ดูแลลูกน้อยอย่างไรในช่วง COVID-19 ระบาด ?

   จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ยังมีตัวเลขสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในสถานการณ์ปัจจุบันมีแนวโน้มพบการติดเชื้อของเด็กมากขึ้น ในบทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการป้องกันการติดเชื้อในเด็ก สำหรับผู้ปกครองในการดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19   

COVID-19 สำหรับเด็กอันตรายอย่างไร ?

   การติดเชื้อ COVID-19 สำหรับเด็กจะมีอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่มีประวัติสัมผัสกับบุคคลในครอบครัวที่มีการติดเชื้อ โดยทั่วไปเด็กจะเป็นไข้หวัด หรืออาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมักจะหายได้เองภายใน 1 - 2 สัปดาห์ โดยกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะมีอาการรุนแรงในเด็ก ได้แก่ ทารกและเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี

สังเกตอย่างไรเมื่อเด็กติดเชื้อ COVID-19 ?

  • มีไข้สูงกว่า 37.5 °C (บางรายอาจไม่มีไข้ได้)
  • เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก
  • ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • บางรายมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
  • ในรายที่รุนแรงจะมีอาการหายใจเร็ว หอบเหนื่อย

 

 

การป้องกันการติดเชื้อ COVID-19

  • สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อมีความจำเป็นต้องออกนอกบ้าน
  • สอนเด็กล้างมือบ่อย ๆ ด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือ น้ำและสบู่ ควรล้างมือเป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาทีหรือให้เด็กร้องเพลง happy birthday 2 รอบก็จะครบ 20 วินาที โดยเน้นการล้างมือหลังจากการไอ จาม ก่อนการรับประทานอาหาร หลังจากการเข้าห้องน้ำ หลังสัมผัสกับผู้ป่วยหรือผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ หลังสัมผัสสิ่งแวดล้อม และหลังกลับจากที่สถานที่สาธารณะควรรีบล้างมือทันที
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะการขยี้ตา จมูก ปาก
  • ไม่ควรใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอด จาน ช้อนส้อม เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่แหล่งชุมชนแออัด มีคนจำนวนมาก หรือมีการระบายอากาศไม่ดี หากมีความจำเป็น ผู้ปกครองควรดูแลเด็ก ๆ อย่างใกล้ชิด การสวมหน้ากากอนามัย หรืออุปกรณ์ป้องกันเชื้อ หลีกเลี่ยงการสัมผัสพื้นผิวต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ราวบันได ผนังลิฟท์ เป็นต้น หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือ น้ำและสบู่
  • หลีกเลี่ยงอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยหรือผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ ควรอยู่ห่างอย่างน้อย 1 - 2 เมตร
  • บุคคลในครอบครัวที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็ก ควรได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบตามกำหนดและฉีดเข็มกระตุ้นตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่เด็ก

เด็ก ๆ กับการใส่หน้ากากอนามัย

   ในปัจจุบันแนะนำให้ทุกคนสวมใส่หน้ากากอนามัย หากต้องเดินทางไปในที่สาธารณะหรือชุมชนที่มีคนหนาแน่น โดยในเด็กที่แข็งแรงดี อาจใช้หน้ากากผ้าได้ โดยต้องมีขนาดพอดี คลุมจมูก ปากและคาง รวมทั้งกระชับใบหน้า อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่สวมหน้ากากหรือแผ่นพลาสติกใสคลุมหน้า (face shield) ให้กับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี รวมทั้งเด็กที่ไม่สามารถถอดหน้ากากเองได้หากหายใจไม่ออก เพราะเด็กกลุ่มนี้อาจมีความเสี่ยงในการขาดอากาศหรือมีคาร์บอนไดออกไซด์คั่งจนเป็นอันตรายได้ และ face shield อาจบาดใบหน้าได้ ซึ่งในกลุ่มเด็กเล็กอาจใช้ผ้าคลุมรถเข็น หรือตระกร้าใส่เด็กเพื่อป้องกันละอองฝอยที่อาจมีเชื้อโรคแทนได้ ในกรณีที่เด็กมีอาการการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น มีอาการไอหรือจาม อาจพิจารณาให้ใส่หน้ากากอนามัย

ข้อมูลจาก : พญ.วรพร พุ่มเล็ก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E

   จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ยังมีตัวเลขสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในสถานการณ์ปัจจุบันมีแนวโน้มพบการติดเชื้อของเด็กมากขึ้น ในบทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการป้องกันการติดเชื้อในเด็ก สำหรับผู้ปกครองในการดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19   

COVID-19 สำหรับเด็กอันตรายอย่างไร ?

   การติดเชื้อ COVID-19 สำหรับเด็กจะมีอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่มีประวัติสัมผัสกับบุคคลในครอบครัวที่มีการติดเชื้อ โดยทั่วไปเด็กจะเป็นไข้หวัด หรืออาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมักจะหายได้เองภายใน 1 - 2 สัปดาห์ โดยกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะมีอาการรุนแรงในเด็ก ได้แก่ ทารกและเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี

สังเกตอย่างไรเมื่อเด็กติดเชื้อ COVID-19 ?

  • มีไข้สูงกว่า 37.5 °C (บางรายอาจไม่มีไข้ได้)
  • เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก
  • ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • บางรายมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
  • ในรายที่รุนแรงจะมีอาการหายใจเร็ว หอบเหนื่อย

การป้องกันการติดเชื้อ COVID-19

  • สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อมีความจำเป็นต้องออกนอกบ้าน
  • สอนเด็กล้างมือบ่อย ๆ ด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือ น้ำและสบู่ ควรล้างมือเป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาทีหรือให้เด็กร้องเพลง happy birthday 2 รอบก็จะครบ 20 วินาที โดยเน้นการล้างมือหลังจากการไอ จาม ก่อนการรับประทานอาหาร หลังจากการเข้าห้องน้ำ หลังสัมผัสกับผู้ป่วยหรือผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ หลังสัมผัสสิ่งแวดล้อม และหลังกลับจากที่สถานที่สาธารณะควรรีบล้างมือทันที
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะการขยี้ตา จมูก ปาก
  • ไม่ควรใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอด จาน ช้อนส้อม เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่แหล่งชุมชนแออัด มีคนจำนวนมาก หรือมีการระบายอากาศไม่ดี หากมีความจำเป็น ผู้ปกครองควรดูแลเด็ก ๆ อย่างใกล้ชิด การสวมหน้ากากอนามัย หรืออุปกรณ์ป้องกันเชื้อ หลีกเลี่ยงการสัมผัสพื้นผิวต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ราวบันได ผนังลิฟท์ เป็นต้น หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือ น้ำและสบู่
  • หลีกเลี่ยงอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยหรือผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ ควรอยู่ห่างอย่างน้อย 1 - 2 เมตร
  • บุคคลในครอบครัวที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็ก ควรได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบตามกำหนดและฉีดเข็มกระตุ้นตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่เด็ก

เด็ก ๆ กับการใส่หน้ากากอนามัย

   ในปัจจุบันแนะนำให้ทุกคนสวมใส่หน้ากากอนามัย หากต้องเดินทางไปในที่สาธารณะหรือชุมชนที่มีคนหนาแน่น โดยในเด็กที่แข็งแรงดี อาจใช้หน้ากากผ้าได้ โดยต้องมีขนาดพอดี คลุมจมูก ปากและคาง รวมทั้งกระชับใบหน้า อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่สวมหน้ากากหรือแผ่นพลาสติกใสคลุมหน้า (face shield) ให้กับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี รวมทั้งเด็กที่ไม่สามารถถอดหน้ากากเองได้หากหายใจไม่ออก เพราะเด็กกลุ่มนี้อาจมีความเสี่ยงในการขาดอากาศหรือมีคาร์บอนไดออกไซด์คั่งจนเป็นอันตรายได้ และ face shield อาจบาดใบหน้าได้ ซึ่งในกลุ่มเด็กเล็กอาจใช้ผ้าคลุมรถเข็น หรือตระกร้าใส่เด็กเพื่อป้องกันละอองฝอยที่อาจมีเชื้อโรคแทนได้ ในกรณีที่เด็กมีอาการการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น มีอาการไอหรือจาม อาจพิจารณาให้ใส่หน้ากากอนามัย

ข้อมูลจาก : พญ.วรพร พุ่มเล็ก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง