกำลังกล้ามเนื้อเลย ผ่าตัดแล้วก็ไม่สามารถเดินได้ กล้ามเนื้อเป็นพังผืด งอเหยียดไม่ออก หรืเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อเสียไปแล้ว

6. เป็นโรคกระดูกทับเส้นประสาทที่บริเวณหลัง ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้หรือไม่?

     สามารถผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้ ยิ่งกว่านั้นเมื่อผ่าตัดแล้วอาจช่วยให้โรคดังกล่าวดีขึ้น

7. ข้อเทียมที่ใช้เป็นโลหะจะเป็นสายล่อฟ้าหรือไม่?

     ไม่เป็น เพราะข้อเทียมทำจากโลหะผสมพิเศษ เช่น ไทเทเนียม โครบอลต์โครเมียม หรือเซรามิก ซึ่งไม่ทำปฏิกิริยากับไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีความแข็งแรงทนทาน สามารถออกไปเดินเวลาฝนตกได้

8. ผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกบางจะเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้หรือไม่?

     เปลี่ยนได้แต่ต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะระหว่างผ่าตัดกระดูกที่บางอาจแตกหักได้ง่ายกว่ากระดูกที่ปกติ และหลังผ่าตัดก็อาจเสี่ยงต่อการหักอีกได้ นอกจากนี้ ต้องเลือกข้อเข่าเทียมที่เหมาะสมกับกระดูก และจัดสมดุลให้ดี ความตึงตัวของเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อเข่าต้องแข็งแรงและมั่นคงพอ หลังการผ่าตัดผู้ป่วยควรตรวจเพิ่มเติมและรักษาภาวะกระดูกบางด้วย

9. หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมห้ามรับประทานอาหารบางชนิดหรือไม่?

     รับประทานได้ทุกอย่าง ยกเว้นผู้ป่วยที่มีโรคเดิม เช่น โรคเกาต์ ก็ต้องควบคุมอาหารที่กระตุ้นอาการ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานก็ต้องควบคุมแป้งและน้ำตาล สิ่งที่ผู้เปลี่ยนข้อเข่าเทียมควรระวัง คือ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป

10. การงอเข่าก่อนและหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม สามารถทำได้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?

     ความสามารถในการงอเข่าหลังผ่าตัดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ที่สำคัญมากที่สุด คือ องศาการงอก่อนผ่าตัด ถ้าก่อนผ่าตัดผู้ป่วยปล่อยให้อาการลุกลามจนงอเข่าไม่ได้ หลังผ่าตัดอาจงอเข่าได้มากขึ้นกว่าเดิมเพียงร้อยละ 20 ถ้าก่อนผ่าตัดยังงอพับได้สุดโอกาสจะงอพับได้สุดก็มีสูง และขึ้นอยู่กับแพทย์ผ่าตัดด้วยว่าจัดสมดุลได้ดีหรือไม่ เลือกขนาดข้อเข่าเทียมได้เหมาะสมหรือไม่ สำหรับข้อเทียมที่ออกแบบมาเพื่อให้รองรับการงอมากเป็นพิเศษ มีส่วนช่วยได้บ้างแต่ไม่มาก อีกปัจจัยที่จะช่วยให้การงอเหยียดเข่าได้มากขึ้น คือ การทำกายภาพบำบัด ฝึกฝนตนเองหลังจากผ่าตัดแล้ว ถ้าหมั่นทำ ขยันทำสม่ำเสมอ จะช่วยให้สามารถงอเหยียดเข่าได้มากขึ้น

11. การผ่าตัดใช้เวลานานเท่าไร?

     ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ และความเชี่ยวชาญของแพทย์ โดยเฉลี่ยประมาณ 1-2 ชั่วโมง

12. หลังการผ่าตัด จะต้องพักฟื้นนานเท่าไร?

     ส่วนใหญ่ภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด ทีมงานจะกระตุ้นผู้ป่วยให้ลุก นั่ง ยืน เพื่อฝึกเดิน ฝึกเข้าห้องน้ำเอง ช่วยเหลือตัวเองได้ ฝึกยืนเดินรอบห้องได้ ขึ้น-ลงบันไดก่อนกลับบ้านประมาณ 5-10 ขั้น โดยเฉลี่ยจะอยู่โรงพยาบาลประมาณ 5-7 วัน ก็สามารถกลับบ้านโดยช่วยเหลือตนเองได้

13. อายุสูงสุดของผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมคือเท่าไหร่?

     สุขภาพและความแข็งแรงของร่างกายสำคัญมากกว่าอายุ ผู้มีอายุมากกว่า 90 ปี มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเพราะยังแข็งแรงและช่วยเหลือตัวเองได้

14. เคยมีกรณีผ่าตัดเปลี่ยนเข่า 2 ข้างพร้อมกันหรือไม่?

     ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข คือ สุขภาพทั่วไปของผู้ป่วยต้องแข็งแรง จึงจะสามารถผ่าตัดขาทั้งสองข้างพร้อมกันได้อย่างปลอดภัย เช่น อายุไม่เกิน 70 ปี ไม่มีโรคร้ายแรงอย่างโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทีมแพทย์ต้องมีความเชี่ยวชาญเพื่อใช้เวลาการผ่าตัดให้พอเหมาะไม่นานเกินไป รวมทั้งต้องมีทีมนักกายภาพบำบัดคอยดูแล ทีมวิสัญญี และทีมแพทย์ต้องตรวจสอบระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัดได้อย่างรวดเร็วด้วยความเชี่ยวชาญ จึงจะทำให้การผ่าตัดนั้นปลอดภัย

15. ทำไมไม่ผ่าตัดเปลี่ยนเข่าทีเดียวทั้ง 2 ข้างไปเลย?

     เพราะการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เนื่องจากข้อเข่าเทียมอย่างไรก็สู้ข้อเข่าตามธรรมชาติไม่ได้  นอกจากนี้ยังมีอายุการใช้งานจำกัด ต้องดูแลให้ดีด้วย รวมถึงต้องให้ร่างกายแข็งแรง ไม่มีการติดเชื้อที่ใดที่หนึ่งในร่างกายเป็นเวลานานๆ เช่น ฟันก็ไม่ผุเป็นหนอง เล็บไม่ขบ ไม่ควรปล่อยให้กระเพาะปัสสาวะหรือทางเดินหายใจติดเชื้อ เพราะเชื้อโรคจะเข้ากระแสเลือดและกระจายไปสู่ข้อเข่าเทียมได้ ดังนั้น จึงควรใช้ข้อเข่าเทียมก็ต่อเมื่อข้อเข่าจริงใช้งานไม่ได้แล้ว ถ้าเราใช้ข้อเข่าเทียมก่อนวัยอันควร ก็มีโอกาสต้องกลับมาซ่อมอีก

16. ผ่าตัดเข่าและสะโพกพร้อมกันได้เลยหรือไม่?

     การผ่าเข่ากับสะโพกพร้อมกันก็มีบ้างแต่ไม่นิยมทำ เพราะการผ่าตัดแต่ละอย่างถือว่าเป็นการผ่าตัดใหญ่ ดังนั้น การผ่าพร้อมกันจึงมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัดสะโพกพร้อมกัน 2 ข้าง หรือผ่าตัดข้อเข่าพร้อมกัน 2 ข้าง และโดยทั่วไปมักพบว่าเป็นข้อสะโพกเสื่อมหรือข้อเข่าเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ค่อยพบว่าทั้งข้อสะโพกและข้อเข่าเสื่อมพร้อมกัน

17. ทำไมรู้สึกอุ่นที่แผลหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม?      

     เกิดจากกระบวนการซ่อมแซมแผล โดยมักจะรู้สึกอุ่นประมาณ 3 เดือน หลังการผ่าตัด โดยเฉพาะหลังการฝึกออกกำลังกายงอเหยียดเข่าใหม่ๆ

18. ทำไมรู้สึกชารอบแผล?

     หลังการผ่าตัดอาจรู้สึกชารอบแผลได้ เนื่องจากเส้นประสาทสัมผัสสูญเสียการทำงานชั่วคราว แต่ไม่มีผลเสียและจะหายเป็นปกติเกือบทั้งหมดในช่วง 3 เดือนแรก

19. ทำไมขาบวมหลังการผ่าตัด?

     มักเกิดจากการไหลกลับของหลอดเลือดดำสู่หัวใจช้าลง เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ขาบีบตัวน้อยลง แก้ไขโดยการยกขาสูงในขณะที่นั่ง นอน ถ้ามีอาการบวมมากกว่าปกติหรือปวดร่วมด้วย ต้องระวังเรื่องเส้นเลือดดำอุดตัน

20. ทำไมรู้สึกปวดหลังการผ่าตัด?

     หลังการผ่าตัดข้อเทียมอาจมีอาการปวด แต่ควรน้อยกว่าก่อนการผ่าตัด ถ้ามีอาการปวดมากควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเกิดจากการติดเชื้อหรือข้อเทียมหลวม

21. ทำไมงอข้อได้ไม่สุด ข้อเทียมผิดปกติหรือไม่?  

     หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ควรงอเข่าได้อย่างน้อย 90 องศา ถ้าข้อติดมากกว่าปกติควรปรึกษาแพทย์

22. ทำไมมีเสียงดังคลิก กรอบแกรบเมื่อขยับข้อ?            

     หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เมื่อเหยียดงอเข่าอาจมีเสียงดังคลิก กรอบแกรบ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเสียงดังและเจ็บปวดควรรีบไปพบแพทย์ เพราะแสดงว่าต้องมีสิ่งผิดปกติ อาจเป็นเพราะมุมหรือทิศทางของข้อเข่าเทียมไม่เข้าที่ที่ควรจะเป็น หรือเอ็นฉีกขาด เป็นต้น

23. จะต้องปรับบ้านหลังการผ่าตัดหรือไม่?

โดยปกติมักไม่จำเป็น ยกเว้นอุปกรณ์บางอย่าง เช่น ราวบันได เก้าอี้ควรมีพนักพิง และมีความสูงอย่างน้อย 45 เซนติเมตร

ข้อมูลจาก : รศ.นพ.พัชรพล อุดมเกียรติ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

     ผู้ที่ต้องได้รับการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม อาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรักษา ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เพื่อนำมาตอบข้อสงสัย ดังนี้

1. ข้อเข่าเทียมจะอยู่ได้นานแค่ไหน?       

     ตามสถิติ โอกาสที่ข้อเข่าเทียมจะหลวมเสียภายใน 10 ปี ประมาณร้อยละ 5 โอกาสที่ข้อเข่าเทียมจะหลวมเสียภายใน 20 ปี ประมาณร้อยละ 10-15  และโอกาสที่ข้อเข่าเทียมจะอยู่นานกว่า 20 ปี ประมาณร้อยละ 80 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ         

  • การใช้งานของผู้ป่วย
  • ความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์กระดูก
  • คุณสมบัติของข้อเทียม

     ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่ออายุของข้อเทียมเกือบร้อยละ 80 ขึ้นอยู่กับ ข้อ 1 และ 2 สิ่งที่ผู้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมควรทำ คือ ดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น ไม่นั่งยองๆ โดยไม่จำเป็น ไม่วิ่งทางไกล 10-20 กิโลเมตร ไม่เล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะ เช่น ฟุตบอล

     ถ้าดูแลตัวเองดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ให้ตัวเองติดเชื้อที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานานๆ ไม่ปล่อยให้ฟันผุ เหงือกอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือเป็นแผลที่เล็บเท้า ปัจจัยที่ดีเหล่านี้จะส่งผลให้ข้อเข่าเทียมมีอายุยาวนานขึ้น

2. ข้อเข่าราคาแพงมีอายุการใช้งานนานกว่าข้อเข่าราคาถูกใช่หรือไม่?

     ราคาแพงของข้อไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกถึงคุณภาพข้อที่ดีเสมอไป ต้องประกอบกับการผ่าตัดให้ข้อเข่าเข้าได้กับกายวิภาคของข้อเข่า ความสมดุลของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่าข้อเทียมราคาสูงหลายชนิดหากประกอบกับข้อเข่าผู้ป่วยไม่ได้ดี อายุการใช้งานก็ไม่สูงก็ได้

3. การเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะทำให้ขาสั้นลงหรือไม่?

     ขาไม่สั้นลง แต่ขาจะยาวขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนผ่าตัด เพราะขาที่ผ่าตัดแล้วจะยืดตรงขึ้น เนื่องจากการที่ขาโก่งทำให้คนตัวเตี้ยลง ถ้าขาโก่งทั้งสองข้าง ขาข้างที่ไม่ได้ผ่าจึงสั้นกว่า

4. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าต่างโรงพยาบาลกัน จะทำให้ขาไม่เท่ากันหรือไม่?

     ถ้าเป็นไปได้ ควรผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมกับแพทย์คนเดียวกัน แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป เพราะศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัดจะพยายามจัดขาให้ความยาวเท่ากัน

5. สาเหตุอะไรบ้างที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้?

     ภาวะเจ็บป่วยทั่วไป เช่น ฟันผุ ไอ ไข้หวัด หรือว่าเป็นงูสวัด ควรรักษาโรคเหล่านี้ให้หายก่อนจะมาผ่าตัด เพราะร่างกายต้องแข็งแรงที่สุด ณ วันผ่าตัด

     ผู้ที่เป็นโรค เบาหวาน โรคหัวใจ หรือความดันโลหิตสูง แม้จะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแต่ก็ต้องควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติเสียก่อน เช่น ระดับน้ำตาลไม่ควรเกิน 150  mg/de ความดันโลหิตไม่ควรเกิน 140-150 mmHg

     ถ้าเป็นโรคหัวใจต้องไปทดสอบและปรึกษาหมอโรคหัวใจก่อนว่าผ่าตัดได้หรือไม่ ถ้าความเสี่ยงสูงก็ยังไม่สมควรผ่าตัด ต้องกลับไปรักษาโรคหัวใจให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเสียก่อน

     ข้อห้าม ถ้ามีการติดเชื้อรุนแรง ณ วันนั้น ไม่ควรมาผ่าตัดเลย ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อบริเวณรอบข้อเข่า หรือบริเวณอื่นในร่างกาย ควรเลื่อนการผ่าตัดไปก่อน ภาวะอื่นที่ไม่ควรผ่าตัด เช่น ผู้ป่วยอัมพาต อัมพฤกษ์ ซึ่งไม่มีกำลังกล้ามเนื้อเลย ผ่าตัดแล้วก็ไม่สามารถเดินได้ กล้ามเนื้อเป็นพังผืด งอเหยียดไม่ออก หรืเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อเสียไปแล้ว

6. เป็นโรคกระดูกทับเส้นประสาทที่บริเวณหลัง ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้หรือไม่?

     สามารถผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้ ยิ่งกว่านั้นเมื่อผ่าตัดแล้วอาจช่วยให้โรคดังกล่าวดีขึ้น

7. ข้อเทียมที่ใช้เป็นโลหะจะเป็นสายล่อฟ้าหรือไม่?

     ไม่เป็น เพราะข้อเทียมทำจากโลหะผสมพิเศษ เช่น ไทเทเนียม โครบอลต์โครเมียม หรือเซรามิก ซึ่งไม่ทำปฏิกิริยากับไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีความแข็งแรงทนทาน สามารถออกไปเดินเวลาฝนตกได้

8. ผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกบางจะเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้หรือไม่?

     เปลี่ยนได้แต่ต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะระหว่างผ่าตัดกระดูกที่บางอาจแตกหักได้ง่ายกว่ากระดูกที่ปกติ และหลังผ่าตัดก็อาจเสี่ยงต่อการหักอีกได้ นอกจากนี้ ต้องเลือกข้อเข่าเทียมที่เหมาะสมกับกระดูก และจัดสมดุลให้ดี ความตึงตัวของเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อเข่าต้องแข็งแรงและมั่นคงพอ หลังการผ่าตัดผู้ป่วยควรตรวจเพิ่มเติมและรักษาภาวะกระดูกบางด้วย

9. หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมห้ามรับประทานอาหารบางชนิดหรือไม่?

     รับประทานได้ทุกอย่าง ยกเว้นผู้ป่วยที่มีโรคเดิม เช่น โรคเกาต์ ก็ต้องควบคุมอาหารที่กระตุ้นอาการ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานก็ต้องควบคุมแป้งและน้ำตาล สิ่งที่ผู้เปลี่ยนข้อเข่าเทียมควรระวัง คือ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป

10. การงอเข่าก่อนและหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม สามารถทำได้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?

     ความสามารถในการงอเข่าหลังผ่าตัดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ที่สำคัญมากที่สุด คือ องศาการงอก่อนผ่าตัด ถ้าก่อนผ่าตัดผู้ป่วยปล่อยให้อาการลุกลามจนงอเข่าไม่ได้ หลังผ่าตัดอาจงอเข่าได้มากขึ้นกว่าเดิมเพียงร้อยละ 20 ถ้าก่อนผ่าตัดยังงอพับได้สุดโอกาสจะงอพับได้สุดก็มีสูง และขึ้นอยู่กับแพทย์ผ่าตัดด้วยว่าจัดสมดุลได้ดีหรือไม่ เลือกขนาดข้อเข่าเทียมได้เหมาะสมหรือไม่ สำหรับข้อเทียมที่ออกแบบมาเพื่อให้รองรับการงอมากเป็นพิเศษ มีส่วนช่วยได้บ้างแต่ไม่มาก อีกปัจจัยที่จะช่วยให้การงอเหยียดเข่าได้มากขึ้น คือ การทำกายภาพบำบัด ฝึกฝนตนเองหลังจากผ่าตัดแล้ว ถ้าหมั่นทำ ขยันทำสม่ำเสมอ จะช่วยให้สามารถงอเหยียดเข่าได้มากขึ้น

11. การผ่าตัดใช้เวลานานเท่าไร?

     ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ และความเชี่ยวชาญของแพทย์ โดยเฉลี่ยประมาณ 1-2 ชั่วโมง

12. หลังการผ่าตัด จะต้องพักฟื้นนานเท่าไร?

     ส่วนใหญ่ภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด ทีมงานจะกระตุ้นผู้ป่วยให้ลุก นั่ง ยืน เพื่อฝึกเดิน ฝึกเข้าห้องน้ำเอง ช่วยเหลือตัวเองได้ ฝึกยืนเดินรอบห้องได้ ขึ้น-ลงบันไดก่อนกลับบ้านประมาณ 5-10 ขั้น โดยเฉลี่ยจะอยู่โรงพยาบาลประมาณ 5-7 วัน ก็สามารถกลับบ้านโดยช่วยเหลือตนเองได้

13. อายุสูงสุดของผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมคือเท่าไหร่?

     สุขภาพและความแข็งแรงของร่างกายสำคัญมากกว่าอายุ ผู้มีอายุมากกว่า 90 ปี มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเพราะยังแข็งแรงและช่วยเหลือตัวเองได้

14. เคยมีกรณีผ่าตัดเปลี่ยนเข่า 2 ข้างพร้อมกันหรือไม่?

     ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข คือ สุขภาพทั่วไปของผู้ป่วยต้องแข็งแรง จึงจะสามารถผ่าตัดขาทั้งสองข้างพร้อมกันได้อย่างปลอดภัย เช่น อายุไม่เกิน 70 ปี ไม่มีโรคร้ายแรงอย่างโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทีมแพทย์ต้องมีความเชี่ยวชาญเพื่อใช้เวลาการผ่าตัดให้พอเหมาะไม่นานเกินไป รวมทั้งต้องมีทีมนักกายภาพบำบัดคอยดูแล ทีมวิสัญญี และทีมแพทย์ต้องตรวจสอบระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัดได้อย่างรวดเร็วด้วยความเชี่ยวชาญ จึงจะทำให้การผ่าตัดนั้นปลอดภัย

15. ทำไมไม่ผ่าตัดเปลี่ยนเข่าทีเดียวทั้ง 2 ข้างไปเลย?

     เพราะการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เนื่องจากข้อเข่าเทียมอย่างไรก็สู้ข้อเข่าตามธรรมชาติไม่ได้  นอกจากนี้ยังมีอายุการใช้งานจำกัด ต้องดูแลให้ดีด้วย รวมถึงต้องให้ร่างกายแข็งแรง ไม่มีการติดเชื้อที่ใดที่หนึ่งในร่างกายเป็นเวลานานๆ เช่น ฟันก็ไม่ผุเป็นหนอง เล็บไม่ขบ ไม่ควรปล่อยให้กระเพาะปัสสาวะหรือทางเดินหายใจติดเชื้อ เพราะเชื้อโรคจะเข้ากระแสเลือดและกระจายไปสู่ข้อเข่าเทียมได้ ดังนั้น จึงควรใช้ข้อเข่าเทียมก็ต่อเมื่อข้อเข่าจริงใช้งานไม่ได้แล้ว ถ้าเราใช้ข้อเข่าเทียมก่อนวัยอันควร ก็มีโอกาสต้องกลับมาซ่อมอีก

16. ผ่าตัดเข่าและสะโพกพร้อมกันได้เลยหรือไม่?

     การผ่าเข่ากับสะโพกพร้อมกันก็มีบ้างแต่ไม่นิยมทำ เพราะการผ่าตัดแต่ละอย่างถือว่าเป็นการผ่าตัดใหญ่ ดังนั้น การผ่าพร้อมกันจึงมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัดสะโพกพร้อมกัน 2 ข้าง หรือผ่าตัดข้อเข่าพร้อมกัน 2 ข้าง และโดยทั่วไปมักพบว่าเป็นข้อสะโพกเสื่อมหรือข้อเข่าเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ค่อยพบว่าทั้งข้อสะโพกและข้อเข่าเสื่อมพร้อมกัน

17. ทำไมรู้สึกอุ่นที่แผลหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม?      

     เกิดจากกระบวนการซ่อมแซมแผล โดยมักจะรู้สึกอุ่นประมาณ 3 เดือน หลังการผ่าตัด โดยเฉพาะหลังการฝึกออกกำลังกายงอเหยียดเข่าใหม่ๆ

18. ทำไมรู้สึกชารอบแผล?

     หลังการผ่าตัดอาจรู้สึกชารอบแผลได้ เนื่องจากเส้นประสาทสัมผัสสูญเสียการทำงานชั่วคราว แต่ไม่มีผลเสียและจะหายเป็นปกติเกือบทั้งหมดในช่วง 3 เดือนแรก

19. ทำไมขาบวมหลังการผ่าตัด?

     มักเกิดจากการไหลกลับของหลอดเลือดดำสู่หัวใจช้าลง เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ขาบีบตัวน้อยลง แก้ไขโดยการยกขาสูงในขณะที่นั่ง นอน ถ้ามีอาการบวมมากกว่าปกติหรือปวดร่วมด้วย ต้องระวังเรื่องเส้นเลือดดำอุดตัน

20. ทำไมรู้สึกปวดหลังการผ่าตัด?

     หลังการผ่าตัดข้อเทียมอาจมีอาการปวด แต่ควรน้อยกว่าก่อนการผ่าตัด ถ้ามีอาการปวดมากควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเกิดจากการติดเชื้อหรือข้อเทียมหลวม

21. ทำไมงอข้อได้ไม่สุด ข้อเทียมผิดปกติหรือไม่?  

     หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ควรงอเข่าได้อย่างน้อย 90 องศา ถ้าข้อติดมากกว่าปกติควรปรึกษาแพทย์

22. ทำไมมีเสียงดังคลิก กรอบแกรบเมื่อขยับข้อ?            

     หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เมื่อเหยียดงอเข่าอาจมีเสียงดังคลิก กรอบแกรบ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเสียงดังและเจ็บปวดควรรีบไปพบแพทย์ เพราะแสดงว่าต้องมีสิ่งผิดปกติ อาจเป็นเพราะมุมหรือทิศทางของข้อเข่าเทียมไม่เข้าที่ที่ควรจะเป็น หรือเอ็นฉีกขาด เป็นต้น

23. จะต้องปรับบ้านหลังการผ่าตัดหรือไม่?

โดยปกติมักไม่จำเป็น ยกเว้นอุปกรณ์บางอย่าง เช่น ราวบันได เก้าอี้ควรมีพนักพิง และมีความสูงอย่างน้อย 45 เซนติเมตร

ข้อมูลจาก : รศ.นพ.พัชรพล อุดมเกียรติ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง