นิ่วทางเดินปัสสาวะ สกัดก่อนลุกลาม

   นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ คือ ตะกอนที่ตกอยู่ในน้ำปัสสาวะ ซึ่งปกติน้ำปัสสาวะจะเป็นของเหลวและมีสารหลายๆ อย่างที่ละลายอยู่ในน้ำปัสสาวะ ซึ่งสภาวะบางอย่างทำให้สารเหล่านี้ตกตะกอนกลายเป็นผลึกรวมกันเป็นก้อน โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ปริมาณสารต่างๆ มีมากเกินไปในน้ำปัสสาวะ หรือดื่มน้ำน้อยเกินไปทำให้เอื้อต่อการตกตะกอนของผลึกกลายเป็นก้อนนิ่วได้ง่ายมากขึ้น รวมทั้งค่าความเป็นกรดด่างของน้ำปัสสาวะ เช่น น้ำปัสสาวะที่มีความเป็นกรดมากก็จะเอื้อต่อการตกตะกอนของกรดยูริกง่ายมากขึ้น
อาการ

   สำหรับผู้ป่วยโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะมีอาการค่อนข้างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งและการอุดตันของก้อนนิ่วว่ามีการอุดตันมากน้อยแค่ไหน ในผู้ป่วยบางคนอาจไม่มีอาการอะไรเลย แต่สามารถตรวจพบในกรณีที่ผู้ป่วยรับการตรวจสุขภาพ และในบางรายอาจมีอาการเจ็บปวดรุนแรงบริเวณท้องหรือบริเวณหลังหรือในตำแหน่งที่นิ่วอุดตันอยู่ ซึ่งจะเจ็บปวดทุรนทุรายมากจนกระทั่งทำให้ผู้ป่วยต้องรีบมาพบแพทย์

การตรวจวินิจฉัย

   แพทย์สามารถตรวจและวินิจฉัยโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะได้โดยการซักประวัติและตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจปัสสาวะ การเอกซเรย์ภาพช่องท้องในส่วนของไต ท่อไตและกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงอาจมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ตรวจอัลตราซาวด์ หรือ CT Scan

การรักษาโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

   ในปัจจุบันการรักษาโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะมีหลากหลายวิธี โดยขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของนิ่วที่อุดตัน ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป

1. การผ่าตัดแบบเปิด เป็นการผ่าตัดผ่านผิวหนังเข้าไปจนถึงตำแหน่งที่มีนิ่วเพื่อเอาก้อนนิ่วออก และเย็บปิดแผลนั้น

  • ข้อดี
       1. เป็นวิธีการผ่าตัดที่ใช้ได้กับนิ่วทุกประเภท ทุกขนาด
  • ข้อด้อย
       1. ผู้ป่วยมีแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ ฟื้นตัวช้า
       2. อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง เนื่องจากในกรณีที่มีการผ่าตัดผ่านเนื้อไตเพื่อเอานิ่วออกจะทำให้ไตเกิดพังผืดจากแผลเป็น และทำให้เซลล์ไตบางส่วนตายและมีจำนวนเซลล์ของไตลดลง
       3. เสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกจากตำแหน่งที่ทำการผ่าตัด

2. การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy หรือ ESWL) เป็นการใช้คลื่น Shock wave ส่งผ่านผิวหนังไปยังก้อนนิ่ว เพื่อทำให้ก้อนนิ่วแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ และไหลหลุดออกมากับปัสสาวะโดยไม่ต้องผ่าตัด

  • ข้อดี
       1. ไม่มีแผลจากการผ่าตัด
  • ข้อด้อย
       1. อาจทำให้เนื้อเยื่อต่างๆรวมถึงไตช้ำได้ และเกิดมีแผลเป็นข้างใน รวมถึงอาจสูญเสียเซลล์ไตไปบางส่วนได้เช่นกัน
       2. ในผู้ป่วยที่มีรูปร่างค่อนข้างใหญ่อาจได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผล เนื่องจากการทำงานของคลื่นกระแทกพลังงานที่ใช้สลายนิ่วจะถูกปล่อยจากเครื่องกำเนิดพลังงานจากภายนอกลำตัวและคลื่นกระแทกจะผ่านเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ เข้าไป     3. ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานบางส่วนไปตามระยะทางตั้งแต่ผิวหนังไปจนกว่าจะถึงก้อนนิ่วเหลือน้อยลง พลังงานที่เหลือไปถึงก้อนนิ่วน้อย อาจไม่พอทำให้ก้อนนิ่วแตก
       4. ในกรณีนิ่วก้อนใหญ่หรือมีความแข็งมากอาจไม่ได้ผล ซึ่งขนาดก้อนนิ่วไม่ควรเกิน 1-2 เซนติเมตร หรือค่าความหนาแน่นของก้อนนิ่วไม่ควรเกิน 1,000 HU
    เมื่อนิ่วแตกแล้วต้องรอให้หลุดออกมาเองพร้อมกับการปัสสาวะ ทำให้นิ่วที่อยู่บริเวณขั้วล่างของไตนั้นอาจไม่สามารถหลุดออกมาได้เอง

3. การเจาะรูส่องกล้องผ่านผิวหนัง (Percutaneous Nephrolithotomy : PCNL) สามารถกำจัดนิ่วได้ทุกขนาดและทุกความแข็ง หรือเป็นนิ่วชนิดเขากวางที่มีกิ่งก้านหลายกิ่งจนไม่สามารถเอาออกด้วยวิธีอื่นได้ โดยจะทำการเจาะรูเล็กๆ ประมาณ 1 เซนติเมตร ผ่านผิวหนังบริเวณหลังในตำแหน่งที่ตรงกับไตของผู้ป่วย หลังจากนั้นใช้กล้องส่องตามเข้าไป และแพทย์จะทำให้นิ่วนั้นแตกออกเป็นขนาดเล็กโดยอาศัยเครื่องมือที่ทันสมัย แล้วนำเอานิ่วออกมาผ่านทางกล้องที่ส่องเข้าไป

  • ข้อดี
       1. สามารถกำจัดนิ่วได้ทุกขนาด และทุกความแข็ง
       2. ผู้ป่วยมีแผลขนาดเล็กกว่าการผ่าตัดเปิดผิวหนัง
       3. ฟื้นตัวเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิด
  • ข้อด้อย
       1. อาจมีปัญหาเลือดออกได้บ้างและต้องอาศัยศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญและได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดี

4. การส่องกล้องผ่านท่อไต (Ureteroscopy : URS)  เป็นการใส่กล้องส่องตรวจท่อไตที่มีขนาดเล็กเข้าไปในท่อไต เข้าไปยังตำแหน่งของก้อนนิ่วที่อยู่ภายในท่อไตหรือในไตจากนั้นใช้เลเซอร์ทำให้นิ่วมีขนาดเล็กลง แล้วจึงใช้เครื่องมือนำเศษนิ่วเหล่านั้นออกมาโดยไม่ต้องผ่าตัด หรือเจาะรูผ่านทางผิวหนังจึงไม่ทำให้เกิดแผลใดๆ

  • ข้อดี
       1. ไม่มีแผล ฟื้นตัวได้เร็ว มีความปลอดภัยสูง
       2. กล้องมีขนาดเล็กสามารถโค้งงอได้ ทำให้สามารถส่องเข้าไปในท่อไตได้ เดิมการส่องกล้องภายในท่อไตจะจำกัดอยู่ที่ท่อไตส่วนล่าง แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน มีกล้องส่องชนิดโค้งงอได้ร่วมกับเลเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงทำให้ส่องตรวจและรักษาได้ตลอดทางเดินปัสสาวะ (ท่อไตส่วนล่าง-บน และในไต)
       3. กล้องจะทำให้เห็นตำแหน่งและก้อนนิ่วที่ชัดเจน และใช้เลเซอร์สลายทำให้ก้อนนิ่วเล็กลง
       4. สามารถนำก้อนนิ่วออกได้ทั้งหมดไม่ต้องรอให้หลุดเอง
  • ข้อด้อย
       1. นิ่วไม่ควรมีขนาดใหญ่เกิน 1-2 cm หรืออาจมีข้อจำกัดเรื่องตำแหน่งของนิ่วที่อยู่บริเวณขั้วไตส่วนล่างที่อาจเข้าถึงได้ยาก ดังนั้นจึงต้องอาศัยประสบการณ์ของศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางเป็นอย่างสูง เพื่อลดข้อจำกัดดังกล่าวนี้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A

   นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ คือ ตะกอนที่ตกอยู่ในน้ำปัสสาวะ ซึ่งปกติน้ำปัสสาวะจะเป็นของเหลวและมีสารหลายๆ อย่างที่ละลายอยู่ในน้ำปัสสาวะ ซึ่งสภาวะบางอย่างทำให้สารเหล่านี้ตกตะกอนกลายเป็นผลึกรวมกันเป็นก้อน โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ปริมาณสารต่างๆ มีมากเกินไปในน้ำปัสสาวะ หรือดื่มน้ำน้อยเกินไปทำให้เอื้อต่อการตกตะกอนของผลึกกลายเป็นก้อนนิ่วได้ง่ายมากขึ้น รวมทั้งค่าความเป็นกรดด่างของน้ำปัสสาวะ เช่น น้ำปัสสาวะที่มีความเป็นกรดมากก็จะเอื้อต่อการตกตะกอนของกรดยูริกง่ายมากขึ้น
อาการ

   สำหรับผู้ป่วยโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะมีอาการค่อนข้างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งและการอุดตันของก้อนนิ่วว่ามีการอุดตันมากน้อยแค่ไหน ในผู้ป่วยบางคนอาจไม่มีอาการอะไรเลย แต่สามารถตรวจพบในกรณีที่ผู้ป่วยรับการตรวจสุขภาพ และในบางรายอาจมีอาการเจ็บปวดรุนแรงบริเวณท้องหรือบริเวณหลังหรือในตำแหน่งที่นิ่วอุดตันอยู่ ซึ่งจะเจ็บปวดทุรนทุรายมากจนกระทั่งทำให้ผู้ป่วยต้องรีบมาพบแพทย์

การตรวจวินิจฉัย

   แพทย์สามารถตรวจและวินิจฉัยโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะได้โดยการซักประวัติและตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจปัสสาวะ การเอกซเรย์ภาพช่องท้องในส่วนของไต ท่อไตและกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงอาจมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ตรวจอัลตราซาวด์ หรือ CT Scan

การรักษาโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

   ในปัจจุบันการรักษาโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะมีหลากหลายวิธี โดยขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของนิ่วที่อุดตัน ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป

1. การผ่าตัดแบบเปิด เป็นการผ่าตัดผ่านผิวหนังเข้าไปจนถึงตำแหน่งที่มีนิ่วเพื่อเอาก้อนนิ่วออก และเย็บปิดแผลนั้น

  • ข้อดี
       1. เป็นวิธีการผ่าตัดที่ใช้ได้กับนิ่วทุกประเภท ทุกขนาด
  • ข้อด้อย
       1. ผู้ป่วยมีแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ ฟื้นตัวช้า
       2. อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง เนื่องจากในกรณีที่มีการผ่าตัดผ่านเนื้อไตเพื่อเอานิ่วออกจะทำให้ไตเกิดพังผืดจากแผลเป็น และทำให้เซลล์ไตบางส่วนตายและมีจำนวนเซลล์ของไตลดลง
       3. เสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกจากตำแหน่งที่ทำการผ่าตัด

2. การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy หรือ ESWL) เป็นการใช้คลื่น Shock wave ส่งผ่านผิวหนังไปยังก้อนนิ่ว เพื่อทำให้ก้อนนิ่วแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ และไหลหลุดออกมากับปัสสาวะโดยไม่ต้องผ่าตัด

  • ข้อดี
       1. ไม่มีแผลจากการผ่าตัด
  • ข้อด้อย
       1. อาจทำให้เนื้อเยื่อต่างๆรวมถึงไตช้ำได้ และเกิดมีแผลเป็นข้างใน รวมถึงอาจสูญเสียเซลล์ไตไปบางส่วนได้เช่นกัน
       2. ในผู้ป่วยที่มีรูปร่างค่อนข้างใหญ่อาจได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผล เนื่องจากการทำงานของคลื่นกระแทกพลังงานที่ใช้สลายนิ่วจะถูกปล่อยจากเครื่องกำเนิดพลังงานจากภายนอกลำตัวและคลื่นกระแทกจะผ่านเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ เข้าไป     3. ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานบางส่วนไปตามระยะทางตั้งแต่ผิวหนังไปจนกว่าจะถึงก้อนนิ่วเหลือน้อยลง พลังงานที่เหลือไปถึงก้อนนิ่วน้อย อาจไม่พอทำให้ก้อนนิ่วแตก
       4. ในกรณีนิ่วก้อนใหญ่หรือมีความแข็งมากอาจไม่ได้ผล ซึ่งขนาดก้อนนิ่วไม่ควรเกิน 1-2 เซนติเมตร หรือค่าความหนาแน่นของก้อนนิ่วไม่ควรเกิน 1,000 HU
    เมื่อนิ่วแตกแล้วต้องรอให้หลุดออกมาเองพร้อมกับการปัสสาวะ ทำให้นิ่วที่อยู่บริเวณขั้วล่างของไตนั้นอาจไม่สามารถหลุดออกมาได้เอง

3. การเจาะรูส่องกล้องผ่านผิวหนัง (Percutaneous Nephrolithotomy : PCNL) สามารถกำจัดนิ่วได้ทุกขนาดและทุกความแข็ง หรือเป็นนิ่วชนิดเขากวางที่มีกิ่งก้านหลายกิ่งจนไม่สามารถเอาออกด้วยวิธีอื่นได้ โดยจะทำการเจาะรูเล็กๆ ประมาณ 1 เซนติเมตร ผ่านผิวหนังบริเวณหลังในตำแหน่งที่ตรงกับไตของผู้ป่วย หลังจากนั้นใช้กล้องส่องตามเข้าไป และแพทย์จะทำให้นิ่วนั้นแตกออกเป็นขนาดเล็กโดยอาศัยเครื่องมือที่ทันสมัย แล้วนำเอานิ่วออกมาผ่านทางกล้องที่ส่องเข้าไป

  • ข้อดี
       1. สามารถกำจัดนิ่วได้ทุกขนาด และทุกความแข็ง
       2. ผู้ป่วยมีแผลขนาดเล็กกว่าการผ่าตัดเปิดผิวหนัง
       3. ฟื้นตัวเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิด
  • ข้อด้อย
       1. อาจมีปัญหาเลือดออกได้บ้างและต้องอาศัยศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญและได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดี

4. การส่องกล้องผ่านท่อไต (Ureteroscopy : URS)  เป็นการใส่กล้องส่องตรวจท่อไตที่มีขนาดเล็กเข้าไปในท่อไต เข้าไปยังตำแหน่งของก้อนนิ่วที่อยู่ภายในท่อไตหรือในไตจากนั้นใช้เลเซอร์ทำให้นิ่วมีขนาดเล็กลง แล้วจึงใช้เครื่องมือนำเศษนิ่วเหล่านั้นออกมาโดยไม่ต้องผ่าตัด หรือเจาะรูผ่านทางผิวหนังจึงไม่ทำให้เกิดแผลใดๆ

  • ข้อดี
       1. ไม่มีแผล ฟื้นตัวได้เร็ว มีความปลอดภัยสูง
       2. กล้องมีขนาดเล็กสามารถโค้งงอได้ ทำให้สามารถส่องเข้าไปในท่อไตได้ เดิมการส่องกล้องภายในท่อไตจะจำกัดอยู่ที่ท่อไตส่วนล่าง แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน มีกล้องส่องชนิดโค้งงอได้ร่วมกับเลเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงทำให้ส่องตรวจและรักษาได้ตลอดทางเดินปัสสาวะ (ท่อไตส่วนล่าง-บน และในไต)
       3. กล้องจะทำให้เห็นตำแหน่งและก้อนนิ่วที่ชัดเจน และใช้เลเซอร์สลายทำให้ก้อนนิ่วเล็กลง
       4. สามารถนำก้อนนิ่วออกได้ทั้งหมดไม่ต้องรอให้หลุดเอง
  • ข้อด้อย
       1. นิ่วไม่ควรมีขนาดใหญ่เกิน 1-2 cm หรืออาจมีข้อจำกัดเรื่องตำแหน่งของนิ่วที่อยู่บริเวณขั้วไตส่วนล่างที่อาจเข้าถึงได้ยาก ดังนั้นจึงต้องอาศัยประสบการณ์ของศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางเป็นอย่างสูง เพื่อลดข้อจำกัดดังกล่าวนี้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง