การขูดหินปูน และเกลารากฟัน (Teeth Cleaning)

     โรคเหงือกอักเสบ คือ อาการอักเสบของเหงือก เกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่เกาะอยู่ที่เหงือกและฟัน ถ้าไม่ถูกกำจัดออกเป็นประจำด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน จะก่อให้เกิดสารพิษที่ทำลายเนื้อเยื่อเหงือก ทำให้เกิดการอักเสบ เมื่อสะสมคราบจุลินทรีย์เป็นเวลานานก็จะกลายเป็นหินปูนหรือหินน้ำลายแข็งเกาะตามคอฟัน ในช่วงแรกสามารถรักษาให้หายขาดโดยการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายร่วมกับการแปรงฟันที่ถูกต้อง เนื่องจากกระดูกฟันและเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อและยึดฟันไว้ยังไม่ถูกทำลาย แต่ถ้าทิ้งไว้นานไม่รักษา อาการเหงือกอักเสบอาจกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบลงสู่กระดูกเบ้าฟันทำให้เกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ กระดูกเป้าฟันละลาย ร่องเหงือกลึก ทำให้ฟันไม่ยึดติดกับเหงือก ก่อให้เกิดหนองในร่องปริทันต์ เกิดความเสียหายกับฟัน และขากรรไกรอย่างถาวร อาการที่พบมากคือ การบวมแดงของเหงือกอาจมีเลือดออกเวลาแปรงฟัน ฟันโยกและเหงือกร่นจากตัวฟันซึ่งทำให้ฟันยาวขึ้น บางรายอาจเคาะหรือกัดฟันแน่นแล้วเจ็บ โรคเหงือกทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเหงือกกับฟัน เป็นที่สะสมของหินปูนหรือหินน้ำลายและเศษอาหารได้ บางรายอาจมีกลิ่นปาก มีรสแปลกๆ ในปาก แม้ว่าโรคจะยังไม่ลุกลาม

     

     ประโยชน์ของการขูดหินปูนและเกลารากฟัน

การขูดหินปูนหรือหินน้ำลายและเกลารากฟัน ใช้สำหรับรักษาโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบ เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ คราบหินปูนหรือหินน้ำลาย ทำผิวรากฟันให้เรียบ

     

     ทางเลือกของการรักษา

          การรักษาโรคเหงือกอักเสบหรือปริทันต์อักเสบ คือ การขูดหินปูนหรือหินน้ำลายและเกลารากฟันในเบื้องต้น ถ้าควบคุมการอักเสบเบื้องต้นได้แล้ว ทันตแพทย์อาจพิจารณาเสนอทางเลือกการรักษา เพื่อชะลอให้ฟันอยู่ในช่องปากยาวนานขึ้น เช่น การทำศัลย์ปริทันต์ ได้แก่ การผ่าตัดเปิดเหงือกเพื่อเข้าไปทำความสะอาดฟันใต้เหงือก การปลูกกระดูกทดแทนกระดูกเบ้าฟันที่สูญเสียไปบางส่วน หรือการปลูกเหงือก เป็นต้น

     

     ผลที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิเสธการรักษา

          หากไม่ได้รับการรักษาโรคปริทันต์ ผลเสียที่อาจตามมาคือ เหงือกบวมแดง ฟันโยก มีการทำลายของกระดูกหุ้มฟัน อาจมีหนองออกจากร่องเหงือก และในที่สุดอาจต้องสูญเสียฟันไป

 

     การเตรียมตัวก่อนการขูดหินปูนและเกลารากฟัน

  1. ควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหาร และนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว มียารับประทานประจำ ควรรับประทานอาหาร และยามาตามปกติ
  3. ในเด็กอาจจะต้องเข้ารับการรักษาห่างจากมื้ออาหาร 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อป้องกันการอาเจียน
  4. ผู้มีโรคประจำตัวที่อาจมีผลต่อการรักษา ควรได้รับความเห็นชอบในการรักษาจากแพทย์ก่อน และเตรียมตัวให้พร้อม เช่น ผู้ที่มีโรคทางโลหิตวิทยา ผู้ที่รับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่อยู่ในระหว่างการให้เคมีบำบัดหรือฉายรังสีรักษา ผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤต เป็นต้น
  5. ผู้เป็นโรคหัวใจรุนแรง ผู้ที่ใส่อวัยวะเทียม เช่น ลิ้นหัวใจ ข้อเข่าเทียม ผู้ที่เป็นหลอดเลือดดำอุดตัน จะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนการรักษา 1 ชั่วโมง
  6. ผู้ที่รับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น วาฟาริน (Warfarin) จะได้รับการตรวจค่าการแข็งตัวของเลือดก่อน เพื่อให้ทันตแพทย์พิจารณาว่าเหมาะสมที่จะขูดหินปูนหรือหินน้ำลาย และเกลารากฟันหรือไม่
  7. ผู้ที่วิตกกังวลสูงหรือไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษา อาจพิจารณาทำการรักษาภายใต้การดมยาสลบ
  8. ควบคุมความดันโลหิต ไม่ควรต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท และไม่ควรสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท อาจผ่อนผันได้ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอท (อ้างอิง: The ADA Practical Guide to Patients with Medical Conditions, 2016) ในผู้สูงอายุหรือกรณีปวดฟันมากความดันอาจขึ้นสูงได้ หรือในผู้ป่วยบางรายที่มีความดันโลหิตต่ำที่แพทย์ยอมรับได้จึงจะได้รับการรักษา
  9. วันที่มารับการรักษาผู้ป่วยจะได้รับการซักประวัติด้านสุขภาพอีกครั้ง ควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนที่ถูกต้องครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการรักษาทางทันตกรรม ปัญหาการหยุดไหลของเลือด โรคประจำตัว รวมถึงการแพ้อาหารและยาประเภทต่างๆ เป็นต้น
  10. ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ จะต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ เนื่องจากเครื่องขูดหินปูนหรือหินน้ำลายบางชนิดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะไปรบกวนการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจได้

 

 

 

 

     ขั้นตอนการรักษา        

ทันตแพทย์แนะนำการทำความสะอาดช่องปาก แจ้งตำแหน่งที่ยังทำความสะอาดไม่ทั่วถึง เพื่อกระตุ้นให้ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีขึ้น ลดโอกาสเกิดเหงือกอังเสบได้ในระยะยาว หลังจากนั้นจะเริ่มทำการรักษา ถ้ากังวลถึงอาการเสียวหรือเจ็บขณะขูดหินปูนหรือหินน้ำลาย อาจแจ้งทันตแพทย์เพื่อฉีดยาชา ทันตแพทย์จะทำการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายด้วยเครื่องขูดเพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์และก้อนหินปูนหรือหินน้ำลายขนาดใหญ่ ตามด้วยการใช้เครื่องมือขูดหินปูนหรือหินน้ำลายด้วยมือ เพื่อกำจัดหินปูนหรือหินน้ำลายตามซอกฟันหรือบริเวณร่องลึกปริทันต์และเป็นการทำผิวรากฟันให้เรียบ ลดการเกิดใหม่ของหินปูนหรือน้ำลาย

ขั้นตอนสุดท้ายคือทำการขัดฟัน และผิวรากฟันให้เรียบสะอาดด้วยหัวขัดยางร่วมกับผงทราย กรณีปริทันต์อักเสบรุนแรงจำเป็นต้องทำการรักษาเฉพาะตำแหน่ง ไม่สามารถทำการรักษาทั้งหมดเพียงครั้งเดียว

หลังจากรักษาเสร็จแล้วประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะเรียกกลับมาดูอาการอีกครั้งว่าหายดีหรือไม่ ถ้ายังมีร่องลึกปริทันต์เหลืออยู่หรือมีการละลายของกระดูกไปมาก อาจจำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัดเหงือก (ศัลย์ปริทันต์) ร่วมด้วย               

     ข้อดี

  1. ช่วยกำจัดคราบจุลินทรีย์ คราบหินปูนหรือหินน้ำลาย ทำผิวรากฟันให้เรียบ
  2. เพื่อสุขภาพเหงือกที่ดี เป็นการลดเชื้อก่อโรคในช่องปาก ทำให้คราบจุลินทรีย์เกาะที่ฟันได้ยากขึ้น

     ข้อด้อย

  1. อาจมีอาการเสียวหรือเจ็บขณะรักษาและภายหลังการรักษาได้
  2. เป็นเพียงการรักษาเบื้องต้น ผู้ป่วยต้องร่วมมือในการรักษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากจึงจะกำจัดรอยโรคให้หมดไปได้

 

     ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

  1. อาการปวดภายหลังการรักษาอาจพบได้ ซึ่งผู้ป่วยสามารถทานยาบรรเทาปวดได้ 
  2. ภายหลังการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายและเกลารากฟัน เหงือกที่เคยบวมอักเสบจะยุบลงทำให้ผิวเคลือบรากฟันโผล่ขึ้นมาในช่องปาก เมื่อสัมผัสกับอาหาร น้ำ หรือน้ำลายที่มีฤทธิ์เป็นกรด ด่าง อุณหภูมิร้อนหรือเย็นมาก ๆ จะเกิดอาการเสียวฟันได้ ซึ่งในระยะยาวร่างกายจะปรับตัวโดยการสร้างรากฟันให้หนาขึ้นอาการเสียวจะลดลงได้เอง ในระยะที่มีการเสียวฟันสามารถใช้สารกันเสียวฟันเพื่อช่วยลดอาการได้ เช่น ยาสีฟันลดการเสียวฟัน หรือทาสารที่ช่วยลดการเสียวฟัน เป็นต้น
  3. การขูดหินปูนหรือหินน้ำลายและการเกลารากฟัน จะทำให้เกิดแผลที่เหงือกด้านในที่ติดกับรากฟันและกระดูก เนื่องจากตัวโรคมีการอักเสบอยู่แล้วร่วมกับต้องขูดเอาเนื้อเยื่อที่อักเสบออกด้วย อาจทำให้เลือดออกมากหลังการรักษา เบื้องต้นอาจห้ามเลือดโดยกดด้วยผ้าก๊อส ถ้าเลือดออกมากจะใส่สารห้ามเลือดร่วมกับการเย็บหรืออาจใส่เครื่องมือกดห้ามเลือดด้วย ภาวะเลือดออกหลังการรักษาพบได้ในผู้ที่เป็นโรคเลือดหรือรับประทานกลุ่มยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด อาจต้องเพิ่มยาป้องกันการสลายลิ่มเลือดโดยอมกลั้ว 5 - 10 นาทีหรือรับประทาน 3 - 5 วันหลังการรักษา นอกจากนี้อาจพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
  4. การมีหินปูนหรือหินน้ำลายจำนวนมากในช่องปากจะช่วยยึดฟันที่โยกไว้กับฟันข้างเคียง เมื่อหินปูนหรือหินน้ำลายถูกกำจัดออกไปร่วมกับโรคปริทันต์ที่มีการทำลายกระดูกรอบรากฟัน ฟันจึงโยกมากขึ้นได้ ถ้าสามารถทำความสะอาดช่องปากได้ดีเหงือกกลับมาแข็งแรง ฟันที่โยกจะแน่นขึ้นได้เองบางส่วน แต่ถ้าฟันโยกและเจ็บมากเป็นเวลานานอาจพิจารณาให้ถอนออก
  5. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หรือกรณีปริทันต์อักเสบรุนแรง ร่องลึกปริทันต์มาก และการรักษายังไม่สมบูรณ์อาจพบการติดเชื้อ มีอาการเจ็บปวด บวม มีไข้ ฟันโยกมากขึ้น ให้โทรนัดหมายก่อนเวลานัดเดิมเพื่อรักษาเพิ่มเติม
  6. การรักษาโรคปริทันต์ให้สำเร็จ ต้องได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ป่วยและญาติ ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง คราบจุลินทรีย์และหินน้ำลายก็จะเกิดขึ้นอีก โรคเหงือกอักเสบและปริทันต์อักเสบก็จะกลับมาเป็นรุนแรงอีกในเวลาไม่นาน ดังนั้นต้องให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดฟันและเหงือกให้ดีที่สุด

 

     คำแนะนำภายหลังการรักษา

  1. หากมีเลือดซึมออกบริเวณขอบเหงือก ให้ใช้สำลีหรือผ้าก๊อซที่สะอาดซับหรือกดไว้ เลือดจะหยุดเองภายใน 1/2 ชั่วโมง ถ้าเลือดออกมากกดห้ามเลือดแล้วไม่หยุด ให้รีบโทรแจ้งเพื่อทำการนัดหมายให้เร็วที่สุด กรณีในช่วงเวลาที่แผนกทันตกรรมงดให้บริการและเลือดออกมากให้มาติดต่อห้องฉุกเฉินทันที
  2. ประคบน้ำแข็งภายนอกบริเวณแก้มข้างที่ทำการขูดหินน้ำลาย เพื่อช่วยลดอาการปวดและเลือดออก
  3. หลังการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายอาจเสียวฟันได้ ให้หลีกเลี่ยงอาหารเย็นหรือรสจัด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะอาจระคายเคืองต่อเหงือกและแสบเหงือก ในระยะที่มีการเสียวฟันรุนแรงสามารถใช้สารกันเสียวฟันเพื่อลดอาการได้ เช่น ยาสีฟันลดการเสียวฟัน หรือทาสารที่ช่วยลดการเสียวฟัน เป็นต้น
  4. หลังการขูดหินปูนหรือหินน้ำลาย อาจเลือดออกขณะแปรงฟันได้ เนื่องจากเหงือกยังมีการอักเสบ ถ้าแปรงฟันทำความสะอาดได้ดีประมาณ 2 สัปดาห์ อาการเหงือกอักเสบจะหมดไป ไม่พบเลือดออกขณะแปรงฟันอีก
  5. ควรทำความสะอาดฟันด้วยการแปรงฟันให้ถูกวิธี และใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ
  6. หากมีอาการผิดปกติ เช่น เหงือกบวม, แผลไม่หายเกิน 3 สัปดาห์ ให้กลับมาตรวจวินิจฉัยอีกครั้ง
  7. ควรมารับการตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 4 - 12 เดือน ตามความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบ โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินระยะเวลาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย

 

     วิธีการประเมินภาวะการแข็งตัวของเลือด

ระยะเวลาปกติที่เกิดการแข็งตัวของเลือดจนเลือดหยุดไหลประมาณ 7 – 10 นาที หลังจากทำการกดแผลเพื่อห้ามเลือด และเลือดจะแข็งตัวเต็มที่ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่กรณีมีบาดแผลในช่องปากจะเป็นแผลเปิดที่มีน้ำลายมาสัมผัสตลอดเวลา ทำให้มีเลือดออกได้นานกว่าปกติ ดังนั้นควรทราบวิธีการประเมินภาวะการแข็งตัวของเลือด ดังนี้

  1. มีเลือดออก ให้กัดผ้าก๊อซนาน 10 – 15 นาที ถ้าเลือดไม่ชุ่มจนออกนอกผ้าก๊อซแสดงว่าภาวะการแข็งตัวของเลือดปกติ ให้กัดผ้าก๊อซจนครบ 1 ชั่วโมง
  2. เมื่อกัดผ้าก๊อซครบ 1 ชั่วโมง แล้วประเมินอีกครั้ง โดยคายผ้าทิ้ง รอดูว่าในช่องปากมีเลือดออกมาอีกหรือไม่ใน 10 นาที ถ้ายังมีเลือดซึมออกมาให้กัดผ้าก๊อซต่ออีก 1 ชั่วโมง แล้วประเมินอีกครั้ง ผ้าก๊อซที่กัดต้องไม่ชุ่มเลือดหรืออาจมีส่วนของผ้าที่ยังมีสีขาวอยู่ และภายใน 10 นาทีหลังประเมินไม่พบเลือดออกอีกแสดงว่าเลือดหยุดได้ดี
  3. ถ้าหลังกัดผ้าก๊อซแล้ว 15 นาทียังรู้สึกว่ามีเลือดออกมากเป็นลิ่ม ในเวลา 8:00 – 20:00 ให้ติดต่อที่แผนกทันตกรรม 02-419-2344 ถ้านอกเวลาบริการให้โทรสอบถามได้ที่เบอร์ 1474 ติดต่อคลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน เพื่อเข้ารับบริการ

ดาวน์โหลด คู่มือการขูดหินปูนและการเกลารากฟัน >>คลิกที่นี่<<

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3  โซน A

     โรคเหงือกอักเสบ คือ อาการอักเสบของเหงือก เกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่เกาะอยู่ที่เหงือกและฟัน ถ้าไม่ถูกกำจัดออกเป็นประจำด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน จะก่อให้เกิดสารพิษที่ทำลายเนื้อเยื่อเหงือก ทำให้เกิดการอักเสบ เมื่อสะสมคราบจุลินทรีย์เป็นเวลานานก็จะกลายเป็นหินปูนหรือหินน้ำลายแข็งเกาะตามคอฟัน ในช่วงแรกสามารถรักษาให้หายขาดโดยการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายร่วมกับการแปรงฟันที่ถูกต้อง เนื่องจากกระดูกฟันและเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อและยึดฟันไว้ยังไม่ถูกทำลาย แต่ถ้าทิ้งไว้นานไม่รักษา อาการเหงือกอักเสบอาจกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบลงสู่กระดูกเบ้าฟันทำให้เกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ กระดูกเป้าฟันละลาย ร่องเหงือกลึก ทำให้ฟันไม่ยึดติดกับเหงือก ก่อให้เกิดหนองในร่องปริทันต์ เกิดความเสียหายกับฟัน และขากรรไกรอย่างถาวร อาการที่พบมากคือ การบวมแดงของเหงือกอาจมีเลือดออกเวลาแปรงฟัน ฟันโยกและเหงือกร่นจากตัวฟันซึ่งทำให้ฟันยาวขึ้น บางรายอาจเคาะหรือกัดฟันแน่นแล้วเจ็บ โรคเหงือกทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเหงือกกับฟัน เป็นที่สะสมของหินปูนหรือหินน้ำลายและเศษอาหารได้ บางรายอาจมีกลิ่นปาก มีรสแปลกๆ ในปาก แม้ว่าโรคจะยังไม่ลุกลาม

     

     ประโยชน์ของการขูดหินปูนและเกลารากฟัน

การขูดหินปูนหรือหินน้ำลายและเกลารากฟัน ใช้สำหรับรักษาโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบ เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ คราบหินปูนหรือหินน้ำลาย ทำผิวรากฟันให้เรียบ

     

     ทางเลือกของการรักษา

          การรักษาโรคเหงือกอักเสบหรือปริทันต์อักเสบ คือ การขูดหินปูนหรือหินน้ำลายและเกลารากฟันในเบื้องต้น ถ้าควบคุมการอักเสบเบื้องต้นได้แล้ว ทันตแพทย์อาจพิจารณาเสนอทางเลือกการรักษา เพื่อชะลอให้ฟันอยู่ในช่องปากยาวนานขึ้น เช่น การทำศัลย์ปริทันต์ ได้แก่ การผ่าตัดเปิดเหงือกเพื่อเข้าไปทำความสะอาดฟันใต้เหงือก การปลูกกระดูกทดแทนกระดูกเบ้าฟันที่สูญเสียไปบางส่วน หรือการปลูกเหงือก เป็นต้น

     

     ผลที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิเสธการรักษา

          หากไม่ได้รับการรักษาโรคปริทันต์ ผลเสียที่อาจตามมาคือ เหงือกบวมแดง ฟันโยก มีการทำลายของกระดูกหุ้มฟัน อาจมีหนองออกจากร่องเหงือก และในที่สุดอาจต้องสูญเสียฟันไป

 

     การเตรียมตัวก่อนการขูดหินปูนและเกลารากฟัน

  1. ควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหาร และนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว มียารับประทานประจำ ควรรับประทานอาหาร และยามาตามปกติ
  3. ในเด็กอาจจะต้องเข้ารับการรักษาห่างจากมื้ออาหาร 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อป้องกันการอาเจียน
  4. ผู้มีโรคประจำตัวที่อาจมีผลต่อการรักษา ควรได้รับความเห็นชอบในการรักษาจากแพทย์ก่อน และเตรียมตัวให้พร้อม เช่น ผู้ที่มีโรคทางโลหิตวิทยา ผู้ที่รับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่อยู่ในระหว่างการให้เคมีบำบัดหรือฉายรังสีรักษา ผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤต เป็นต้น
  5. ผู้เป็นโรคหัวใจรุนแรง ผู้ที่ใส่อวัยวะเทียม เช่น ลิ้นหัวใจ ข้อเข่าเทียม ผู้ที่เป็นหลอดเลือดดำอุดตัน จะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนการรักษา 1 ชั่วโมง
  6. ผู้ที่รับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น วาฟาริน (Warfarin) จะได้รับการตรวจค่าการแข็งตัวของเลือดก่อน เพื่อให้ทันตแพทย์พิจารณาว่าเหมาะสมที่จะขูดหินปูนหรือหินน้ำลาย และเกลารากฟันหรือไม่
  7. ผู้ที่วิตกกังวลสูงหรือไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษา อาจพิจารณาทำการรักษาภายใต้การดมยาสลบ
  8. ควบคุมความดันโลหิต ไม่ควรต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท และไม่ควรสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท อาจผ่อนผันได้ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอท (อ้างอิง: The ADA Practical Guide to Patients with Medical Conditions, 2016) ในผู้สูงอายุหรือกรณีปวดฟันมากความดันอาจขึ้นสูงได้ หรือในผู้ป่วยบางรายที่มีความดันโลหิตต่ำที่แพทย์ยอมรับได้จึงจะได้รับการรักษา
  9. วันที่มารับการรักษาผู้ป่วยจะได้รับการซักประวัติด้านสุขภาพอีกครั้ง ควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนที่ถูกต้องครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการรักษาทางทันตกรรม ปัญหาการหยุดไหลของเลือด โรคประจำตัว รวมถึงการแพ้อาหารและยาประเภทต่างๆ เป็นต้น
  10. ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ จะต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ เนื่องจากเครื่องขูดหินปูนหรือหินน้ำลายบางชนิดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะไปรบกวนการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจได้

 

 

 

 

     ขั้นตอนการรักษา        

ทันตแพทย์แนะนำการทำความสะอาดช่องปาก แจ้งตำแหน่งที่ยังทำความสะอาดไม่ทั่วถึง เพื่อกระตุ้นให้ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีขึ้น ลดโอกาสเกิดเหงือกอังเสบได้ในระยะยาว หลังจากนั้นจะเริ่มทำการรักษา ถ้ากังวลถึงอาการเสียวหรือเจ็บขณะขูดหินปูนหรือหินน้ำลาย อาจแจ้งทันตแพทย์เพื่อฉีดยาชา ทันตแพทย์จะทำการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายด้วยเครื่องขูดเพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์และก้อนหินปูนหรือหินน้ำลายขนาดใหญ่ ตามด้วยการใช้เครื่องมือขูดหินปูนหรือหินน้ำลายด้วยมือ เพื่อกำจัดหินปูนหรือหินน้ำลายตามซอกฟันหรือบริเวณร่องลึกปริทันต์และเป็นการทำผิวรากฟันให้เรียบ ลดการเกิดใหม่ของหินปูนหรือน้ำลาย

ขั้นตอนสุดท้ายคือทำการขัดฟัน และผิวรากฟันให้เรียบสะอาดด้วยหัวขัดยางร่วมกับผงทราย กรณีปริทันต์อักเสบรุนแรงจำเป็นต้องทำการรักษาเฉพาะตำแหน่ง ไม่สามารถทำการรักษาทั้งหมดเพียงครั้งเดียว

หลังจากรักษาเสร็จแล้วประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะเรียกกลับมาดูอาการอีกครั้งว่าหายดีหรือไม่ ถ้ายังมีร่องลึกปริทันต์เหลืออยู่หรือมีการละลายของกระดูกไปมาก อาจจำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัดเหงือก (ศัลย์ปริทันต์) ร่วมด้วย               

     ข้อดี

  1. ช่วยกำจัดคราบจุลินทรีย์ คราบหินปูนหรือหินน้ำลาย ทำผิวรากฟันให้เรียบ
  2. เพื่อสุขภาพเหงือกที่ดี เป็นการลดเชื้อก่อโรคในช่องปาก ทำให้คราบจุลินทรีย์เกาะที่ฟันได้ยากขึ้น

     ข้อด้อย

  1. อาจมีอาการเสียวหรือเจ็บขณะรักษาและภายหลังการรักษาได้
  2. เป็นเพียงการรักษาเบื้องต้น ผู้ป่วยต้องร่วมมือในการรักษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากจึงจะกำจัดรอยโรคให้หมดไปได้

 

     ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

  1. อาการปวดภายหลังการรักษาอาจพบได้ ซึ่งผู้ป่วยสามารถทานยาบรรเทาปวดได้ 
  2. ภายหลังการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายและเกลารากฟัน เหงือกที่เคยบวมอักเสบจะยุบลงทำให้ผิวเคลือบรากฟันโผล่ขึ้นมาในช่องปาก เมื่อสัมผัสกับอาหาร น้ำ หรือน้ำลายที่มีฤทธิ์เป็นกรด ด่าง อุณหภูมิร้อนหรือเย็นมาก ๆ จะเกิดอาการเสียวฟันได้ ซึ่งในระยะยาวร่างกายจะปรับตัวโดยการสร้างรากฟันให้หนาขึ้นอาการเสียวจะลดลงได้เอง ในระยะที่มีการเสียวฟันสามารถใช้สารกันเสียวฟันเพื่อช่วยลดอาการได้ เช่น ยาสีฟันลดการเสียวฟัน หรือทาสารที่ช่วยลดการเสียวฟัน เป็นต้น
  3. การขูดหินปูนหรือหินน้ำลายและการเกลารากฟัน จะทำให้เกิดแผลที่เหงือกด้านในที่ติดกับรากฟันและกระดูก เนื่องจากตัวโรคมีการอักเสบอยู่แล้วร่วมกับต้องขูดเอาเนื้อเยื่อที่อักเสบออกด้วย อาจทำให้เลือดออกมากหลังการรักษา เบื้องต้นอาจห้ามเลือดโดยกดด้วยผ้าก๊อส ถ้าเลือดออกมากจะใส่สารห้ามเลือดร่วมกับการเย็บหรืออาจใส่เครื่องมือกดห้ามเลือดด้วย ภาวะเลือดออกหลังการรักษาพบได้ในผู้ที่เป็นโรคเลือดหรือรับประทานกลุ่มยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด อาจต้องเพิ่มยาป้องกันการสลายลิ่มเลือดโดยอมกลั้ว 5 - 10 นาทีหรือรับประทาน 3 - 5 วันหลังการรักษา นอกจากนี้อาจพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
  4. การมีหินปูนหรือหินน้ำลายจำนวนมากในช่องปากจะช่วยยึดฟันที่โยกไว้กับฟันข้างเคียง เมื่อหินปูนหรือหินน้ำลายถูกกำจัดออกไปร่วมกับโรคปริทันต์ที่มีการทำลายกระดูกรอบรากฟัน ฟันจึงโยกมากขึ้นได้ ถ้าสามารถทำความสะอาดช่องปากได้ดีเหงือกกลับมาแข็งแรง ฟันที่โยกจะแน่นขึ้นได้เองบางส่วน แต่ถ้าฟันโยกและเจ็บมากเป็นเวลานานอาจพิจารณาให้ถอนออก
  5. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หรือกรณีปริทันต์อักเสบรุนแรง ร่องลึกปริทันต์มาก และการรักษายังไม่สมบูรณ์อาจพบการติดเชื้อ มีอาการเจ็บปวด บวม มีไข้ ฟันโยกมากขึ้น ให้โทรนัดหมายก่อนเวลานัดเดิมเพื่อรักษาเพิ่มเติม
  6. การรักษาโรคปริทันต์ให้สำเร็จ ต้องได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ป่วยและญาติ ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง คราบจุลินทรีย์และหินน้ำลายก็จะเกิดขึ้นอีก โรคเหงือกอักเสบและปริทันต์อักเสบก็จะกลับมาเป็นรุนแรงอีกในเวลาไม่นาน ดังนั้นต้องให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดฟันและเหงือกให้ดีที่สุด

 

     คำแนะนำภายหลังการรักษา

  1. หากมีเลือดซึมออกบริเวณขอบเหงือก ให้ใช้สำลีหรือผ้าก๊อซที่สะอาดซับหรือกดไว้ เลือดจะหยุดเองภายใน 1/2 ชั่วโมง ถ้าเลือดออกมากกดห้ามเลือดแล้วไม่หยุด ให้รีบโทรแจ้งเพื่อทำการนัดหมายให้เร็วที่สุด กรณีในช่วงเวลาที่แผนกทันตกรรมงดให้บริการและเลือดออกมากให้มาติดต่อห้องฉุกเฉินทันที
  2. ประคบน้ำแข็งภายนอกบริเวณแก้มข้างที่ทำการขูดหินน้ำลาย เพื่อช่วยลดอาการปวดและเลือดออก
  3. หลังการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายอาจเสียวฟันได้ ให้หลีกเลี่ยงอาหารเย็นหรือรสจัด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะอาจระคายเคืองต่อเหงือกและแสบเหงือก ในระยะที่มีการเสียวฟันรุนแรงสามารถใช้สารกันเสียวฟันเพื่อลดอาการได้ เช่น ยาสีฟันลดการเสียวฟัน หรือทาสารที่ช่วยลดการเสียวฟัน เป็นต้น
  4. หลังการขูดหินปูนหรือหินน้ำลาย อาจเลือดออกขณะแปรงฟันได้ เนื่องจากเหงือกยังมีการอักเสบ ถ้าแปรงฟันทำความสะอาดได้ดีประมาณ 2 สัปดาห์ อาการเหงือกอักเสบจะหมดไป ไม่พบเลือดออกขณะแปรงฟันอีก
  5. ควรทำความสะอาดฟันด้วยการแปรงฟันให้ถูกวิธี และใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ
  6. หากมีอาการผิดปกติ เช่น เหงือกบวม, แผลไม่หายเกิน 3 สัปดาห์ ให้กลับมาตรวจวินิจฉัยอีกครั้ง
  7. ควรมารับการตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 4 - 12 เดือน ตามความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบ โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินระยะเวลาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย

 

     วิธีการประเมินภาวะการแข็งตัวของเลือด

ระยะเวลาปกติที่เกิดการแข็งตัวของเลือดจนเลือดหยุดไหลประมาณ 7 – 10 นาที หลังจากทำการกดแผลเพื่อห้ามเลือด และเลือดจะแข็งตัวเต็มที่ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่กรณีมีบาดแผลในช่องปากจะเป็นแผลเปิดที่มีน้ำลายมาสัมผัสตลอดเวลา ทำให้มีเลือดออกได้นานกว่าปกติ ดังนั้นควรทราบวิธีการประเมินภาวะการแข็งตัวของเลือด ดังนี้

  1. มีเลือดออก ให้กัดผ้าก๊อซนาน 10 – 15 นาที ถ้าเลือดไม่ชุ่มจนออกนอกผ้าก๊อซแสดงว่าภาวะการแข็งตัวของเลือดปกติ ให้กัดผ้าก๊อซจนครบ 1 ชั่วโมง
  2. เมื่อกัดผ้าก๊อซครบ 1 ชั่วโมง แล้วประเมินอีกครั้ง โดยคายผ้าทิ้ง รอดูว่าในช่องปากมีเลือดออกมาอีกหรือไม่ใน 10 นาที ถ้ายังมีเลือดซึมออกมาให้กัดผ้าก๊อซต่ออีก 1 ชั่วโมง แล้วประเมินอีกครั้ง ผ้าก๊อซที่กัดต้องไม่ชุ่มเลือดหรืออาจมีส่วนของผ้าที่ยังมีสีขาวอยู่ และภายใน 10 นาทีหลังประเมินไม่พบเลือดออกอีกแสดงว่าเลือดหยุดได้ดี
  3. ถ้าหลังกัดผ้าก๊อซแล้ว 15 นาทียังรู้สึกว่ามีเลือดออกมากเป็นลิ่ม ในเวลา 8:00 – 20:00 ให้ติดต่อที่แผนกทันตกรรม 02-419-2344 ถ้านอกเวลาบริการให้โทรสอบถามได้ที่เบอร์ 1474 ติดต่อคลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน เพื่อเข้ารับบริการ

ดาวน์โหลด คู่มือการขูดหินปูนและการเกลารากฟัน >>คลิกที่นี่<<

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3  โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง