ตัดชิ้นเนื้อ ผ่าตัดเล็กเช็คอาการเสี่ยงโรคผิวหนัง

#ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #ตัดชิ้นเนื้อ #ผ่าตัดเล็ก #เช็คอาการเสี่ยงโรคผิวหนัง #ผ่าตัดชิ้นเนื้อทางผิวหนัง #วินิจฉัยโรคผิวหนัง #คำแนะนำก่อนผ่าตัดชิ้นเนื้อ #คำแนะนำหลังผ่าตัดชิ้นเนื้อ #ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ #Skinbiopsy

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดชิ้นเนื้อทางผิวหนัง

การผ่าตัดชิ้นเนื้อทางผิวหนัง เป็นการผ่าตัดชิ้นเนื้อขนาดเล็ก สำหรับการวินิจฉัยโรค (Skin Biopsy) และวางแผนการรักษาโรคหรือภาวะทางผิวหนังบางชนิด อีกทั้งยังสามารถบอกระยะความรุนแรงของโรคว่าอยู่ในระยะใด เพื่อเตรียมการสำหรับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ในการตัดชิ้นเนื้อ

1. เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค

2. เพื่อช่วยในการรักษาโรคผิวหนังบางชนิด

3. เพื่อบอกระยะความรุนแรงของโรคว่าอยู่ในระยะใด

คำแนะนำก่อนผ่าตัด

1. ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดชิ้นเนื้อทางผิวหนัง จะได้รับทราบรายละเอียดถึงวัตถุประสงค์ของการผ่าตัดชิ้นเนื้อ รวมถึงขั้นตอนการผ่าตัดและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัด เช่น แผลติดเชื้อ แผลแยก แผลเป็น รอยดำหรือแดง การแพ้ยา ให้เข้าใจก่อนเซ็นชื่ออนุญาตในการทำผ่าตัด (ต้องบรรลุนิติภาวะ และอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์)

2. ในรายที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ หรือรับประทานยาใดอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน และผู้ที่เคยแพ้ยาต้องแจ้งให้แพทย์รับทราบเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

3. ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดชิ้นเนื้อทางผิวหนัง สามารถรับประทานอาหารอ่อนได้ก่อนผ่าตัด ไม่ต้องงดน้ำ และอาหาร

4. การผ่าตัดนี้เป็นการผ่าตัดเล็กไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หลังผ่าตัดสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้าน หรือสามารถทำงานได้ตามปกติ

คำแนะนำหลังผ่าตัด

1. อาการชาที่แผลผ่าตัด จะหายเป็นปกติในระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง

2. หลังผ่าตัดแผลอาจมีเลือดซึมบ้างเล็กน้อย แต่ถ้าซึมออกมากให้กดตรงบริเวณแผลนานประมาณ 20 นาที ถ้าเลือดยังไม่หยุดให้รีบมาพบแพทย์

3. การตัดไหมควรทำตามแพทย์กำหนด ไม่ควรตัดก่อนหรือหลัง จะทำให้แผลที่เย็บไม่ติดได้

4. ถ้ามีอาการปวดแผลให้รับประทานยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม จำนวน 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง ควรหลีกเลี่ยงยาในกลุ่มแอสไพริน เพราะจะทำให้เลือดออกง่าย

5. ไม่ควรให้แผลผ่าตัดถูกน้ำ ถ้าแผลเปียกน้ำควรรีบเปลี่ยนผ้าปิดแผลใหม่ โดยทำความสะอาดแผลด้วยแอลกอฮอล์รอบๆ แผลก่อนเปลี่ยนผ้าก๊อสปิดแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อก่อนไปพบแพทย์ ยกเว้นแผลในช่องปากหรือแผลที่อวัยวะเพศต้องทำความสะอาดบ่อยๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่แพทย์สั่งหรือน้ำสะอาด

6. ไม่ควรออกแรงหรือใช้อวัยวะส่วนที่ทำการผ่าตัด เพราะจะทำให้แผลผ่าตัดไม่ติดหรือแยกได้ และอาจเกิดการอักเสบบริเวณแผลผ่าตัดได้ ไม่ควรเดินหรือออกกำลังกายมาก ควรนั่งพักยกขาหรือเท้าให้สูง เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น

7. ควรมาฟังผลการตัดชิ้นเนื้อตามที่แพทย์นัดหมาย เพราะจะได้รับการรักษาหลังจากแพทย์ทราบผลการวินิจฉัยโรคจากการตรวจชิ้นเนื้อตรวจ เช่น โรคมะเร็งผิวหนัง โรคเรื้อน เป็นต้น

8. ถ้ามีไข้ แผลมีอาการปวด บวม แดง ร้อน ให้รีบมาพบแพทย์ เพราะอาจเกิดการอักเสบของแผลผ่าตัด

9. ถ้ามีปัญหาต้องการปรึกษา สามารถโทรติดต่อที่โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ โทร.1474 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A

#ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #ตัดชิ้นเนื้อ #ผ่าตัดเล็ก #เช็คอาการเสี่ยงโรคผิวหนัง #ผ่าตัดชิ้นเนื้อทางผิวหนัง #วินิจฉัยโรคผิวหนัง #คำแนะนำก่อนผ่าตัดชิ้นเนื้อ #คำแนะนำหลังผ่าตัดชิ้นเนื้อ #ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ #Skinbiopsy

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดชิ้นเนื้อทางผิวหนัง

การผ่าตัดชิ้นเนื้อทางผิวหนัง เป็นการผ่าตัดชิ้นเนื้อขนาดเล็ก สำหรับการวินิจฉัยโรค (Skin Biopsy) และวางแผนการรักษาโรคหรือภาวะทางผิวหนังบางชนิด อีกทั้งยังสามารถบอกระยะความรุนแรงของโรคว่าอยู่ในระยะใด เพื่อเตรียมการสำหรับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ในการตัดชิ้นเนื้อ

1. เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค

2. เพื่อช่วยในการรักษาโรคผิวหนังบางชนิด

3. เพื่อบอกระยะความรุนแรงของโรคว่าอยู่ในระยะใด

คำแนะนำก่อนผ่าตัด

1. ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดชิ้นเนื้อทางผิวหนัง จะได้รับทราบรายละเอียดถึงวัตถุประสงค์ของการผ่าตัดชิ้นเนื้อ รวมถึงขั้นตอนการผ่าตัดและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัด เช่น แผลติดเชื้อ แผลแยก แผลเป็น รอยดำหรือแดง การแพ้ยา ให้เข้าใจก่อนเซ็นชื่ออนุญาตในการทำผ่าตัด (ต้องบรรลุนิติภาวะ และอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์)

2. ในรายที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ หรือรับประทานยาใดอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน และผู้ที่เคยแพ้ยาต้องแจ้งให้แพทย์รับทราบเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

3. ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดชิ้นเนื้อทางผิวหนัง สามารถรับประทานอาหารอ่อนได้ก่อนผ่าตัด ไม่ต้องงดน้ำ และอาหาร

4. การผ่าตัดนี้เป็นการผ่าตัดเล็กไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หลังผ่าตัดสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้าน หรือสามารถทำงานได้ตามปกติ

คำแนะนำหลังผ่าตัด

1. อาการชาที่แผลผ่าตัด จะหายเป็นปกติในระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง

2. หลังผ่าตัดแผลอาจมีเลือดซึมบ้างเล็กน้อย แต่ถ้าซึมออกมากให้กดตรงบริเวณแผลนานประมาณ 20 นาที ถ้าเลือดยังไม่หยุดให้รีบมาพบแพทย์

3. การตัดไหมควรทำตามแพทย์กำหนด ไม่ควรตัดก่อนหรือหลัง จะทำให้แผลที่เย็บไม่ติดได้

4. ถ้ามีอาการปวดแผลให้รับประทานยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม จำนวน 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง ควรหลีกเลี่ยงยาในกลุ่มแอสไพริน เพราะจะทำให้เลือดออกง่าย

5. ไม่ควรให้แผลผ่าตัดถูกน้ำ ถ้าแผลเปียกน้ำควรรีบเปลี่ยนผ้าปิดแผลใหม่ โดยทำความสะอาดแผลด้วยแอลกอฮอล์รอบๆ แผลก่อนเปลี่ยนผ้าก๊อสปิดแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อก่อนไปพบแพทย์ ยกเว้นแผลในช่องปากหรือแผลที่อวัยวะเพศต้องทำความสะอาดบ่อยๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่แพทย์สั่งหรือน้ำสะอาด

6. ไม่ควรออกแรงหรือใช้อวัยวะส่วนที่ทำการผ่าตัด เพราะจะทำให้แผลผ่าตัดไม่ติดหรือแยกได้ และอาจเกิดการอักเสบบริเวณแผลผ่าตัดได้ ไม่ควรเดินหรือออกกำลังกายมาก ควรนั่งพักยกขาหรือเท้าให้สูง เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น

7. ควรมาฟังผลการตัดชิ้นเนื้อตามที่แพทย์นัดหมาย เพราะจะได้รับการรักษาหลังจากแพทย์ทราบผลการวินิจฉัยโรคจากการตรวจชิ้นเนื้อตรวจ เช่น โรคมะเร็งผิวหนัง โรคเรื้อน เป็นต้น

8. ถ้ามีไข้ แผลมีอาการปวด บวม แดง ร้อน ให้รีบมาพบแพทย์ เพราะอาจเกิดการอักเสบของแผลผ่าตัด

9. ถ้ามีปัญหาต้องการปรึกษา สามารถโทรติดต่อที่โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ โทร.1474 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง