เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค “Rapid Arc” ละเอียดแม่นยำตรงจุด

เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค Rapid Arc เป็นเครื่องฉายรังสีชนิดเร่งอนุภาคพลังงานสูง จากบริษัทแวเรียนประเทศสหรัฐอเมริกา ที่สามารถทำการฉายรังสีด้วยเทคนิคการฉายแบบหมุนรอบตัวผู้ป่วยหรือที่เรียกว่า Volumetric Modulated Arc Therapy และเรียกสั้นๆ ว่า “Rapid Arc” มีความพิเศษสุดตรงที่เป็นเทคนิคใหม่ซึ่งพัฒนามากขึ้นกว่าการฉายรังสีแปรความเข้มสามมิติธรรมดา ด้วยวิธีการฉายรังสีแปรความเข้มหมุนรอบตัว ทำให้เนื้องอกได้รับปริมาณรังสีในปริมาณสูง และช่วยลดปริมาณรังสีให้กับอวัยวะข้างเคียงและเนื้อเยื่อปกติ เหมาะสำหรับโรคมะเร็งที่มีความซับซ้อน เช่น มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือสำหรับอวัยวะทุกส่วนของร่างกายก็สามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน 

   นอกจากนั้น เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค Rapid Arc ยังสามารถรองรับการฉายรังสีเทคนิค 2 มิติ 3 มิติ (3D-CRT) แปรความเข้ม 3 มิติ (IMRT) และเทคนิคการฉายแบบ 4 มิติได้อีกด้วย

ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นจากเครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค Rapid Arc

1. ผู้รับบริการได้รับความสะดวก สบาย รวดเร็วยิ่งขึ้น 

ด้วยความที่การฉายรังสีแบบ Rapid Arc นี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด พัฒนาขึ้นมาเพื่อลดเวลาในการฉายรังสีลงโดยคุณภาพในการรักษาดีขึ้นเครื่องฉายจะหมุนรอบตัวผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในหนึ่งรอบการหมุนจะมีการปรับรูปร่างของลำรังสี ปรับปริมาณรังสีไปพร้อมกับการปรับความเร็วของการหมุนของเครื่องฉาย เทคนิคนี้จะช่วยลดเวลาในการฉายรังสีให้เร็วขึ้นได้มากกว่าเทคนิคแปรความเข้มสามมิติถึง 8-10 เท่า แปลง่ายๆ ว่าผู้ป่วยจะใช้เวลาในการฉายรังสีเพียง 2-5 นาที จากเดิมใช้เวลา 15-20 นาที ผู้ป่วยจะได้รับความสะดวกสบายในการรักษา ลดอาการปวดเมื่อยจากการกดทับเมื่อมีการนอนรักษาเป็นเวลานาน และสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างรวดเร็ว

2. ประสิทธิภาพในการรักษาดีขึ้น 

เมื่อสามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างของลำรังสีตามขอบเขตของก้อนเนื้องอก จากการใช้อุปกรณ์กำบังรังสีแบบซี่ (Multi-Leaf Collimator: MLC) ก็ยิ่งทำให้การฉายรังสีแบบ Rapid Arc มีความแม่นยำตรงตามแผนการรักษาที่วางไว้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความถูกต้องและแม่นยำสูงยังช่วยให้สามารถเพิ่มปริมาณรังสีได้สูงขึ้น จึงถือว่าเป็นแผนการให้รังสีที่ดีที่สุดในขณะนี้ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาแล้วยังเพิ่มโอกาสในการหายขาดจากโรคสูงยิ่งขึ้นด้วย ทั้งนี้น่าสังเกตว่าด้วยเทคนิคดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยนอนในห้องฉายแสงเป็นเวลาสั้นๆ ทำให้ลดความคลาดเคลื่อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยในระหว่างการฉายรังสีลงได้อีกด้วย

 

ศูนย์มะเร็ง,Rapid Arc,เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค,ฉายรังสี,รังสีรักษา

 

ภาพ A-D แสดงการกระจายของรังสี (บริเวณที่มีสี)ครอบคลุมก้อนเนื้อที่ต้องการรักษา (เส้นสีเหลือง)

3.ลดผลข้างเคียงจากการฉายรังสี 

เมื่อเปรียบเทียบกับการฉายรังสีด้วยเทคนิคเดิมแล้ว พบว่าการฉายรังสีแบบ Rapid Arc ช่วยใหอวัยวะข้างเคียงได้รับปริมาณรังสีลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อวัยวะที่ติดกับก้อนเนื้องอกหรือมีความทนต่อรังสี น้อยทำให้ภาวะแทรกซ้อนจากการฉายรังสีเกิดขึ้นน้อยลง เช่น อาการน้ำลายแห้ง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และอาการถ่ายเป็นเลือดจากลำไส้อักเสบ เป็นต้น ส่งผลใหผู้รั้บการรักษามีคุณภาพชีวิตในระยะยาวที่ดีขึ้น

 

ศูนย์มะเร็ง,Rapid Arc,เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค,ฉายรังสี,รังสีรักษา

 

ภาพแสดงการกระจายรังสี (บริเวณที่มีสี ) ของภาพตัดขวางบริเวณช่องปากด้วยเทคนิค Rapid Arc
จะมีการครอบคลุมของรังสีบริเวณที่ต้องการรักษา (บริเวณเส้นสีนํ้าเงินและแดง) ได้ดีกว่า และรังสีโดนอวัยวะปกติน้อยกว่าเทคนิค IMRT

4. เพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการฉายรังสี 

การฉายรังสีแบบ Rapid Arc สามารถให้การรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เนื่องจากการติดตั้งระบบภาพนำวิถีภายในตัวเครื่อง หรือ On-Board Imager: OBI ซึ่งสามารถถ่ายภาพเอกซเรย์ และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Cone Beam CT: CBCT) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่งการฉายรังสีก่อนทำการฉายรังสีจริงใหกั้บผู้ป่วย ทำให้การรักษาถูกต้อง ตรงตามตำแหน่งและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ศูนย์มะเร็ง,Rapid Arc,เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค,ฉายรังสี,รังสีรักษา

 

การเช็คภาพ CBCT จากห้องฉายรังสี Rapid Arc ร่วมกับภาพจาก CT simulation
(เอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อวางแผนการรักษาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่งการฉายรังสี

   ทั้งหมดที่กล่าวข้างต้น ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะพบกับอีกหนึ่งนวัตกรรมการรักษาโรคมะเร็งที่แม่นยำขึ้น ใช้เวลาน้อยกว่าที่เคย รวมทั้งปลอดภัยจากผลข้างเคียงมากขึ้น เครื่องฉายเร่งอนุภาค Rapid Arc จึงเป็นเครื่องมือทางการแพทย์อีกเครื่องมือหนึ่งที่สะท้อนความพร้อมและมุ่งมั่นของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ยกระดับสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสู่สากล และมีความทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีของผู้รับการรักษาทุกคน

  "โรคมะเร็ง" ยังคงเป็นโรคที่ใครหลายคนมักหวั่นกลัวเมื่อได้ยินอยู่เสมอ แต่วันนี้เราอาจจะต้องปรับเปลี่ยนความเชื่อเสียใหม่ เพราะปัจจุบันนี้วิทยาการทางการแพทย์ก็ล้วนมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก ทำให้มนุษย์เราสามารถค้นพบเครื่องมือและวิธีการที่ใช้จัดการกับมะเร็งร้ายได้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ที่ศูนย์รังสีรักษา โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (เปิดให้บริการที่ชั้นใต้ดิน B2) นั้นเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจในการให้บริการของโรงพยาบาลที่มีความทันสมัยของเครื่องมือทางการรักษาที่เรียกว่า เครื่องฉายเร่งอนุภาคชนิด “Rapid Arc” ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องแรกของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลอีกด้วย

 

ศูนย์มะเร็ง,Rapid Arc,เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค,ฉายรังสี,รังสีรักษา

 

รังสีรักษาคืออะไร? 

โดยทั่วไปแล้ว “รังสีรักษา” หรือเรียกง่ายๆ ว่า “การฉายรังสี” เป็นวิธีหนึ่งที่มีการนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเป็นอันดับต้นๆ รังสีที่ว่านี้จะอยู่ในรูปของคลื่นที่มีพลังงานสูง สามารถทะลุผ่านสิ่งต่างๆ ได้ดี เช่นรังสีเอกซเรย์ หรือ แกมมาเรย์ หรืออยู่ในรูปของอนุภาค เช่น ลำรังสีอิเลคตรอน โดยเป้าหมายที่สำคัญของการฉายรังสีคือ ทำให้ก้อนมะเร็งได้รับรังสีสูงที่สุดเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งในขณะที่อวัยวะสำคัญข้างเคียงจะต้องได้รับรังสีน้อยที่สุดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการฉายรังสี

วิธีให้รังสีรักษาทำได้อย่างไรบ้าง?

การฉายรังสีจากภายนอก (External Radiation Therapy) (Linear Accelerator) โดยจะสามารถส่งผ่านลำรังสีพลังงานสูงนี้ไปยังเป้าหมายได้อย่างแม่นยำแม้ว่าก้อนมะเร็งนั้นจะอยู่ตรงตำแหน่งไหนของร่างกายก็ตาม การฉายรังสีแบบภายใน (Brachytherapy) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “การใส่แร่” ซึ่งก็คือการสอดใส่สารกัมมันตรังสีเช่น อิริเดียม 192 หรือ โคบอลท์ 60 เข้าสู่ร่างกายในตำแหน่งของเนื้องอกโดยตรง มีผลให้เนื้องอกได้รับปริมาณรังสีสูง ในขณะที่อวัยวะสำคัญข้างเคียงได้รับรังสีน้อย วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษามะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก เป็นต้น

สู่อีกขั้นของนวัตกรรมการฉายรังสี

สำหรับประเทศไทยนั้น วิวัฒนาการในการฉายรังสีของประเทศไทยเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 คือเริ่มมีการใช้วิธีฉายรังสีจากภายนอกเป็นครั้งแรก และนับจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเทคนิคที่น่าสนใจดังนี้

  • การฉายรังสีแบบธรรมดา (Conventional Technique)
    เทคนิคนี้ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก ส่วนใหญ่จะฉายรังสีเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมหรือวงกลมโดยอ้างอิงจากภาพเอกซเรย์กระดูกแบบธรรมดาที่จะใช้กระดูกในบริเวณใกล้เคียงเนื้องอกหรือมะเร็งนั้นเป็นอวัยวะอ้างอิง ใช้ในการรักษาโรคที่มีความซับซ้อนไม่มากนัก
  • การฉายรังสีแบบสองมิติ (Two Dimensional Technique)
    เป็นเทคนิคการฉายรังสีที่พัฒนามาจากประเภทแรก โดยมีการใช้ภาพเอกซเรย์ 2 มิติ คำนวณการรักษาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์วางแผนการรักษา
  • การฉายรังสีสามมิติ (Three Dimensional Conformal Radiation Therapy: 3D-CRT)
    เป็นการรักษาที่ใช้ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทำให้เห็นก้อนเนื้องอกและอวัยวะปกติในรูป 3 มิติ ทำให้แพทย์สามารถกำหนดขอบเขตการรักษาได้แม่นยำมากขึ้น และนักฟิสิกส์การแพทย์สามารถวางแผนการรักษาโดยใช้ลำรังสีเข้าได้หลายทิศทางด้วยคอมพิวเตอร์ วิธีนี้จะทำให้ปริมาณรังสีกระจายอย่างสม่ำเสมอครอบคลุมก้อนเนื้องอกและยังลดปริมาณรังสีต่ออวัยวะข้างเคียงทั้งนี้การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะกับรอยโรคที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน
  • การฉายรังสีแบบสี่มิติ (Four Dimensional Radiation Therapy)
    วิธีนี้เป็นการฉายรังสีที่เหมาะกับรอยโรคที่มีการเคลื่อนไหวเช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน เป็นต้นเพราะในขณะที่ผู้ป่วยหายใจหรือขยับตัว ก็จะยังคงมีเครื่องมือตรวจจับการหายใจบนตัวผู้ป่วยขณะถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือขณะฉายรังสีด้วยวิธีนี้จะทำให้สามารถกำหนดขอบเขตก้อนเนื้องอกได้ถูกต้องและครอบคลุมตลอดทุกช่วงการหายใจ มีผลให้อวัยวะข้างเคียงได้รับปริมาณรังสีลดลงเป็นการช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากรังสี และสามารถเพิ่มปริมาณรังสีที่ก้อนเนื้องอกได้สูงขึ้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E

เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค Rapid Arc เป็นเครื่องฉายรังสีชนิดเร่งอนุภาคพลังงานสูง จากบริษัทแวเรียนประเทศสหรัฐอเมริกา ที่สามารถทำการฉายรังสีด้วยเทคนิคการฉายแบบหมุนรอบตัวผู้ป่วยหรือที่เรียกว่า Volumetric Modulated Arc Therapy และเรียกสั้นๆ ว่า “Rapid Arc” มีความพิเศษสุดตรงที่เป็นเทคนิคใหม่ซึ่งพัฒนามากขึ้นกว่าการฉายรังสีแปรความเข้มสามมิติธรรมดา ด้วยวิธีการฉายรังสีแปรความเข้มหมุนรอบตัว ทำให้เนื้องอกได้รับปริมาณรังสีในปริมาณสูง และช่วยลดปริมาณรังสีให้กับอวัยวะข้างเคียงและเนื้อเยื่อปกติ เหมาะสำหรับโรคมะเร็งที่มีความซับซ้อน เช่น มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือสำหรับอวัยวะทุกส่วนของร่างกายก็สามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน 

   นอกจากนั้น เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค Rapid Arc ยังสามารถรองรับการฉายรังสีเทคนิค 2 มิติ 3 มิติ (3D-CRT) แปรความเข้ม 3 มิติ (IMRT) และเทคนิคการฉายแบบ 4 มิติได้อีกด้วย

ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นจากเครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค Rapid Arc

1. ผู้รับบริการได้รับความสะดวก สบาย รวดเร็วยิ่งขึ้น 

ด้วยความที่การฉายรังสีแบบ Rapid Arc นี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด พัฒนาขึ้นมาเพื่อลดเวลาในการฉายรังสีลงโดยคุณภาพในการรักษาดีขึ้นเครื่องฉายจะหมุนรอบตัวผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในหนึ่งรอบการหมุนจะมีการปรับรูปร่างของลำรังสี ปรับปริมาณรังสีไปพร้อมกับการปรับความเร็วของการหมุนของเครื่องฉาย เทคนิคนี้จะช่วยลดเวลาในการฉายรังสีให้เร็วขึ้นได้มากกว่าเทคนิคแปรความเข้มสามมิติถึง 8-10 เท่า แปลง่ายๆ ว่าผู้ป่วยจะใช้เวลาในการฉายรังสีเพียง 2-5 นาที จากเดิมใช้เวลา 15-20 นาที ผู้ป่วยจะได้รับความสะดวกสบายในการรักษา ลดอาการปวดเมื่อยจากการกดทับเมื่อมีการนอนรักษาเป็นเวลานาน และสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างรวดเร็ว

2. ประสิทธิภาพในการรักษาดีขึ้น 

เมื่อสามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างของลำรังสีตามขอบเขตของก้อนเนื้องอก จากการใช้อุปกรณ์กำบังรังสีแบบซี่ (Multi-Leaf Collimator: MLC) ก็ยิ่งทำให้การฉายรังสีแบบ Rapid Arc มีความแม่นยำตรงตามแผนการรักษาที่วางไว้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความถูกต้องและแม่นยำสูงยังช่วยให้สามารถเพิ่มปริมาณรังสีได้สูงขึ้น จึงถือว่าเป็นแผนการให้รังสีที่ดีที่สุดในขณะนี้ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาแล้วยังเพิ่มโอกาสในการหายขาดจากโรคสูงยิ่งขึ้นด้วย ทั้งนี้น่าสังเกตว่าด้วยเทคนิคดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยนอนในห้องฉายแสงเป็นเวลาสั้นๆ ทำให้ลดความคลาดเคลื่อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยในระหว่างการฉายรังสีลงได้อีกด้วย

 

ศูนย์มะเร็ง,Rapid Arc,เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค,ฉายรังสี,รังสีรักษา

 

ภาพ A-D แสดงการกระจายของรังสี (บริเวณที่มีสี)ครอบคลุมก้อนเนื้อที่ต้องการรักษา (เส้นสีเหลือง)

3.ลดผลข้างเคียงจากการฉายรังสี 

เมื่อเปรียบเทียบกับการฉายรังสีด้วยเทคนิคเดิมแล้ว พบว่าการฉายรังสีแบบ Rapid Arc ช่วยใหอวัยวะข้างเคียงได้รับปริมาณรังสีลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อวัยวะที่ติดกับก้อนเนื้องอกหรือมีความทนต่อรังสี น้อยทำให้ภาวะแทรกซ้อนจากการฉายรังสีเกิดขึ้นน้อยลง เช่น อาการน้ำลายแห้ง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และอาการถ่ายเป็นเลือดจากลำไส้อักเสบ เป็นต้น ส่งผลใหผู้รั้บการรักษามีคุณภาพชีวิตในระยะยาวที่ดีขึ้น

 

ศูนย์มะเร็ง,Rapid Arc,เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค,ฉายรังสี,รังสีรักษา

 

ภาพแสดงการกระจายรังสี (บริเวณที่มีสี ) ของภาพตัดขวางบริเวณช่องปากด้วยเทคนิค Rapid Arc จะมีการครอบคลุมของรังสีบริเวณที่ต้องการรักษา (บริเวณเส้นสีนํ้าเงินและแดง) ได้ดีกว่า และรังสีโดนอวัยวะปกติน้อยกว่าเทคนิค IMRT

4. เพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการฉายรังสี 

การฉายรังสีแบบ Rapid Arc สามารถให้การรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เนื่องจากการติดตั้งระบบภาพนำวิถีภายในตัวเครื่อง หรือ On-Board Imager: OBI ซึ่งสามารถถ่ายภาพเอกซเรย์ และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Cone Beam CT: CBCT) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่งการฉายรังสีก่อนทำการฉายรังสีจริงใหกั้บผู้ป่วย ทำให้การรักษาถูกต้อง ตรงตามตำแหน่งและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ศูนย์มะเร็ง,Rapid Arc,เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค,ฉายรังสี,รังสีรักษา

 

การเช็คภาพ CBCT จากห้องฉายรังสี Rapid Arc ร่วมกับภาพจาก CT simulation (เอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อวางแผนการรักษาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่งการฉายรังสี

   ทั้งหมดที่กล่าวข้างต้น ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะพบกับอีกหนึ่งนวัตกรรมการรักษาโรคมะเร็งที่แม่นยำขึ้น ใช้เวลาน้อยกว่าที่เคย รวมทั้งปลอดภัยจากผลข้างเคียงมากขึ้น เครื่องฉายเร่งอนุภาค Rapid Arc จึงเป็นเครื่องมือทางการแพทย์อีกเครื่องมือหนึ่งที่สะท้อนความพร้อมและมุ่งมั่นของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ยกระดับสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสู่สากล และมีความทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีของผู้รับการรักษาทุกคน

"โรคมะเร็ง" ยังคงเป็นโรคที่ใครหลายคนมักหวั่นกลัวเมื่อได้ยินอยู่เสมอ แต่วันนี้เราอาจจะต้องปรับเปลี่ยนความเชื่อเสียใหม่ เพราะปัจจุบันนี้วิทยาการทางการแพทย์ก็ล้วนมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก ทำให้มนุษย์เราสามารถค้นพบเครื่องมือและวิธีการที่ใช้จัดการกับมะเร็งร้ายได้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ที่ศูนย์รังสีรักษา โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (เปิดให้บริการที่ชั้นใต้ดิน B2) นั้นเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจในการให้บริการของโรงพยาบาลที่มีความทันสมัยของเครื่องมือทางการรักษาที่เรียกว่า เครื่องฉายเร่งอนุภาคชนิด “Rapid Arc” ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องแรกของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลอีกด้วย

 

ศูนย์มะเร็ง,Rapid Arc,เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค,ฉายรังสี,รังสีรักษา

 

 

รังสีรักษาคืออะไร?

โดยทั่วไปแล้ว “รังสีรักษา” หรือเรียกง่ายๆ ว่า “การฉายรังสี” เป็นวิธีหนึ่งที่มีการนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเป็นอันดับต้นๆ รังสีที่ว่านี้จะอยู่ในรูปของคลื่นที่มีพลังงานสูง สามารถทะลุผ่านสิ่งต่างๆ ได้ดี เช่นรังสีเอกซเรย์ หรือ แกมมาเรย์ หรืออยู่ในรูปของอนุภาค เช่น ลำรังสีอิเลคตรอน โดยเป้าหมายที่สำคัญของการฉายรังสีคือ ทำให้ก้อนมะเร็งได้รับรังสีสูงที่สุดเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งในขณะที่อวัยวะสำคัญข้างเคียงจะต้องได้รับรังสีน้อยที่สุดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการฉายรังสี

วิธีให้รังสีรักษาทำได้อย่างไรบ้าง?

การฉายรังสีจากภายนอก (External Radiation Therapy) (Linear Accelerator) โดยจะสามารถส่งผ่านลำรังสีพลังงานสูงนี้ไปยังเป้าหมายได้อย่างแม่นยำแม้ว่าก้อนมะเร็งนั้นจะอยู่ตรงตำแหน่งไหนของร่างกายก็ตาม การฉายรังสีแบบภายใน (Brachytherapy) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “การใส่แร่” ซึ่งก็คือการสอดใส่สารกัมมันตรังสีเช่น อิริเดียม 192 หรือ โคบอลท์ 60 เข้าสู่ร่างกายในตำแหน่งของเนื้องอกโดยตรง มีผลให้เนื้องอกได้รับปริมาณรังสีสูง ในขณะที่อวัยวะสำคัญข้างเคียงได้รับรังสีน้อย วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษามะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก เป็นต้น

สู่อีกขั้นของนวัตกรรมการฉายรังสี

สำหรับประเทศไทยนั้น วิวัฒนาการในการฉายรังสีของประเทศไทยเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 คือเริ่มมีการใช้วิธีฉายรังสีจากภายนอกเป็นครั้งแรก และนับจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเทคนิคที่น่าสนใจดังนี้

  • การฉายรังสีแบบธรรมดา (Conventional Technique)
    เทคนิคนี้ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก ส่วนใหญ่จะฉายรังสีเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมหรือวงกลมโดยอ้างอิงจากภาพเอกซเรย์กระดูกแบบธรรมดาที่จะใช้กระดูกในบริเวณใกล้เคียงเนื้องอกหรือมะเร็งนั้นเป็นอวัยวะอ้างอิง ใช้ในการรักษาโรคที่มีความซับซ้อนไม่มากนัก
  • การฉายรังสีแบบสองมิติ (Two Dimensional Technique)
    เป็นเทคนิคการฉายรังสีที่พัฒนามาจากประเภทแรก โดยมีการใช้ภาพเอกซเรย์ 2 มิติ คำนวณการรักษาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์วางแผนการรักษา
  • การฉายรังสีสามมิติ (Three Dimensional Conformal Radiation Therapy: 3D-CRT)
    เป็นการรักษาที่ใช้ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทำให้เห็นก้อนเนื้องอกและอวัยวะปกติในรูป 3 มิติ ทำให้แพทย์สามารถกำหนดขอบเขตการรักษาได้แม่นยำมากขึ้น และนักฟิสิกส์การแพทย์สามารถวางแผนการรักษาโดยใช้ลำรังสีเข้าได้หลายทิศทางด้วยคอมพิวเตอร์ วิธีนี้จะทำให้ปริมาณรังสีกระจายอย่างสม่ำเสมอครอบคลุมก้อนเนื้องอกและยังลดปริมาณรังสีต่ออวัยวะข้างเคียงทั้งนี้การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะกับรอยโรคที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน
  • การฉายรังสีแบบสี่มิติ (Four Dimensional Radiation Therapy)
    วิธีนี้เป็นการฉายรังสีที่เหมาะกับรอยโรคที่มีการเคลื่อนไหวเช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน เป็นต้นเพราะในขณะที่ผู้ป่วยหายใจหรือขยับตัว ก็จะยังคงมีเครื่องมือตรวจจับการหายใจบนตัวผู้ป่วยขณะถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือขณะฉายรังสีด้วยวิธีนี้จะทำให้สามารถกำหนดขอบเขตก้อนเนื้องอกได้ถูกต้องและครอบคลุมตลอดทุกช่วงการหายใจ มีผลให้อวัยวะข้างเคียงได้รับปริมาณรังสีลดลงเป็นการช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากรังสี และสามารถเพิ่มปริมาณรังสีที่ก้อนเนื้องอกได้สูงขึ้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง