กินเจอย่างไร ไม่กระทบโรคหัวใจ

     อาหารเจคืออาหารที่ปราศจากส่วนประกอบของเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ รวมถึงผักที่มีกลิ่นฉุน เน้นการกินผักและโปรตีนจากพืชที่มีไขมันน้อยกว่าไขมันจากสัตว์ จึงทำให้อาหารเจดูเหมือนเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไม่น่าส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวได้

     แต่ที่จริงแล้วสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลยคือการปรุงประกอบอาหารที่บางเมนู ไม่ว่าจะ ทอด ผัดน้ำมันเยอะ หรือมีส่วนประกอบเป็นผักดองที่มีโซเดียมสูง โดยอาหารที่ทั้งมันและเค็มนี้ก็อาจส่งผลเสียต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะยาวได้

วันนี้ทีมนักกำหนดอาหารมีคำแนะนำดีๆเกี่ยวกับการกินเจอย่างไรให้ทั้งดีต่อสุขภาพกายและอิ่มบุญอิ่มใจไปด้วยกันค่ะ

 

 

เทคนิคการกินเจและเลือกซื้ออาหารเจอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพหัวใจ

1. เลือกร้านที่มีตัวเลือกอาหารหลากหลาย เน้นเมนู ต้ม นึ่ง ตุ๋น ผัด ยำ ที่ทำจากผักสดมากกว่าผักดอง
2. เลือกกับข้าวที่เป็นของทอดรวมแล้วไม่เกิน 1 อย่างต่อวัน
3. หากซื้อแกงที่มีไขมันมาก แนะนำให้แช่ตู้เย็นก่อน แล้วเลาะชั้นน้ำมันที่ลอยอยู่ด้านบนออกก่อนนำอาหารไปอุ่นร้อน
4.  ไม่ซดน้ำแกง น้ำซุป หรือไม่นำน้ำผัดผักมาราดลงบนข้าว หรือใช้ส้อมหรือตะเกียบในการตักอาหาร เพื่อลดความมันและความเค็มส่วนเกินลง
5. เน้นกินอาหารที่ทำจากผักสดๆมากกว่าผักที่ผ่านการหมักดอง  เพื่อลดความเค็มในอาหาร
6. พยายามกินอาหารที่มีโปรตีนเด่นอย่างน้อย 1 อย่างต่อมื้อ เพื่อให้อิ่มอยู่ท้อง
7. การกินเจมักเน้นอาหารที่เป็นแป้งและผักมาก จึงอาจทำให้อิ่มเร็วในช่วงแรก และมีหิวระหว่างวันได้ แนะนำให้จิบน้ำเปล่าระหว่างวันเพิ่มขึ้น
8. ขนมว่างระหว่างวันแนะนำเป็นผลไม้สดประมาณ 1 กำปั้น กับน้ำเปล่ามากกว่าขนมเบเกอรี่
9. นมถั่วเหลือง อาจเป็นอาหารมื้อว่างที่อยู่ท้องมากขึ้น แนะนำเลือกแบบหวานน้อยและเสริมแคลเซียมค่ะ นมถั่วอื่นๆ อาจจะมีโปรตีนและแคลเซียมน้อยกว่านมถั่วเหลือง แนะนำให้สลับได้หากเบื่อนมถั่วเหลือง
10. หากผู้ป่วยต้องกินยาวาร์ฟาริน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเนื่องจากการกินผักมากขึ้นอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาได้

เมนูอาหารเจที่แนะนำ

1. เมนูที่มีผักเด่น
       ผัดผักรวม, ต้มจับฉ่าย, ยำเห็ดรวมมิตร, ผัดพริกขิงเจ เป็นต้น
2. เมนูที่โปรตีนเด่น
       พะโล้หมี่กึง, ลาบเต้าหู้, ผัดกะเพราโปรตีนเกษตร, ต้มจืดวุ้นเส้นใส่เต้าหู้อ่อนและฟองเต้าหู้ เป็นต้น

ในกรณีที่ทำอาหารเจกินเองที่บ้านนักกำหนดอาหารมีคำแนะนำดังนี้
1. เลือกใช้น้ำมันรำข้าว/น้ำมันถั่วเหลือง/น้ำมันมะกอก ในการปรุงอาหาร และลดน้ำมันปริมาณน้ำมันที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร เช่น ผัดผัก 1 จานใส่น้ำมันประมาณ 2 ช้อนชา แล้วที่เหลือให้ใช้น้ำแทน
2. วางแผนเมนูคร่าวๆ ให้มีเมนูที่โปรตีนเด่น 1 เมนู และเมนูที่ผักเด่น 1 เมนู
3. เน้นทำอาหารจากผักสดมากกว่าผักดอง
4. โปรตีนเกษตรที่นำมาปรุงอาหารควรแช่น้ำให้นิ่ม ก่อนนำมาประกอบอาหาร และเน่นใช้สำหรับผัดหรือต้มมากกว่านำไปทอด
5. แนะนำใช้เต้าหู้อ่อน เต้าหู้แข็งไม่ว่าจะเป็นสีขาวหรือสีเหลืองมากกว่าเต้าหู้ทอด

ทีมนักกำหนดอาหารโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจและสามารถเลือกอาหารเจได้ถูกต้องเหมาะสมต่อสุขภาพของท่านกันนะคะ

     อาหารเจคืออาหารที่ปราศจากส่วนประกอบของเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ รวมถึงผักที่มีกลิ่นฉุน เน้นการกินผักและโปรตีนจากพืชที่มีไขมันน้อยกว่าไขมันจากสัตว์ จึงทำให้อาหารเจดูเหมือนเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไม่น่าส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวได้

     แต่ที่จริงแล้วสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลยคือการปรุงประกอบอาหารที่บางเมนู ไม่ว่าจะ ทอด ผัดน้ำมันเยอะ หรือมีส่วนประกอบเป็นผักดองที่มีโซเดียมสูง โดยอาหารที่ทั้งมันและเค็มนี้ก็อาจส่งผลเสียต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะยาวได้

วันนี้ทีมนักกำหนดอาหารมีคำแนะนำดีๆเกี่ยวกับการกินเจอย่างไรให้ทั้งดีต่อสุขภาพกายและอิ่มบุญอิ่มใจไปด้วยกันค่ะ

 

 

เทคนิคการกินเจและเลือกซื้ออาหารเจอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพหัวใจ

1. เลือกร้านที่มีตัวเลือกอาหารหลากหลาย เน้นเมนู ต้ม นึ่ง ตุ๋น ผัด ยำ ที่ทำจากผักสดมากกว่าผักดอง
2. เลือกกับข้าวที่เป็นของทอดรวมแล้วไม่เกิน 1 อย่างต่อวัน
3. หากซื้อแกงที่มีไขมันมาก แนะนำให้แช่ตู้เย็นก่อน แล้วเลาะชั้นน้ำมันที่ลอยอยู่ด้านบนออกก่อนนำอาหารไปอุ่นร้อน
4.  ไม่ซดน้ำแกง น้ำซุป หรือไม่นำน้ำผัดผักมาราดลงบนข้าว หรือใช้ส้อมหรือตะเกียบในการตักอาหาร เพื่อลดความมันและความเค็มส่วนเกินลง
5. เน้นกินอาหารที่ทำจากผักสดๆมากกว่าผักที่ผ่านการหมักดอง  เพื่อลดความเค็มในอาหาร
6. พยายามกินอาหารที่มีโปรตีนเด่นอย่างน้อย 1 อย่างต่อมื้อ เพื่อให้อิ่มอยู่ท้อง
7. การกินเจมักเน้นอาหารที่เป็นแป้งและผักมาก จึงอาจทำให้อิ่มเร็วในช่วงแรก และมีหิวระหว่างวันได้ แนะนำให้จิบน้ำเปล่าระหว่างวันเพิ่มขึ้น
8. ขนมว่างระหว่างวันแนะนำเป็นผลไม้สดประมาณ 1 กำปั้น กับน้ำเปล่ามากกว่าขนมเบเกอรี่
9. นมถั่วเหลือง อาจเป็นอาหารมื้อว่างที่อยู่ท้องมากขึ้น แนะนำเลือกแบบหวานน้อยและเสริมแคลเซียมค่ะ นมถั่วอื่นๆ อาจจะมีโปรตีนและแคลเซียมน้อยกว่านมถั่วเหลือง แนะนำให้สลับได้หากเบื่อนมถั่วเหลือง
10. หากผู้ป่วยต้องกินยาวาร์ฟาริน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเนื่องจากการกินผักมากขึ้นอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาได้

เมนูอาหารเจที่แนะนำ

1. เมนูที่มีผักเด่น
       ผัดผักรวม, ต้มจับฉ่าย, ยำเห็ดรวมมิตร, ผัดพริกขิงเจ เป็นต้น
2. เมนูที่โปรตีนเด่น
       พะโล้หมี่กึง, ลาบเต้าหู้, ผัดกะเพราโปรตีนเกษตร, ต้มจืดวุ้นเส้นใส่เต้าหู้อ่อนและฟองเต้าหู้ เป็นต้น

ในกรณีที่ทำอาหารเจกินเองที่บ้านนักกำหนดอาหารมีคำแนะนำดังนี้
1. เลือกใช้น้ำมันรำข้าว/น้ำมันถั่วเหลือง/น้ำมันมะกอก ในการปรุงอาหาร และลดน้ำมันปริมาณน้ำมันที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร เช่น ผัดผัก 1 จานใส่น้ำมันประมาณ 2 ช้อนชา แล้วที่เหลือให้ใช้น้ำแทน
2. วางแผนเมนูคร่าวๆ ให้มีเมนูที่โปรตีนเด่น 1 เมนู และเมนูที่ผักเด่น 1 เมนู
3. เน้นทำอาหารจากผักสดมากกว่าผักดอง
4. โปรตีนเกษตรที่นำมาปรุงอาหารควรแช่น้ำให้นิ่ม ก่อนนำมาประกอบอาหาร และเน่นใช้สำหรับผัดหรือต้มมากกว่านำไปทอด
5. แนะนำใช้เต้าหู้อ่อน เต้าหู้แข็งไม่ว่าจะเป็นสีขาวหรือสีเหลืองมากกว่าเต้าหู้ทอด

ทีมนักกำหนดอาหารโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจและสามารถเลือกอาหารเจได้ถูกต้องเหมาะสมต่อสุขภาพของท่านกันนะคะ


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง