แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (Treatment of Stroke)

     โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (Stroke) คือโรคที่มีอาการผิดปกติทางระบบประสาทอย่างเฉียบพลันที่เกิดจากหลอดเลือดสมอง ได้แก่  แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด วิงเวียนศีรษะหรือเดินเซ หมดสติ

ชนิดของโรค

     1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน เกิดจาก “ลิ่มเลือด” ไปอุดหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง ทำให้ขาดเลือด ส่งผลให้สมองขาดออกซิเจน เกิดการตายของเนื้อสมอง

     2. โรคหลอดเลือดสมองแตก เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก ทำให้เกิด “ก้อนเลือด” ไปกดเนื้อสมอง ส่งผลให้สมองทำงานผิดปกติ

การตรวจวินิจฉัย

     ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันโรค ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT brain) หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กสมอง (MRI brain)

แนวทางการรักษา แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

     1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน ต้องทำการเปิดหลอดเลือดอย่างเร่งด่วนสามารถทำได้ 2 วิธี ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เกิดอาการ ข้อบ่งชี้ และข้อห้ามของการรักษา

     2. โรคหลอดเลือดสมองแตก ปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมระบบประสาท เพื่อวางแผนการรักษาว่าจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดหรือไม่

ภาพโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน

ภาพโรคหลอดเลือดสมองแตก

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน

     วิธีที่ 1 การให้ “ยาสลายลิ่มเลือด” (rt-PA) ทางหลอดเลือดดำ

     เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่มีอาการไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง และไม่มีข้อห้ามในการให้ยา โดยแพทย์จะให้ยาสลายลิ่มเลือดเพื่อเปิดหลอดเลือดทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะทำให้เลือดสามารถไปเลี้ยงสมองส่วนที่ขาดออกซิเจนได้ทันเวลา

ข้อดี/ประสิทธิภาพ

 

ได้รับยา

     ไม่ได้รับยา

ความพิการน้อยลงจนแทบไม่มี     

43 %

26 %

มีความพิการและต้องมีคนดูแล

40 %

53 %

โอกาสเลือดออกในสมอง

7 %

0.6 %

โอกาสเสียชีวิต

17 %

21 %

ข้อเสีย/ภาวะแทรกซ้อน

  • เลือดออกง่ายผิดปกติ เช่น เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร หรือบริเวณอื่นๆ
  • ผู้ป่วย 1 ใน 100 ราย มีโอกาสแพ้ยารุนแรง
  • ผู้ป่วย 7 ใน 100 ราย มีโอกาสเลือดออกในสมอง

     วิธีที่ 2 การใส่สายสวนเพื่อเปิดหลอดเลือด (mechanical thrombectomy) และ/หรือให้ร่วมกับยาสลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำหรือแดงตามข้อบ่งชี้

     เมื่อมีอาการหลอดเลือดแดงสมองขนาดใหญ่ตีบหรืออุดตัน แพทย์จะใส่สายสวนทางหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบไปตามหลอดเลือดจนถึงหลอดเลือดสมองบริเวณที่มีการอุดตันของลิ่มเลือด และทำการลากหรือดูดลิ่มเลือดออกเพื่อเปิดหลอดเลือดสมอง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้

ข้อดี/ประสิทธิภาพ

 

ได้รับการรักษา

โอกาสเปิดหลอดเลือดสมองสำเร็จ     

80 %

กลับมาใช้ชีวิตปกติ

50 - 60 %

ข้อเสีย/ภาวะแทรกซ้อน

  • หลอดเลือดฉีดขาดหรือเลือดออกจากสมองน้อยกว่า 5%

     ในกรณีผู้ป่วยและญาติได้พิจารณาข้อดี/ข้อเสีย และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาแล้วไม่เลือกรับการรักษาทั้ง 2 วิธี ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาตามอาการ เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่มีโอกาสเกิดตามมา และจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือด และการทำกายภาพบำบัด

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

     โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (Stroke) คือโรคที่มีอาการผิดปกติทางระบบประสาทอย่างเฉียบพลันที่เกิดจากหลอดเลือดสมอง ได้แก่  แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด วิงเวียนศีรษะหรือเดินเซ หมดสติ

ชนิดของโรค

     1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน เกิดจาก “ลิ่มเลือด” ไปอุดหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง ทำให้ขาดเลือด ส่งผลให้สมองขาดออกซิเจน เกิดการตายของเนื้อสมอง

     2. โรคหลอดเลือดสมองแตก เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก ทำให้เกิด “ก้อนเลือด” ไปกดเนื้อสมอง ส่งผลให้สมองทำงานผิดปกติ

การตรวจวินิจฉัย

     ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันโรค ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT brain) หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กสมอง (MRI brain)

แนวทางการรักษา แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

     1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน ต้องทำการเปิดหลอดเลือดอย่างเร่งด่วนสามารถทำได้ 2 วิธี ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เกิดอาการ ข้อบ่งชี้ และข้อห้ามของการรักษา

     2. โรคหลอดเลือดสมองแตก ปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมระบบประสาท เพื่อวางแผนการรักษาว่าจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดหรือไม่

ภาพโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน

ภาพโรคหลอดเลือดสมองแตก

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน

     วิธีที่ 1 การให้ “ยาสลายลิ่มเลือด” (rt-PA) ทางหลอดเลือดดำ

     เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่มีอาการไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง และไม่มีข้อห้ามในการให้ยา โดยแพทย์จะให้ยาสลายลิ่มเลือดเพื่อเปิดหลอดเลือดทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะทำให้เลือดสามารถไปเลี้ยงสมองส่วนที่ขาดออกซิเจนได้ทันเวลา

ข้อดี/ประสิทธิภาพ

 

ได้รับยา

     ไม่ได้รับยา

ความพิการน้อยลงจนแทบไม่มี     

43 %

26 %

มีความพิการและต้องมีคนดูแล

40 %

53 %

โอกาสเลือดออกในสมอง

7 %

0.6 %

โอกาสเสียชีวิต

17 %

21 %

ข้อเสีย/ภาวะแทรกซ้อน

  • เลือดออกง่ายผิดปกติ เช่น เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร หรือบริเวณอื่นๆ
  • ผู้ป่วย 1 ใน 100 ราย มีโอกาสแพ้ยารุนแรง
  • ผู้ป่วย 7 ใน 100 ราย มีโอกาสเลือดออกในสมอง

     วิธีที่ 2 การใส่สายสวนเพื่อเปิดหลอดเลือด (mechanical thrombectomy) และ/หรือให้ร่วมกับยาสลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำหรือแดงตามข้อบ่งชี้

     เมื่อมีอาการหลอดเลือดแดงสมองขนาดใหญ่ตีบหรืออุดตัน แพทย์จะใส่สายสวนทางหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบไปตามหลอดเลือดจนถึงหลอดเลือดสมองบริเวณที่มีการอุดตันของลิ่มเลือด และทำการลากหรือดูดลิ่มเลือดออกเพื่อเปิดหลอดเลือดสมอง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้

ข้อดี/ประสิทธิภาพ

 

ได้รับการรักษา

โอกาสเปิดหลอดเลือดสมองสำเร็จ     

80 %

กลับมาใช้ชีวิตปกติ

50 - 60 %

ข้อเสีย/ภาวะแทรกซ้อน

  • หลอดเลือดฉีดขาดหรือเลือดออกจากสมองน้อยกว่า 5%

     ในกรณีผู้ป่วยและญาติได้พิจารณาข้อดี/ข้อเสีย และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาแล้วไม่เลือกรับการรักษาทั้ง 2 วิธี ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาตามอาการ เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่มีโอกาสเกิดตามมา และจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือด และการทำกายภาพบำบัด

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง